ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องสมุดอาณาจักรรัตติกาล

    ลำดับตอนที่ #3 : หนังสือประวัติวันคริสมาสต์

    • อัปเดตล่าสุด 27 มี.ค. 57


    IOIOI ประวัติวันคริสมาสต์ IOIOI

    ผู้เขียน : educatepark
    เรียบเรียงโดย : DARK ANGEL
    ภาพ : 
    educatepark
    พิมพ์ครั้งที่ 1 : ธันวาคม 2556
    พิมพ์ครั้งที่ 2 : มีนาคม 2557
    จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ราชอาณาจักร






         วันคริสต์มาสเป็นวันหยุดประจำปี ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซูซึ่งตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม โดยวันดังกล่าวอาจจะไม่ตรงกับวันเกิดจริงๆของพระเยซู แต่อาจจะเป็นวันที่ถูกเลือกเอาไว้เพื่อให้สอดคล้องกับเทศกาลโรมัน หรือสอดคล้องกับวันที่มีช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุด (winter solstice)คริสต์มาสเป็นเทศกาลที่สำคัญ และมีการฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ในย่านของชาวคริสเตียนนั้นจะมีการจัดเทศกาลนี้ยาวนานถึง 12 วัน
       แม้ว่าวันคริสต์มาสจะเป็นเทศกาลของชาวคริสต์ แต่ในหมู่คนที่ไม่ใช่ชาวคริสต์ก็มีการเฉลิมฉลอง
    กันอย่างแพร่หลายเช่นกัน ซึ่งการเฉลิมฉลองนั้นมีทั้งแบบสมัยใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาเลยกับอีก
    แบบหนึ่งคือแบบดั้งเดิม โดยประเพณีที่เป็นนิยมในสมัยใหม่นั้น ได้แก่ การมอบของขวัญ การแลกเปลี่ยนการ์ดอวยพร
    การจัดงานเลี้ยงฉลองในโบสถ์ การรับประทานอาหารมื้อพิเศษ และการโชว์งานตกแต่งประดับประดาตามสถานที่ต่าง ๆด้วย ต้นคริสต์มาส ดวงไฟประดับ พวงดอกไม้ ต้นมิสเซิลโท การแสดงเกี่ยวกับวันประสูติของพระเยซู และต้นฮอลลี่
    นอกจากนี้บิดาแห่งคริสต์มาส (หรือที่ชาวอเมริกาเหนือและไอร์แลนด์เรียกว่า ซานตาคลอส) ยังเป็นหนึ่งตำนานที่เป็น
    ที่รู้จักกันว่าเป็นผู้นำของขวัญมามอบให้กับเด็ก ๆ 
       เนื่องจากการมอบของขวัญและการฉลองทั้งหลายนี้ ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจสูงมาก ทั้งในเมืองของชาวคริสเตียน และที่ไม่ใช่ชาวคริสเตียนเทศกาลคริสต์มาสจึงกลายเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการขายของสำหรับเหล่าพ่อค้าและนักธุรกิจการที่ระบบเศรษฐกิจได้รับการกระตุ้นจากเทศกาลนี้คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่องในทั่วทุกพื้นที่ในช่วง 2-3 ศตวรรษที่ผ่านมานี้

    ที่ของคำว่าคริสมาสต์
     
        คำว่า คริสต์มาส มีที่มาจากคำประสม คำว่า “Christ's Mass” ซึ่งมีรากคำมาจากคำว่า Christemasse ของภาษาอังกฤษยุคกลาง และ คำว่า Cristes mæsse จากภาษาอังกฤษโบราณซึ่งมีการบันทึกคำดังกล่าวครั้งแรกไว้ในปี 1038 
     
    คำว่า Cristes มาจากพระเยซูคริสต์ของกรีก และคำว่า mæsse มาจากหนังสือสวดมนตร์ของชาวละติน ในภาษากรีกตัวอักษร X เป็นตัวอักษรแรกของคำว่า “Christ” ซึ่งคล้ายกับตัว X ในภาษาโรมัน จึงมีการใช้ X แทน Christ ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 ดังนั้นจึงนิยมใช้คำว่า Xmas แทน Christmas
     
