คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : การสั่งจอง และชำระเงิน
หากเพื่อนๆ สนใจสินค้าชิ้นใดก็เมลล์หรือข้อความลับมาหาเราได้เลยค่ะ จากนั้นเราจะทำการจองไว้ให้ 3 วัน
โดยภายใน 3 วันนั้นเพื่อนๆ ต้องโอนเงินมาให้ทางเราก่อนไม่ว่าจะเป็นทางธนาคาร หรือธนาณัติ เมื่อเราได้รับเงิน ขึ้นเงินแล้วเราจะจัดส่งของไปให้เพื่อนๆ ถึงบ้านเลยค่ะ
สำหรับค่าบริการ ธนาณัติธรรมดา ถึงผู้รับภายใน 3-5 วัน (ให้ผู้ส่งถ่ายรูป หรือแสกนใบเสร็จรับเงินมาให้ทางเรา หรือแจ้งมาก็ได้ค่ะ เมื่อเราได้รับเงินแล้วเราจะส่งของไปให้ท่านทันทีค่ะ)
ธนาณัติธรรมดา ส่งเงินไม่เกิน 1,000 บาทค่าบริการ 10 บาท จากนั้นนำธนาณัติใส่ซองจดหมายติดแสตมป์จ่าหน้าซองถึงเราค่ะ (จดหมายแนะนำให้ส่งแบบลงทะเบียน ไม่น่าเกิน 18 บาทนะคะ เพราะน้ำหนักไม่มาก)
ถ้าใครสะดวกโอนเงินทางธนาคารในเขตกรุงเทพและปริมณฑลก็ไม่เสียค่าธรรมเนียมการโอนเงินค่ะ
การฝากส่งไปรษณีย์ธนาณัติธรรมดา กับ การฝากส่งไปรษณีย์ธนาณัติด่วนพิเศษ มีขั้นตอนการฝากส่งเหมือนกัน เพียงแต่เวลาเขียนใบฝากส่งธนาณัติ (ธน.1) ให้ทำเครื่องหมายลงไปในช่อง “ ธรรมดา” หรือ “ด่วนพิเศษ” ถ้าทำเครื่องหมายไว้ในช่องธรรมดาก็เป็นการแสดงความจำนงว่าต้องการส่งเป็นไปรษณีย์ธนาณัติธรรมดา ถ้าทำเครื่องหมายในช่องด่วนพิเศษก็เป็นการแสดงความจำนงว่าต้องการส่งไปรษณีย์ธนาณัติด่วนพิเศษ
สำหรับการฝากส่งโทรเลขธนาณัติ และธนาณัติอีเล็กทรอนิกส์จะขอกล่าวในตอนต่อไป ตอนนี้มาว่ากันเรื่องไปรษณีย์ธนาณัติกันก่อน การฝากส่งไปรษณีย์ธนาณัติ ต้องกรอกใบฝากธนาณัติในประเทศก่อน ตามขั้นตอนต่อไปนี้ (ดูตัวอย่างในภาพ)
1. ให้ทำเครื่องหมายเลือกชนิดของธนาณัติก่อนว่า ต้องการ ธรรมดา หรือ ด่วนพิเศษ
2. เขียน วัน เดือน ปี ที่ฝากส่ง
3. ระบุจำนวนเงินที่ต้องการฝากส่ง ทั้งตัวเลขและตัวหนังสือให้ชัดเจน
4. ระบุที่ทำการไปรษณีย์ที่ต้องการให้ผู้รับไปรับเงิน พร้อมด้วยรหัสไปรษณีย์ให้ชัดเจน
5. ระบุ ชื่อ นามสกุลผู้รับเงิน ในช่อง “ ชื่อผู้รับเงิน “ ให้ชัดเจน
6. ในช่อง “ที่อยู่” ให้ระบุที่อยู่ของผู้ฝากส่งโดยละเอียด พร้อมด้วยรหัสไปรษณีย์
7. ในช่อง “ชื่อผู้ฝากเงิน “ ให้ระบุชื่อผู้ฝากเงิน(เจ้าของเงิน) ให้ชัดเจน
8. ในช่อง “ที่อยู่” ให้ระบุที่อยู่ของผู้ฝากเงินโดยละเอียด พร้อมด้วยรหัสไปรษณีย์
9. ถ้ามีเบอร์โทรศัพท์ก็ให้ระบุไว้ด้วย
