ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติบุคคลสำคัญ

    ลำดับตอนที่ #3 : ซูสีไทเฮา สตรีผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดของประวัติศาสตร์จีน

    • อัปเดตล่าสุด 1 เม.ย. 55


     

    ซูสีไทเฮา สตรีผู้ทรงอิทธิพล สูงที่สุดคนหนึ่งของจีน โดยพระนางมีอำนาจ อยู่เหนือราชสำนักจีน ในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งชาวจีนรู้จักกันดี ในฐานะไทเฮาฝ่ายตะวันตก


    ซูสีไทเฮา (ในภาษาจีน ชื่อของพระนางออกเสียงว่า ฉือสี่ไท่โฮ่ว) หรือไทเฮาฝ่ายตะวันตก มีพระนามแต่งตั้งว่า เสี้ยวชินเซียนฮองเฮา เดิมชื่อ เยี่ยเหอนาลา หลันเอ๋อ (Yehanala) เป็นชาวแมนจู เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2378 แม้ว่านางจะเป็นลูกสาว ของขุนนางจีนตกยาก แต่ด้วยความฉลาดหลักแหลม และความพยายาม นางจึงทำทุกวิถีทาง จนกระทั่ง ได้มีโอกาสถวายตัว เป็นหนึ่งในสนม ของฮ่องเต้เสียนเฟิง (Hsien Feng) ด้วยวัยเพียง 16 ปี

    ในระหว่าง ที่ถวายตัวให้กับฮ่องเต้ จนกระทั่งนางได้ให้กำเนิดโอรส นามถงจื้อ ทำให้นางได้เลื่อนตำแหน่ง จากสนมชั้นที่สาม ขึ้นมาเป็นฮองเฮาซูสี โดยเป็นพระมเหสีฝ่ายซ้าย คู่กับฮองเฮาฉืออัน ซึ่งเป็นมเหสีฝ่ายขวา

    เนื่อง จากฮ่องเต้เสียนฟิง มีพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวคือ ถงจื้อ เมื่อฮ่องเต้เสียนฟิง ทรงสวรรคตในปี พ.ศ.2404 พระนางฮองเฮาซูสี (ในฐานะฮองเฮาหรือพระราชนนี) และฉืออันฮองเฮา จึงขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการ แทนฮ่องเต้ถงจื้อ(Tongzhi Emperor) วัย 5 ชันษา


    ภายหลังจากที่ฮ่องเต้ถงจื้อ ขึ้นครองราชย์ ฮองเฮาซูสีจึงกลายเป็น "ซูสีไทเฮา" ส่วนฮองเฮาฉืออันก็ได้เป็น "ฉืออันไทเฮา" (ไทเฮาฝ่ายตะวันออก) เช่นกัน โดยทั้งคู่ ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการแทน ฮ่องเต้องค์น้อยเรื่อยมา ภายใต้หลังม่านไม้ไผ่ เมื่อองค์ฮ่องเต้ ทรงออกว่าราชการ ซูสีไทเฮา จะเป็นผู้ชักใยอยู่เบื้องหลัง ไม่ว่าเรื่องใด ก็ล้วนมาจากการคิด และตัดสินใจ ของพระนางผ่านปากของฮ่องเต้ถงจื้อ จนกระทั่ง ในปีพ.ศ. 2416 ฮ่องเต้ทรงมีพระชนมายุ 16 ชันษา ซึ่งสามารถว่าราชการ ได้ด้วยพระองค์เองได้ แต่ก็ยังอยู่ภายใต้อิทธิพล ของพระนางซูสีไทเฮา ซึ่ง 2 ปีต่อมา ฮ่องเต้ถงจื้อก็ทรงสวรรคต

