คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
รัฐธรรมนูญ มีความหมายตามพจนานุกรมแห่งราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ว่า "เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้จัดระเบียบการปกครองประเทศ กำหนดรูปแบบของรัฐว่าเป็นรัฐเดี่ยว หรือรัฐรวม ระบอบการปกครองของรัฐ รวมทั้งสถาบันและองค์กรที่ใช้อำนาจในการปกครองรัฐ"
ความเป็นมา
ประเทศเกือบทั้งหมดในโลกย่อมต้องมีรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้เป็นเครื่องกำหนดรูปแบบในการปกครองประเทศ ไม่ว่าประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย สังคมนิยม หรือแบบคอมมิวนิสต์ ต่างมีรัฐธรรมนูญตามแบบฉบับของประเทศตนเองทั้งสิ้น สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษร ประเทศไทยเคยมีทั้งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่จัดทำขึ้นในขณะที่บ้าน เมืองอยู่ในภาวะไม่สงบ หรือหลังจากมีการปฏิบัติรัฐประหารและรัฐธรรมนูญฉบับถาวร โดยรวมทั้งสองประเภทแล้ว ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ ฉบับปัจจุบัน คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
จุดกำเนิดรัฐธรรมนูญของไทย เกิดขึ้นจากบุคคลกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยฝ่ายทหารและพลเรือนที่เรียกว่า "คณะราษฎร" ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือราชาธิปไตย ซึ่งอำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่ที่พระมหากษัตริย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หมายความว่า อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนชาวไทย และพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นประมุขของรัฐ
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" และต่อมา พระองค์ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ภายหลังทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการรำลึกถึงการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรของไทยฉบับแรก
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ เราสามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้
1. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศ กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นแม่บทของกฏหมายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชกำหนด กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประมวลกฏหมายต่าง ๆ รวมทั้งกฎหมายในส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ซึ่งหากกฎหมายใดก็ตามที่ได้ออกมาบังคับใช้ก่อนหรือหลังประกาศรัฐธรรมนูญ หากมีข้อความขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ กฏหมายเหล่านั้นย่อมไม่มีผลบังคับใช้
2. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงโครงสร้างการปกครองประเทศ ได้แก่ การวางโครงสร้างรูปแบบการปกครองประเทศ การใช้อำนาจรัฐ ที่มาของอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การแบ่งแยก และการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกันของอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
3. รัฐธรรมนูญวางหลักประกันเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และกำหนดหน้าที่ของพลเมืองของรัฐที่ต้องปฏิบัติในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐ
4. รัฐธรรมนูญช่วยทำให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน โดยกำหนดให้มีกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฏหมายอื่น ๆซึ่งตราออกมาบังคับใช้โดยฝ่ายนิติบัญญัติและนำไปบังคับใช้กับประชาชนโดยฝ่ายบริหาร โดยมีฝ่ายตุลาการเป็นผู้ตัดสินคดีต่าง ๆที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายเหล่านั้นอย่างเป็นระบบระเบียบ อีกทั้งยังมีหน่วยงานอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบหรือดำเนินการควบคุมให้การดำเนิน การต่าง ๆเป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้งที่ รัฐธรรมนูญจัดให้ดูแลควบคุมการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างยุติธรรม
โครงสร้างของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 วางโครงสร้างการปกครองประเทศไทยไว้ดังนี้
1) รูปแบบของรัฐและระบอบการปกครอง
