ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เนื้อหาเสริม

    ลำดับตอนที่ #3 : ประโยชน์และโทษของชา

    • อัปเดตล่าสุด 7 ก.ค. 50



    ประโยชน์ของชา.

    1.
    ผู้ที่ทำงานแบบใช้สมอง ต้องซีเรียสเครียดทั้งวัน หรือ นักเรียนนักศึกษาที่ตรากตรำอ่านตำหรับตำราจนดึก ดื่น ควรดื่ม ชามะลิ

    2.
    ผู้ที่รักการออกกำลังกาย หรือทำงานที่ต้องใช้แรง เสียเหงื่อมากเหมาะกับ ชาอูหลง

    3.
    ผู้ที่ต้องผจญสูดดมอากาศเป็นพิษอยู่เสมอ อาทิ ผู้ที่ขับขี่ หรือ สัญจรไปมาด้วยรถจักรยานยนต์เป็น ประจำ เหมาะกับชาเขียว

    4.
    ผู้ที่ในแต่ละวันนั่งตัวติดกับเก้าอี้ ไม่ค่อยขยับเขยื้อนกายไปไหนเลย อีกทั้งปกติไม่ชอบออกกำลังกายด้วยแล้ว เหมาะอย่างยิ่งกับ ชาเขียว หรือ ชาดอกไม้

    5.
    ผู้ที่ชอบดื่มสุรา เครื่องดื่มมึนเมา ควรดื่ม ชาเขียว

    6.
    ผู้นิยมรับประทานเนื้อสัตว์เป็นชีวิตจิตใจ เหมาะกับ ชาอูหลง

    7.
    ผู้ที่เข้าห้องน้ำแต่ละครั้งช่างทุกข์ทรมานเสียเหลือเกินแล้วยังมักท้องผูกเสมอๆ เหมาะกับ ชาผสมน้ำผึ้ง

    8.
    ผู้ที่มีระดับคอเรสเตอรอลสูง ไขมันในเลือดสูง เหมาะที่จะดื่ม ชาอูหลง หรือชาเขียว

    9.
    สำหรับมนุษย์ยุคไฮเทคทั้งหลายที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวันทั้งคืน หากได้ดื่มชาเป็นประจำจะดีมากๆ

    ส่วนโทษของใบชา ก็มีอยู่ไม่น้อย เพราะในใบชามีกรดแทนนิกอยู่มาก โดยเฉพาะชาหมัก ใบชาคุณภาพต่ำจะมีกรดแทนนิกอยู่มาก มีผลต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้ดูดซึมอาหารได้ไม่เต็มที่ ซึ่งอาจนำไปสู่อาการขาดธาตุเหล็กในเลือด เมื่อแทนนิกรวมตัวกับโปรตีนจะทำให้ย่อยโปรตีนยากขึ้น ยิ่งชามีความเข้มข้นมากๆ ระบบย่อยอาหารจะผิดปกติ ทำให้ท้องผูก โดยเฉพาะในช่วงท้องว่าง ถ้าทานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เป็นโรคกระเพาะได้ ดังนั้นควรดื่มชาในช่วงหลังทานอาหารไม่เกิน 3 ชั่วโมง

    บุคคลที่ไม่ควรดื่มชา คือผู้ที่มีอาการไตบกพร่อง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ เด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบ สตรีที่ทานยาคุม สตรีตั้งครรภ์ สตรีให้นมบุตร ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจ ผู้ที่นอนหลับยาก และไม่ควรดื่มชาขณะกินยา ทั้งยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ

    นอกจากนี้ไม่ควรดื่มชาที่ร้อนจัด เพราะความร้อนจะไปทำลายเนื้อเยื่อในช่องปาก จนทำให้เกิดอันตรายในช่องปาก ลำคอ และลำไส้ได้ ไม่ควรดื่มชาที่ค้างคืนหรือชงไว้นานๆ เพราะว่ามีกรดแทนนิกสูง และสารต่างๆในน้ำชาอาจทำปฏิกริยาจนกลายเป็นสารพิษได้
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×