    อำนาจความยิ่งใหญ่ เมื่อตกไปอยู่ในมือใครแล้ว มักจะไม่ยอมวางมือง่ายๆ พระนางซูสีไทเฮาก็เช่นกัน นางยอม ฝ่าฝืนกฎการสืบสันตติวงศ์ ด้วยการนำกวางซวี หลานชายอายุ 3 ขวบ ให้ขึ้นเป็นฮ่องเต้องค์องค์ใหม่ เพื่อที่นางและฉืออันไทเฮา จะได้เป็นผู้สำเร็จราชการต่อไป

    ไทเฮาทั้ง สอง ยังคงเป็นผู้สำเร็จราชการเรื่อยมา จนกระทั่งฉืออันไทเฮา ทรงสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ.2424 ซูสีไทเฮาจึงได้ขึ้นไป มีอำนาจเต็มที่เหนือแผ่นดินจีน แต่เพียงผู้เดียว เมื่อฮ่องเต้กวางซวี (Guangxu Emperor) มีพระชนมายุ ที่สามารถขึ้นมีพระราชอำนาจได้ พระนางก็วางมือ จากการบริหารราชสำนัก แต่นางยังคงส่งสายลับ เข้าไปในเครือข่ายราชสำนักอยู่ดี

    ระหว่างการครองราชย์ของ ฮ่องเต้กวางซวี ได้เกิดสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ภายหลังจากที่แพ้สงคราม ฮอ่งเต้กวางซวี ก็ทรงเริ่มการปฏิรูปประเทศ ในหลายๆ ด้าน ซึ่งรู้จักกันในนาม "การปฎิรูปร้อยวัน" แต่เนื่องจากพระนางซูสีไทเฮา ทรงมีความคิดอนุรักษ์นิยม จึงได้ร่วมมือ กันกองกำลังทหาร ที่มีความคิดเช่นเดียวกัน ทำการยึดพระราชอำนาจ และนำตัวฮอ่งเต้กวางซวี ไปคุมขังไว้ที่พระราชวังฤดูร้อนของพระนาง พร้อมกับขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการ อีกครั้งหนึ่ง
    ต่างชาติเริ่มเข้ามาสู่ประเทศจีน

    พระนางซูสี ไทเฮายังหนุนกลุ่มจราจลหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มต่อต้านการปฎิรูป และต่อต้านชาวต่างชาติ พระนางซูสีไทเฮา ยังคงดำรงอำนาจภายในราชสำนักอยู่ ภายใต้ความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น เกิดการกบฎต่อต้านราชวงศ์ชิงอย่างไม่ขาดสาย โดยเฉพาะกบฎไป๋เหลียนเจี่ยว ที่ทำให้ความเจริญรุ่งเรือง ของราชวงศ์ชิงสิ้นสุดลง
    พระนางซูสีไทเฮา

    ปัญหาการรุกรานจากชาติมหาอำนาจ ในยุคล่าอาณานิคมเร่มทวีความรุนแรงมากขึ้น กองกำลังทหารต่างชาติ บุกเข้าพระราชวังต้องห้าม
    และยึดกรุงปักกิ่ง ทำให้พระนาง ต้องยอมรับข้อตกลงสงบศึก และปฏิรูปจีนตามข้อตกลงที่ราชสำนักลงนามไว้ในสนธิสัญญา ที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งบังคับให้ประเทศจีน ต้องปันดินแดน และชดใช้เงินให้กับผู้รุกราน รวมทั้งจำเป็นต้องเปิดเมืองท่ากับต่างชาติ ทำให้สังคมจีน เริ่มกลายเป็นสังคมกึ่งเมือง ขึ้นกึ่งศักดินา

    จน กระทั่งในปี พ.ศ.2451 พระนางซูสีไทเฮาวางแผน ให้ฮ่องเต้กวางซวีสวรรคต แต่เพียงไม่กี่วันต่อมา พระนางก็สิ้นพระชนม์ เป็นอันสิ้นสุดอำนาจ ที่ครอบครองนานกว่า 47 ปี หลังจากนั้นบ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ปูยีโอรสขององค์ชายชุนที่2 (Prince Chun) ซึ่งปูยีเป็นโอรสบุญธรรม ของพระนางซูสีไทเฮา ได้รับการอภิเษก ขึ้นเป็นฮ่องเต้ซวนถงหรือปูยี (Emperor Pu Yi) ด้วยพระชนมายุเพียง 2 ชันษา โดยมีพระราชบิดา เป็นผู้สำเร็จราชการแทน
    ฮ่องเต้ปูยี

