ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #53 : [เพลงไทย] ประเภทของเพลงไทย

    • อัปเดตล่าสุด 11 พ.ค. 50



    เพลงไทย

            เพลงไทย หมายถึง เพลงที่แต่งขึ้นตามหลักของดนตรีไทย มีลีลาในการขับร้องและบรรเลงแบบไทยโดยเฉพาะ และแตกต่างจากเพลงของชาติอื่นๆ
            เพลงไทยแต่เดิมมักจะมีประโยคสั้นๆ และมีจังหวะค่อนข้างเร็ว ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากเพลงพื้นบ้าน หรือเพลงสำหรับประกอบการรำเต้นเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง ต่อมา เมื่อต้องการจะใช้เป็นเพลงสำหรับร้องขับกล่อม และประกอบการแสดงละคร ก็จำเป็นต้องประดิษฐ์ทำนองให้มีจังหวะช้ากว่าเดิม และมีประโยคยาวกว่าเดิม ให้เหมาะสมที่จะร้องได้ไพเราะ  จึงได้คิดแต่งทำนองขยายส่วนขึ้นจากของเดิมเป็นทวีคูณ เรียกเพลงในอัตรานี้ว่า เพลงสองชั้น เพราะต้องแต่งขยายจากเพลงเดิมอีกชั้นหนึ่ง และเรียกเพลงในอัตราเดิมนั้นว่า เพลงชั้นเดียว
             เพลงไทยในสมัยอยุธยา เป็นเพลงสองชั้นและชั้นเดียวเกือบทั้งสิ้น เพราะต้องใช้ร้องสำหรับขับกล่อม และประกอบการแสดงละคร ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในสมัยนั้น
             สมัยรัตนโกสินทร์เป็นสมัยที่นิยมเล่นสักวากันมาก  ผู้เล่นสักวาจะต้องแต่งกลอนเป็นกลอนสด ด้วยปฏิภาณในปัจจุบัน ถ้าจะร้องอย่างเพลงสองชั้นเหมือนกับการร้องประกอบการแสดงละคร จะทำให้ผู้แต่งมีเวลาคิดกลอนน้อยลง อาจแต่งไม่ทันหรืออาจไม่ไพเราะเท่าที่ควร จึงคิดแต่งทำนองเพลงร้อง ขยายจากทำนองเพลงสองชั้นขึ้นไปอีกเท่าตัว สำหรับใช้ในการร้องสักวา เรียกเพลงในอัตรานี้ว่า เพลงสามชั้น  ดังนั้น เพลงในอัตราสามชั้นจะมีความยาวเป็น ๒ เท่าของเพลงสองชั้น และเพลงสองชั้นจะมีความยาวเป็น ๒ เท่าของเพลงชั้นเดียว  การบรรเลงจะเลือกบรรเลงเพลงอัตราหนึ่งอัตราใดเพียงอย่างเดียวก็ได้ ตามโอกาสที่เหมาะสม ถ้าบรรเลงติดต่อกันทั้ง ๓ อัตรา เรียกว่า เพลงเถา

    ประเภทของเพลงไทย  อาจแบ่งออกได้เป็นพวกๆ คือ

    ๑. เพลงสำหรับบรรเลงดนตรีล้วนๆ ไม่มีการขับร้อง  เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประโคมพิธีต่างๆ เพลงโหมโรง และเพลงหน้าพาทย์ จะเป็นเพลงสำหรับใช้ประกอบกิริยาอาการและแสดงอารมณ์ต่างๆ ของการรำ
    ๒. เพลงสำหรับขับร้อง  คือ เพลงซึ่งร้องแล้วรับด้วยการบรรเลง เรียกว่า ร้องส่งดนตรี เช่น เพลงประกอบการขับเสภา(ร้องส่งเสภา) เพลงที่ร้องส่งเพื่อฟังไพเราะทั่วไป ส่วนมากจะเป็นเพลงเถาและเพลงตับ
    ๓. เพลงประกอบการรำ  คือ เพลงร้องตามบทร้อง ให้ผู้รำได้รำตามบทหรือเนื้อร้อง ส่วนมากจะเป็นเพลงสองชั้น เพื่อให้เหมาะกับการรำไม่ช้าไปไม่เร็วไป นอกจากนั้น ก็ยังใช้เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงกิริยาอาการของผู้แสดงอีกด้วย

            เพลงไทยที่ใช้ขับร้องและบรรเลงในปัจจุบันนี้ มีทั้งเพลงเก่าสมัยโบราณ เพลงที่ดัดแปลงจากของเก่า และเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ แยกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะและวิธีใช้ได้หลายประเภท ได้แก่

    -เพลงชั้นเดียว http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=54
    -เพลงสองชั้น http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=55
    -เพลงสามชั้น http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=56
    -เพลงเถา http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=57
    -เพลงตับ http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=58
    -เพลงเกร็ด http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=59
    -เพลงใหญ่ http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=60
    -เพลงละคร http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=61
    -เพลงเดี่ยว http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=62
    -เพลงหมู่ http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=63
    -เพลงลา http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=64
    -เพลงเรื่อง http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=65
    -เพลงหางเครื่อง http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=66
    -เพลงลูกหมด http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=67
    -เพลงภาษาและออกภาษา http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=68
    -เพลงโหมโรง http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=69
    -เพลงหน้าพาทย์ http://my.dek-d.com/shienfleur/story/viewlongc.php?id=292654&chapter=70

    http://www.banramthai.com/html/plengthai.html
    (ขอบคุณพี่ขุนศึกอยุธยา ที่ให้ลิงค์ความรู้นี้ อยากรู้มานานแล้วค่ะ)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×