รัฐ หมายถึง ชุมชนทางการเมืองที่ประกอบด้วย ประชากร ซึ่งอาศัยอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตที่แน่นอนและอยู่ภายใต้รัฐเดียวกัน มีอำนาจอธิปไตยเหนือประชากรของรัฐนั้น ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับจนถึงปัจจุบัน บัญญัติไว้ว่า "ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกัน จะแบ่งแยกมิได้" หมายความว่า ประเทศไทยจะแบ่งแยกออกเป็นรัฐหลายรัฐหรือเป็นไทยตอนเหนือตอนใต้ไม่ได้
ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีอำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดที่มาจากปวงชนชาวไทยโดยมีพระมหากษัตริย์ ทางเป็นประมุข พระองค์จะทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
2) สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่
สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของปวงชนชาวไทยตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น สิทธิในการเลือกนับถือศาสนา สิทธิในชีวิตร่างกาย และทรัพย์สิน สิทธิส่วนบุคคลในครอบครัว เป็นต้น เสรีภาพและหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมใด ๆอันไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น การจัดตั้งพรรคการเมือง เสียภาษีอากร และการใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น
3) แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ เช่น รัฐจะต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช และบูรณภาพแห่งราชอาณาจักร รัฐต้องจักให้มีกองกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4) รัฐสภา
รัฐสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวน 48 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง 2 แบบคือ การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และการเลือกตั้งแบบสัดส่วน จำนวน 80 คน ส่วนสมาชิกวุฒิสภามีจำนวน 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน รวม 76 คน และมาจากการสรรหาจำนวน 74 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ไม่ว่าจะได้มาในลักษณะใดก็มีศักดิ์และสิทธิแห่งการเป็นสมาชิกรัฐสภาประเภท นั้น ๆโดยเสมอกันและเท่าเทียมกันทุกประการ
5) พระมหากษัตริย์
หลักการสำคัญของคณะราษฏรที่ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ เพียงแต่ต้องการให้พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ยังอยู่ในฐานะที่ปวงชนชาวไทยให้การเคารพสักการะเทอดไว้เหนือสิ่งอื่นใด ด้วยเหตุนี้รัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับจนถึงปัจจุบันจึงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ตลอดมา ดังนี้
1. พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิใด ผู้ใดจะฟ้องร้องหรือกล่าวหาพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้
2. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถมภก คือพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนา และทรงอุปถัมภ์ทุกศาสนาที่ชาวไทยนับถือ โดยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 9 ระบุว่า เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครองราชย์แล้ว จะทรงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นมิได้
3. พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย
4. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
5. พระมหากษัตริย์ทรงสามารถมีพระราชวินิจฉัยแต่งตั้งคณะองคมนตรี เพื่อเป็นที่ปรึกษาพระราชกรณียกิจและหน้าที่อื่น ๆตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
หลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
1. รัฐธรรมนูญมุ่งให้ประชาชนเคารพสิทธิของกันและกัน การใช้สิทธิของตนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดจะต้องไม่กระทบสิทธิเสรีภาพของผู้ อื่น เช่น รัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชนที่จะชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมหรือเจรจา ต่อรองใด ๆได้โดยสงบ และปราศจากอาวุธแต่ต้องไม่ก่อความเดือดร้อนต่อบุคคลอื่น เช่น กีดขวางการจราจร ปิดการจราจร หรือทำลายสิ่งของบุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของทางราชการ เป็นต้น
2. รู้จักใช้สิทธิของตนเองและแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักใช้และรักษาสิทธิของตนเอง เช่น การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
3. รณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนและปลูกฝังแนวความคิดเรื่อง สิทธิมนุษยชนแก่ชุมชนหรือสังคม ตามสถานภาพและบทบาทที่ตนพึงกระทำ
4. ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
