ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โรงเรียนไดโนเสาร์

    ลำดับตอนที่ #4 : อะเมซิ่ง ฟอสซิล

    • อัปเดตล่าสุด 15 ก.ย. 50


    บทเรียนที่ 4 - อะเมซิ่ง ฟอสซิล



    การที่จะศึกษาเรื่องราวของไดโนเสาร์นั้นทำได้อย่างไร ในเมื่อมันตายไปตั้งนานแล้ว...แน่นอน จากฟอสซิลไง

    คำว่า "ฟอสซิล (fossil)" มาจากรากศัพท์ภาษาละตินคำว่า "ฟอสซิลิส (Fossilis)" แปลว่า "ที่ถูกขุดขึ้นมา"

    กว่าจะกลายเป็นฟอสซิลต้องใช้เวลานานมาก เกือบหลายร้อยล้านปีเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นเราจะไม่ลงรายละเอียดการทำฟอสซิลด้วยตนเองในบทเรียนนี้ (เออ...แล้วมันจะทำได้ยังไง - -")

    ฟอสซิลที่ถูกพบส่วนมากจะเป็นกระดูก แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่จะเป็นอย่างอื่นนอกจากกระดูก เช่น...

              ก. ไข่ไดโนเสาร์ (อูลิธส์ Ooliths)
              ข. อุจจาระไดโนเสาร์ (คอร์ปอไลต์ Coprolites)
              ค. ฟอสซิลรอยเท้า (อิคไนต์ Ichnites)

    การล่าฟอสซิลที่ง่ายสำหรับเราๆ อาจจะเป็นการวิเคราะห์รอยเท้า และนี่คือขั้นตอนการวิเคราะห์รอยเท้าไดโนเสาร์ (ถ้าไม่สะดวก วิเคราะห์รอยเท้าหมาแถวบ้านไปก่อนดีกว่า)

    ขั้นที่ 1 - มีกี่เท้า จำนวนรอยเท้าของไดโนเสาร์ช่วยบอกให้เรารู้ว่าเป็นพวกเดินสองขา (bipedal) หรือพวกเดินสี่ขา (quadrupedal)
     
    ขั้นที่ 2 - นับจำนวนรอยเท้า จะได้รู้ว่ามันเดินทางเป็นฝูงหรือเดินทางตัวเดียว

    ขั้นที่ 3 - วัดระยะห่างระหว่างรอยเท้า เพื่อดูว่าไดโนเสาร์เดินเร็วเพียงใด

    ขั้นที่ 4 - วิเคราะห์ว่ารอยเท้าที่พบเหมือนกับรอยเท้าที่เคยพบมาก่อนหรือเปล่า

    ง่ายมากใช่มั้ย??

    - โปรดติดตามบทเรียนต่อไป -

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×