    ประวัติคริสต์มาสต์
     
    เป็นเวลาหลายศตวรรษที่นักเขียนชาวคริสเตียนยอมรับว่าวันคริสต์มาสนั้นตรงกับวันประสูติของพระเยซู
    อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีนักวิชาการนำเสนอคำอธิบายเพิ่มเติม ไอแซค นิวตัน
    ให้ความเห็นว่าวันคริสต์มาสนั้นถูกเลือกขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับช่วง วันที่มีกลางวันสั้นที่สุด (winter solstice)
    ซึ่งในอดีตได้กำหนดไว้ให้ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม
    ปี 1743 Paul Ernst Jablonski ชาวเยอรมันที่นับถือคริสต์นิกายโปแตสแตนซ์ ให้ความเห็นว่าวัน
    คริสต์มาสนั้นระบุให้ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม เพื่อให้สอดคล้องกับวันหยุด Roman Solar Holiday Dies Natalis Solis Invicti และโดยเหตุการณ์นั้น พวกนอกรีตได้ทำให้โบสถ์ดูไม่น่าเลื่อมใส และหมดความศรัทธา
     
    ปี 1889 Louis Duchesne กล่าวว่าวันคริสต์มาสถูกคำนวณจากวัน Annunciation ไปอีก 9 เดือน วัน Annunciation ตรงกับวันที่ 25 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงการกลับชาติมาเกิดของนางฟ้ากาเบรียล ซึ่งจุติเป็นพระแม่มารี ซึ่งตามประเพณีแล้วถือว่าเป็นวันแห่งการลงมาจุติยังโลกมนุษย์
     
    เทศกาลฤดูหนาว


     
    เทศกาลฤดูหนาวคือเทศกาลที่ประชาชนให้ความนิยมสูงสุดกันมาช้านานในหลายประเทศด้วยเหตุผลหลายประการ รวมถึงงานด้านเกษตรกรรมมีไม่มากนักในช่วงฤดูหนาวและเพราะการตั้งความหวังว่าสภาพอากาศจะดีขึ้นเมื่อฤดูใบไม้ผลิแวะเวียนมาถึงกิจกรรมของคริสต์มาสสมัยใหม่นั้น ประกอบด้วย การมอบของขวัญ การเฉลิมฉลองเพื่อบูชาเทพเจ้าของชาวโรมันการประดับสถานที่ด้วยพืชพันธุ์สีเขียวและแสงไฟ รวมถึงงานการกุศลในวันปีใหม่ของชาวโรมันการก่อกองไฟจากท่อนไม้ขนาดใหญ่ และสำหรับชาวเยอรมันจะมีการเลี้ยงฉลองด้วยอากหารหลากชนิดปฏิทินของชาวเพเกน สแกนดิเนียเวีย ฉลองเทศกาลฤดูหนาวโดยใช้ชื่อว่า ยูล ซึ่งจะจัดขึ้นในปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม เนื่องจากทางตอนเหนือของยุโรปเป็นพื้นที่ท้ายๆที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งวัฒนธรรมเพเกนเองก็ได้รับอิทธิพลมาจากวันคริสต์มาสชาวสแกนดิเนเวียนยังคงเรียกวันคริสต์มาสว่า คริสต์มาส จูล ในภาษาอังกฤษคำว่ายูลนั้นมีความหมายเหมือนกับคำว่าคริสต์มาส ซึ่งมีการบันทึกการใช้ครั้งแรกในปี 900
     
    ความเป็นมาของผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์
     
    พระคัมภีร์ไบเบิลเล่มใหม่ไม่ได้ระบุถึงวันประสูติของพระเยซู ซึ่งประมาณปีคริสต์ศักราชที่ 200จากความเมตตาของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ทำให้ชนชาวอิยิปเฉลิมฉลองเทศกาลงานคล้ายวันประสูติที่ Pachon 25 ได้ ซึ่งตรงกับวันที่ 20 พฤษภาคม 
     
    ชนชาว Tertullian เมื่อคริสต์ศักราชที่ 220 ไม่ได้เอ่ยถึงความสำคัญของเทศกาลคริสต์มาสที่มีผลกระทบอย่างมากต่องานวันเฉลิมฉลองที่จัดขึ้นในโบสถ์ของชาวโรมัน – แอฟริกา 
     
