ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การบ้าน หน่วยที่ ๑ สุข ม. ๓

    ลำดับตอนที่ #4 : อิทธิพลและความคาดหวังของสังคมต่อวัยรุ่น/อิทธิพลของสื่อต่อวัยรุ่น

    • อัปเดตล่าสุด 15 ก.ค. 55


    1. เรื่องทัศนคติของเด็กไทยวัยรุ่นต่อบิดามารดา และครู 
    1.1 ทัศนคติต่อบิดา ไม่มีความแตกต่างในกลุ่มวัยรุ่นหญิง และประเภทของโรงเรียน สำหรับกลุ่มนักเรียนชายนั้น นักเรียนชายที่มีฐานะปานกลางมีทัศนคติที่ดีที่สุดต่อบิดาของตน แต่ผู้ที่มีฐานะต่ำมีทัศนคติต่อบิดาด้อยที่สุด

    1.2 ทัศนคติต่อมารดา มีความแตกต่างกันตามประเภทของโรงเรียน นักเรียนชายในโรงเรียนสหศึกษา มีทัศนคติต่อมารดาดีกว่านักเรียนชายในโรงเรียนเอกเพศ ส่วนนักเรียนหญิงกลับตรงกันข้าม กล่าวคือนักเรียนหญิงในโรงเรียนเอกเพศมีทัศนคติต่อมารดาดีกว่านักเรียนหญิงในโรงเรียนสหศึกษา

    1.3 เด็กวัยรุ่นหญิงมีทัศนคติต่อครูดีกว่าเด็กวัยรุ่นชาย เด็กวัยรุ่นชายหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง มีทัศนคติที่ดีต่อครูมากกว่าเด็กวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจกลาง และต่ำ

    1.4 เด็กวัยรุ่นทั้งชายและหญิง มีทัศนคติที่ดีต่อมารดามากกว่าบิดา และมีทัศนคติดีต่อบิดามากกว่าครู

    2. อิทธิพลของบิดามารดา และครู 
    2.1 เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศ รู้สึกว่าบิดามีอิทธิพลต่อตนมากกว่าวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ นอกจากนี้วัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง รู้สึกว่าบิดามีอิทธิพลต่อตนมากกว่าวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะปานกลาง และต่ำ

    2.2 เด็กวัยรุ่นชายหญิงทั้งจากโรงเรียนเอกเพศ และโรงเรียนสหศึกษารู้สึกว่ามารดามีอิทธิพลต่อตนเท่าเทียมกัน

    2.3 เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนสหศึกษารู้สึกว่าครูมีอิทธิพลต่อตนมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศ

    2.4 เด็กวัยรุ่นชายหญิงทั้งในโรงเรียนเอกเพศ และโรงเรียนสหศึกษารู้สึกว่ามารดามีอิทธิพลมากกว่าบิดาและมากกว่าครู

    3. ความคาดหวังในผลของการกระทำความผิดที่ร้ายแรง 
    3.1 เด็กวัยรุ่นในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงคาดหวังในผลการกระทำผิดว่าบิดาจะเป็นผู้ลงโทษ มากกว่าเด็กวัยรุ่นในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางและต่ำ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเด็กวัยรุ่นในโรงเรียนเอกเพศกับโรงเรียนสหศึกษา พบว่าเด็กวัยรุ่นในโรงเรียนสหศึกษาคาดว่าบิดาจะเป็นผู้ลงโทษมากกว่าเด็กวัยรุ่นในโรงเรียนเอกเพศ

    3.2เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนสหศึกษาคาดหวังว่าเมื่อตนทำผิดมารดาจะเสียใจมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายใน 
    โรงเรียนเอกเพศ เด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงจากโรงเรียนเอกเพศ มีความคาดหวังว่ามารดาจะเสียใจมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ

    3.3 เด็กวัยรุ่นชายหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง จากโรงเรียนเอกเพศ คาดหวังว่าครูจะเป็นผู้ลงโทษมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ กลาง และต่ำเด็กวัยรุ่นชายจากโรงเรียนสหศึกษาคาดหวังว่าครูจะเป็นผู้ลงโทษมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายจากโรงเรียนเอกเพศ นอกจากนี้เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษาที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ คาดหวังว่าครูจะเป็นผู้ลงโทษมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำเช่นกัน

    3.4 เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนสหศึกษา คาดหวังว่าเพื่อนจะเลิกคบตน ถ้าตนทำผิดที่ร้ายแรงมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศ และในทำนองเดียวกันเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษาก็คาดหวังว่า เพื่อนจะรังเกียจตนเมื่อทำผิดมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ

    3.5 เด็กวัยรุ่นหญิง คาดหวังว่าคนอื่นจะดูถูกดูหมิ่นเมื่อตนทำผิด มากกว่าเด็กวัยรุ่นชาย เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนสหศึกษา คาดหวังว่าคนอื่น ๆ จะเป็นผู้ลงโทษมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนสหศึกษา

    3.6 เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษา คาดหวังว่ากฏหมายจะเป็นผู้ลงโทษมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษาที่มีฐานะต่ำคาดหวังว่า กฏหมายจะเป็นผู้ลงโทษมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ

    3.7 เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษา เชื่อบาปบุญคุณโทษทางศาสนาเกี่ยวกับการลงโทษตนเมื่อกระทำความผิดมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ

    3.8 เด็กวัยรุ่นชายหญิงทั้งในโรงเรียนเอกเพศและโรงเรียนสหศึกษาคาดหวังว่า เมื่อตนกระทำผิด มารดาจะเสียใจมากกว่าบิดา ครู คนอื่น บ้านเมือง ศาสนา และเพื่อน

    4. ทัศนคติต่อเพื่อน 
    4.1 เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ มีความเห็นว่าลักษณะของเพื่อนที่น่าคบควรเป็นผู้มีความประพฤติดีมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศ เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง เห็นว่าลักษณะของเพื่อนที่เลือกคบควรเป็นผู้มีความประพฤติดีมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจกลางและต่ำตาม ลำดับ เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง เห็นว่าลักษณะของเพื่อนที่เลือกคบควรเป็นผู้มีความประพฤติดีมากกว่าเด็กชายวัยรุ่นในโรงเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจกลางและต่ำตามลำดับ เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษาเห็นว่าลักษณะของเพื่อนที่เลือกคบควรเป็นผู้มีความประพฤติดีมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศเด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงในโรงเรียนสหศึกษา เห็นว่าลักษณะของเพื่อนที่น่าคบควรเป็นผู้ที่มีความประพฤติดีมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะต่ำในโรงเรียนเอกเพศ

    4.2 ในโรงเรียนเอกเพศเด็กวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำรู้สึกว่าลักษณะของเพื่อนที่น่าคบควรเป็นผู้มีการเรียนดี มากกว่าเด็กวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงและกลาง เด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำนิยมคบเพื่อนที่มีการเรียนดีมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐิจสูง ผู้วิจัยไม่พบความแตกต่างในหมู่เด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง กลาง และต่ำทั้งในโรงเรียนเอกเพศและโรงเรียนสหศึกษา

    4.3 ในโรงเรียนเอกเพศเด็กวัยรุ่นชายหญิง ที่มีฐานะเศรษฐกิจสูง จะเลือกคบเพื่อนที่มีความสนใจตรงกันมากที่สุด มากกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจกลาง และต่ำ ตามลำดับ เด็กวัยรุ่นหญิงทั้งในโรงเรียนเอกเพศและสหศึกษาที่มีฐานะเศรษฐกิจสูงชอบเพื่อนที่มีความสนใจตรงกันมากกว่าวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะเศรษฐกิจกลาง และต่ำ ตามลำดับ

    4.4ผู้ทำการวิจัยไม่พบความแตกต่างในเรื่องการเลือกคบเพื่อนที่ช่วยเหลือดีระหว่างเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศและ 
    โรงเรียนสหศึกษา และในหมู่เด็กที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง กลาง และต่ำ

