คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #5 : เทคนิคในการเลี้ยงลูก
เทคนิคในการเลี้ยงลูก
เทคนิคที่สำคัญที่สุด คือความรัก แต่ความรักต้องไปคู่กับกฎเกณฑ์ ภาษาอังกฤษคือ
Love กับ Law ต้องไปคู่กัน เพราะถ้ารักอย่างเดียวมักจะนำไปสู่การรักที่ผิด ตามใจมากจนทำให้
เสียเด็ก แต่ถ้ามีกฎเกณฑ์โดยปราศจากความรักมักจะนำไปสู่เผด็จการ อันนำไปสู่การเก็บกด
ของเด็ก ก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ผมอยากฝากเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้คุณพ่อแม่ลองนำไปปฏิบัติดังนี้
1. เล่านิทานดี ๆ ให้ดูทีวีน้อย ๆ ท่านมหาตมคานธีท่านเล่าว่า ท่านเปลี่ยนชีวิต
เพราะนิทาน 2 เรื่อง คือ เรื่องกษัตริย์หริจันทร์ผู้ยึดมั่นในความจริง และเรื่องของเด็กกตัญญู
นิทานมีพลังมากมากมายในการเปลี่ยนแปลงเด็ก ผมใช้นิทานในการรักษาเด็ก เทคนิคหนึ่งที่ผม
ใช้รักษาครอบครัวคือ ให้พ่อแม่ไปหานิทานดี ๆ เล่าให้ลูกฟัง การที่พ่อแม่เล่านิทานให้ลูกฟังมี
ประโยชน์หลายอย่าง คือ พ่อแม่ต้องเลือกสรรนิทานที่ทำให้คิด มีคุณค่า พ่อแม่เองก็ได้ประโยชน์
จากนิทานสอนใจ ครอบครัวก็มีความสุขด้วยกัน
ตัวอย่างนิทาน ความสุขอยู่ที่ไหน คือมีคุณยายท่านหนึ่ง กำลังหาของอยู่ริมถนน
หาอยู่นานก็ดูเหมือนไม่เจอะไร สักพักหนึ่งก็มีวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งเดินมาถามว่า “คุณยายหาอะไร
อยู่หรือ ให้พวกผมช่วยไหมครับ” ยายตอบว่า “ยายหาเข็มเย็บผ้า” กลุ่มวัยรุ่นเลยช่วยกันหา
พักใหญ่ไม่เจอเลยถามคุณยายว่า “คุณยายทำเข็มตกที่ไหนหรือครับ” ยายตอบว่า “อ๋อ ยายทำ
ตกในบ้านแต่บ้านยายไม่มีไฟฟ้าในบ้านจึงมืด ข้างนอกสว่างดี ยายเลยมาหาเผื่อเจอบ้าง” พวก
วัยรุ่นได้ยินแล้วหัวเราะแล้วพากันเดินหนีไป ชีวิตของเราก็คล้ายคุณยายครับ ถ้าถามว่าความสุข
หายไปจากที่ไหนทุกคนตอบได้ว่าหายไปจากจิตใจของเรา แต่เรากลับไปหาจากข้างนอก เช่น
ตามห้างสรรพสินค้า ตามบาร์ หรือแสวงหาวัตถุต่าง ๆ ให้มากขึ้น โดยลืมหาในจิตใจของเรามันก็
ไม่พบเท่านั้นเอง
เรื่องดูทีวีน้อย ๆ นี้ก็สำคัญ ปัจจุบันนี้ทั้งเด็กและพ่อแม่ติดทีวีมาก ทันทีที่กลับถึงบ้าน
หลายคนเปิดดูทีวีก่อน หลายคนมีทีวีแทนพี่เลี้ยง ดูทีวีกันวันละหลายชั่วโมง อันนี้อันตรายมาก
เราคงไม่ปล่อยให้คนแปลกหน้ามาเลี้ยงลูกวันละหลายชั่วโมง มาสอนอะไรก็ไม่ทราบ แต่เรากลับ
ปล่อยให้ทีวีซึ่งเป็นคนแปลกหน้าดี ๆ นี่เองมาสอนลูกเรา ผลเสียจากการดูทีวีมาก ๆ มีดังนี้
- ทำให้ก้าวร้าว เด็กเลียนแบบความก้าวร้าวเลียนแบบวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้อง
เห็นความก้าวร้าวจนเคยชินจนคิดว่าเป็นธรรมดา
- ทำให้ฉลาดน้อยลง การศึกษาพบว่า เด็กที่ดูทีวีมาก สมองจะทำงานระดับ
ตื้น ๆ (responding level) คือ แค่เห็นแล้วเทียบกับความจำเก่า เพราะว่าทีวีอธิบายจัดภาพให้
เสร็จ เด็กอาจดูเหมือนฉลาด พูดเก่ง แต่โดยมากมักจะพูดจากความจำระดับตื้น ๆ แต่ถ้าพ่อแม่
เล่านิทานให้ลูกฟัง เด็กต้องใช้จินตนาการสูงมากในการนึกภาพตาม ตอนนี้สมองได้มีโอกาส
ทำงานระดับลึก (reflecting level) ต่างจากนิทานที่ทีวีเล่าให้ฟัง ทีวีจะทำให้เสร็จหมด ในที่สุด
