แรง (F) สิ่งที่กระทําตอวัตถุในรูปของการพยายามดึงหรือดันที่จะทําใหวัตถุเคลื่อนที่ซึ่งแรงเปนปริมาณเวกเตอร มีหนวยเปนนิวตัน (N) โดยที่ 1 N = 1 kg.m/s
นำกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันไปใช้
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันทั้ง 3 ข้อเป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญมากในวิชาฟิสิกส์ ซึ่งสามารถทำให้เข้าใจ
หรือใช้อธิบายสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุทุกชนิด และยังเป็นพื้นฐานสำหรับ
การนำไปศึกษาเรื่องอื่น ๆ ในบทต่อ ๆ ไป และการแก้ปัญหาในปัญหาต่าง ๆที่กล่าวมาสามารถนำเอา
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันมาวิเคราะห์เป็นขั้นตอนได้ ดังต่อไปนี้
1. หาดูว่า “วัตถุ” อันไหนที่ต้องการพิจารณา
2. หลังจากเลือกวัตถุแล้ว ให้พิจารณาถึงสิ่งแวดล้อมของวัตถุนั้น เช่น เป็นพื้นเอียง เป็นสปริง เชือก โลก เป็นต้น
เพราะสิ่งแวดล้อมเหล่านี้อาจออกแรงกระทำกับวัตถุของเรา
3. เลือกแกนอ้างอิง(แนวดิ่ง และ/หรือ แนวราบ )ให้เหมาะสม โดยให้วัตถุอยู่ที่จุดกำเนิด พร้อมทั้งตั้งแกนให้ง่าย
ต่อการพิจารณาต่อไป
4. วาดรูปวัตถุนั้นแยกออกจากส่วนอื่นๆ แสดงแกนอ้างอิงและแรงทั้งหมดที่กระทำต่อวัตถุ
ซึ่งเรียกว่า free-body diagram
5. ใช้กฎข้อที่ 2 ของนิวตันในการวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าว
น้ำหนัก (W)
w=mg
เนื่องจากน้ำหนักเป็นแรงที่โลกดึงดูดวัตถุ น้ำหนักจึงเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีทิศเดียวกับความเร่ง g ดังนั้น
น้ำหนักจึงมีทิศพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลางโลกเสมอ โดยมีหน่วย นิวตัน (N)
กฎแรงดึงดูดระหว่างมวล
"วัตถุทั่งหลายในเอกภพจะออกแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน โดยขนาดของแรงดึงดูดระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆ
จะแปรผันตรงกับผลคูณระหว่างมาลวัตถุที่สองและจะแปรผกผันกับกำลังสองชองระยะทางระหว่าง
วัตถุทั้งสองนั่น"
เมื่อ m1 และ m2 เป็นมวลของวัตถุแต่ละก้อน มีหน่วยเป็น กิโลกรัม
R เป็นระยะระหว่างมวล m1 กับm2 มีหน่วยเป็น เมตร
G เป็นค่าคงตัวความโน้มถ่วงสากล เท่ากับ 6.673 x10-11 นิวตัน เมตรต่อกิโลกรัม2
FG เป็นแรงดึงดูดระหว่างมวล m1 กับm2 มีหน่วยเป็น นิวตัน
จากรูป วัตถุมวล m อยู่ที่ผิวโลกซึ่งมีมวล me มีรัศมี Re วัตถุและโลกต่างดูดซึ่งกันและกันด้วยแรง Fe มีค่าเป็น
นักบินอวกาศหญิงหามวลของตัวเธอเองบนอวกาศ เพราะไม่สามารถจะชั่งหามccวลในอวกาศได้
โดยเธอนั่งบนเก้าอี้ที่ติดกับสปริงดังรูป ถ้าเก้าอี้มีมวล 15 kg ขณะกำลังเคลื่อนที่
ด้วยความเร่ง 24 mm/s2 ให้สปริงมีแรงดึงกลับ 1.8 N จงหาว่ามวลของเธอเป็นเท่าไร
วิธีทำ
จากกฎข้อที่สองของนิวตัน F = ma
ย้ายข้างจะได้ m = F/a
= 1.8 N / 24 x 10-3 m/s2
= 75 kg
เป็นมวลที่รวมมวลของเก้าอี้ด้วย ด้งนั้นต้องลบมวลของเก้าอี้ 15 kg ออก
จะได้มวลของนักบินอวกาศ 60 kg
ลืมอธิบาย โจทย์ที่มีมุมอ่ะค่ะ
งงกันไหมเนี่ย สงสัยถามได้น่ะค่ะ
ต่อไปเป็นโจทย์แรงดึงดูดน่ะ
ความคิดเห็น