ลำดับตอนที่ #6
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : กองเรือแห่งเซอร์คาร์น
                “นาวาล” ตัดสินใจเด็ดเดี่ยวที่จะนำกำลังลงทะเลไปปราบพวกซีเตอให้เด็ดขาด โดยที่จะไม่ฟังเสียงคัดค้านใดๆ ทั้งสิ้น เขาตัดสินใจวางดาบประจำตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ของกองทัพไว้บนตัก แสดงให้เห็นว่านายทหารทุกคนจะไม่มีสิทธิ์ออกความเห็น จะต้องทำตามคำสั่งแม่ทัพใหญ่ของทัพสถานเดียว ถึงแม้การกระทำแบบนี้จะสร้างความไม่พอใจให้กับนายทหารที่คัดค้านการบุกตั้งแต่แรกบางคน แต่ถ้ามามองในแง่ดีก็คือ ก็จะได้เห็นการความเป็นเอกภาพในการปกครอง กองทัพไม่จำเป็นต้องใช้ระบบประชาธิปไตย ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจอย่างเด็ดขาด
                นาวาลออกคำสั่งให้ทหารเร่งมือต่อเรือจำนวน 200 ลำให้เสร็จภายในสิบวัน ทหารบางส่วนก็ให้ไปปรับปรุงยุทโธปกรณ์ทางบกให้ไปใช้ในการรบกลางทะเลได้  การทุกอย่างต้องทำโดยรีบเร่งแต่ก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพของเรือไว้บ้าง
               
                ฝ่ายซีเตอ เมื่อได้ส่งพวกกองสอดแนมมาดูสถานการณ์ศัตรู เมื่อเห็นการต่อเรือของเซอร์คาร์น จึงรีบนำเรื่องมาบอกให้ “จูล”  เมื่อจูลได้ทราบเรื่องก็นึกกระหายในชัยชนะของตนเป็นแน่แท้ ด้วยการรบทางเรือของพวกตนที่เชี่ยวชาญกว่ามาก จึงคิดเพียงแค่ว่า จะตั้งรับอย่างไร มิได้คิดจะหนีแต่ประการใด ทั้งการตั้งรับยังหวังผลที่จะทำลายกองเรือของ เซอร์คาร์น ให้ราบคาบอีกด้วย
.....................................................................
              ผ่านกำหนด พ้นสิบวัน เรือทุกลำต่อเสร็จเรียบร้อย ยุทโธปกรณ์บางส่วนก็ทุกติดตั้งไว้บนเรือหลายลำ พร้อมรบ เรือทุกลำที่ต่อขึ้นมาจะสูง 10 ฟุต ยาว 50 ฟุต กว้าง 7 ฟุต สามารถบรรจุพลทหารได้ลำละ 150 นาย รวม 200 ลำ ก็ 30,000 นาย เต็มอัตราทัพ แต่ให้ส่งไปก่อนเพียง ครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งจะแบ่งเป็นครึ่งอีกครั้ง ครึ่งแรกจะให้ทิ้งระยะจากพวกที่บุกชุดแรกประมาณ 1 ไมล์ ( 1.6 กม.) ดูสถานการณ์แล้วหากกองหน้าย่ำแย่ให้เข้าไปช่วยพากันออกมา หากได้เปรียบให้ช่วยเข้าไปโจมตีซ้ำ ส่วนกองสุดท้าย จะดูสถานการณ์ แล้วรอคำสั่งจากกองกลาง ซึ่ง “นาวาล” จะบัญชาการอยู่ที่นั่น ทหารผู้ผ่านการประลองทั้ง 8 ยังต้องอยู่กองหน้าเหมือนเคย ส่วนแม่ทัพหน้า บาร์ไต จะอยู่กองหลังสุด แผนการบุกถูกจัดไว้เช่นนี้ โดยอีก 2 วันจึงจะลงมือ ระหว่างนี้จะเป็นการพักเอาแรงหลังจากเหน็ดเหนื่อยมาถึง 10 วันเต็มๆ
              อันที่จริงพวกซีเตอควรใช้โอกาสนี้เข้าโจมตีก่อความรบกวนเพื่อมิให้พวกเซอร์คาร์นได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ นี่อาจจะเป็นจุดอ่อนที่ทำให้พวก ซีเตอ ไม่ใช่กบฎ ที่แข็งแกร่ง ในสายตาของพระเจ้าอยู่หัว “องค์ลาซันเทีย” ก็เป็นได้
....................................................................
