ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    จักรวาลน่ารู้

    ลำดับตอนที่ #4 : กำเนิดจักรวาล : ก่อนการระเบิด

    • อัปเดตล่าสุด 13 พ.ค. 52


    ก่อนการระเบิด : จุดเริ่มต้น


    ต้องขอบคุณที่มีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้น  เพราะในศตวรรษที่ 17 นักดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียนชื่อ กาลิเลโอ  ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์เฝ้าสังเกตการณ์และอธิบายการเคลื่อนที่ของดวงดาวบนท้องฟ้า

         จักรวาลกำลังขยายตัวออกอย่างสม่ำเสมอขณะที่กาแล็กซีแยกตัวออกจากกัน  นี่หมายความว่า  ถ้าเราย้อนเวลากลับไปในอดีตหลาย ๆ ร้อยปี  เราจะไปถึงจุดที่พบว่ากาแล็กซีทั้งหมดรวมตัวกันเป็นกลุ่มและมีขนาดเล็กนิดเดียว

         นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าโลกเป็นผลที่เกิดจากการระเบิดครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อราว 15 พันล้านปีมาแล้ว  พวกเขาเรียกคำอธิบายเกี่ยวกับระเบิดดังกล่าวนี้ว่า  ทฤษฎีบิ๊กแบ็ง  เนื้อหาของทฤษฎีกล่าวถึงทุกสิ่งทุกอย่างรวมถึงพลังงานในห้วงจักรวาลที่เกาะเป็นจุดที่เล็กมาก ๆ และวัดอุณหภูมิได้เป็นหลาย ๆ ล้านองศา  จากนั้นเจ้าจุดเล็ก ๆ ที่ว่านี้ก็ระเบิดออก  การระเบิดที่ว่านี้เรียกว่า  บิ๊กแบ็ง   จากนั้นจักรวาลก็เริ่มขยายตัวอกไปในทุกทิศทาง

         ไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนใดสามารถอธิบายได้อย่างแน่ชัดว่าเกิดอะไรขึ้นก่อนการระเบิด  แม้ว่านักวิทยาศาสตร์บางคนจะเชื่อว่าก่อนหน้าที่จักรวาลจะเกิดขึ้นนั้น  จะไม่มีอะไรอยู่เลยก็ตาม

         ทฤษฎีบิ๊กแบ็งอธิบายการเกิดของจักรวาลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในหมู่นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน  อย่างไรก็ตาม  ทฤษฎีนี้ก็ทำให้เกิดข้อสงสัยมากมายตามมา  ตัวอย่างเช่น  เกิดอะไรขึ้นก่อนหน้าที่ทุกสิ่งทุกอย่างและพลังงานต่าง ๆ จะมารวมตัวเป็นกระจุกเดียวกัน?

    1.ในตอนต้น  ทุกสิ่งทุกอย่างรวมถึงพลังงานในจักรวาลเกาะกลุ่มรวมตัวกันเป็นจุดเดียวกัน

    2.อุณหภูมิสูงมาก  นักวิทยาศาสตร์บางคนกล่าวว่าในเวลาน้อยกว่า 1/43 วินาทีหลังเกิดการระเบิด  อุณหภูมิที่คำนวณได้อยู่ที่ราวพันล้านพันล้านองศาฟาเรนไฮต์  หลังจากเวลาผ่านไปหนึ่งวินาทีอุณหภูมิก็ เย็นลง มาอยู่ที่ 18 พันล้านองศา

    ฟาเรนไฮต์

    3.รอบ ๆ พื้นที่ที่เกิดการระเบิดจะมีแต่ความมืดและความว่างเปล่าเท่านั้น



    จาก http://www.rmutphysics.com/CHARUD/scibook/big-bang/index/indexpic4.htm

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×