ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เล่าเรื่องถิ่นเมืองเหนือ

    ลำดับตอนที่ #5 : ปฐมกษัตริย์น่านแห่งราชวงศ์ภูคา

    • อัปเดตล่าสุด 29 ก.ย. 54


     

    พญาภูคา ปฐมกษัตริย์น่านแห่งราชวงศ์ภูคา

    ศาลพญาภูคา จังหวัดน่าน
                           พญาภูคาเดิมเป็นชาวเมืองเงินยาง (อยู่ทางตอนเหนือของ จ.น่าน) ได้อพยพพร้อมด้วยชายา ชื่อ จำปา หรือแก้วฟ้า นำราษฎรประมาณ ๒๒๐ คน เดินทางลงมาทางทิศใต้ ครั้งแรกได้ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณ ห้วยเฮี้ย (ปัจจุบัน ต.ศิลาแลง) ต่อมาเล็งเห็นว่าบริเวณเมืองล่าง (ปัจจุบัน ต.ศิลาเพชร) เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และชัยภูมิดีเหมาะที่จะสร้างเมือง (พื้นที่ดังกล่าวชนชาวลั๊วะหรือเขมรก่อตั้งเมืองมาก่อนแล้วแต่ปล่อยให้ร้างคงมีราษฎรเหลืออาศัยประมาณ ๔๐ ครอบครัว) จากนั้น พญาภูคาจึงได้นำราษฎรย้ายจากห้วยเฮี้ยมายังเมืองล่างภายหลังที่สร้างเมืองเสร็จเรียบร้อย และด้วยพระทัยที่กว้างขวางโอบอ้อมอารี ราษฎรต่างเลื่อมใสศรัทธาจึงพร้อมใจกันยกย่องพญาภูคาขึ้นเป็นพญาครองเมืองล่างเมื่อปี พ.ศ.๑๘๑๒ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓ ปกครองเมืองล่างเรื่อยมาจึงถึงแก่พิราลัยเมื่อปีพ.ศ.๑๘๘๐รวมระยะเวลาปกครองเมืองล่าง๖๘ปี 
                 
    สำหรับเมืองล่างเมื่อสิ้นยุคของพ่อพญาภูคาแล้วก็เริ่มเสื่อมลงเรื่อย ๆ กอปรกับเมืองล่างขณะนั้นถูกพม่าเข้าตีเมืองหลายครั้ง และล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๓ ได้เข้ามากวาดต้อนผู้คนรวมทั้งทำลายวัดวาอารามเก็บเอาทรัพย์สินไปหมด เมืองล่างจึงเสื่อม และเสียหายในที่สุด ต่อมาเมืองล่างเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองย่าง และประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๔ เมืองย่างได้เปลี่ยน ชื่อเป็นตำบลศิลาเพชรจนถึงปัจจุบัน

    เกียรติประวัติของพ่อพญาภูคา
      ๑.ด้านการเมือง/การปกครองได้ขยายเขตการปกครองออกไปดังนี้.
           -
    ทิศเหนือถือเอาศาลเมืองล่างเป็นเขต
           -
    ทิศใต้จรดเมืองสุโขทัย
           -
    ทิศตะวันออกจรดเขตเมืองหลวงพระบาง
           -
    ทิศตะวันตกจรดเขตพม่า
       
    ๒. ด้านศาสนา ปี พ.ศ. ๑๘๑๖ พญาภูคา นำราษฎรปฏิสังขรณ์ และบูรณะวัดมณี เพื่อให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเมืองล่าง รวมทั้งได้นิมนต์พระมหาเถระองค์หนึ่งซึ่งจาริกมาจากกรุงสุโขทัย ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดมณี
       ๓. ด้านการพัฒนา ได้ฟื้นฟูบูรณะเมืองล่างซึ่งเป็นเมืองร้างให้เจริญรุ่งเรือง ขุดสระเก็บน้ำ และขุดเหมืองฝาย เพื่อให้มีน้ำเพียงพอแก่การอุปโภคบริโภคและการเกษตร ประชาชนอยู่ดีกินดีบารมีแผ่ไปทั่วสารทิศ ทำให้ชาวเชียงแสน และชาวไทยลื้อสิบสองปันนาอพยพมาพึ่งบารมี และ อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข
     ปี พ.ศ. ๑๘๗๐ พญาภูคา และเสนาอำมาตย์ ได้เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงสุโขทัยได้เข้าเฝ้าพระร่วงเจ้า พระร่วงเจ้าทรงพอพระทัย จึงโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้พญาภูคา เป็นพ่อพญาภูคาครองเมืองล่าง นับแต่นั้นมากรุงสุโขทัย และเมืองล่าง จึงมีความสัมพันธ์อย่างดียิ่ง