    4.5 เพื่อนที่มีฐานะดี มีความสำคัญต่อเด็กวัยรุ่นชายหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ และเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศให้ความสำคัญต่อเพื่อนที่มีฐานะดีมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษา

    4.6 เกี่ยวกับทัศนคติต่อเพื่อนต่างเพศนั้น นักเรียนชายในโรงเรียนชายล้วนมีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนต่างเพศมากกว่านักเรียนหญิงในโรงเรียนหญิงล้วน นอกจากนี้นักเรียนชายในสหศึกษายังมีแนวโน้มว่า มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนต่างเพศมากกว่านักเรียนหญิงจากโรงเรียนประเภทเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามนักเรียนในโรงเรียนสหศึกษาทั้งชายและหญิงก็ยังมีทัศนคติต่อเพื่อนต่างเพศดีกว่านักเรียนชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศ

    5. ความกังวลใจของเด็กวัยรุ่น 
    5.1เมื่อเปรียบเทียบเด็กวัยรุ่นชายหญิงที่มาจากโรงเรียนเอกเพศกับโรงเรียนสหศึกษา พบว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศมีความกังวลใจอันเนื่องมาจากบิดาเป็น สาเหตุมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนสหศึกษา

    5.2 เด็กวัยรุ่นหญิงเห็นว่าความกังวลใจของตนอันเนื่องมาจากมารดาเป็นสาเหตุ มีมากกว่าเด็กวัยรุ่นชาย และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างฐานะทางเศรษฐกิจ สูง กลาง และต่ำพบว่าเด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำมีความกังวลใจอันมีสาเหตุมาจากมารดามากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง นอกจากนี้เด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศ มีความกังวลใจอันเนื่องมาจากมารดาเป็นสาเหตุมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนสหศึกษา

    5.3 เด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศมีความกังวลใจอันเนื่องมาจาก ครูเป็นสาเหตุมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนสหศึกษา และเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ เห็นว่าครูเป็นสาเหตุแห่งความกังวลใจของตนมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนสหศึกษาที่มีฐานะทางเศรษฐกิจเท่ากัน

    5.4 ในโรงเรียนเอกเพศเด็กวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางรู้สึกว่า เพื่อนเป็นสาเหตุให้เกิดความกังวลใจมากกว่าเด็กวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ และสูงตามลำดับ เด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ เห็นว่าเพื่อนเป็นสาเหตุแห่งความกังวลใจมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง และสูง ตามลำดับ เด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศเห็นว่าเพื่อนเป็นสาเหตุแห่งความกังวลใจของตนมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนสหศึกษา

    5.5 เด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนเอกเพศเห็นว่าคนอื่น ๆ เป็นสาเหตุแห่งความกังวลใจของตนมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนสหศึกษา และเด็กวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำรู้สึกว่าคนอื่น ๆ เป็นสาเหตุแห่งความกังวลใจของตนมากกว่าเด็กวัยรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง และสูง ตามลำดับ

    5.6เฉพาะในโรงเรียนเอกเพศเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำเห็นว่าตนเองเป็นสาเหตุของ 
    ความกังวลใจมากที่สุด ส่วนเด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำเห็นว่าตนเองเป็นสาเหตุน้อยที่สุด เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนสหศึกษาเห็นว่าความกังวลใจของตนเกิดจากตนเองมีมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศ

    5.7 เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนสหศึกษา ซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง เห็นว่าตนเองเป็นสาเหตุแห่งความกังวลในมากที่สุดและเด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงเห็นว่าตนเองเป็นสาเหตุน้อยที่สุด

