ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังเก็บข้อมูล/ความรู้ (อิสลาม)

    ลำดับตอนที่ #5 : ความประเสริฐของเดือนมูฮัรรอม

    • อัปเดตล่าสุด 6 ม.ค. 58


    (พิมพ์ไว้ตอนหาข้อมูลทำกิจกรรมวันอาชูรอ ตอนนั้นในเน็ตมีแต่ไฟล์ Pdf. คัดมาจาก  http://d1.islamhouse.com/data/th/ih_books/th_fadayel_ashouraa_muharram.pdf  )

     

     

    ความประเสริฐของเดือนมูฮัรรอม

     

    เดือนมุฮัรรอมเป็นเดือนที่ยิ่งใหญ่และมีความประเสริฐ เป็นเดือนแรกในรอบปีฮิจเราะฮ์ศักราช และเป็นเดือนหนึ่งของบรรดาเดือนที่ต้องห้าม (อัชฮุรฺ-อัล-หุรุม) อัลลอฮ์ได้ตรัสว่า
    ความว่า “แท้จริงจำนวนเดือนต่างๆ ณ ที่อัลลอฮ์นั้นมีสิบสองเดือนในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน ในจำนวนเดือนต่างๆ เหล่านั้นมีสี่เดือนที่ต้องห้าม นั่นคือบัญญัติอันเที่ยงตรง ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าอธรรมต่อตัวของพวกเจ้าเองในเดือนเหล่านั้น” (อัตเตาบะฮ์ : 36)

    อบูบักรเล่าว่า ท่านนบี ซล. ได้กล่าวว่า

    หนึ่งปีมีสิบสองเดือน ในจำนวนเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือนที่ต้องห้าม นั่นคือ เดือนซุลเกาะดะฮ์ ซุลฮิจยะฮ์ และมุฮัรรอม และเดือนรอยับของมุฏ็อรซึ่งอยู่ระหว่างเดือนญะมาดา (อัลอาคิเราะฮ์) และชะบาน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรี: 2958)

    มุฮัรรอมถูกเรียกเช่นนี้เนื่องจากเพราะเป็นเดือนที่ต้องห้าม และเพื่อเป็นการตอกย้ำถึงความเป็นเดือนต้องห้ามของมัน ส่วนดำรัสของอัลลอฮ์ที่ว่า “ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าอธรรมตัวของพวกเจ้าเองในเดือนเหล่านั้น” หมายถึง ห้ามอธรรมในเดือนที่ต้องห้ามเหล่านี้จะมีโทษและบาปที่ร้ายแรงกว่าการกระทำบาปในเดือนอื่นๆ

    อิบนุ อับบาส ได้อธิบายดำรัสของอัลลอฮ์ข้างต้นว่า “ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าอธรรมในเดือนต่างๆทั้งสิบสองเดือนเหล่านั้น หลังจากนั้นพระองค์ทรงเจาะจงเฉพาะสี่เดือน และทำให้การอธรรมในสี่เดือนนั้นเป็นบาปใหญ่และเป็นการเชิดชูในเกียรติของมัน

    เกาะตาดะฮ์ กล่าวว่า อธิบายอายะฮ์ข้างต้นว่า “แน่แท้การอธรรมในเดือนต้องห้ามทั้งสี่เป็นความผิดและบาปที่ยิ่งใหญ่กว่าการอธรรมในเดือนอื่นๆ ถึงแม้ว่าการอธรรมในทุกๆกรณีจะเป็นบาปใหญ่อยู่แล้วก็ตาม ทว่าอัลลอฮ์ทรงเชิดชูกิจการบางประการของพระองค์ตามที่พระองค์ทรงประสงค์

    ท่านกล่าวต่อไปว่า “แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเลือกเฟ้นบรรดาผู้ที่บริสุทธิ์จากบ่าวของพระองค์ พระองค์ทรงเลือกเฟ้นผู้แทนหรือทูตของพระองค์จากหมู่มาลาอีกะฮ์และมนุษย์ ทรงเลือกเฟ้นคำกล่าวซิกรฺต่อพระองค์จากคำพูดทั้งหลาย ทรงเลือกเฟ้นสถานที่เคารพพระองค์(มัสยิด)จากแผ่นดินต่างๆ ทรงเลือกเฟ้นเดือนรอมฎอนและเดือนต่างๆที่ต้องห้ามจากบรรดาเดือนทั้งหลาย ทรงเลือกเฟ้นค่ำคืนอัล-ก็อดรฺจากค่ำคืนทั้งหมด ดังนั้นพวกท่านจงเชิดชูและให้เกียรติ เพราะแท้จริงสิ่งต่างๆที่ควรค่าแก่การให้เกียรติและเชิดชูจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงให้เกียรติและเชิดชูเท่านั้น ตามทัศนะของผู้ที่เข้าใจและมีสติปัญญา