                 
    พญาภูคาได้ขยายอาณาเขตการปกครองโดยส่งราชบุตรบุญธรรมสององค์ คือ ให้ขุนนุ่นผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (หลวงพระบาง) ส่วนขุนฟองผู้น้องไปสร้างเมืองวรนคร (เมืองปัว) และในสมัยพญากานเมือง (หลานพ่อพญาภูคา) ได้ย้ายเมืองจากวรนครไปสร้างเมืองที่แช่แห้งเรียกว่าเวียงภูเพียง เมื่อ ปี พ.ศ. ๑๙๐๒ และได้มีการโยกย้ายเมืองไปที่เวียงใต้ เวียงเหนือ และมาอยู่ที่เมืองน่านจนถึงปัจจุบัน
    พงศาวดาร หรือตำนานเมืองย่าง 
    ต่อ มาปี พ.ศ.๑๘๑๖ พญาภูคาและราษฎร จึงได้พร้อมใจกันบูรณะวันมณีขึ้นให้ดีงาน และได้ไปนิมนต์เอาพระมหาเถระองค์หนึ่งให้มาอยู่วัดนี้ ซึ่งจาริกมาจากสุโขทัยได้เป็นเจ้าอาวาสในวัดมณีขึ้น แล้วให้จัดทำเหมืองนาทุ่งแหนและนามุขขึ้น เมื่อทำเหมืองเสร็จเรียบร้อยแล้วก็เกณฑ์เอาราษฎร ถางป่าทางทิศตะวันตกเฉียงบ้านกำปุงขึ้นไป และพากันบุกเบิกทำเป็นนาขึ้น เรียกว่าทุ่งแหนและนามุขจนทุกวันนี้ สถานที่นั้นเป็นสระน้ำใหญ่ มีปลาและเต่าและสัตว์น้ำต่าง ๆ มีเป็นอันมากซึ่งพญาภูคาหวงแหนไว้มิให้คนใดทำอันตรายสัตว์น้ำที่มีอยู่ในสระ นี้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นจะทำอันตรายใด ๆ ทั้งสิ้นในปีหนึ่งจะมีการจับปลาในสระนี้ครั้งหนึ่ง ถ้าจะจับปลาในสระนี้แล้วจำเป็นต้องหาท้าวขุนหมื่นขุนแสนมาเป็นผู้ดูแล และเก็บเอาปลาจากผู้ที่จับได้ครั้งหนึ่งในขณะนั้นยังมีนางคนหนึ่งชื่อนางมุข จับปลาได้มาก แต่ได้เอาปลาไปช่อนไว้ที่บ่อน้ำหมายว่าจะไม่ให้ใครเห็น ในเมื่อคนทั้งหลายได้หนีหมดแล้ว นางก็ได้เอาปลาจากบ่อน้ำขึ้นมา มีชายคนหนึ่งเห็นเข้าจึงถามว่า นางเอาปลาซ่อนไว้ที่ไหนนางบอกว่าซ่อนไว้ในบ่อน้ำ ถ้าอย่างนั้นท่านจงชำระบ่อน้ำให้สะอาดดีกว่าเดิม นับแต่นั้นมาจึงได้เรียกว่า "บ่อน้ำนางมุข" หรือ เรียกว่า "บ่อน้ำนามุข" จนทุกวันนี้  ต่อมาเมื่อ  พ.ศ.