                เมื่อผ่านพ้นคืนวันอันสุขกายสบายตัวของเหล่ากองทหารเซอร์คาร์น วันนี้ทุกคนจะต้องทำศึกหนักกลางทะเลเป็นครั้งแรกในชีวิตคนทหารหลายๆ คน แต่พวกเขายังมีกำลังใจที่ดีในการรบด้วยเพราะเขาเชื่อในตัวผู้นำของเขา
                แต่ระหว่างการขนทหารลงเรือ “นาวาล” คิดหวั่นใจในจำนวนทหารที่นำไปปะทะ ที่มีจำนวนเพียง หมื่นเศษ เกรงว่าอาจจะเสียทีให้กับ พวกซีเตอ ก็เป็นได้ จึงได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ แต่ล่ะเรือ เพิ่ม กองกำลังเป็น 200 นาย จากเดิมที่จะมีกองปะทะเพียง 15,000 นาย ก็จะเพิ่มเป็น สองหมื่นนาย เรือทุกลำทำตามคำบัญชา เพิ่มจำนวนทหารในแต่ล่ะลำให้มากขึ้นอีก
                จนได้ฤกษ์ ออกเรือ “นาวาล” ให้กำลังใจกับทหารกองปะทะทุกคนว่า .
“เราจะชนะเมื่อเราต้องการที่จะชนะ  และวันนี้เราก็ต้องการที่จะชนะ ..ใช่ไม๊!!!!!!!!”
              ทหารทุกคนร้องโห่ฮา แสดงความกระหายในชัยชนะอย่างเต็มที่ ก่อนทหารบนป้อมจะรัวกลองเป็นสัญญาณออกเรือได้
            ทหารกองปะทะจากไปด้วยความคึกคะนองที่เต็มเปี่ยม ต่อจากนั้น ทหารกองที่สอง ได้ทยอยตามกันลงเรือ เพื่อเป็นกองหนุนคอยช่วยกองหน้า แล้วก็ตามด้วยกองหลังตามลำดับ
              หลังจากนั้น เพียง ครึ่งวัน กองเรือหน้าของเซอร์คาร์นก็มาถึงตำแหน่งที่เตรียมพร้อมจะบุก พอฝ่ายซีเตอเห็นกองเรือ ก็มีอาการตกใจเล็กน้อยในจำนวนทหารของเซอร์คาร์น อีกทั้งถ้ามองไปไกลๆ ก็จะเห็นกองหนุนอยู่อีกพอสมควร แต่ “จูล” ก็ยังมั่นใจว่าฝ่ายตนจะได้ชัยชนะอยู่ดี เขายังบอกให้นายทหารข้างกายเขาว่า
            “พวกทหารแห่งอาณาจักร ..ยิ่งมามาก ก็ตายมาก”
            เรือของซีเตอมีขนาดเป็น เท่าตัวของ เซอร์คาร์น จึงได้เปรียบเมื่อมีการปะทะลำกัน แต่ก็เชื่องช้ากว่าเป็นธรรมชาติของเรือที่ใหญ่กว่า อย่างไรก็ดีเมื่อมองดูภาพรวมแล้วเรือของซีเตอก็ย่อมจะดีกว่าเพราะระยะเวลาการก่อสร้างก็ไม่ได้เร่งรีบ และ ละเอียด ประณีตกว่าเยอะ มีกลไกเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้มีส่วนได้เปรียบกว่า เรือของ เซอร์คาร์น แต่เซอร์คาร์นก็จะได้เปรียบในเรื่องของจำนวนพลทหารที่มีมากกว่าถึงเกือบเท่าตัว
                บัดนี้ทั้งสองฝ่ายได้เตรียมพร้อมที่จะเข้าปะทะกันแล้ว ทุกอย่างหากดูภาพรวมถือว่าสูสีกันมาก ต่างฝ่ายต่างได้เปรียบแตกต่างกันออกไป ศึกกลางทะเลครั้งนี้ อาจจะต้องวัดกันที่ใจของทหารทั้งสองฝ่ายก็เป็นได้ ทหารทุกนายเตรียมพร้อมที่จะฟาดฟันกันให้ถึงที่สุด ทุกนายต่างหื่นกระหายในชัยชนะของตน เพียงแต่รอคำสั่งบุกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น การปะทะที่ต่างฝ่ายต่างรอคอยก็จะเกิดขึ้น