5. ปฏิบัติตนตามหน้าที่ของชาวไทยที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การเคารพต่อกฎหมาย การเสียภาษีอากร การเข้ารับราชการทหาร การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น
6. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
แนวทางการปฏิบัติตนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
1.เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทางประชาธิปไตยทุกระดับ
2.ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้บริหารทุกระดับอย่างใกล้ชิด
3.ให้กำลังใจและสนับสนุนนักการเมืองที่ดีและพรรคการเมืองที่ดี
บทบัญญัติเกี่ยวกับรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติเกี่ยวกับรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล พอสรุปโดย สังเขป ดังนี้
รัฐสภา
1. รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร
2. ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานสภา ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
3. ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
4. ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ตามมาตรา 99 จำนวน 100 คน อยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปี
5. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ภายใน 60 วัน
6. ประชาชนมีสิทธิเสมอกันในการเป็นผู้ออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
7. มติของสภาให้ถือตามเสียงข้างมากคือ จำนวนเสียงที่ลงมติต้องเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่ร่วมประชุม อยู่ในสภานั้น
8. ในแต่ละปีให้มีการเปิดสมัยประชุม 2 ครั้ง ครั้งละ 120 วัน
คณะรัฐมนตรี
1. พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน แต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร และรัฐมนตรี 35 คน ซึ่งอาจเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่เป็นก็ได้
2. ประธานรัฐสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรีที่ทูล เกล้าเสนอ
3. รัฐมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ และหากเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องลาออกภายใน 30 วัน
4. ในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่แถลงไว้ต่อสภา
5. รัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
· มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
· มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
· สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
· ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปี ก่อนได้รับแต่งตั้ง
· ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดมาแล้วยังไม่เกิน 1 ปี นับถึงวัน ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี
6. คณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ เมื่อ
· สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุเมื่อครบวาระ 4 ปี หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
· คณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ
· ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง
7. รัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งเฉพาะตัว เมื่อ
· ตายหรือลาออก
· ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
· สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจเป็นการเฉพาะตัว
· ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตามความผิดที่กระทำไปในขณะดำรงตำแหน่ง
ศาล
1. การบัญญัติกฎหมายให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาล
2. ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วต่อเนื่อง และเป็นธรรม
3. ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานรัฐธรรมนูญ 1 คน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก 14 คน ซึ่งพระมหา กษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
4. ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นมีข้อความขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือเป็นอันตกไป
5. ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจ ของศาลอื่น
6. ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
7. ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยราชการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
บทบัญญัติเกี่ยวกับพรรคการเมือง การเลือกตั้ง รัฐบาล และการจัดตั้งรัฐบาล