๑๘๗๐  พญาภูคาพร้อมด้วยเสนาอำมาตย์   จึงได้พระมหาเถระเจ้า ไปถึงเมืองสุโขทัย แล้วพระมหาเถระองค์นั้นกล่าวว่า พระร่วงท่านมีสมภารมากจะหาพระมหากษัตริย์องค์ใดจะเสมอมิได้ และเอาใจใส่ในพระบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างดี และเป็นที่ชุมนุมแห่งนักบวชทั้งหลาย ในเมื่อพญาภูคากับพระมหาเถระเสด็จไปถึงเมืองพระร่วงแล้ว พอพระร่วงได้เห็นพญาภูคาเสด็จมาเป็นที่น่ารักมาก จึงได้แต่งตั้งให้เป็น พ่อพญาภูคาครองเมืองล่าง เมืองสุโขทัยกับเมืองล่างจึงได้ติดต่อกันนับตั้งแต่นั้นมา เมืองล่างก็เป็นเมืองส่วยของพระร่วง ขณะนั้นพญาภูคามีบุตรอยู่สองคน ผู้พี่ชื่อขุนนุ่น ผู้น้องชื่อท้าวขุนฟอง เมื่อเจ้าทั้งสองเติบใหญ่ขึ้นมา ท่าวขุนนุ่นอายุได้ ๑๕ ปี จึงเข้าไปหาพญาภูคาซึ่งเป็นบิดาของตนว่า ฉันทั้งสองอยากเป็นเจ้าเมือง พญาภูคาผู้เป็นบิดาจึงได้ชี้แจงว่า ถ้าเจ้าทั้งสองรักจะเป็นใหญ่ใฝ่สูงเช่นนี้ให้เข้าไปหาฤษีเถระแดงที่อยู่ ระหว่างดอยติ้วและดอยยาวนั้นเถอะ เจ้าขุนนุ่นและเจ้าขุนฟอง สองพี่น้องก็ได้กราบลาผู้เป็นบิดาของตนไปหาฤษีเถระแดงพอฤษีเห็นทั้งสองเข้า ไปหาก็ถามเหตุการณ์ต่าง ๆ จนได้ทราบว่าพญาภูคาให้มาก็ได้ตอบรับทั้งสอง เสร็จแล้วฤษีก็นำเจ้าขุนนุ่นและเจ้าขุนฟองไปข้ามแม่น้ำโขง ข้างหน้าก็เห็นเวียงจันทร์อยู่ที่นั้น ก็ชักชวนชาวเวียงจันทร์ทั้งหมดแผ่วถางที่พร้อมได้สร้างเมืองเวียงจันทร์ขึ้น เรียบร้อยแล้วก็ได้บอกให้ชาวเวียงจันทร์ทั้งหมดให้เจ้าขุนนุ่นปกครอง ต่อจากนั้นฤษีก็พาเจ้าขุนฟองกลับมาถึงที่แห่งหนึ่ง ไกลจากน้ำน่านประมาณ ๕,๐๐๐ วา ที่นั้นเป็นที่ราบเรียบดี จึงได้พาราษฎรในหมู่บ้านลาวชาวเขาทั้งหมดมาอยู่ที่ราบแล้วก็ได้พร้อมใจกัน สร้างเมืองขึ้นที่นั้น จึงตั้งชื่อเมืองว่า "เมืองวรนคร" อยู่ที่นั้น ทีนี้พ่อพญาภูคาปกครองเมืองล่างนานได้ ๕๐ ปีแล้ว พอถึง พ.ศ.๑๘๘๐ พญาภูคาก็ถึงแก่กรม รวมพระชนมายุ ๖๘ พรรษา


    ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
    -http://www.mdu31.com (ประวัติเจ้าพ่อพญาภูคา:หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๓๑ สำนักงานพัฒนา ภาค๓ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองทัพไทย จ.น่าน)
    http://www.nan2day.com  (ภาพจาก :nan2day.com :งานพิธีบวงสรวงเจ้าหลวงภูคา)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×