    (คัดย่อ จากตัฟซีร อิบนุ กะษีร จากซูเราะฮ์ อัตตเตาบะฮ์ อายะฮ์ที่ 36)

     

     

    ความประเสริฐของการถือศีลอดสุนัตให้มากๆในเดือนมุฮัรรอม

    อบูฮูรอยเราะฮ์เล่าว่า ท่านรอซูล ซล.กล่าวว่า

    การถือศีลอดที่ประเสริฐที่สุดหลังจากเดือนรอมฎอน คือการถือศีลอดในเดือนของอัลลอฮ์ที่ชื่อว่าอัล-มุฮัรรอม” (บันทึกโดยมุสลิม เลขที่ 1982)

    คำว่า “เดือนของอัลลอฮ์” ซึ่งถูกพาดพิงไปยังอัลลอฮ์ เป็นการพาดพิงในรูปของการให้เกียรติและเชิดชู

    อัล-กอรีย์ กล่าวว่า โดยผิวเผินแล้ว (ความประเสริฐของการถือศีลอดสุนัต) ที่หมายถึงในที่นี้จะครอบคลุมเดือนมุฮัรรอมทั้งเดือน เพียงแต่ว่ามีรายงานที่ระบุว่าท่านนบี ซล.ไม่เคยถือ ศีลอดหนึ่งเดือนเต็มนอกจากเดือนรอมฎอนเท่านั้น ดังนั้นจึงถือว่าฮะดีษข้างต้นส่งเสริมให้ถือศีลอดในเดือนมุฮัรรอมให้มากๆ ไม่ใช่ถือศีลอดทั้งเดือน แท้จริง ได้มีรายงานที่ถูกต้องระบุว่า ท่านนบี ซล. ชอบถือศีลอดในเดือนชะบานเป็นจำนวนมาก จึงเป็นไปได้ว่าในตอนนั้นท่านยังไม่ได้รับวะฮยูเกี่ยวกับความประเสริฐของเดือนมุฮัรรอมนอกจากในช่วงท้ายของชีวิตก่อนที่ท่านจะมีโอกาสได้ถือศีลอดในเดือนมุฮัรรอม...(ดูชัรฮ เศาะฮีหฺ มุสลิมของ อันนะวะวีย์)

     

    วันอาชูรอในประวัติศาสตร์

    อิบนุ อับบาสเล่าว่า

    เมื่อครั้งที่ท่านนบี ซล.เดินทางถึงนครมาดีนะฮ์ ท่านได้เห็นชาวยะฮูดีถือศีลอดในวันอาชูรอ ท่านจึงถามว่า

    วันนี้วันอะไร

    พวกเขาตอบว่า

    วันนี้เป็นวันที่ดี เป็นวันที่อัลลอฮ์ทรงทำให้แผ่นดินชาวอิสรออีลรอดพ้นจากศัตรูของพวกเขา ดังนั้นท่านนบีมูซาจึงถือศีลอดในวันนี้ (เพื่อเป็นการชูโกรต่อพระองค์)

    ท่านนบี ซล.จึงกล่าวว่า

    ถ้าเป็นเช่นนั้น ฉันย่อมมีสิทธิในมูซามากกว่าพวกเจ้า” แล้วท่านก็ถือศีลอด(ในวันนั้น)และสั่งให้(ชาวมุสลิม)ถือศีลอดในวันนั้นด้วย” (บันทึกโดยอุล-บุคอรีย์ เลขที่1865)

    ในรายงานของอิบนุ อับบาสอีกสำนวนหนึ่งเล่าว่า

    เมื่อครั้งที่ท่านนบี ซล.เดินทางถึงนครมาดีนะฮ์ ท่านได้เห็นชาวยะฮูดีถือศีลอดในวันอาชูรอ ดังนั้นท่านจึงถามพวกเขาว่า