    อย่างไรก็ตาม ใน Chronographai หนังสืออ้างอิงซึ่งได้เผยแพร่ในปี 221, Sextus Julius Africanusได้บรรยายไว้ว่า การตั้งครรภ์พระเยซู เกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ ของวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน ดังนั้น จึงเกิดความคิดที่แพร่หลายกันว่าพระเยซูประสูติในวันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันตามปฏิทินของชาวโรมันนั้น คือวันที่ 25 มีนาคมทำให้เกิดความเข้าใจกันว่าการประสูติจะอยู่ในเดือนธันวาคม 
     
     De Pascha Computus คือปฏิทินของวันเฉลิมฉลอง จัดทำขึ้นในปี 243 ได้ระบุให้วันที่ 28 มีนาคม
    เป็นวันแห่งการกำเนิดของพระเยซู ในปี 245 นักเทววิทยา Origen of Alexandria ได้เปิดประเด็นว่ามีแต่คนบาปเท่านั้น (เช่น ฟาร์โร และเฮร็อด) ที่เฉลิมฉลองวันเกิดของตนเอง ในปี 303 นักเขียนคริสเตียนที่ชื่อ Arnobius เยาะเย้ยความคิดในเรื่องการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเขาได้แนะนำว่าวันคริสต์มาสไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการจัดงานเฉลิมฉลอง
     
     
    จุดเริ่มต้นของเทศกาล


     
    มีการค้นพบเอกสารที่อ้างอิงว่าพระเยซูประสูติในวันที่ 25 ธันวาคม ใน the Chronography of 354 ซึ่งเป็นต้นฉบับที่รวบรวมไว้ในกรุงโรมเมื่อปี 354 ชาวคริสต์ทางตะวันออกจะถือเอาการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซูเป็น ส่วนหนึ่งของวัน Epiphany (6 มกราคม) แม้ว่าวัน Epiphany นี้ จะเน้นที่พิธีกรรมการล้างบาปก็ตาม 
     
    เทศกาลคริสต์มาสเป็นที่รู้จักของชาวคริสเตียนตะวันออกในส่วนของการฟื้นฟู ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกขึ้นมาใหม่ หลังจากการสิ้นพระชนม์ของจักรพรรดิ Arian Emperor Valens ที่สมรภูมิ Adrianople ในปี 378 การฉลองเริ่มเป็นที่รู้จักในเมือง Constantinople เมื่อปี 379 และเมือง Antioch ในปี 380 แล้วประเพณีการเฉลิมฉลองก็เลือนหายไปหลังจากที่ Gregory แห่ง Nazianzus ลาออกจากตำแหน่งบิช็อปในปี 381 และก็ถูก John Chrysostom นำกลับมาเผยแพร่อีกครั้งในช่วงปี 400
     