พรรคการเมือง คือ องค์กรทางการเมืองที่รวมบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน และมีเป้าหมายเพื่อได้อำนาจทางการเมืองในรัฐบาล นโยบายต่าง ๆ ของพรรคการเมืองส่วนมากจะเป็นผลรวมของความต้องการภายในพรรค ซึ่งเมื่อพิจารณาสมาชิกพรรคแต่ละคนแล้ว อาจจะมีความแตกต่างกันอย่างมากก็ได้
ในระบอบรัฐสภา พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะมีผู้นำ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าพรรคการเมืองนั้นได้รับเสียงข้างมาก จะรับหน้าที่เป็นผู้นำรัฐบาล ขณะที่ในระบอบประธานาธิบดี พรรคการเมืองอาจไม่มีผู้นำที่ชัดเจน โดยเฉพาะในระบบการเมืองที่มีการแยกอำนาจโดยสมบูรณ์
บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง
1) วางนโยบายในการแก้ไขปัญหาของประเทศ และแถลงนโยบายเหล่านั้นให้ประชนรับทราบ เพื่อจะได้พิจารณาว่าควรจะสนับสนุนพรรคการเมืองนั้นๆหรือไม่ นโยบายของพรรคดังกล่าวสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนหรือไม่
2) พิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค ในระดับชาติและท้องถิ่น หรือ ในกรณีที่ได้เข้าไปเป็นรัฐบาล พรรคก็จะทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ทางการเมืองในคณะรัฐบาล
3) ดำเนินการหาเสียงเลือกตั้ง โดยพยายามเข้าถึงประชาชน รับฟังความคิดของกลุ่มต่างๆในสังคม และทำการประสานประโยชน์กับกลุ่มต่างๆเหล่านั้น เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนมากที่สุด
4) นำนโยบายของพรรคที่ได้แถลงต่อประชาชน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ประชาชนสนับสนุนพรรคด้วยการเลือกตัวแทนที่มาจากพรรคของตนไปนั่งในรัฐสภา
5) ให้การศึกษาและอบรมความรู้ทางการเมืองให้กับประชาชนโดยทั่วไปและสมาชิกพรรค ด้วยการให้ข้อมูลกับประชาชนเพื่อให้มีความรู้ทางการเมือง
6) หน้าที่ในการควบคุมการทำงานของรัฐบาล เพราะว่านโยบายต่างๆของรัฐบาลก็ต้องคอยตรวจสอบดูว่า รัฐบาลได้ดำเนินงานตามนโยบายที่แถลงไว้หรือไม่ ซึ่งเราจะเห็นไดจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ลักษณะดังกล่าวเป็นการควบคุมนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงการณ์ไว้กับรัฐสภา
การเลือกตั้งของไทย
การเลือกตั้งเป็นสิทธิและหน้าที่ของชนชาวไทยที่สำคัญยิ่งในกระบวนการทางการเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดไว้ว่า " บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันควรที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตังได้ ย่อมเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ " เพราะการเลือกตั้งเป็นการแสดงออกซึ่งการต้องการของประชาชนที่จะสนับสนุนหรือคัดค้านการตัดสินใจของผู้นำในทางการเมือง การเลือกตั้งจึงถือเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่สำคัญ
1. ความสำคัญของการเลือกตั้ง
การออกเสียงเลือกตั้งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ดังปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 21(1) ว่า " เจตจำนงของประชาชนย่อมเป็นมูลฐานแห่งอำนาจรัฐบาลของผู้ปกครอง เจตจำนงดังกล่าวต้องแสดงออกโดยการเลือกตั้งอันสุจริต ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามกำหนดเวลา ด้วยการลงคะแนนเสียงอย่างทั่วถึง โดยถือหลักคนละหนึ่งเสียงเท่านั้น โดยกระทำเป็นการลับด้วยวิธีต่างๆ เพื่อที่จะประกันให้การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นไปโดยเสรี "
นอกจากนี้ในวิถีทางทางการเมือง การเลือกตั้งยังมีความสำคัญดังต่อไปนี้
1. เป็นวิธีการที่ทำให้ประชาชยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามหลักการประชาธิปไตย โดยประชาชนใช้ตัวแทนของตนที่ได้มาจากการเลือกตั้งนั้นไปทำหน้าที่แทนตนในรัฐสภาและในคณะรัฐบาล
2. เป็นวิธีการที่ใช้เปลี่ยนอำนาจ ทางการเมืองการปกครองที่ทันสมัยและเป็นไปอย่างสันติวิธี ซึ่งแตกต่างจากมนุษย์ในสมัยโบราณที่ใช้กำลังใช้อาวุธเข้าต่อสู้กัน เพื่อแก่งแย่งอำนาจทางการปกครอง ซึ่งอาจจะเห็นได้จากการเรียนวิชาประวัติศาสตร์
3. ป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร เมื่อรัฐบาลไม่สามารถบริหารประเทศหรือแก้ไขปัญหาต่างๆให้ลุล่วงไปได้ก็จะคืนอำนาจให้ประชาชน ด้วยการยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ให้ประชาชนตัดสินใจว่าสมควรจะเลือกใครเป็นผู้บริหารประเทศต่อไป
4.เป็นวิธีที่จะทำให้เกิดการหมุนเวียนเปลี่ยนอำนาจ เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มอื่นได้เข้ามาใช้อำนาจในการบริหารประเทศ ทำให้ประชาชนได้มีโอกาสเปลี่ยนตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เปลี่ยนเมื่อไม่พอใจกานทำงานของรัฐบาล