    6. ความกังวลใจในเรื่องต่าง ๆ 
    6.1 เกี่ยวกับเรื่องการเรียนเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำในโรงเรียนเอกเพศ กังวลใจในเรื่องการเรียนมากกว่าวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง และสูง ส่วนเด็กหญิงซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง มีความกังวลใจในเรื่องการเรียนมากกว่าวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง และต่ำ ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบวัยรุ่นในโรงเรียนเอกเพศและโรงเรียนสหศึกษาพบว่าวัยรุ่นในโรงเรียนเอกเพศมีความกังวลใจในเรื่องการเรียนมากกว่าวัยรุ่นในโรงเรียนสหศึกษา

    6.2 นักเรียนทั้งชายและหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำในโรงเรียนเอกเพศ มีความกังวลใจในเรื่องการเงินมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายและหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางและสูงตามลำดับ

    6.3 เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศ มีความกังวลใจเรื่องการเงินมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนสหศึกษา ซึ่งตรงกันข้ามกับเด็กวัยรุ่นหญิงที่เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษามีความกังวลใจเรื่องการเงินมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ

    6.4 ในเรื่องความกังวลใจที่เกิดขึ้นจากขัดขวางการทำตามใจชอบนั้น ปรากฏว่าเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำในโรงเรียนเอกเพศ มีความกังวลเรื่องการถูกขัดขวางการทำอะไร ๆ ตามใจชอบมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง และสูง ตามลำดับ และเด็กวัยรุ่นทั้งชายและหญิงในโรงเรียนเอกเพศ กังวลใจในเรื่องนี้สูงกว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงในโรงเรียนสหศึกษา

    6.5 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างความกังวลใจที่เกิดจากการเรียน การเงิน และอะไรได้ตามใจชอบแล้ว ผลปรากฎว่าเด็กวัยรุ่นชายหญิงกังวลใจสูงที่สุดในเรื่องถูกขัดขวางการทำตามใจชอบรองลงมาคือเรื่องการเรียน และการเงิน

    7. การให้ความสำคัญต่อเรื่องต่าง ๆ ได้แก่เรื่องการศึกษา ความประพฤติของตนเอง ฐานะของครอบครัว รูปร่างลักษณะหน้าตา ท่าทาง การสังคมปฎิบัติ ปรากฎผลดังต่อไปนี้ 
    7.1 ในโรงเรียนเอกเพศเด็กวัยรุ่นหญิง ให้ความสำคัญต่อเรื่องการศึกษามากกว่าเด็กวัยรุ่นชาย เด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางให้ความสำคัญต่อการศึกษามากกว่าเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง และต่ำ ตามลำดับ

    7.2 ทางด้านความประพฤติ นักเรียนหญิงให้ความสำคัญต่อความประพฤติของตนมากกว่านักเรียนชาย ส่วนในกลุ่มนักเรียนชายโดยเฉพาะ นักเรียนชายที่มีฐานะปานกลางให้ความสำคัญต่อความประพฤติของตนมากที่สุด และนักเรียนชายฐานะต่ำให้ความสำคัญต่อความประพฤติของตนน้อยที่สุด แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างนักเรียนหญิงประเภทต่าง ๆ ในเรื่องนี้

    7.3 เด็กวัยรุ่นชายในโรงเรียนเอกเพศ และเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษาต่างก็ให้ความสำคัญต่อฐานะของครอบครัวมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ เด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำให้ความสำคัญต่อฐานะทางครอบครัวมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ปานกลาง และสูง ตามลำดับ

    7.4ในโรงเรียนเอกเพศเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงให้ความสำคัญต่อรูปร่างลักษณะของตนมากกว่าเด็กวัยรุ่นชายที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง 
    และต่ำตามลำดับ ส่วนเด็กวัยรุ่นหญิงที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางกลับให้ความสำคัญต่อรูปร่างลักษณะของตนมากกว่าพวกที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูง และต่ำ ตามลำดับ  นอกจากนี้เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษาให้ความสำคัญต่อรูปร่างลักษณะของตน 
    มากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศ

    7.5 ในเรื่องการสังคมปฎิบัติ ทั้งเด็กวัยรุ่นชายและหญิงในโรงเรียนเอกเพศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางให้ความสำคัญมากกว่าพวกที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงและต่ำ เด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนเอกเพศให้ความสำคัญต่อเรื่องการสังคมปฎิบัติมากกว่าเด็กวัยรุ่นหญิงในโรงเรียนสหศึกษา