10. ให้เซ็นชื่อ ผู้ฝากเงิน หรือผู้ฝากแทน ถ้าเป็นผู้ฝากเงินมาดำเนินการด้วยตนเองก็ให้ทำเครื่องหมายไว้ในช่องผู้ฝากเงินแล้วเซ็นชื่อผู้ฝากเงิน ถ้ามาดำเนินการแทนคนอื่น ก็ให้ทำเครื่องหมายไว้ในช่องผู้ฝากแทนแล้วเซ็นชื่อผู้ฝากแทนเมื่อกรอกรายการต่าง ๆ เสร็จแล้วก็ยื่น ธน.1 ให้กับเจ้าหน้าที่ที่ช่องบริการ (ตามลำดับคิวบริการ) เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ก็จะเรียกเก็บเงินที่ฝากส่งพร้อมกับค่าบริการจากเรา หลังจากนั้นจะดำเนินการออกธนาณัติ (ธน.31) ให้เรา ธน.31 นี้จะมีอยู่ 3 ท่อน ซ้อนกันอยู่ ท่อน 1 สำหรับผู้รับนำไปรับเงิน สีฟ้า , ท่อน 2 สำหรับผู้ฝากเงิน สีเขียว , ท่อน 3 สำหรับเจ้าหน้าที่ สีเหลือง
เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วเจ้าหน้าที่จะเก็บ ธน.31ท่อน 3 ไว้แล้วส่ง ท่อน 1 กับท่อน 2 ซึ่งซ้อนติดกันอยู่ให้แก่เราเพื่อดำเนินการต่อ ของจริงมันซ้อนติดกันสนิทเหมือนกับว่ามีใบเดียว ตามตัวอย่างในภาพด้นบนนี้ซ้อนเหลื่อมกันเพื่อให้รู้ว่ามี ท่อน 2 อยู่ด้านหลัง (ตามภาพด้านบนนี้ หมายเลข 1 คือ ท่อน 1 , หมายเลข 2 คือ ท่อน 2)
จะเห็นว่าเจ้าหน้าที่เขาได้พิมพ์รายละเอียดส่วนอื่น ๆ มาให้เราเรียบร้อย(ที่จริงเขาป้อนรหัสรายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้ตั้งไว้ล่วงหน้าแล้วเข้าคอมพิวเตอร์แล้วจะถูกพิมพ์ออกมาบน ธน.31 โดยอัตโนมัติ) ยกเว้นชื่อผู้รับเงิน กับชื่อผู้ฝากเงิน ที่เว้นเอาไว้เพราะไม่สามารถป้อนรหัสได้ จึงเว้นเอาไว้ให้เราดำเนินการเขียนลงไปเอง (ที่ไปรษณีย์ที่เขามีเจ้าหน้าที่หลาย ๆ คน หลายช่องบริการ เจ้าหน้าที่อาจพิมพ์รายละเอียดทุกอย่างพร้อมทั้งชื่อผู้รับ ผู้ฝากให้เรียบร้อย คงเหลือเพียงขั้นตอนบรรจุซองที่ให้เราทำเอง ที่ไปรษณีย์ที่มีเจ้าหน้าที่น้อย เช่นมีเพียง 1 - 2 คน หรือไม่เกิน 5 คน การพิมพ์ชื่อผู้รับผู้ฝากอาจกินเวลามากทำให้ผู้ใช้บริการรายอื่นต้องรอนานและคิวบริการอาจยาวเกินไป เขาจึงให้เราเขียนชื่อผู้รับและผู้ฝากเอง)
เมื่อได้รับ ธน.31 ท่อน 1 และท่อน 2 มาแล้ว อย่าเพิ่งฉีกออกจากกันให้ซ้อนกันอยู่อย่างนั้นเพราะแบบ ธน.31 จะมีก้อปปี้ในตัว ให้กรอก ชื่อ-นามสกุล ผู้รับเงิน ลงในช่องชื่อผู้รับเงิน ดูจุดสังเกต หมายเลข 1 และกรอก ชื่อ-นามสกุล ผู้ฝากเงินลงในช่องผู้ฝากเงิน ดูจุดสังเกต หมายเลข 2 ในภาพข้างล่างนี้ (ควรใช้ปากาลูกลื่น) ก่อนกรอกให้อ่านดูเสียก่อนอย่าให้สลับกัน ให้กรอกเฉพาะชื่อและนามสกุลผู้รับและผู้ฝากเท่านั้นไม่ต้องกรอกที่อยู่ลงไป ถ้าผู้รับเป็นนิติบุคคล ก็ให้กรอกชื่อนิติบุคคล เช่น บริษัท การงาน จำกัด ฯลฯ