    กิจกรรมการเฉลิมฉลอง
     
    สำหรับชาวคริสต์ เทศกาลคริสต์มาสถือเป็นเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซูคริสต์ ชาวคริสต์เชื่อ ตามคำทำนายของพระเจ้าที่อยู่ในพระคัมภีร์เก่าแก่ซึ่งระบุไว้ว่าพระเจ้าถือกำเนิดจากพระแม่มารี เรื่องราวของเทศกาลคริสต์มาสก็มาจากบทบัญญัติในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล ในตอน Gospel of Matthew ที่มีชื่อว่า Matthew 1:18-Matthew 2:12 และในตอน the Gospel of Luke โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนที่ชื่อ Luke 1:26-Luke 2:40 ซึ่งระบุว่าพระเยซูกำเนิดจากพระแม่มารี ด้วยความช่วยเหลือของสามีนามว่าโจเซฟที่เมืองเบธเลเฮม ตามคำบอกเล่าแต่โบราณ ได้ระบุไว้ว่าพระองค์ประสูติในคอกม้าที่ล้อมรอบด้วยฟาร์มเลี้ยงสัตว์ แม้จะไม่มีการระบุเฉพาะถึงสัตว์ที่อยู่รอบๆในตอนที่พระองค์ประสูติในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล
    แต่ในตอน Luke 2:7 มีการระบุว่า “พระแม่มารี เอาผ้าคลุมตัวพระเยซูและให้พระองค์นอนในรางหญ้าเพราะไม่มีห้องพักในโรงแรมให้ทั้งคู่พัก ต่อมา มีภาพบรรยายประกอบสถานที่ประสูติของพระเยซู ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าอยู่ในรางหญ้าของคอกม้าซึ่งอยู่ในโพรง(สถานที่ตั้ง ตามคำบอกเล่านั้น คือใต้ถุนโบสถ์ Nativity เมืองเบธเลเฮม) เชฟเพิร์ดซึ่งเป็นชาวเมืองเบธเลเฮม ได้รับการแจ้งข่าวจากเหล่าเทพยาดาถึงการประสูติครั้งนี้และเขาเป็นคนแรกที่ได้เห็นพระเยซู ชาวคริสต์หลายคนเชื่อว่าการถือกำเนิดของพระเยซูนั้นเป็นไปตามคำทำนายของพระคัมภีร์เก่า
    ชาวคริสต์มีวิธีการเฉลิมฉลองคริสต์มาสที่หลากหลาย ซึ่งในปัจจุบันนี้นอกจากวันนี้จะเป็นหนึ่งในวันสำคัญแล้ว ยังเป็นวันหนึ่งที่คนนิยมไปโบสถ์เพื่อแสดงความศรัทธา
    และประกอบพิธีกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ก่อนหน้าวันคริสต์มาส โบสถ์ออโทด๊อกซ์ตะวันออกจะฝึกฝนตนเองเรียกว่า พิธีกรรม Nativity Fast (เป็นการฝึกฝนการบังคับใจตนเองและการสำนึกบาป)เพื่อรอคอยเวลาประสูติของพระเยซู ส่วนโบสถ์ชาวตะวันตก จะเฉลิมฉลองการปรากฎตัวของพระเยซูผู้คนจะตกแต่งบ้านเรือนและแลกเปลี่ยนของขวัญกัน และในศาสนาคริสต์บางนิกาย ก็จะมีเด็กๆ ทำการแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการประสูติของพระเยซูหรือร้องเพลงประสานเสียงกันบ้างก็จัดแสดงเรื่องราวการประสูติออกเป็นฉาก ๆ ในบ้านของพวกเขา โดยจะใช้พวกรูปปั้นแกะสลักมาแสดงเป็นบุคคลต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการแสดงละครโดยใช้นักแสดง สัตว์ หรือภาพวาดเพื่อความสมจริงมากขึ้น 
    การสรรสร้างผลงานศิลปะที่บรรยายถึงฉากการประสูติของพระเยซูนี้
    เป็นประเพณีที่ทำสืบต่อกันมายาวนานแล้ว โดยฉากนี้ได้ถูกจัดให้อยู่ในโรงนาหรือคอกม้า
    ซึ่งมีพระแม่มารี โจเซฟ ทารกพระเยซู เทพยาดา เชฟเพิร์ด และนักบุญ 3 คน ชื่อว่า บาร์ทาซา เมลชิเออร์
    และแคสปาร์ ซึ่งทั้ง 3 คนบอกว่า ได้เดินทางตามดวงดาวมา ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ ดาวแห่งเบธเลเฮม
    จนกระทั่งได้มาพบกับการประสูตินี้ 
    ในประเทศอเมริกา สิ่งของที่ใช้ประดับในเทศกาลคริสต์มาสบริเวณอาคารนั้น
    โดยทั่วไปมักจะมีฉากเกี่ยวกับการประสูติของพระเยซูด้วย ซึ่งการกระทำในลักษณะนี้มัก
    จะนำไปสู่การถูกฟ้องร้องดำเนินคดี โดยกลุ่ม American Civil Liberties Union ซึ่งเชื่อว่าการ
    ใช้ของประดับตกแต่งที่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา ต้องได้รับการอนุญาตอย่างเป็นทางการ
    จากหน่วยงานราชการก่อน ซึ่งมีการบัญญัติข้อห้ามนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย ส่วนในปี 1984
    ศาลสูงของอเมริกาตัดสินคดี Lynch vs. Donnelly เกี่ยวกับการโชว์เครื่องประดับประดาต่าง ๆ
    ในเทศกาลคริสต์มาส ที่มีการรวมเอาฉากการประสูติของพระเยซูเข้าไปด้วย
    ซึ่งงานแสดงได้ถูกจัดขึ้นที่เมือง Pawtucket, Rhode Island สำหรับคำตัดสินในครั้งนั้นนั้น
    ระบุว่าไม่ได้เป็นการทำผิดต่อการแปรญัตติที่ได้ประกาศครั้งแรก
     