    8. การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นในเรื่องต่าง ๆ 
    8.1 ในเรื่องการเปรียบเทียบความสามารถทางการศึกษาของตนเองกับผู้อื่น พบความแตกต่างในกลุ่มนักเรียนหญิง กล่าวคือ นักเรียนหญิงโรงเรียนเอกเพศมีความเห็นว่าตนมีความสามารถทางการเรียนมากกว่าผู้อื่นในระดับที่สูงกว่านักเรียนหญิงจากโรงเรียนสหศึกษา

    8.2 ในเรื่องการเปรียบเทียบความประพฤติ นักเรียนชายหญิงที่มีฐานะต่ำ เชื่อว่าความประพฤติของตนดีกว่าของผู้อื่นในระดับความเชื่อที่ต่ำกว่านักเรียนที่มีฐานะปานกลาง และสูง นอกจากนี้นักเรียนหญิงมีความเห็นว่าตนมีความประพฤติดีกว่าผู้อื่น มากกว่าความเชื่อชนิด เดียวกันในนักเรียนชาย และนักเรียนหญิงในโรงเรียนเอกเพศ เชื่อว่าตนมีความประพฤติดีกว่าคนอื่นในระดับสูงกว่านักเรียนหญิงจากโรงเรียนสหศึกษา

    8.3 การเปรียบเทียบฐานะของตนเองกับผู้อื่น พบว่านักเรียนชายหญิงทั้งในโรงเรียนเอกเพศและโรงเรียนสหศึกษา ที่มีฐานะต่ำ รู้สึกว่าตนด้อยกว่าผู้อื่นในเรื่องฐานะของครอบครัวมากกว่านักเรียนที่มีฐานะปานกลางและสูง นอกจากนี้นักเรียนชายคิดว่าตนมีฐานะด้อยกว่าผู้อื่น มากกว่านักเรียนหญิง

    8.4 ในการเปรียบเทียบสังคมปฎิบัติ นักเรียนชายที่มาจากครอบครัวฐานะปานกลางเชื่อว่าตนมีสังคมปฎิบัติดีกว่าผู้อื่นมากกว่านักเรียนชายที่มาจากครอบครัวฐานะสูงหรือต่ำ

    9. การแสดงออกเมื่อเกิดความกังวลใจ 
    9.1 การใช้วิธีการก้าวร้าว นักเรียนชายจากโรงเรียนสหศึกษารายงานว่า ใช้วิธีก้าวร้าว เมื่อเกิดความวิตกกังวลน้อยกว่านักเรียนชายจากโรงเรียนเอกเพศ ส่วนนักเรียนหญิงจากโรงเรียนสหศึกษาที่มีฐานะต่ำ รายงานว่าได้แสดงความก้าวร้าวน้อยที่สุด แต่นักเรียนหญิงฐานะต่ำ จากโรงเรียนเอกเพศรายงานว่าใช้วิธีนี้ดับความวิตกกังวลของตนมากที่สุด

    9.2 การใช้วิธีระงับความรู้สึก นักเรียนชายที่มีฐานะต่ำ เมื่อเกิดความกังวลใจจะพยายามใช้วิธีระงับความรู้สึกมากกว่านักเรียนชายที่มีฐานะอื่นๆ ส่วนนักเรียนชายฐานะปานกลางรายงานว่าใช้วิธีนี้น้อยที่สุด

    9.3 การใช้เหตุผลระงับความกังวล นักเรียนหญิงที่ร่ำรวยรายงานว่าตนใช้เหตุผลมากที่สุด ส่วนนักเรียนหญิงที่ยากจนรายงานว่าตนใช้เหตุผลน้อยที่สุด

    สาเหตุความเครียดของวัยรุ่น สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นเกิดความเครียดบ่อย ๆ ได้แก่