    วันที่พวกเจ้าต่างถือศีลอดกันนั้นเป็นวันอะไร

    พวกเขาตอบว่า

    วันนั้นเป็นวันที่ยิ่งใหญ่ เป็นวันที่อัลลอฮ์ทรงทำให้นบีมูซาและประชาชาติของท่านรอดพ้น (จากศัตรูของพวกเขา) และเป็นวันที่พระองค์ทรงทำให้ฟิรเอาน์และประชาชาติของเขาจมทะเล ท่านนบีมูซาจึงถือศีลอดในวันนั้น เพื่อเป็นการชูโกรต่อพระองค์ ดังนั้นพวกเราจึงถือศีลอดในวันนั้นด้วย” 

    ท่านนบี ซล.จึงกล่าวว่า

    ถ้าเป็นเช่นนั้น พวกเรา(ชาวมุสลิม)ก็ย่อมมีสิทธิในมูซามากกว่าพวกเจ้า

    แล้วท่านรอซูล ซล.ก็ถือศีลอดในอาชูรอ และสั่งให้(ชาวมุสลิม)ถือศีลอดในวันนั้นด้วย

    บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ เลขที่ 3145,มุสลิม เลขที่ 1911 และเป็นสำนวนของมุสลิม)

    อบูฮูรอยเราะฮ์ได้รายงานเพิ่มเติมว่า

    พวกเขาตอบว่า “...และวันนี้เป็นวันที่เรือ(ของนบีนูหฺ)ได้จอดยังภูเขาญูดีย์ด้วย ดังนั้น นบีนูหฺและนบีมูซา จึงถือศีลอดในวันนี้เพื่อเป็นการขอบคุณอัลลอฮ์” และท่านนบี ซล.จึงกล่าวว่า “ถ้าเป็นเช่นนั้น ฉันย่อมมีสิทธิในมูซามากกว่าพวกเจ้า และมีสิทธิในการถือศีลอดในวันนี้(มากกว่าพวกเจ้าด้วย)” แล้วท่านก็สั่งให้ซอฮาบะฮ์ของท่านถือศิลอดในวันนั้น

    (บันทึกโดย อะหฺมัด เลขที่8360)

     

    การถือศีลอดในวันอาชูรอเป็นที่รู้จักกัน แม้กระทั่งในยุคญาฮีลียะฮ์ ก่อนที่ท่านนบีซล.จะถูกแต่งตั้งให้เป็นนบี ได้มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ว่า

    แท้จริงชาวญาฮีลียะฮ์(ก่อนอิสลาม)เคยถือศีลอดในวันอาชูรออ์ด้วย

    (บันทึกด้วยสำนวนที่ใกล้เคียงโดยอัลบุคอรีย์ เลขที่1489 , 1760 ,มุสลิม เลขที่ 1898,1900 ,1901 ,1904 จากรายงานของอิบนุอุมัร)

    อัลกุรฏุบีย์กล่าวว่า “บางที ชาวกุเรชอาจจะพาดพิงที่มาของการถือศีลอดของพวกเขายังบัญญัติของชนรุ่นก่อน อย่างเช่น บัญญัติของนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม เป็นต้น และแท้จริงได้มีการรายงานที่ถูกต้องว่าท่านนบี ซล. เคยถือศีลอดวันอาชูรออ์ก่อนที่ท่านจะอพยพไปมักกะฮ์


    ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า

    كَانَتْ قُرَيْشٌ عَاشُورَاءَ الْجَاهِلِيَّةِ رَسُولُ صَلَّى عَلَيْهِ 
    يَصُومُهُ هَاجَرَ الْمَدِينَةِ وَأَمَرَ فَلَمَّا شَهْرُ قَالَ شَاءَ وَمَنْ تَرَكَهُ

    ชาวกุเรชเคยทำการถือศีลอดวันอาชูรออฺในสมัยญาฮีลียะฮ์ และท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทำการถือศีลอดเช่นกัน ดังนั้นในขณะที่ท่านได้อพยพสู่นครมะดีนะฮ์ ท่านได้ใช้ให้ทำการถือศีลอด (วันอาชูรออฺ) และในขณะที่เดือนรอมะฎอนถูกฟัรดู (ให้ถือศีลอด) ท่านร่อซูลุลลอฮ์ จึงกล่าวว่า ผู้ใดต้องการจะถือศีลอด ก็จงทำเถิด และผู้ใดที่ต้องการละทิ้ง ก็ละทิ้งเถิด” (รายงานโดยมุสลิมฮะดีษลำดับที่ 1897)

     