                          โปรดติดตามตอนต่อไป
                นาวาลออกคำสั่งให้ทหารเร่งมือต่อเรือจำนวน 200 ลำให้เสร็จภายในสิบวัน ทหารบางส่วนก็ให้ไปปรับปรุงยุทโธปกรณ์ทางบกให้ไปใช้ในการรบกลางทะเลได้  การทุกอย่างต้องทำโดยรีบเร่งแต่ก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพของเรือไว้บ้าง
               
                ฝ่ายซีเตอ เมื่อได้ส่งพวกกองสอดแนมมาดูสถานการณ์ศัตรู เมื่อเห็นการต่อเรือของเซอร์คาร์น จึงรีบนำเรื่องมาบอกให้ “จูล”  เมื่อจูลได้ทราบเรื่องก็นึกกระหายในชัยชนะของตนเป็นแน่แท้ ด้วยการรบทางเรือของพวกตนที่เชี่ยวชาญกว่ามาก จึงคิดเพียงแค่ว่า จะตั้งรับอย่างไร มิได้คิดจะหนีแต่ประการใด ทั้งการตั้งรับยังหวังผลที่จะทำลายกองเรือของ เซอร์คาร์น ให้ราบคาบอีกด้วย
.....................................................................
              ผ่านกำหนด พ้นสิบวัน เรือทุกลำต่อเสร็จเรียบร้อย ยุทโธปกรณ์บางส่วนก็ทุกติดตั้งไว้บนเรือหลายลำ พร้อมรบ เรือทุกลำที่ต่อขึ้นมาจะสูง 10 ฟุต ยาว 50 ฟุต กว้าง 7 ฟุต สามารถบรรจุพลทหารได้ลำละ 150 นาย รวม 200 ลำ ก็ 30,000 นาย เต็มอัตราทัพ แต่ให้ส่งไปก่อนเพียง ครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งจะแบ่งเป็นครึ่งอีกครั้ง ครึ่งแรกจะให้ทิ้งระยะจากพวกที่บุกชุดแรกประมาณ 1 ไมล์ ( 1.6 กม.) ดูสถานการณ์แล้วหากกองหน้าย่ำแย่ให้เข้าไปช่วยพากันออกมา หากได้เปรียบให้ช่วยเข้าไปโจมตีซ้ำ ส่วนกองสุดท้าย จะดูสถานการณ์ แล้วรอคำสั่งจากกองกลาง ซึ่ง “นาวาล” จะบัญชาการอยู่ที่นั่น ทหารผู้ผ่านการประลองทั้ง 8 ยังต้องอยู่กองหน้าเหมือนเคย ส่วนแม่ทัพหน้า บาร์ไต จะอยู่กองหลังสุด แผนการบุกถูกจัดไว้เช่นนี้ โดยอีก 2 วันจึงจะลงมือ ระหว่างนี้จะเป็นการพักเอาแรงหลังจากเหน็ดเหนื่อยมาถึง 10 วันเต็มๆ
              อันที่จริงพวกซีเตอควรใช้โอกาสนี้เข้าโจมตีก่อความรบกวนเพื่อมิให้พวกเซอร์คาร์นได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ นี่อาจจะเป็นจุดอ่อนที่ทำให้พวก ซีเตอ ไม่ใช่กบฎ ที่แข็งแกร่ง ในสายตาของพระเจ้าอยู่หัว “องค์ลาซันเทีย” ก็เป็นได้
....................................................................
