ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Biology for High School Student

    ลำดับตอนที่ #3 : Unit 2 : The Cells and Components

    • อัปเดตล่าสุด 25 มี.ค. 54


    Unit 2 : The Cells and Components

    ร่างกายของคนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำงานของระบบต่าง ๆ และอวัยวะดังกล่าวเกิดจากเนื้อเยื่อ (Tissue) ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยเล็ก ๆ ลงไปอีกหน่วยย่อยนี้เรียกว่า เซลล์ จึงกล่าวได้ว่า เซลล์เป็นหน่วยโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุด

    เซลล์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า การศึกษาเกี่ยวกับเซลล์จึงต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ถ้ากล้องจุลทรรศน์นั้นมีกำลังขยายสูงก็จะพบรายละเอียดของสิ่งที่เราต้องการ สังเกตมากขึ้น เซลล์สิ่งมีชีวิตมีรูปร่างและโครงสร้างภายในที่แตกต่างกัน

    สิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียวก็สามารถดำรงชีวิต อยู่ได้ และสิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ เซลล์เหล่านี้มีโครงสร้างบางอย่างที่เหมือนและแตกต่างกัน โครงสร้างที่พบในเซลล์ทุกชนิดที่ศึกษาได้แก่ นิวเคลียส ไซโทพลาสซึม และเยื่อหุ้มเซลล์ ในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
    มีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป

    Cell Theory

    Ø พ.ศ.2381 มัตทิอัส ชไลเดน (Matthias Schleiden)  นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันได้ค้นพบว่า พืชทั้งหลายต่างเป็นสิ่งมีชีวิตทีมีหลายเซลล์

    Ø พ.ศ.2382 เทโอดอร์ ชวันน์ (Theodor Schwann) นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน ได้ประกาศว่าสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีเซลล์เป็นองค์ประกอบ

    Ø นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 คน จึงได้ร่วมกันตั้ง “ทฤษฎีเซลล์ (Cell theory)” มีใจความว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์ และเซลล์นั้นคือหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

    ทฤษฎีเซลล์ในปัจจุบัน ครอบคลุมถึงใจความที่สำคัญ  3 ประการ

    1. สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอาจมีเพียงเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ ซึ่งภายในมีสารพันธุกรรมและกระบวนการเมทาบอลิซึม ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้

    2. เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กทีสุดของสิ่งมีชีวิตที่มีการจัดระบบการทำงานภายในโครงสร้างของเซลล์

    3. เซลล์มีกำเนิดมาจากเซลล์แรกเริ่ม เซลล์เกิดจากการแงตัวของเซลล์เดิม แม้ว่าชีวิตแรกเริ่มจะมีวิวัฒนาการมาจากสิ่งไม่มี ชีวิต แต่นักชีววิทยายังคงถือว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนเซลล์เป็นผลสืบเนื่องมาจากเซลล์รุ่นก่อน

    Cell Type

    § Prokaryotic cells เซลล์ของสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ พวกแบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียว แกมน้ำเงิน และไมโครพลาสมา ลักษณะเด่นคือ เซลล์ไม่มีเยื่อหุ้ม แบ่งแยกต่างหาก ลักษณะเซลล์จะค่อนข้างเล็ก มีขนาด 0.2-10 ไมโครเมตร

    ฝากรูป

    § Eukaryotic cells ได้แก่ เห็ด รา เซลล์ของพืช และสัตว์ทั่วๆไป มีขนาด 10-100 ไมโครเมตร

    ฝากรูป

    ลักษณะ

    เซลล์โปรคาริโอต

    เซลล์ยูคาริโอต

    1. กลุ่มสิ่งมีชีวิต

    แบคทีเรีย, สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (ไซยาโนแบคทีเรีย)

    สาหร่าย, รา, โปรโตซัว, พืช, สัตว์

    2. ขนาด

    1-2 ไมโครเมตร x 1-4 ไมโครเมตร หรือเล็กกว่านี้

    เส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า 5 ไมโครเมตร

    3. โครงสร้างนิวเคลียส

    ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส, มีโครโมโซม เป็นวงกลมเส้นเดียว, โครโมโซม ไม่มีฮีสโตน ไม่มีการแบ่งเซลล์แบบไมโตซิส

    มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส, มีโครโมโซมมากกว่า 1 เส้น, ฮีสโตน มีการแบ่งนิวเคลียส แบบไมโตซิส

    4. การไหลเวียน Cytoplasm

    ไม่มี

    มี

    5. ฟิโนไซโตซิส

    ไม่มี

    มี

    6. Gas Vacuole

    มีในบางพวก

    ไม่มี

    7. Mesosome

    มี

    ไม่มี

    8. Ribosome

    70 S กระจายใน cytoplasm

    80 S เกาะตามเยื่อหุ้ม เช่น ER, 70 S ใน Mitochondria และ Chloroplast

    9. Mitochondria

    ไม่มี

    มี

    10. Chloroplast

    ไม่มี

    มีในเซลล์บางชนิด

    11. Golgi body

    ไม่มี

    มี

    12. Endoplasmic Reticulum

    ไม่มี

    มี

    13. Vacuole มี membrane

    ไม่มี

    มี

    14. Cell membrane

    โดยทั่วไปไม่มีสเตอรอล เป็นองต์ประกอบ , บางส่วนทำหน้าที่ เกี่ยวกับการหายใจ , เซลล์บางชนิด ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง

    มีสเตอรอลเป็นองค์ประกอบ , ไม่ทำหน้าที่หายใจ และสังเคราะห์แสง

    15. Cell wall

    ประกอบด้วย เปปติโดไกลแคน
    ( มิวรีน หรือมิวโคเปปไทด์ ) ยกเว้น ไมโครพลาสมา

    ไม่มี เปปติโดไกลแคน เป็นองค์ประกอบ , ราส่วนใหญ่มีไคติน , พืชส่วนใหญ่มีเซลล์ลูโลส , สัตว์ไม่มี

    16. อวัยวะในการเคลื่อนที่

    เส้นใยไฟบริลสานกันง่ายๆ ประกอบด้วย แฟลกเจลลิน (flagelin)

    ประกอบด้วยไมโครทิวบูล มาเรียงกันในลักษณะ 9+2

    17. เท้าเทียม

    ไม่มี

    เซลล์บางชนิดมี

    18. อัตราส่วนของเบส ของ DNA เมื่อเทียบเป็นโมล % ของเบส กวานีน + ไซโตซีน (G+C%)

    28-73

    ประมาณ 40


    The Cells and Components

    องค์ประกอบของเซลล์ประกอบด้วย

    § Cell wall

    § Cell membrane

    § Nucleus

    § Cytoplasm


    Animal Cell

     

    Plant Cell

     

    ความแตกต่างเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

    เซลล์พืช

    เซลล์สัตว์

    1. เซลล์พืชมีรูปร่างเป็นเหลี่ยม

    1. เซลล์สัตว์มีรูปร่างกลม หรือรี

    2. มีผนังเซลล์อยู่ด้านนอก

    2. ไม่มีผนังเซลล์ แต่มีสารเคลือบเซลล์อยู่ด้านนอก

    3. มีคลอโรพลาสต์ภายในเซลล์

    3. ไม่มีคลอโรพลาสต์

    4. ไม่มีเซนทริโอล

    4. มีเซนทริโอลใช้ในการแบ่งเซลล์

    5. แวคคิวโอลมีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจน

    5. แวคคิวโอลมีขนาดเล็ก มองเห็นได้ไม่ชัดเจน

    6. ไม่มีไลโซโซม

    6. มีไลโซโซม


    Cell wall: ผนังเซลล์

    § โครงสร้างที่แข็งแกร่ง ห่อหุ้มเซลล์ ป้องกันไม่ให้ของเหลวต่างๆ ภายในเซลล์ได้รับอันตราย

    § Plant / Algae cell wall : พืชและสาหร่าย

    o   Primary cell wall : Cellulose, Pectin   มีทุกเซลล์

    o   Secondary cell wall : Lignin            มีเฉพาะบางเซลล์(สร้างเพิ่มเติมภายหลัง)

    o   Plasmodesmata เป็นช่องหรือรูของผนังเซลล์ ทำหน้าที่ให้สารผ่านเข้าและออก

    § Fungus cell wall : Chitin

    § Bacterial cell wall : Peptidoglycan

    ฝากรูป

    Plasma Membrane: เยื่อหุ้มเซลล์

    ฝากรูป

    Ø เป็นเยื่อบางๆล้อมรอบไซโทพลาสซึมพบในเซลล์ทุกชนิด
    Ø
    มีความหนาประมาณ 8.5-10 นาโนเมตร

    Ø
    กั้นสารที่อยู่ภายในกับภายนอกเซลล์และรักษาสมดุลของสารภายในเซลล์

    Ø
    ควบคุมการผ่านเข้าออกของเซลล์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก

           Phospholipid โมเลกุลแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนหัวมีขั้วและส่วนหางไม่มีขั้ว

    o   เป็นโครงสร้างหลักของ membrane จะมีการจัดเรียงตัวกันจำนวนสองชั้น

    o   เรียกการจัดเรียงว่า Phospholipid bilayer โดย หัวที่มีขั้ว(polar head) มีสมบัติชอบน้ำออกด้านนอกและ หางที่ไม่มีขั้ว(non pola tail) มีสมบัติไม่ชอบน้ำเข้าด้านในโดยมีโปรตีนแทรกอยู่

    ฝากรูป


    §      Cholesterol

    o   แทรกปะปนบน Phospholipid

    o   ทำหน้าที่เกี่ยวกับการไหลลื่น (Fluidity) ขอmembrane

    o   ป้องกันไม่ให้ membrane เป็นของเหลวเมื่อได้รับความร้อน

    §       Protein

    o   วางตัวอยู่บน membrane

    o   ทำหน้าที่ลำเลียงสารต่างๆ, เป็นเอนไซม์, เป็นที่เกาะของ Cytoskeleton, นำสัญญาณทางชีวภาพ, เชื่อมต่อกับเซลล์ข้างเคียง

       §  Carbohydrate

    o   วางตัวอยู่บนโปรตีนในรูปของ Glycoprotein

    o   ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจำกันของเซลล์


    ::: ติดตาม Unit 2 : The Cells and Components (Part II) เร็วๆนี้ :::


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×