    หลังจากที่ท่านเดินทางอพยพไปยังนครมาดีนะฮ์ ท่านพบว่าชาวยะฮูดีมีการจัดงานรื่นเริงในวันนั้น ดังนั้นท่านจึงถามพวกเขาถึงเหตุผลดังกล่าว พวกเขาก็ตอบดังที่มีระบุในฮะดีษที่ผ่านมา และท่านก็สั่งให้ปฏิบัติที่ค้านกับพวกในเรื่องของการยึดวันนั้นเป็นวันรื่นเริง ดังที่มีระบุในคำกล่าวของอบูมูซาว่า “เมื่อก่อนชาวยะฮูดีถือว่าวันอาชูรอเป็นวันอีด (วันรื่นเริงของพวกเขา)” (บันทึกโดยอุล-บุคอรีย์ เลขที่ 1866)

    ในสำนวนของมุสลิมระบุว่า

    เมื่อก่อนวันอาชูรอเป็นวันที่ชาวยะฮูดีให้เกียรติและพวกเขายึดเอาวันนั้นเป็นวันอีด(สำหรับพวกเขา)” (บันทึกโดยมุสลิม เลขที่ 1912)

    และในอีกสำนวนหนึ่งระบุว่า

    เมื่อก่อนชาวยิวค็อยบัรจะยึดเอาวันนั้นเป็นวันอีด(สำหรับพวกเขา) พวกเขาจะให้บรรดาสตรีของพวกเขาแต่งกายด้วยเครื่องประดับที่สวยงาม” (บันทึกโดย มุสลิม เลขที่ 1913)
    ดังนั้นท่านรอซูล จึงกล่าวว่า “พวกท่านจงถือศีลอด (อย่างเดียวพอ)” (ดูอ้างอิงที่ผ่านมา)
    ตามความหมายโดยผิวเผินของฮะดีษนี้(ทำให้เข้าใจว่า) เหตุผลที่ท่านนบีสั่งให้ถือศีลอดในวันนั้น เพราะท่านชอบที่จะให้ค้านกับชาวยะฮูดี แม้กระทั่งให้ถือศีลอดในวันที่พวกเขาละศีลอด เพราะวันอีดเป็นวันที่ไม่มีการถือศีลอด

    (ข้อความโดยสรุปจากคำพูดของอัล-ฮาฟิซ อิบนุ ฮะญัร ในฟัตฮุล บารีย์)

     

     

    ความประเสริฐของการถือศีลอดวันอาชูรอ

    อิบนิ อับบาส (รอดีฯ) เล่าว่า

    ฉันไม่เคยเห็นท่านนบี ซล. พยายามมุ่งมั่นเจาะจงเพื่อที่จะถือศีลอดในวันใดๆที่จริงจังมากกว่าวันอื่นๆ นอกจากวันนี้ วันอาชูรอ และเดือนนี้ หมายถึงเดือนรอมฎอน

    (บันทึกโดย อัล บุคอรี เลขที่ 1867)

    คำว่า “ยะตะฮัรรอ”(มุ่งมั่น) หมายถึง ตั้งใจและชอบที่จะถือศิลอด เพื่อที่จะได้รับผลบุญจากการถือศิลอดในวันนั้น

    ท่านนบี ซล.กล่าวว่า

    การถือศิลอดในวันอาชูรอ ฉันหวังว่าอัลลอฮ์จะทรงลบล้าง(บาปต่าง)ที่(ได้กระทำไว้เมื่อ)หนึ่งปีที่ผ่านมา” (บันทึกโดยมุสลิม เลขที่ 1976)

    นี่คือความเมตตาของอัลลอฮ์ต่อพวกเราที่พระองค์ประทานการถือศิลอดเพียงวันเดียวให้แก่พวกเราเพื่อเป็นการลบล้างบาปต่างๆ(ที่เราได้กระทำมา) เป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม)

    วันอาชูรอ คือวันไหน?