    การประดับตกแต่ง
     
    ธรรมเนียมปฏิบัติในการตกแต่งเครื่องประดับที่สวยงามในเทศกาลคริสต์มาสมีประวัติอันยาวนาน นับตั้งแต่ยุคก่อนคริสตศักราชจะเริ่มต้นขึ้น พืชใบเขียวถูกนำมาใช้ โดยจักรวรรดิโรมันอย่างต่อเนื่อง ธรรมเนียมปฏิบัตินี้ได้ถูกดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งานของชาวคริสเตียน ในศตวรรษที่ 15 ได้มีการบันทึกไว้ว่า ที่เมืองลอนดอนบ้านทุกหลังฏิบัติตามประเพณีของเทศกาล และทุก ๆ โบสถ์ของที่นี่ ก็ประดับประดาเต็มไปด้วยไม้ฮอลลี่ไอวี่ ต้นอบเชย และพืชในฤดูกาลที่เป็นสีเขียว รูปทรงหัวใจของใบไม้จากต้นไอวี่ถูกเรียกว่าเป็นสัญลักษณ์ของการมาเยือนโลกของพระเยซู ในขณะที่ต้นฮอลลี่ถูกมองว่าเป็นเครื่องรางป้องกันความชัวร้ายจากพวกนอกรีต และแม่มด, พืชมีหนามและผลไม้ลูกเล็ก ๆสีแดงถูกเปรียบว่าเป็นเสมือน Crown of Thorns ที่พระเยซูสวมใส่ ในขณะที่ถูกตรึงอยู่บนกางเขนจนตาย 

     
    การแสดงเกี่ยวกับวันประสูติของพระเยซู เป็นที่รู้จักกันตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ของโรมและถูกทำให้เป็นที่นิยมมากขึ้นโดย Saint Francis of Asissi ในปี 1223 และแพร่หลายอย่างรวดเร็วไปยังดินแดนทวีปยุโรป เครื่องประดับในเทศกาลนี้หลายต่อหลายชิ้นได้ถูกวิวัฒนาการมาจากโลกของชาวคริสเตียน ซึ่งดำรงชีวิตอยู่กับวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น และทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องประดับชิ้นแรกที่ถูกใช้ในเชิงพาณิชย์นั้น เกิดขึ้นที่ประเทศเยอรมันในปี 1860 โดยผลิตภัณฑ์นั้นก็คือ โซ่กระดาษ ที่ออกแบบและทำขึ้นโดยกลุ่มเด็กเล็ก
    ต้นคริสต์มาสนั้น มักจะถูกมองว่าเป็นประเพณีของพวกเพเกน เป็นพิธีกรรมที่โอบล้อมไปด้วยบรรยากาศช่วงฤดูหนาวที่มีช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุด ซึ่งจะตกแต่งสถานที่ด้วยกิ่งก้านของพืชสีเขียวทั้งนี้ก็เป็นการแสดงออกถึงความเคารพที่พวกเพเกนมีต่อต้นไม้ 
     
    วลีภาษาอังกฤษที่ว่า "Christmas tree" ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกในปี 1835 โดยระบุว่ามีรากฐานมาจากภาษาเยอรมัน เพราะธรรมเนียมของต้นคริสต์มาสสมัยใหม่นั้นเริ่มมีขึ้นที่ประเทศเยอรมันในช่วงศตวรรษที่ 18 แม้ว่าจะมีหลายคนโต้เถียงว่าเป็น มาร์ติน ลูเธอร์ที่ริเริ่มธรรมเนียมนี้ขึ้นมาในช่วงศตวรรษที่ 16 ก็ตาม 
     