เมื่อกรอกเสร็จแล้วให้ตรวจสอบก่อนนะครับว่า ชื่อผู้รับ , ผู้ฝาก ที่กรอกลงไปถูกต้องหรือไม่ ถ้าเห็นว่าถูกต้องแล้ว ก็ให้ดึงท่อน 2 ออกมาจากท่อน 1 จะเห็นว่า ซื่อผู้รับเงินและชื่อผู้ฝากเงินที่เราเขียนบนท่อน 1 จะติดที่ท่อน 2 ด้วย
ให้นำ ธน. 31 ท่อน 1 บรรจุในซองที่เราเตรียมไว้แล้วปิดผนึกซองให้เรียบร้อย (ที่หน้าซองต้องจ่าหน้าชื่อและที่อยู่ผู้รับและผู้ฝากไว้ให้ละเอียดด้วย ) ส่วน ธน.31 ท่อน 2 ให้เราเก็บไว้เป็นหลักฐาน แล้วคืนซองที่บรรจุ ธน.31 ท่อน 1 ให้กับเจ้าหน้าที่ ก็เป็นจบขั้นตอนการฝากส่งธนาณัติ
ถ้าใครไม่ได้เตรียมซองมา ก็หาซื้อได้ที่ไปรษณีย์ครับ เขามีทั้งซองธนาณัติสำเร็จรูป (ใช้กับธนาณัติธรรมดา ไม่ต้องติดแสตมป์) และซองทั่วไปซึ่งสมารถนำมาใช้ส่งธนาณัติได้แต่ต้องติดแสตมป์(เฉพาะธนาณัติธรรมดา) ถ้าส่งธนาณัติด่วนพิเศษ ไม่ต้องติดแสตมป์นะครับ เขาคิดค่าบริการรวมมาเรียบร้อยแล้ว(โปรดดูตัวอย่างซองธนาณัติและการจ่าหน้าซองตามภาพข้างบนนี้) หมายเหตุ การส่ง ไปรษณีย์ธนาณัติด่วนพิเศษก็มีขั้นตอนเหมือนกันกับการส่งไปรษณีย์ธนาณัติธรรมดา เมื่อกรอกรายการใน ธน.1 เพียงแต่ทำเครื่องหมายลงในช่อง"ด่วนพิเศษ" เพื่อแสดงความจำนงว่าเราต้องการส่งแบบด่วนพิเศษ ส่วนรายการอื่น ๆ ก็กรอกเช่นเดียวกับแบบธรรมดา การดำเนินการต่าง ๆ ก็เหมือนกับส่งแบบธรรมดา แต่เวลาส่งเข้าสู่ทางไปรษณีย์ จะได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษทุกขั้นตอนจนถึงมือผู้รับ
ตัวอย่างซองบรรจุธนาณัต ด่วนพิเศษ (EMS) ส่งแบบนี้เขาคิดค่าบริการด่วนพิเศษเพิ่มขึ้นตามพิกัดน้ำหนักของซอง การส่งแบบด่วนพิเศษจะถึงผู้รับเร็วกว่าส่งแบบธรรมดา คือถ้าส่งภายในเวลาที่กำหนดและผู้รับอยู่ในเขตพื้นที่เขตจ่ายไปรษณีย์ด่วนพิเศษจะถึงผู้รับภายในวันรุ่งขึ้น
ธนาณัติออนไลน์ (ON LINE)
บริการรับฝากส่งเงิน โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เน็ตเวิอร์ค เทคโนโลยี่สมัยใหม่เป็นสื่อในการรับส่งในระบบนี้สามารถทำให้การรับส่งเงินทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น ด้วยค่าใช้จ่ายเพียงน้อยนิด ก็ทำให้การรับส่งเงินของท่านรวดเร็วทันใจอย่างที่ท่านคาดไม่ถึง เพราะการรับส่งเงินในระบบนี้จะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีก็ถึงจุดหมายปลายทางอย่างรวดเร็วเหมือนติดปีก ทำให้แฮ็ปปี้กันทั้งผู้ส่งและผู้รับ