เด็กจะกลายเป็นคนไม่คิดลึก จับจดสมาธิไม่ดี พ่อแม่มักบอกว่าเวลาดูทีวีสมาธิดี แต่พอให้ทำ
อย่างอื่นสมาธิกลับสั้น
2. มีดนตรีในหัวใจ ดนตรีหรือเพลงที่ดี มีอิทธิพลต่อสมองเด็กมาก ทำให้สมาธิและ
จินตนาการของเด็กดีขึ้น เราสามารถปลูกฝังคุณค่าที่ดีโดยผ่านเพลงที่ดีให้กับเด็กได้โดยง่าย
พ่อแม่ควรเลือกประเภทของดนตรีและเพลงร่วมกับลูก ไม่ควรส่งเสริมให้เด็กฟังเพลงที่รุนแรง
ไร้สาระ สนุกไปคราว ๆ แต่ควรฟังเพลงเบา ๆ ที่มีคุณค่าแทรกอยู่ในเนื้อเพลงด้วย ถ้ามีโอกาสควร
ส่งเสริมให้เด็กเล่นเครื่องดนตรีเป็นสักอย่างหนึ่ง จะเป็นอะไรก็ได ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีไทยหรือ
สากล เช่น เปียโน อิเล็กโทน ฯลฯ การฝึกให้เล่นเป็นจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กเอง เช่น การฝึก
วินัย จังหวะ ความอดทน และเป็นประโยชน์ต่อตัวเองในอนาคต
3. แทรกคุณธรรมเมื่อมีโอกาส เมื่อมีโอกาสพ่อแม่ควรพยายามแทรกคุณธรรมใน
การพูดคุยหรือการสอน เช่น สอนเรื่องต้นไม้กับเด็ก อย่าหยุดแค่ที่ต้นไม้ ควรชี้ให้ลูกเห็นด้วยว่า
“ดูต้นไม้ซิลูก มันให้ร่มเงากับทุกคน ไม่ว่าคนที่มาพักใต้ต้นไม้จะเป็นคนรวย จน ดี หรือไม่ดี มัน
ไม่แบ่งแยก ชีวิตของเราก็เช่นกัน ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ให้ร่มเงากับทุกคน เราควรช่วยเหลือทุก
คนที่มาขอความช่วยเหลือจากเรา” หรือสอนเรื่องภูเขา เราอาจแทรกคุณธรรมของความอดทนลง
ไปได้ “ลูกดูภูเขาซิลูกไม่ว่าฝนจะตก แดดจะแรง พายุจะพัดถล่ม ภูเขาก็ตั้งตรงแข็งแรงเป็นสง่า
จิตใจเราก็ควรเป็นเช่นภูเขา ใครจะว่า ใครจะชม ใครทำดีหรือไม่ดีกับเราเราไม่ควรหวั่นไหวเรา
ควรทำจิตใจให้เหมือนภูเขา”
4. พ่อแม่ปรองดอง ครอบครัวเปรียบเสมือนประเทศ พ่อแม่เปรียบเสมือนรัฐบาลที่
ปกครองประเทศ รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลผสมใหญ่สองพรรค คือ พรรคพ่อ พรรคแม่ ซึ่งรัฐบาลผสม
ที่ดีต้องมีเอกภาพพ่อแม่ไม่ทะเลาะกัน ไม่แตกแยก มิฉะนั้นประเทศชาติพังแน่ ครอบครัวก็เช่นกัน
พ่อแม่ควรทำความเข้าใจกันให้ดีการทะเลาะเบาะแว้งที่ว่าไม่จำเป็นต้องมีการใช้กำลังกัน การมี
สงครามเย็นในบ้านก็เป็นอันตรายเช่นกัน การที่ครอบครัวไม่สงบจะรบกวนการฝึกวินัยของลูก
ความอบอุ่นในบ้านก็เสีย ความภูมิใจในตนเองของเด็กก็จะไม่ดี รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีสำหรับ
เด็กในการแก้ปัญหา เด็กเห็นมาตั้งแต่เล็กว่าคนที่สำคัญที่สุดของเขากลับใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องใน
การแก้ปัญหา เช่น ทะเลาะกัน หรือใช้ความรุนแรง
5. ฝึกเด็กให้มีสมาธิ สมาธิที่ดีเป็นหัวใจของการแสวงหาความรู้ เด็กสองคนฉลาด
พอกัน เด็กที่มีสมาธิดีกว่าจะก้าวหน้ามากกว่า อย่าให้เด็กทำหลายสิ่งหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
เช่น ดูทีวีพร้อมกับรับประทานอาหารซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี แบ่งแยกความสนใจ ฝึกเด็กให้ทำ
อะไรให้เสร็จทีละเรื่อง เล่นของเล่นทีละอย่าง มีใจจดจ่ออยู่ในงานที่ทำ
ความคิดเห็น