ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #50 : [โขน] ประเพณี และความเชื่อในการแสดงโขน

    • อัปเดตล่าสุด 7 พ.ค. 50



    ประเพณี และความเชื่อในการแสดงโขน

    โขนเป็นนาฏศิลปที่มีธรรมเนียมการปฏิบัติในการแสดงหลายอย่าง บางอย่างก็ยังคงใช้กันอยู่ บางอย่างก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย การออกโรงแสดงก็ต้องตั้งเครื่องให้ครบ ในพิธีต้องมีศีรษะโขนตั้งประดิษฐานเป็นเครื่องสักการะ ก่อนแต่งตัวต้องมีการไหว้ครู เมื่อแต่งเสร็จก่อนจะสวมหัวโขนหรือชฎาก็ต้องไหว้ครู

            การปลูกโรงโขน ต้องมีพิธีเซ่นบวงสรวงบอกเจ้าที่ เจ้าทางให้รับทราบเพื่อปัดเสนียดรังควาน ด้วยถือว่าการแสดงหลายอย่างที่แข่งขันหรือประชันกัน มักมีการใช้ไสยศาสตร์กลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้ามให้เสียเปรียบ จึงต้องมีพิธีถอนอาถรรพ์กันก่อน เมื่อเลิกการแสดงแล้ว ผู้แสดงทุกคนจะต้องไหว้เคารพครูอีกครั้ง แล้วเข้าหลังโรงขอขมาลาโทษซึ่งกันและกันไปตามอาวุโส เพราะอาจมีการละเมิดล่วงเกินพลาดพลั้งไปในระหว่างการแสดง นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามสำคัญอีกหลายประการ เช่น ห้ามนำอาวุธที่ใช้ในการแสดงมาเล่นนอกเวลาแสดง ห้ามเดินข้ามอาวุธ ห้ามเล่นไม้ตะขาบ (หมายเหตุ : ไม้ที่ตีเพื่อให้เกิดเสียงดังด้วยการตีเพียงเบาๆ มักใช้ในการแสดงของตัวตลก) การเก็บหรือวางเครื่องโขนทั้งเวลาแสดง และเวลาเก็บ ต้องแบ่งเป็นสัดส่วน อาวุธต่างๆต้องเก็บในที่อันเหมาะสม หัวโขนยักษ์ ลิง ก็ต้องเก็บกันไว้คนละด้านโดยมีหัวพระฤาษีวางคั่นกลาง

     






    http://www.anurakthai.com/
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×