    ธรรมเนียมนี้ถูกถ่ายทอดจากเยอรมันมาสู่อังกฤษผ่านทางพระราชินี ชาร์ลอตแห่งองค์กษัตริย์จอร์จที่สามซึ่งหลังจากนั้นความนิยมก็เพิ่มขึ้นตามลำดับโดยเจ้าชายอัลเบิร์ธระหว่างการครองราชย์ของราชินีวิคตอเรีย แล้วความนิยมในต้นคริสต์มาสก็เริ่มขยายวงกว้างไปทั่วอังกฤษในช่วงปี 1841 จนกระทั่งช่วงปี 1870 ต้นคริสต์มาสก็กลายมาเป็นธรรมเนียมสามัญของชาวอเมริกัน ซึ่งต้นคริสต์มาสอาจจะถูกประดับประดาด้วยดวงไฟสีสันต่าง ๆ และเครื่องประดับต่าง ๆ ด้วย 
    ต้นไม้พื้นเมืองแมกซิโก ชื่อต้น poinsettia เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวันคริสต์มาสตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ยังมีต้นไม้อื่นๆอีกที่ได้รับความนิยมในช่วงคริสต์มาสซึ่งได้แก่ ฮอลลิ มิสเซิลโท แอมมะริลลิสสีแดง และตะบองเพชรคริสต์มาส ซึ่งนอกจากต้นคริสต์มาสแล้วผู้คนก็นิยมนำไม้ประดับสวยงามที่กล่าวไว้ข้างต้นมาใช้ประดับบ้านเรือนควบคู่ไปกับ พวงดอกไม้ และพืชใบสวยงามชนิดอื่น ๆ ด้วย 
    มีธรรมเนียมในการตกแต่งรอบ ๆ นอกบ้านด้วยไฟและสิ่งของที่เป็นประกาย รถลากเลื่อนตุ๊กตาหิมะ และสิ่งของอื่น ๆ ที่ให้ความหมายถึงวันคริสต์มาส ในออสเตรเลีย อเมริกาเหนือและใต้เกาะอังกฤษ และชนกลุ่มน้อยแถบขอบทวีปยุโรป ในส่วนของทางการเองก็จะสนับสนุนการตกแต่งนี้เช่นกันด้วยการแขวนป้ายคริสต์มาสไว้บนไฟทางข้างถนน และมีการตั้งต้นคริสมต์มาสไว้ในใจกลางเมืองด้วย 
    ในประเทศโซนตะวันตก กระดาษม้วนสีสดใส ซึ่งมีทั้งแบบที่สื่อความหมายถึงประเพณีทางศาสนา และแบบที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาได้ถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับห่อของขวัญ นอกจากนี้ ผู้คนได้รับอิทธิพลจากหมู่บ้านคริสต์มาส จนกลายมาเป็นประเพณีที่ยึดถือและปฏิบัติกันในหลาย ๆ ครอบครัว ส่วนเครื่องประดับตกแต่งสถานที่ที่กลายเป็นที่นิยมกันนั้น ได้แก่ ระฆัง กระดิ่ง เทียนไข ทอฟฟี่มีรูปร่างเป็นแท่งเป็นลายขาวแดง ถุงเท้ายาว พวงมาลัย และเทพยาดา 
    ฉากการประสูติของพระเยซูก็เป็นที่นิยมในหลายประเทศ โดยมีการจัดประกวดการสร้าง
    ฉากดังกล่าวทั้งในแบบดั้งเดิม และแบบที่เหมือนจริง ซึ่งในบางครอบครัวก็ถือเอาชิ้นส่วนของฉาก
    ดังกล่าวเป็นเหมือนมรดกอันล้ำค่าของครอบครัว 
    จะมีการประดับประดาด้วยบรรยากาศของวันคริสต์มาสถึง 12 คืน จนถึงค่ำของวันที่ 5 มกราคม
    สีประจำของวันคริสต์มาสคือสนสีเขียว หิมะสีขาว และหัวใจสีแดง
     
