ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #46 : [โขน] วิธีชมการแสดงโขน

    • อัปเดตล่าสุด 7 พ.ค. 50



    วิธีชมการแสดงโขน


    กิริยาท่าทางของโขนที่แสดงเพื่อสื่อความหมายกับผู้ชมนั้นแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
    - ท่าที่ใช้แทนคำพูด เช่น เรียก สั่ง
    - ท่าที่ใช้แสดงกิริยาอาการ เช่น ยืน นอน นั่ง เดิน เหาะ
    - ท่าที่ใช้แสดงถึงอารมณ์ภายใน เช่น รัก โกรธ เกลียด ดีใจ เศร้าโศก
    ในทางนาฏศิลป์ การดัดแปลงท่าทางจากกิริยาที่กล่าวมา จำเป็นที่จะต้องให้การรำออกมาดูสง่า และงดงามด้วย ทุกท่าต้องมีความหมายเช่นเดียวกับภาษาพูด การที่โขนต้องรำไปตามบทพากย์ และเจรจา จึงจำแนกการรำของโขนออกเป็น 2 ชนิด คือ
    1. รำหน้าพาทย์
              การรำหน้าพาทย์ คือ การรำตามทำนองเพลงของวงปี่พาทย์ ผู้แสดงต้องรำไปตามจังหวะ และทำนองของดนตรี ซึ่งเป็นชื่อที่บัญญัติไว้ เช่น เ ชิด
     เสมอไทย เสมอมาร เสมอเถร คุกพาทย์ ตระนิมิตร เป็นต้น

              เพลงหน้าพาทย์สำหรับประกอบการตรวจพลของโขน ได้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ "กราวนอก" ใช้ประกอบการตรวจพลของมนุษย์ และวานรจะมีทำนองรื่นเริง ประกอบการแสดงที่งดงาม แคล่วคล่องว่องไว ส่วน "กราวใน" นั้นจะใช้ประกอบการตรวจพลของฝ่ายยักษ์ เพราะมีทำนองรื่นเริง ใช้เสียงกังวานกว้าง แกร่งกล้า และดุดัน

               สำหรับการบรรเลงประกอบการไปมาของสัตว์ หากเป็นสัตว์ปีกจะใช้ "เพลงแผละ" และถ้าเป็นสัตว์น้ำจะใช้ "เพลงโล้" ส่วนการบรรเลงประกอบการสำแดงอิทธิฤทธิ์จะใช้ "เพลงคุกพาทย์" หรือการแปลงกายก็จะใช้ "เพลงตระนิมิต" เป็นต้น ทั้งนี้ท่าของผู้แสดงแต่ละคนต้องให้แตกต่างกันตามบทบาทนั้นๆด้วย

    2. รำบท
              การรำใช้บทนี้ ได้แก่ การรำตามบทร้อง เจรจา และบทพากย์ โดยผู้แสดงจะต้องแสดงภาษาท่าทางนั้นไปตามถ้อยคำที่มีผู้ร้อง เจรจาหรือพากย์ขึ้น

    http://www.anurakthai.com/
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×