    อันนะวะวีย์กล่าวว่า “...บรรดาสหายของเรา(อุลามะอ์มัซฮับอัชชาฟิอีย์)กล่าวว่า อาชูรอคือวันที่ 10 ของเดือน มุฮัรรอม และ ตาซูอา คือวันที่ของเดือนนี้...และนี่คือทัศนะของญุมฮูร(ฮุลามาอ์ส่วนใหญ่” (อัล-มุจญ์มูอ์ เล่ม 6 หน้า 352)

    อิบนุ กุดามะฮ์ กล่าวว่า “อาชูรอคือวันที่ 10 ของเดือนมุฮัรรอม นี่คือทัศนะของสะอี๊ด บิน อัล มุสัยยิบ และอัลฮะซัน เนื่องจากรายงานจาก อิบนุ อับบาส ซึ่งท่านนบีกล่าวว่า “ท่านรอซูล ซล.ได้สั่งให้ถือศีลอดในวันอาชูรออ์ เป็นวันที่10 ของเดือนมุฮัรอรอม” (บันทึกโดย อัตติรมีซีย์ เลขที่ 686 และกล่าวว่า ฮะดิษ ฮะซัน เศาะฮีหฺ)

     

    ส่งเสริมให้ถือศีลอดวันตาซูอา ควบคู่กับวันอาชูรออ์

    อิบนุอับบาส รด. เล่าว่า

    เมื่อครั้งที่ท่านรอซูลลุลลอฮ์ ถือศีลอดในวันอาชูรอและสั่งให้(บรรดาซอฮาบะฮ์)ถือศีลอดวันนั้นด้วย พวกเขากล่าวว่า “โอ้ท่ารอซุลลุลลอฮ์ แท้จริงมันเป็นวันที่ชาวยะฮูดีและนะศอรอยกย่องและเชิดชู!

    ท่านรอซูลุลลอฮ์ ซล. กล่าวว่า

    ถ้าเช่นนั้นเมื่อถึงปีหน้า อินชาอัลลอฮ์ เราจะถือศีลอดวันที่เก้าด้วย

    อิบนุ อับบาสเล่าต่อไปว่า “แต่ปีหน้ายังไม่ทันมาถึงท่านรอซูลุลลอฮ์ก็เสียชีวิตเสียก่อน

    (บันทึกโดย มุสลิม เลขที่ 1916)

     

    อัชชาฟิอีย์ บรรดาสหายของท่าน ,อิมามอะฮ์มัด ,อิสฮาก และท่านอื่นๆ กล่าวว่า “ส่งเสริมให้ถือศีลอดในวันที่เก้าและวันที่สิบทั้งสองวัน เพราะท่านนบี ซล.ได้ถือศีลอดในวันที่สิบ และตั้งใจจะถือศีลอดในวันที่เก้าด้วย

    ดังนั้น การถือศีลอดในวันอาชูรออ์จึงมีลำดับชั้นต่าง คือลำดับที่ต่ำสุดให้ถือศีลอดในวันที่สิบเพียงวันเดียว ลำดับต่อมาให้ถือศีลอดควบวันที่เก้าด้วย และยิ่งถือศีลอดในเดือนมุฮัรรอมมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่มความประเสริฐและความดีงาม

     

    ทำไมจึงส่งเสริมให้ถือศิลอดวันตาซูอาด้วย

    อัน-นะวะวีย์กล่าวว่า “บรรดาอุลามาอ์ในหมู่สหายของเราและท่านอื่นๆได้กล่าวถึงเหตุผลต่างๆที่ส่งเสริมให้ถือศีลอดในวันที่เก้า ดังนี้

    1.เพื่อให้ค้านกับการปฎิบัติของชาวยะฮูดีที่ถือศีลอดวันที่สิบเพียงวันเดียว

    2.เพื่อให้มีการถือศีลอดที่ต่อเนื่องกับวันที่สิบเสมือนห้ามไม่ให้ถือศีลอดในวันศุกร์เพียงวันเดียว เหตุผลทั้งสองถูกระบุโดย อัล-คอตฎอบีย์และท่านอื่นๆ

    3.เป็นการถือศีลอดที่เผื่อไว้สำหรับวันที่สิบ เพราะกลัวว่าเดือนจะไม่ครบและเกิดความผิดพลาดในการนับเดือน ดังนั้นวันที่เก้าในความจริงอาจจะเป็นวันที่สิบก็ได้!

    เหตุผลที่น้ำหนักที่สุดคือเพื่อให้ค้านกับการปฏิบัติของชาวคัมภีร์ อิบนุ ตัยยิมะฮ์กล่าวว่า “ท่านนบี ซล.ได้ห้ามไม่ให้ปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับบรรดาชาวคัมภีร์ในฮะดีษต่างๆที่มากมาย เช่นคำกล่าวของท่านเกี่ยวกับการถือศีลอดในวันที่อาชูรออ์ว่า “หากแม้นว่าฉันยังมีชีวิตอยู่จนถึงปีหน้า ฉันจะถือศีลอดในวันที่เก้าอย่างแน่นอน” (บันทึกโดยมุสลิม)

     

    ถือศีลอดวันอาชูรอสามารถลบล้างอะไรบ้าง?

