ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สถานการณสิ่งแวดล้อมประเทศไทย

    ลำดับตอนที่ #5 : แผนฯ ฉบับที่ 9 : เพื่อใคร อย่างไร ใครได้ประโยชน์

    • อัปเดตล่าสุด 13 ธ.ค. 49


              การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
    จะให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมบทบาทของท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน
    ในการดูแลรักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเองเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
    แนวทางสำคัญที่ควรดำเนินการต่อไป คือ การสร้างกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
    และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย  โดยเฉพาะการออกกฎหมายป่าชุมชน
    และทรัพยากรน้ำ  การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินและเขตการใช้ประโยชน์ทางทะเล
    การนำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรม  และการ
    เพิ่มบทบาทชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

              อย่างไรก็ตาม การอนุรักษ์ฟื้นฟูและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    มีแนวโน้มข้อจำกัดมากขึ้น  เนื่องจากขีดความสามารถและกลไกของภาครัฐในการดำเนินการ
    แก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีจำกัด  เป็นการตั้งรับ
    คอยตามแก้ปัญหา  โดยเฉพาะปัญหาด้านการบังคับใช้กฏหมาย
    และกลไกการบริหารจัดการ ตลอดจนข้อจำกัดด้านงบประมาณ
    ยังไม่เปิดโอกาส ให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างเต็มที่
    ทำให้เกิดความขัดแย้งของคนในสังคม  นอกจากนี้ยังขาดการวิจัยและ
    พัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
    และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประชาชนส่วนใหญ่ยังมีส่วนร่วมไม่มากเท่าที่ควร และขาดความรู้
    ความเข้าใจ และจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาอีกด้วย

              แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) จะเป็นแผนต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
    ทั้งในแง่กระบวนการ แนวคิดและทิศทางหลัก คือ การยึดปรัชญา " คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา"
     
    และ "เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้าง " ค่านิยม" ที่เป็นแก่นของแผนและเป็นแนวทาง
    ในการ ดำเนินวิถีชีวิตของคนไทย และเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีเพื่อให้เกิดการ
    เปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคม  โดยการพัฒนาไปสู่ "สังคมคุณภาพ" ที่มีความสมดุลพอดีและเน้นการ
    พึ่งตนเองเป็นหลัก   และไปสู่ "สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้" รวมทั้งการพัฒนาเพื่อ
    ไปสู่ "สังคมที่เอื้ออาทรต่อกัน"

              เมื่อพิจารณาตามแนวทางของแผนฯ ฉบับที่ 9 ข้างบนนี้ ความหวังที่จะเห็นผู้คนในสังคมไทย
    มีการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น  มีความเข้าใจตรงกันว่า
    สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน   สาเหตุที่แท้จริงของความสูญเสีย
    ความหลากหลายของสรรพชีวิตและระบบนิเวศที่ย่อยยับมาจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์
    จึงเป็นภารกิจของเราที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาต่างๆ และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม
    สิ่งเหล่านี้  น่าจะมีความเป็นไปได้ค่อนข้างดีในอนาคต
     

    สู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ -
    องค์ความรู้ใหม่ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของไทย

              การที่ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง หมายถึง เรามีทรัพยากรชีวภาพ
    เป็นจำนวนมากมายและหลายรูปแบบที่เปรียบเสมือน " ขุมทรัพย์ล้ำค่า" ที่รอคอยการค้นพบ
    โดยนักวิจัยไทยเพื่อที่จะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป 
    หากไม่มีการศึกษาค้นคว้า วิจัยในเรื่องนี้และปล่อยให้ขุมทรัพย์ของเรามีผู้อื่นมาขุดค้นไปใช้
    สมบัติของเราก็คงจะร่อยหรอลงไปเรื่อยๆ และทรัพยากรชีวภาพอีกมากมายหลายชนิด
    ก็อาจจะสูญพันธุ์ไปโดยที่เรายังไม่ทันที่จะรู้จัก โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบาย
    การจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย หรือ โครงการ BRT http://brt.biotec.or.th
    ที่ได้ดำเนินมาเกือบครบ 5 ปีแล้วจึงเปรียบเสมือนจุดเปลี่ยนที่สำคัญของวงการวิทยาศาสตร์-
    พื้นฐานด้านชีววิทยาเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่มีอยู่กระจัดกระจาย
    ตามสภาพนิเวศที่หลากหลายของประเทศไทย เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ๆ อันจะนำไปสู่
    การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรชีวภาพของประเทศอย่างเหมาะสม รวมทั้งการสร้าง
    นักวิจัยด้านชีววิทยารุ่นใหม่ให้กับบ้านเมืองนี้

              "ความเข้าใจ" และ "การเข้าถึง" ความหลากหลายทางชีวภาพ จะช่วยทำให้เราเห็น
    ความเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง ซึ่งรวมถึงสายสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์พื้นฐานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
    วิถีชีวิต และวัฒนธรรมไทย   และทำให้เข้าใจแจ่มแจ้งว่าป่าเขตร้อนมิได้เป็นเพียงแหล่งรวม
    ของความหลากหลายทางชีวภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางวัฒนธรรม
    อีกด้วย  นอกจากนั้นยังทำให้เราประจักษ์ใน "ความเป็นทั้งหมด" และได้รู้ซึ้งถึงธรรมชาติแบบ "องค์รวม"  นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2539 เป็นต้นมาจนถึงขณะนี้โครงการ BRT กำลังสร้างปัญญาใหม่
    ให้กับสังคมไทยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าได้ตอบสนองต่อการ
    พัฒนาประเทศตามแผนฯ ฉบับที่ 9 เพื่อนำสังคมไทยไปสู่ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
    ควบคู่กับความสามารถในการแข่งขัน และ  สังคมที่เอื้ออาทรต่อกัน 

              เราจึงขอนำเสนอสาระแห่งความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยมาเสนอทุกท่าน
    ผู้เข้ามาชมเว็บไซด์ของเราในรูปแบบของบทเรียนที่ผ่านระบบเครือข่าย World Wide Web หรือ
    Web-based course
    วิชา ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย (Introduction to
    Biodiversity in Thailand)
      เพื่อความพร้อมที่จะก้าวไปด้วยกันอย่างมั่นใจสู่ยุคชีวเศรษฐกิจ -
    เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ในสหัสวรรษ 2000

    วันที่ 29 ธันวาคม ของทุกปี
    เป็นวันความหลากหลายทางชีวภาพ (สากล)
    เนื่องจากอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
    (Convention on Biodiversity)
    ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไป
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×