การขอใช้บริการก็มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เพียงแต่ท่าน ไปขอใช้บริการได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง โดยกรอกรายการใน "ใบฝากส่งเงินธนาณัติออนไลน์" ตามตัวอย่างข้างล่างนี้แล้วยื่นต่อเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยเงินที่ฝากส่งและค่าบริการ เมื่อเจ้าหน้าที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมอบใบเสร็จรับเงินให้กับท่าน ทีนี้ให้ท่านโทรศัพท์ไปบอกผู้รับเงินที่ปลายทางให้ไปรับเงินที่ไปรษณีย์ได้เลยครับ ในระหว่างที่ผู้รับเงินเดินทางไปไปรษณีย์นั้น ธนาณัติออนไลน์ฉบับนี้ก็ไปรออยู่ที่ไปรษณีย์ปลายทางแล้วครับ(อย่าลืมบอกผู้รับให้นำหลักฐานการรับเงิน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัตรข้าราชการ ฯลฯ ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วยนะครับ)
ธนาณัติออนไลน์ (ขั้นต่ำ 40 บาท)
ขั้นยตอนการฝากส่งเงินธนาณัติออนไลน์
การกรอกใบฝากส่งธนาณัติออนไลน์
- กรอกวัน เดือน ปี ที่ฝากส่ง ในช่องหมายเลข 1
- กรอกจำนวนเงินที่ฝากส่งเป็นตัวอักษร ในช่องหมายเลข 2
- กรอกจำนวนเงินเป็นตัวเลข ในช่องหมายเลข 3
- กรอกชื่อไปรษณีย์ปลายทาง ที่ผู้รับสะดวกไปรับเงิน ในช่องหมายเลข 4
- กรอกรหัสไปรษณีย์ปลายทาง 5 หลัก บริเวณหมายเลข 5
- กรอก ชื่อ - นามสกุล ผู้รับเงินให้ชัดเจน ในช่องหมายเลข 6
- ถ้าต้องการส่งข้อความไปด้วยก็ให้กรอกข้อความที่จะส่งในช่องหมายเลข 7 นี้ แต่ต้องเสียค่าบริการเพิ่มนะครับ ถ้าไม่ต้องการส่งก็เว้นไว้
- กรอก ชื่อ - นามสกุล ผู้ฝากเงินให้ชัดเจน ในช่องหมายเลข 8
- กรอกหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ฝากส่ง ในบริเวณหมายเลข 9
- ถ้าต้องการให้แจ้งผู้รับทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ ก็ให้ทำเครื่องหมายในรูปวงกลมหมายเลข 10 แล้วกรอกที่อยู่ผู้รับในช่องหมายเลข 11 พร้อมรหัสไปรษณีย์ในบริเวณหมายเลข 13 (แนะนำ...ให้ท่านแจ้งผู้รับทางโทรศัพท์จะได้รับรวดเร็วกว่า)
- ลงชื่อผู้ฝากเงิน ในช่องหมายเลข 12
ให้ท่านเก็บใบรับเงินนี้ไว้เป็นหลักฐานจนกว่าผู้รับจะได้รับเงินเรียบร้อยแล้ว
หมายเหตุ การฝากส่งเงินธนาณัติออนไลน์ผู้ฝากส่งจะต้องแจ้งผู้รับให้ทราบเอง
หมายเหตุ : การส่งธนาณัติ
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4
ความคิดเห็น