ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #3 : [สาระ] ประวัติของพิธีไหว้ครู

    • อัปเดตล่าสุด 30 เม.ย. 50



    ประวัติของพิธีไหว้ครูโขน ละคร

                การประกอบพิธีไหว้ครูนั้นไม่ปรากฏหลักฐานถึงความเป็นมาของพิธีไหว้ครู และครอบครูโขน - ละคร ว่าสืบเนื่องมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ได้มีการกำหนดระเบียบแบบแผน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติโดยการบอกเล่าต่อๆกันมาเป็นมุขปาฐะ ตำราพิธีไหว้ครู และครอบโขน - ละครของไทยมีอยู่ 2 ฉบับ คือ สมุดไทยมีจำนวน 3 เล่ม แต่คงเหลือเพียงเล่ม 2 เล่มเดียว ส่วนเล่ม 1 และเล่ม 3 หายไป ซึ่งเข้าใจว่ามีนักปราชญ์รวบรวมชำระทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราเป็นพิธีไหว้ครูโขน - ละคร ฉบับหลวง ในรัชกาลที่ 4 ส่วนอีกฉบับหนึ่ง คือ สมุดไทยเล่ม 2 ที่หลงเหลือมาจากฉบับแรก ได้ตีพิมพ์ใช้เป็นแบบฉบับของการทำพิธีไหว้ครูโขน - ละครในสมัยรัชกาลที่ 6 ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 4 พิธีไหว้ครูโขน - ละครได้เริ่มเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2397 ส่วนการไหว้ครูนอกพระราชวังนั้นเริ่มมีมานานแล้ว เพราะได้ปฏิบัติกันเป็นประเพณีติดต่อกัน อย่างเช่น การฝึกหัดละครโนห์ราชาตรี เมื่อรำเพลงครูได้แล้ว ครูจึงสอนให้ท่องบทเพราะละครโนห์ราชาตรียังใช้ร้องกลอนสด (เหมือนอย่างเล่นเพลงลิเก) ไม่มีหนังสือบทอย่างละครในกรุงเทพฯ แล้วสอนให้ร้องให้รำทำบทไปจนพอทำได้ ผู้ที่เป็นครูหัดจึงพาไปให้ครูครอบ เรียกว่า "เข้าครู"

              นอกจากนี้ในเรื่องพิธีไหว้ครูนั้น ยังเกี่ยวข้องกับลัทธิธรรมเนียมของการแสดงโขน - ละคร เพราะลักษณะพิเศษของโขน - ละครไทยนั้น นอกจากจะเป็นนาฏศิลป์แล้วยังเป็นลัทธิอีกอย่างหนึ่ง กล่าวคือ เป็นลัทธิมีพิธีกรรมของตนเอง และโดยเหตุนี้นาฏศิลป์ไทยมีความผูกพันใกล้ชิดกับศาสนาฮินดูตั้งแต่ในระยะแรกเริ่ม ลัทธิธรรมเนียมของโขน - ละครไทยที่เกิดขึ้นต่อมาจึงหนักไปทางไสยศาสตร์หรือศาสนาฮินดู เทพเจ้าอันเป็นที่นับถือในลัทธิโขน - ละครก็คือพระเป็นเจ้าของศาสนาฮินดู ได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม และพระพิฆคเณศ นอกจากนั้นก็มีเทพเจ้าอื่นๆอีกบางองค์ เช่น พระปรครธรรพ ผู้ซึ่งถือว่าเป็นใหญ่ในทางดนตรี รองลงมาได้แก่ ครูปัธยาย ซึ่งมีวัตถุที่เคารพแสดงออกด้วยหัวโขน ได้แก่ พระภรตฤาษี ซึ่งเป็นหัวฤาษีหน้าทอง พระนารทฤาษี ซึ่งเป็นหัวฤาษีหน้ากระดาษเขียนสี หัวพระพิราพซึ่งเป็นหัวโขนยักษ์ หัวโขนพระราม พระลักษณ์ เทริดโนห์รา และรัดเกล้าอันเป็นศิราภรณ์ของนางกษัตริย์ในเรื่องละคร หัวโขนอื่นๆที่ใช้ในการแสดงนั้นก็ถือว่าเป็นวัตถุที่เคารพทั้งสิ้น จะจับต้องหรือตั้งไว้ที่ใดก็ต้องกระทำด้วยความเคารพ

    http://www.anurakthai.com/

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×