    อิมามอันนะวะวีย์กล่าวว่า “การถือศีลอดวันอาชูรออ์สามารถลบล้างบาปเล็กต่างๆทั้งหมดนอกจากบาปใหญ่” แล้วท่านก็กล่าวว่า “การถือศีลอดวันอารอฟะฮ์ สามารถลบล้างบาปสองปี และการถือศีลอดวันอาชูรออ์สามารถลบล้างบาปหนึ่งปี และเมื่อการกล่าวอามีนของเขาตรงกับการกล่าวอามีนของมาลาอีกะฮฺ เขาก็จะถูกประทานอภัยจากบาปต่างที่ผ่านมา...ทุกๆประเภทของสิ่งที่กล่าวมานั้นสามารถทำการลบล้างบาปได้ ดังนั้นหากพบว่ามีบาปเล็กที่สามารถลบล้างได้ มันก็จะถูกลบล้างไป และหากไม่พบว่ามี ทั้งบาปเล็กและบาปใหญ่ เขาก็จะได้รับการบันทึกความดีแทน และจะถูกยกสถานะให้สูงขึ้น และหากว่ามีแต่บาปใหญ่แต่ไม่มีบาปเล็ก เราก็หวังว่าเขาจะได้รับการลดหย่อนโทษให้เบาลง

    (อัล-มัจมูอ์ เล่ม 6 เรื่องการถือศีลอดวันอะรอฟะฮ์)

     

     

    ไม่หลงประมาทกับผลบุญของการถือศีลอด

    บางคนประมาทตนและโลดลำพองด้วยการยึดมั่นกับผลตอบแทนของการถือศีลอดวันอะเราะฟะฮ์ หรือวันอาชูรอ จนกระทั่งมีบางคนในหมู่พวกเขากล่าวว่า “การถือศีลอดวันอาชูรอสามารถลบล้างบาปทั้งหมดในรอบปี และยังเหลือการถือศีลอดวันอะเราะฟะฮ์อีกสำหรับเพิ่มผลบุญ!!

    อิบนุล ก็อยยิม กล่าวว่า “ผู้ที่โลดลำพองคนนี้ไม่รู้ว่า แท้ที่จริงแล้ว การถือศีลอดเดือนเราะมาฎอน และการละหมาดห้าเวลานั้นมีผลบุญที่ยิ่งใหญ่ และสูงส่งกว่าการถือศีลอดวันอารอฟะฮ์และวันอาชูรออ์ซึ่งมันจะสามารถลบล้างบาประหว่างทั้งสองเมื่อมีการหลีกห่างบาปใหญ่ต่างๆดังนั้น จากเดือนเราะมะดอนหนึ่งไปสู่อีกเดือนเราะมะดอนหนึ่ง และจากญุมอัตหนึ่งไปสู่อีกญุมอัตหนึ่งจะไม่มีพลังพอที่จะลบล้างบาปเล็กต่างๆนอกจากว่าต้องผนวกเข้ากับการละทิ้งบาปใหญ่ด้วย และด้วยการประสานระหว่างทั้งสองอย่างจึงจะมีพลังในการลบล้างบาปเล็กทั้งหมด และผู้ที่ลำพองตนบางท่านคิดว่าการภักดีของตนมีมากกว่าการฝ่าฝืน ที่เป็นเช่นนั้นเพราะตนไม่เคยคิดสอบสวนและทบทวนตัวเองต่อการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืน ไม่คิดที่จะติดตามและค้นหาบาปต่างๆที่ตนเองได้กระทำไว้ แต่พอตัวเองกระทำดีอะไรวักอย่างก็จะจดจำและเก็บคำนวณไว้ ดังเช่นผู้ที่กล่าว อิสติฆฟาร(อัสตัฆฟิรุลลอฮ์)ด้วยลิ้น หรือกล่าวตัสบิห์ (ซุบฮานัลลอฮ์) วันละ 100 ครั้ง หลังจากนั้นเขาก็ไปนินทาว่าร้ายชาวมุสลิม ไปเชือดเฉือนเกียรติของพวกเขา และไปพูดจาในสิ่งที่อัลลอฮ์ไม่พึงพอใจตลอดทั้งวันของเขา เป็นต้น บุคคลเช่นนี้จะพินิจพิจารณา (และคิดคำนวณ) ในความประเสริฐของการกล่าวตัสบิห์ (ซุบฮานัลลอฮ์) การกล่าวตะฮ์ลีล (ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์) แต่ เขากลับไม่เคยหันไปสนใจกับหลักฐานต่างๆที่ระบุถึงโทษทัณฑ์หรือผลลัพธ์ที่จะตามมาของผู้ที่ชอบนินทาว่าร้าย ชอบยุแหย่ผู้อื่น และชอบพูดโกหก และอื่นๆที่เป็นผลร้ายจากการกระทำของลิ้น...” (อัล-เมาสูอะฮ์ เล่ม 31 การล่อลวงและการลำพองตน)