                เมื่อผ่านพ้นคืนวันอันสุขกายสบายตัวของเหล่ากองทหารเซอร์คาร์น วันนี้ทุกคนจะต้องทำศึกหนักกลางทะเลเป็นครั้งแรกในชีวิตคนทหารหลายๆ คน แต่พวกเขายังมีกำลังใจที่ดีในการรบด้วยเพราะเขาเชื่อในตัวผู้นำของเขา
                แต่ระหว่างการขนทหารลงเรือ “นาวาล” คิดหวั่นใจในจำนวนทหารที่นำไปปะทะ ที่มีจำนวนเพียง หมื่นเศษ เกรงว่าอาจจะเสียทีให้กับ พวกซีเตอ ก็เป็นได้ จึงได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ แต่ล่ะเรือ เพิ่ม กองกำลังเป็น 200 นาย จากเดิมที่จะมีกองปะทะเพียง 15,000 นาย ก็จะเพิ่มเป็น สองหมื่นนาย เรือทุกลำทำตามคำบัญชา เพิ่มจำนวนทหารในแต่ล่ะลำให้มากขึ้นอีก
                จนได้ฤกษ์ ออกเรือ “นาวาล” ให้กำลังใจกับทหารกองปะทะทุกคนว่า .
“เราจะชนะเมื่อเราต้องการที่จะชนะ  และวันนี้เราก็ต้องการที่จะชนะ ..ใช่ไม๊!!!!!!!!”
              ทหารทุกคนร้องโห่ฮา แสดงความกระหายในชัยชนะอย่างเต็มที่ ก่อนทหารบนป้อมจะรัวกลองเป็นสัญญาณออกเรือได้
            ทหารกองปะทะจากไปด้วยความคึกคะนองที่เต็มเปี่ยม ต่อจากนั้น ทหารกองที่สอง ได้ทยอยตามกันลงเรือ เพื่อเป็นกองหนุนคอยช่วยกองหน้า แล้วก็ตามด้วยกองหลังตามลำดับ
              หลังจากนั้น เพียง ครึ่งวัน กองเรือหน้าของเซอร์คาร์นก็มาถึงตำแหน่งที่เตรียมพร้อมจะบุก พอฝ่ายซีเตอเห็นกองเรือ ก็มีอาการตกใจเล็กน้อยในจำนวนทหารของเซอร์คาร์น อีกทั้งถ้ามองไปไกลๆ ก็จะเห็นกองหนุนอยู่อีกพอสมควร แต่ “จูล” ก็ยังมั่นใจว่าฝ่ายตนจะได้ชัยชนะอยู่ดี เขายังบอกให้นายทหารข้างกายเขาว่า
            “พวกทหารแห่งอาณาจักร ..ยิ่งมามาก ก็ตายมาก”
            เรือของซีเตอมีขนาดเป็น เท่าตัวของ เซอร์คาร์น จึงได้เปรียบเมื่อมีการปะทะลำกัน แต่ก็เชื่องช้ากว่าเป็นธรรมชาติของเรือที่ใหญ่กว่า อย่างไรก็ดีเมื่อมองดูภาพรวมแล้วเรือของซีเตอก็ย่อมจะดีกว่าเพราะระยะเวลาการก่อสร้างก็ไม่ได้เร่งรีบ และ ละเอียด ประณีตกว่าเยอะ มีกลไกเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้มีส่วนได้เปรียบกว่า เรือของ เซอร์คาร์น แต่เซอร์คาร์นก็จะได้เปรียบในเรื่องของจำนวนพลทหารที่มีมากกว่าถึงเกือบเท่าตัว
                บัดนี้ทั้งสองฝ่ายได้เตรียมพร้อมที่จะเข้าปะทะกันแล้ว ทุกอย่างหากดูภาพรวมถือว่าสูสีกันมาก ต่างฝ่ายต่างได้เปรียบแตกต่างกันออกไป ศึกกลางทะเลครั้งนี้ อาจจะต้องวัดกันที่ใจของทหารทั้งสองฝ่ายก็เป็นได้ ทหารทุกนายเตรียมพร้อมที่จะฟาดฟันกันให้ถึงที่สุด ทุกนายต่างหื่นกระหายในชัยชนะของตน เพียงแต่รอคำสั่งบุกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น การปะทะที่ต่างฝ่ายต่างรอคอยก็จะเกิดขึ้น
                          โปรดติดตามตอนต่อไป
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น