    จนกระทั่งพ.ศ.2454 เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ที่นำโดยนายพลซุน ยัตเซ็น
    (Sun Yat-sen) ได้ประกาศก่อตั้งรัฐบาล ขึ้นใหม่ ในนาม "สาธารณรัฐจีน" ที่เมืองนานกิง หัวเมืองต่าง ก็เริ่มแยกตัวออกจาก รัฐบาลราชวงศ์ชิง ราชวงศ์จึงเรียกตัวนายพลหยวนซือไข่ (Yuan Shi Kai)เข้ามาควบคุมกองทัพ เพื่อปราบปรามกลุ่มที่แข็งข้อ แต่นายพลหยวน กลับทำร้ายราชวงศ์ ด้วยการแต่งตั้งตนเอง เป็นนายกรัฐมนตรี รวมทั้งจัดตั้งรัฐบาลของตนเองขึ้น และเรียกร้องให้องค์ชายชุน ลงจากตำแหน่ง
    นายพลหยวนซือไข่

    เมื่อองค์ ชายชุนออกจากตำแหน่ง หยวนซือไข่จึงครอบงำราชวงศ์ชิงเป็นผลสำเร็จ ทำให้ประเทศจีนมีรัฐบาล 2 ฝ่าย ซึ่งรัฐบาลหยวนซือไข่ ปฏิเสธที่จะทำสงคราม กับรัฐบาลสาธารณรัฐของซุน ยัตเซ็น โดยราชวงศ์ชิง อยากให้จีนปกครองระบอบกษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ซุน ยัตเซ็นอยากให้ประเทศปกครอง ด้วยระบอบสาธารณรัฐ

    ต่อมานายพล หยวนเปิดการเจรจากับซุน ยัตเซ็น โดยมีเงื่อนไข หากก่อตั้งสาธารณรัฐจีนสำเร็จ ก็จะให้นายพลหยวน ขึ้นเป็นประธานาธิบดี และประกาศให้จักรพรรดิปูยี สละราชบัลลังค์ เป็นอันสิ้นสุด การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในจีนที่มีมายาวนานกว่า 2,000 ปี


    สิ่งปลูกสร้างภายใน พระราชวังมีความงดงาม โดยเฉพาะระเบียงยาวรูปโค้ง เลียบไปตามริมทะเลสาบที่ขุดขึ้น โดยแรงงานคน ซึ่งเป็นระเบียงที่ยาวที่สุดในโลก ทั้งภายในและภายนอก ระบายสีเป็นภาพวรรณกรรมจีน แต่ละภาพจะวาดอย่างสวยงามและไม่ซ้ำ

    เรือหินอ่อนเป็นอีกสิ่งก่อ สร้างที่ถูกสร้างขึ้น ตามพระประสงค์ของพระนางซูสีไทเฮา เพื่อใช้สำหรับเป็นสถานที่จิบน้ำชาชมทิวทัศน์ โดยเป็นเรือสองชั้น ที่ดูเหมือนลอยน้ำได้แต่ความจริง คือแท่งหินอ่อนที่หนักมหาศาล

    ตำหนักหลังนี้เป็นตำหนัก ที่คุมขังฮ่องเต้กวางซวี จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ด้วยวัย 38 ปี ซึ่งเป็นตำหนักชั้นเดียว มีตำหนักซ้ายขวาสร้างหลอกเอาไว้เห็นแต่ด้านหน้า โดยความจริง ไม่มีห้องด้านในมีแต่กำแพงข้างหลังเท่านั้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×