     

     

    ฮูกุ่มการถือศีลอดในวันอาชูรอเพียงวันเดียว

    อิบนุ ตัยยิมะฮ์กล่าวว่า “การถือศีลอดวันอาชูรอสามารถลบล้างความผิดบาปหหนึ่งปี และไม่ถือว่าการถือศิลอดในวันนั้นเพียงวันเดียวเป็นการปฏิบัติที่มักรูฮฺ(น่ารังเกียยจ)แต่อย่างใด” (อัลฟัตวา อัล กุบรอ เล่ม 5)

    มีระบุในหนังสือตุหฺฟะฮ์ อัลมุหฺตาจ ของอิบนุฮะญัร อัล-ฮัยตะมีย์ว่า “อนุญาตให้ถือศีลอดวันอาชูรอเพียงวันเดียว

     

    การถือศีลอดวันอาชูรอขณะที่ยังมีศีลอดเราะมาฎอนค้างอยู่

    บรรดาฟุกอฮาอ์มีทัศนะที่แตกต่างเกี่ยวกับการหุกุ่มของการถือศีลอดสุนัตก่อนที่จะมีการสะสางศีลอดเราะมะดอนให้แล้วเสร็จ (เกาะฎออ์) โดยที่มัซฮับหะนะฟีย์ถือว่าอนุญาตให้ถือศีลอดสุนัตอย่างไม่น่ารังเกียจ(มักรูฮ์) แต่อย่างใด เพราะการสะสางหรือเกาะฎออ์ถือศีลอดเราะมะดอนไม่ได้ถูกบังคับให้กระทำโดยทันที ขณะที่มัซฮับมาลิกีย์และอัชชาฟิอีย์ถือว่าอนุญาต แต่เป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ(มักรูฮ์) เพราะเท่ากับว่าเป็นการทิ้งสิ่งที่เป็นวายิบไว้เบื้องหลัง (แทนที่จะจัดการให้แล้วเสร็จก่อนที่จะทำสิ่งที่เป็นสุนัต)

    อัดดุซูกีย์กล่าวว่า “เป็นการน่ารังเกียจที่จะถือศีลอดสุนัตสำหรับผู้ที่มีศีลอดวายิบค้างอยู่ เช่นถือศีลอดเนื่งอจากการบนบาน(นะซัร) ศีลอดที่ค้างอยู่ (เกาะฎออ์) และศีลอดชดเชย (ฏัฟฟาเราะฮ์) ไม่ว่าการถือศีลอดสุนัตที่เขาจะปฏิบัติก่อนที่จะมีการถือศีลอดวายิบนั้นจะเป็นสุนัตธรรมดา หรือสุนัตที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ(สุนัตมุอักกัต) เช่นการถือศีลอดวันอาชูรอ และวันที่เก้าของเดือนซุลฮิจยะฮ์ก็ตาม ตามทัศนะที่มีน้ำหนักกว่า

    ส่วนมัซฮับฮัมบาลีย์ถือว่าเป็นการบาปที่จะถือศีลอดสุนัตก่อนที่จะมีการสะสาง(เกาะฎออ์) ศีลอดเราะมะดอนให้แล้วเสร็จ และถือว่าการถือศีลอดสุนัตดังกล่าวใช้ไม่ได้ ถึงแม้ว่ะยะเวลาสำหรัยการถือศีลอดเกะฎอยังมีอีกยาวไกลก็ตาม และจำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยการสะสางศีลอดที่เป็นวายิบให้เสร็จก่อนจึงอนุญาตให้ถือศีลอดสุนัตได้

    (อัล-เมาซูอะฮ์ อัลฟิกฮียะฮ์ เล่ม 28 เรื่องการถือศีลอดสุนัต)

