ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นั่งนานเกินไป...ถึงตายได้!

    ลำดับตอนที่ #4 : สาเหตุของการเกิดโรค DVT

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 272
      0
      21 พ.ค. 49

    โรค DVT มิใช่โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด แต่เกิดจากเลือดจับตัวเป็นลิ่ม หรือชิ้นเล็กๆ แล้วไหลเข้าไปตามกระแสเลือด และอาจไปอุดตันตามอวัยวะที่สำคัญเช่น ปอด หรือหัวใจ ทำให้ เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดโรค DVT ตามร่างกายส่วนล่างตั้งแต่ใต้หัวเข่าลงไป ได้แก่การนั่งในที่คับแคบเป็นเวลานานๆ หลายๆ ชั่วโมง โดยไม่ค่อยได้เปลี่ยนอิริยาบถ การนั่งไขว้ ขา การดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ การดื่มน้ำน้อยเกินไปหรือการมีเส้นโลหิตขอดหรือโป่ง พองก็ล้วนเป็นเหตุเสริมให้เกิดโรคนี้ได้ทั้งนั้น

    จากการศึกษาในจำนวนคนไข้ที่ป่วยเป็นโรค DVT อย่างเฉียบพลันจำนวน 355 คน พบว่า ในจำนวนคนไข้ทั้งหมดนั้นมีทั้งเพศหญิงและเพศชาย อายุระหว่าง 29 ถึง 83 ปี และตำแหน่งที่เกิด โรค DVT ส่วนมากพบที่ตรงเส้นเลือดดำใหญ่ของขาข้างซ้าย

    ปัจจัยเสี่ยง ที่พบในผู้ป่วยแยกเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ดังนี้คือ

      1. สูบบุหรี่
    34.9%
      2. เส้นเลือดขอดหรือโป่งพอง
    24.2%
      3. มีประวัติของคนในครอบครัวเป็นโรค DVT
    22.0%
      4. มีประวัติการผ่าตัดภายใน 3 เดือน โดยเฉพาะที่หน้าท้อง ขาท่อนล่าง
    19.1%
      5. เคยบาดเจ็บ/กระดูกแตกหรือหัก
    17.5%
      6. ป่วยเป็นมะเร็ง
    16.3%
      7. นอนป่วยนิ่งๆ บนเตียงเกิน 7 วัน
    14.6%
      8. รับประทานยาคุมกำเนิด
    11.2%
      9. เป็นโรคอ้วน
    11.0%
      10. ตั้งครรภ์หรือให้กำเนิดบุตร
    4.3%
      11.รับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณที่สูง
    2.0%



    วิธีป้องกัน ถ้าจะพูดแบบกำปั้นทุบดิน การป้องกันโรค DVT คือการละเว้นการปฏิบัติที่เป็นปัจจัยเสริม ที่ก่อให้เกิดโรคนี้ตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด โดยเฉพาะการเดินทางทางอากาศ ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้ที่ คนเราจะเลิกเดินทางโดยเครื่องบินโดยสาร เพราะมิฉะนั้นจะต้องย้อนยุคกลับไปเดินทางโดยทางเรือ หรือทางรถไฟ ดังเช่นสมัยโบราณ ดังนั้น เมื่อยังมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางโดยเฉพาะ ถ้าไม่มี เงินพอจะซื้อตั๋วชั้น 1 หรือชั้นธุรกิจแล้วนั้น มีข้อแนะนำจากแพทย์ถึงแผนการป้องกันการเกิดโรค DVT ระหว่าง เดินทางดังนี้คือ -

    1. รับประทานยาแอสไพริน วันละ 1/2เม็ด ก่อนเดินทาง 2 วัน และอีก 1/2เม็ด รับประทานเมื่ออยู่บนเครื่อง ยาแอสไพรินมีฤทธิ์ทำให้เกล็ดเลือดไม่จับกลุ่ม หรือเป็นลิ่ม

    2. เลือกที่นั่ง ใกล้ทางเดิน อย่านั่ง ด้านใน เพราะที่นั่งใกล้ทางเดินจะมีที่ว่า พอให้เหยียดแขน ขา แก้อาการเมื่อยขบ

    3. อย่านั่งไขว้ขา เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ลุกขึ้นเดินบ้าง

    4. หมั่นบริหารขาโดยยื่นเท้าทั้ง- สอง- ข้าง- ออกไป ยกขึ้นสูง- เท่าที่จะยกได้เหยียดนิ้วเท้ากาง- ออกสัก 3 วินาที แล้วยกเท้าลง- เหยียดนิ้วเท้าชี้ลง- พื้นอีก 3 วินาที ก็จะช่วยบรรเทาอาการเมื่อยขบได้

    5. สวมเสื้อผ้าชุดค่อนข้าง- หลวมสบาย อย่าสวมถุง- น่อง- ที่แผ่นอิลาสติกรัดรึง- ใต้หัวเข่า เพราะจะทำให้เลือดเดินไม่สะดวก

    6. ควรหลีกเลี่ยง- การดื่มเครื่อง- ดื่มผสมแอลกอฮอล์ สุรา อาหารรสเค็มจัด และควรดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ

    นอกจากโรค DVT ที่มากับการโดยสารเครื่องบินแล้ว ยังมีโรคอื่นๆ ที่อาจจะติดต่อกันได้ใน ห้องผู้โดยสารที่มีคนอยู่รวมกันเป็นหมู่มาก เช่น โรคหวัด โรควัณโรค โรคผิวหนัง และโรคตาแดง เป็นต้น ดังนั้นผู้ไม่ประมาททั้งหลายควรระวังรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอเพื่อเป็นเกราะป้อกัน ไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บเข้ามาสู่ร่างกายได้โดยง่าย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×