ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    I love snake!!

    ลำดับตอนที่ #4 : งูเห่ายักษ์ นาจา เอาเชอิ แห่งแอฟริกา

    • อัปเดตล่าสุด 27 มิ.ย. 53


     

    เนชันแนลจีโอกราฟิก/เอเอฟพี - งูเห่ายักษ์ นาจา เอาเชอิ แห่งแอฟริกา นอกจากได้รับการบันทึกว่าเป็นพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบที่ใดมาก่อนแล้ว ยังได้รับการบันทึกอีกว่าเป็นงูเห่าที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่มนุษย์รู้จัก แถมปริมาณพิษร้ายแรงที่ปล่อยได้จากการฉกเพียงครั้งเดียว ทำมนุษย์ตายได้ถึง 20 คน
           
           เจ้าหน้าที่จากไวล์ดไลฟ์ไดเรค (WildlifeDirect) ในเคนยา ประกาศเมื่อวันที่ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า พวกเขาค้นพบงูเห่ายักษ์สายพันธุ์ใหม่ ทั้งดุร้ายและมีพิษร้ายแรง โดยสามารถฆ่าคนกว่า 20 รายแค่กัดเพียงครั้งเดียว อีกทั้งเป็นงูเห่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เพราะเมื่อโตเต็มที่งูเห่าชนิดนี้จะมีความยาวได้กว่า 2.6 เมตร
           

           งูเห่ายักษ์นี้ได้รับการตั้งชื่อสายพันธุ์ว่า นาจา อาเชอิ (Naja ashei) ตามชื่อเจมส์ อาเช (James Ashe) ผู้ค้นพบที่ล่วงลับไปแล้ว โดยงูเห่าอาเชปรากฎตัวเป็นครั้งแรกที่ฟาร์มเพาะเลี้ยงงูไบโอ-เคน ที่อาเชเป็นผู้ก่อตั้ง (Bio-Ken Snake Farm research center) ในเมืองวาตามู ประเทศเคนยา (Watamu, Kenya) เมื่อเดือนมิ.ย.47
           
           แม้ว่าอาเชผู้ค้นเชื่อว่าพบงูชนิดนี้แตกต่างจากงูเห่าอื่นๆ แต่เบื้องต้นได้รับการบรรจุให้อยู่ในสายพันธุ์เดียวกับงูเห่าคอดำ และเมื่อภายหลังนำเลือดและเนื้อเยื่อไปพิสูจน์ว่าเป็นงูสายพันธุ์ใหม่ หนึ่งใน 30 สายพันธุ์งูเห่าที่รู้จักกัน และนับเป็นงูเห่าสายพันธุ์ที่ 6 ที่พบในแอฟริกา
           


           อย่างไรก็ดี เมื่อนำงูเห่า นาจา อาเชอิ ไปคัดพิษพบว่าสามารถหลั่งพิษได้สูงสุดที่ 6.2 มิลลิลิตร นับเป็นปริมาณพิษสูงสุดที่ได้จากงูในการคัดพิษเพียงครั้งเดียว ซึ่งพิษจำนวนนั้นมากพอที่จะคร่าชีวิตมนุษย์ได้ถึง 20 คน 
           
           งูเห่าสายพันธุ์ใหม่นี้สามารถพบได้ตามที่ราบแห้งแล้งทางภาคเหนือและตะวันออกของเคนยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของยูกันดา รวมทั้งภาคใต้ของเอธิโอเปียและโซมาเลีย แต่พบบ่อยที่สุดในพื้นที่ตลอดแนวชายฝั่งของเคนยา
           
           ทั้งนี้ องค์ความรู้ในการจำแนกสายพันธุ์ของงูเห่ายังมีจำกัด โดยเมื่อพิจารณาข้อมูลทางชีวภาพและลักษณะทางสัณฐานวิทยาระหว่างงูเห่าดำและน้ำตาล ทำให้เห็นว่าเกิดความแตกต่างระหว่างวิวัฒนาการของแต่ละเชื้อสาย รวมถึงลักษณะเฉพาะของงูเห่าแอฟริกาตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ
           
           ด้านผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า แม้งูสายพันธุ์นี้ยังไม่ได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ แต่ก็ควรได้รับการอนุรักษ์ เนื่องจากเสี่ยงต่อผลกระทบจากการกระทำและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ โดยเชื่อว่านอกจากงูสายพันธุ์นี้ ก็น่าจะมีสัตว์ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักอีกหลายชนิดที่กำลังสูญพันธุ์จากผลกระทบของการถูกรุกล้ำถิ่นที่อยู่อาศัย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×