2.หลักการเลือกตั้ง
1. หลักอิสระแห่งการเลือกตั้ง หมายถึง การให้อิสระต่อการออกเสียงเลือกตั้งโดยที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพที่จะเลือกใครหรืพรรคการเมืองใดก็ได้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งก็มีสิทธิที่จะเลือกสังกัดพรรคการเมืองใดก็ได้
2.หลักการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา การเลืองตั้งจะต้องมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
3. หลักการเลือกตั้งอย่าบริสุทธิ์ยุติธรรม การเลือกตั้งเป็นไปตามตัวบทกฎหมาย ไม่มีการโกง หรือใช้อิทธิพลเงิน หรืออำนาจหน้าที่ในการบีบบังคับซื้อคะแนนเสียงเพื่อตนเองและหมู่คณะ
4. หลักการใช้สิทธิในการเลือกตั้งอย่างเสมอภาค การให้สิทธิแก่ประชาชนโดยไม่มีการกีดกันหรือจำกัดสิทธิบุคคลใดเป็นพิเศษ ทุกคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงคนละหนึ่งคะแนนและคะแนนทุกเสียงมีนำหนักเท่ากัน
5. หลักการออกเสียงโดยทั่วไป การเปิดโอกาสให้มีการออกเสียงเลือกตั้งอย่างทั่วถึงแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า เว้นแต่มีข้อจำกัดอันเป็นที่รับรองกันทั่วไป
6.หลักการลงคะแนนลับ การออกเสียงเลือกตั้งของประชาชนถือเป็นสิทธิของผู้เลือกตั้งโดยเด็ดขาด โดยที่ผู้ออกเสียงเลือกตั้งไม่จำเป็นต้องบอกผู้อื่นว่าเลือกใคร ทั้งนี้เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ ปราศจากการข่มขู่บังคับจากอิทธิพลใดๆที่จะมีผลต่อความปลอดภัยของผู้เลือกตั้ง
รัฐบาล และการจัดตั้งรัฐบาล
รัฐบาล
โดยปกติรัฐบาลจะประกอบคณะรัฐมนตรีจำนวน 18-19 คน รัฐมนตรีแต่ละคนมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกระทรวงภายใต้สังกัด โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล
พรรคการเมืองมีความกระตือรือร้นในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับการปกครองที่ตนคาดหวังจากนอร์เวย์ และพรรคการเมืองส่วนใหญ่ต้องการอยู่ฝ่ายรัฐบาล เมื่อพรรคการเมืองต่างพรรคร่วมกันก่อตั้งรัฐบาลเราเรียกว่าคณะร่วมรัฐบาล หากพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลได้เสียงข้างมากในสภา เราเรียกว่ารัฐบาลเสียงข้างมาก หากพรรคการเมืองที่ร่วมกันก่อตั้งรัฐบาลมีเสียงน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกในสภา เราเรียกว่ารัฐบาลเสียงข้างน้อย
หน้าที่ของรัฐบาลที่สำคัญคือเสนอกฎหมายและแก้ไขกฎหมาย สภาเป็นผู้ออกกฎหมาย หน้าที่ของรัฐบาลคือตรวจสอบให้แน่ใจว่ามติที่เห็นชอบจากสภา ได้มีการปฏิบัติตาม นอกจากนี้รัฐบาลยังมีหน้าที่จัดทำงบประมาณของประเทศ
พรรคการเมืองที่ได้นั่งในสภา แต่ไม่ใช่สมาชิกรัฐบาลถือเป็นฝ่ายค้าน คนกลุ่มนี้มีหน้าที่กดดันรัฐบาลเพื่อให้มีการดำเนินการตามแผนงานในส่วนของตน
การจัดตั้งรัฐบาล
เนื่องจากรัฐบาลมีอำนาจหน้าที่กว้างขวางมาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจึงบัญญัติให้ใช้วิธีการจัดตั้งรัฐบาลอย่างเปิดเผยและเป็นที่รับรู้ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองต่างๆทุกคน โดยไม่ปล่อยให้แกนนำของพรรคการเมืองรีบไปตั้งรัฐบาลกันทันทีหลังจากทราบผลการเลือกตั้งทั่วไปเหมือนในอดีต
ด้วยเหตุนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2554 มาตรา 172 จึงบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก
การเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรรับรอง การลงมติในกรณีเช่นนี้ให้กระทำโดยการลงคะแนนแบบเปิดเผย
ในกรณีที่พ้นกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก ไม่ปรากฏว่าบุคคลใดได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบให้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนำความขึ้นกราบบังคมทูลภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดดังกล่าวเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งบุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อป้องกันมิให้มีการว่างของหัวหน้ารัฐบาลนานเกินไป
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ในอดีตอำนาจรัฐที่มีอยู่เหนือประชาชนนั้นมีมากและกว้างขวางอย่างยิ่ง การใช้อำนาจดังกล่าวทั้งโดยฝ่ายการเมืองหรือฝ่ายประจำอาจเป็นที่มาของประโยชน์ที่มิชอบ จึงได้มีการแก้ไขสภาพที่ไม่พึงประสงค์ข้างต้น โดยกำหนดการควบคุมอำนาจรัฐให้ครบถ้วนทุกด้านทั้งด้านการเมือง โดยกระบวนการทางรัฐสภาและด้านกฎหมาย โดยมีการจัดตั้งองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทั้งในรูปของศาลและองค์กรอิสระต่างๆ
ความคิดเห็น