    1. ปัญหาความสัมพันธ์และความขัดแย้งกับผู้อื่น เช่น พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อน เพื่อนต่างเพศ ครูอาจารย์ เป็นต้น

    2. ปัญหาภายในครอบครัว เช่น ความรุนแรงในครอบครัว การทะเลาะเบาะแว้งและการทำร้ายร่างกายของพ่อแม่ การหย่าร้างของพ่อแม่ การเจ็บป่วยหรือการเสียชีวิตของพ่อแม่และญาติพี่น้อง การถูกพ่อแม่ลงโทษด้วยความรุนแรง การถูกพ่อแม่ตำหนิหรือดุว่าด้วยถ้อยคำรุนแรง การถูกล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว

    3. ปัญหาการเรียนและปัญหาอื่นในโรงเรียน พ่อแม่ในปัจจุบันมักคาดหวังกับลูกวัยรุ่นสูงในเรื่องการเรียน วัยรุ่นที่เรียนไม่เก่ง หรือเรียนได้ไม่ดีเท่าที่ควรจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น โรคสมาธิสั้น โรคทักษะด้านการอ่านบกพร่อง ขาดกำลังใจ เป็นต้น

    4. ปัญหาสภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและสุขภาพ

    5. ปัญหาจากตัววัยรุ่นเอง เช่น รูปร่าง หน้าตาและความเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงวัยรุ่น ความคิดความรู้สึกต่อตนเองในทางลบ รับผิดชอบกิจกรรมหลายอย่าง การมีความคาดหวังว่าต้องทำทุกอย่างสมบูรณ์แบบ การรับความคาดหวังจากพ่อแม่และผู้อื่นมาเป็นของตนเอง และป่วยเป็นโรคทางกายเรื้อรัง เป็นต้น

     

    วัยรุ่นแปลความหมายของปัญหาที่ทำให้เกิดความตึงเครียดแตกต่างกันไป ตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น เพศ อายุ ระดับพัฒนาการด้านความคิด อารมณ์ และสังคม รวมไปถึงอิทธิพลจากครอบครัว สังคม และวัฒนธรรม และปัจจัยเหล่านี้ยังมีส่วนกำหนดว่าวัยรุ่นจะจัดการกับความเครียดอย่างไร วัยรุ่นหญิงมักตึงเครียดจากสาเหตุความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากกว่าวัยรุ่นชาย ในเรื่องปัญหาการเรียนและปัญหาในโรงเรียน พบว่าวัยรุ่นตอนต้นมักตึงเครียดจากปัญหาการปรับตัวในโรงเรียน ส่วนวัยรุ่นตอนกลางและตอนปลายตึงเครียดจากปัญหาการเรียนและการเลือกอาชีพมากกว่า


    การจัดการกับความเครียด หรือ “Coping” หมายถึง ความพยายามในการแก้ไขความเครียดที่เกิดขึ้น โดยในที่นี้จะหมายถึง ความเครียดที่มากเกินกว่าความเครียดที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ ซึ่งสามารถใช้ความสามารถในการจัดการความเครียดระดับปกติจัดการได้ เป็นความพยายามทั้งทางด้านการควบคุมอารมณ์ ความคิด พฤติกรรม และการตอบสนองทางสรีรวิทยาของร่างกาย รวมไปถึงความพยายามในการควบคุมปัจจัยสภาพแวดล้อมด้วย โดยมีเป้าหมายเพื่อกำจัดความเครียดและทำให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตตามปกติได้ ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดนั้นอาจเป็นปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยภายในตัวเองก็ได้ แม้ว่าการจัดการกับความเครียด เป็นความพยายามที่เกิดขึ้นในระดับจิตสำนึกเป็นส่วนใหญ่ ต่างจากกลไกทางจิต (defense mechanism) ที่เกิดขึ้นในระดับจิตไร้สำนึกทั้งหมด แต่การจัดการกับความเครียดบางส่วนก็เป็นผลจากการทำงานของจิตใจในระดับจิตไร้สำนึก หรือเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติต่อปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียด.

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×