ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #42 : [โขน] ประวัติ ความเป็นมา

    • อัปเดตล่าสุด 6 พ.ค. 50


                           
    ประวัติ ความเป็นมา

               

                   สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ว่า "การแสดงโขนเชื่อว่ามีมาแต่โบราณ ประมาณกันว่าไทยมีการแสดงโขนมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 16" ทั้งนี้ได้อาศัยหลักฐานจากการสันนิษฐานลายแกะสลักเรื่อง "รามายณะ" จากแหล่งโบราณคดีหลายแหล่ง และจากตำนานการแสดงโขนในกฎมณเฑียรบาล โขนแต่เดิมจึงมีเฉพาะโขนหลวงประจำราชสำนัก ผู้ที่จะฝึกหัดโขนต้องเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ คนธรรมดาสามัญจะฝึกหัดโขนไม่ได้ จึงกลายเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ที่พวกที่ฝึกหัดโขนมักเป็นมหาดเล็กหรือบุตรหลานข้าราชการ ต่อมามีความนิยมที่ว่าการฝึกหัดโขนทำให้ชายหนุ่มที่ได้ฝึกหัดมีความคล่องแคล่วว่องไวในการรบหรือต่อสู้กับข้าศึก จึงมีการพระราชทานอนุญาตให้เจ้านาย และขุนนางผู้ใหญ่ตลอดจนผู้ว่าราชการเมืองฝึกหัดโขนได้ โดยคงโปรดให้หัดไว้แต่โขนผู้ชายตามประเพณีเดิม เพราะโขน และละครของเจ้านายผู้สูงศักดิ์หรือข้าราชการก็ต้องเป็นผู้ชายทั้งนั้น ส่วนละครผู้หญิงจะมีได้แต่ของพระมหากษัตริย์ ด้วยเป็นประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา 

     


    ต่อมาภายหลังความนิยมโขนก็เริ่มเสื่อมลง เนื่องจากระยะหลังเจ้าของโขนมักเอาคนพวกลูกหมู่ (หมายเหตุ : คนที่ขึ้นอยู่ในสังกัดกรมต่างๆตามวิธีควบคุมทหารแบบโบราณ ซึ่งจัดแบ่งการปกครองท้องที่ออกเป็นมณฑล คนในมณฑลไหนก็สังกัดเข้ามณฑลนั้น เมื่อมีลูกก็ต้องให้เข้ารับราชการในหมวดหมู่ของกรมเมื่อโตขึ้น เรียกว่า “ลูกหมู่”) และลูกทาสมาหัดโขน ทำให้ผู้คนเริ่มมองว่าผู้แสดงเหล่านั้นต่ำเกียรติ อีกเหตุผลหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงประเพณีโบราณในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ทรงพระราชทานอนุญาตให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อยมีละครผู้หญิงได้ โดยทรงมรพระราชปรารภว่า “มีละครด้วยกันหลายรายดี บ้านเมืองจะได้ครึกครื้น จะได้เป็นเกียรติแก่แผ่นดิน” พระราชดำรินี้มีเพื่อความเจริญก้าวหน้าของศิลปะการละคร และประเทศชาติ แต่ก็ทำให้เจ้าสำนักต่างๆพากันเปลี่ยนผู้แสดงจากชายเป็นหญิงจำนวนมาก ยกเว้นบางสำนักที่นิยมศิลปะแบบโขน ทั้งยังมีครูบาอาจารย์ และศิลปินโขนอยู่ก็รักษาไว้สืบต่อมา โขนในสำนักของเจ้านาย ขุนนาง และเอกชนจึงค่อยๆสูญหายไป คงอยู่แต่โขนของหลวง ในสมัยรัชกาลที่ 5 บรรดาโขนหลวงที่มีอยู่ก็มิได้ทำงานประจำ ใครเล่นเป็นตัวอะไรทางราชการก็จ่ายหัวโขนที่เรียกกันว่า "ศีรษะครู" ให้ประจำตัวไปบูชา และเก็บรักษาไว้ที่บ้านเรือนของตน เวลาเรียกตัวมาเล่นโขนก็ให้เชิญหัวโขนประจำตัวนั้นมาด้วย
     
    http://www.anurakthai.com/
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×