    ดังนั้นมุสลิมจำเป็นต้องรีบถือศีลอดเกาะฎอที่ต้างอยู่ให้เสร็จทันทีหลังจากเดือนรอมฎอนได้ผ่านพ้นไปแล้ว เพื่อที่จะสามารถถือศีลอดวันอะรอฟะฮ์ และวันอาชูรอโดยปราศจากความลำบากใจ และหากว่าเขาถือศีลอดวันอารอฟะฮ์และวันอาชูรอ ด้วยการตั้งเจตนาในตอนกลางคืนว่าจะถือศีลอดเกาะฎออ์ ก็ถือว่าใช้ได้ แลความกรุณาของอัลลอฮ์ยิ่งใหญ่อย่างล้นเหลือ

     

     

     

    อุตริกรรมวันอาชูรอ

    มีผู้ถามชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมิยะฮ์เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้คนได้ยึดปฏิบัตในวันอาชูรอ ไม่ว่าจะเป็นการทาขอบตาให้ดำ การอาบน้ำ(เนื่องในโอกาสวันอาชูรอ) การลงเทียน (การทาฮินน่า) การจับมือให้สลามกัน การต้มอาหาร และการแสดออกถึงความยินดีว่ามีที่มาหรือไม่?
    คำตอบ มวลการสรรญเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮ์ พระผู้อภิบาลแห่งจักรวาล ไม่ปรากฏมีรายงานที่เศาฮีห์จากท่านนบี ซล. และจากบรรดาซอฮาบะฮ์ของท่านเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าวเลย และบรรดาอีมามต่างๆก็ไม่มีใครเห็นว่าส่งเสริมให้กระทำเช่นนั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นอิมามมัซฮับทั้งสี่หรืออีมามท่านอื่นๆ บรรดาเจ้าของหนังสือต่างๆที่เป็นที่ยอมรับก็ไม่ได้เอ่ยถึงสิ่งนี้แม้แต่น้อย ไม่ว่าจะมาจากท่านนบี ซล. บรรดาซอฮาบะฮ์ของท่าน และบรรดาตาบีอีนก็ตาม และไม่ว่าเป็นฮาดิษเศาะฮีหฺและเฎาะอีฟก็ตาม แต่ทว่าชนรุ่นหลังบางท่านได้รายงานฮาดิษบางบทเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าว เช่นรายงานที่ระบุว่า

    ผู้ใดทาขอบตาให้ดำในวันอาชูรอ เขาจะไม่ประสบโรคตาแดงในปีนั้น

    ผู้ใดอาบน้ำในวันอาชูรอ เขาจะไม่ประสบโรคภัยไข้เจ็บในปีนั้น” และอื่นๆ

    พวกเขายังรายงานฮาดีษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นและโกหกต่อท่านนบี ซล.ว่า “ผู้ใดเพิ่มความบริบูรณ์ให้แก่สมาชิกในครอบครัวของเขาในวันอาชูรอ อัลลอฮ์จะทรงเพิ่มความบริบูรณ์ให้แก่เขาตลอดทั้งปี

    รายงานเช่นนี้ล้วนเป็นการโกหกต่อท่านนบี ซล.ทั้งสิ้น (อัลฟะตาวา อัลกุบรอ)

    ท่าน อิบนุ อัลฮาจญ์กล่าวว่า “ส่วนหนึ่งของอุตริกรรมในวันอาชูรอ คือการจงใจออกซากาตล่วงหน้าในวันอาชูรอหรือเลื่อนไปออกซากาตในวันนั้น การเจาะจงวันอาชูรอสำหรับการเชือดไก่ และการใช้เทียนแต่งแต้มตามมือสตรี” (อัล-มัดค็อล เล่ม 1 เรื่องวันอาชูรอ)

    ท่านฟัยรูซ อะบาดี กล่าวว่า “มีฮะดีษ(ที่ถูกต้อง)ที่ระบุว่าสุนนะฮ์ให้ถือศีลอดวันอาชูรอ ส่วนฮะดีษอื่นๆที่เกี่ยวกับความประเสริฐของการละหมาดในวันอาชูรอ การให้ทาน การย้อมสีเคราและมือ การใส่น้ำหอมบนหัว การทาขอบตาให้ดำ การหุงต้ม (เช่นการกวนซูรอเป็นต้น) และอื่นๆล้วนเป็นฮาดีษที่เมาฎูอ์และอุปโลกน์ขึ้นมาทั้งสิ้น” (ดูสิฟรุอัสสะอาดะฮ์ หน้า 150)

     Edit 02/01/2015

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×