    การ์ดอวยพรวันคริสต์มาส

    ก่อนที่จะถึงวันคริสต์มาสในวันที่ 25 ธันวาคม ผู้คนส่วนใหญ่ทั้งชาวตะวันตกและชาวเอเชีย
    (รวมถึงพวกที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ด้วย) มักแลกเปลี่ยนการ์ดอวยพรซึ่งกันและกัน
    ซึ่งบัตรอวยพรคริสต์มาสสำหรับจำหน่ายครั้งแรกนั้น ถูกผลิตขึ้นโดย Sir Henry Cole ในเมืองลอนดอน
    ปี 1843 และมีข้อความอวยพรแบบดั้งเดิมคือ “wishing you a Merry Christmas and a Happy New Year"
    (ขอให้คุณมีความสุขกับเทศกาลคริสต์มาสและสุขสันต์ในวันปีใหม่) รูปแบบของการ์ดอวยพรคริสต์มาสมีเพิ่ม
    มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการ์ดบางอันก็จะแสดงออกถึงทัศนติความเชื่อทางศาสนา หรือรวมเอาบทกลอน
    บทสวดหรือข้อความจากคำภีร์ไบเบิลเอาไว้ นอกจากนี้ ก็ยังมีการ์ดอวยพรที่ไม่เกี่ยวข้องกับทาง
    ศาสนาโดยเป็นไปในรูปแบบ "เทศกาลส่งความสุข"
     
    รูปแบบของการ์ดอวยพรคริสต์มาสนั้นจะออกแบบมาตามโอกาสพิเศษ และความต้องการซื้อ
    การออกแบบนั้นอาจจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องเล่าของวันคริสต์มาส ซึ่งจะพรรณนาถึง
    เหตุการณ์วันประสูติของพระเยซู หรือมีสัญลักษณ์ของชาวคริสเตียนอยู่ เช่น ดาวแห่งเบธเลเฮม
    หรือ นกพิราบสีขาวที่สื่อถึง วิญญาณของพระเจ้าและสันติภาพ ส่วนการ์ดอวยพรคริสต์มาสที่ไม่เกี่ยว
    ข้องกับทางศาสนาและแสดงถึงประเพณีของเทศกาลนี้ ซึ่งก็ได้แก่ ซานตาคลอส หรืออาจเป็นสิ่ง
    ของที่เชื่อมโยงถึงเทศกาลนี้ ได้แก่ เทียนไข ต้นฮอลลี่ เครื่องประดับชิ้นเล็ก ๆ หรืออาจจะออก
    แบบการ์ดเป็นภาพของงานกิจกรรมที่จัดขึ้นในวันคริสต์มาส ได้แก่ การช๊อปปิ้ง และการจัดงานปาร์ตี้
    หรืออาจจะเป็นลักษณะของฤดูกาลนี้ ได้แก่ หิมะ และสัตว์ป่าที่อยู่ในเมืองหนาว การ์ดอวยพรบาง
    ใบก็มีภาพวาดที่ทำให้คิดถึงความหลัง เช่น ภาพเหตุการณ์ที่ผู้คนกำลังเลือกซื้อของตามแนวลึกของ
    ถนนในศตวรรษที่ 19 หรือจะออกแบบให้ดูตลกขบขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพล้อเลียนของ
    ซานต้าและผู้ติดตามของเขา



    เป็นระยะเวลานานหลายศตวรรษแล้ว ที่เทศกาลคริสต์มาสเป็นช่วงเวลาแห่งการมอบของขวัญให้กันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมอบของขวัญให้เพื่อน ๆ และสมาชิกในครอบครัว ซึ่งจำนวนของชาวคริสเตียนและบุคคลที่เป็นตำนานได้ถูกสมมติขึ้นมาให้สอดคล้องกับเทศกาลและการมอบของขวัญ ซึ่งรู้จักกันทั่ว ๆ ไป ในชื่อของ “บิดาแห่งคริสต์มาส” ซึ่งรู้จักกันในอีกหลาย ๆ ชื่อได้แก่ ซานตาครอส, เซนท์ นิโคลัส, ซินเทอคลาส, คริสต์ไคน, คริส คลิงเกิ้ล, เปเระ โนเอล, จุลลูปุ๊กกี้, บับโบ้ นาตาเล่, เวียน นาซแมน, เซนต์ บาซิล, บิดาแห่งความเยือกเย็น)

    สิ่งที่บ่งบอกถึงงานวันเฉลิมฉลองคริสต์มาสที่ทั่วโลกรู้จักกันดี และมีชื่อเสียงมาก ได้แก่ ซานตาคลอสซึ่งเป็น ผู้มอบของขวัญที่ล่ำลือกันในตำนาน สวมใส่ชุดสีแดงโดยมีการโต้เถียงกันในเรื่องของที่มา บางกลุ่มอ้างว่าซานตาคลอสถูกเรียกผิดมาจาก Sinterklaas ของชาวดัตช์ ถ้ากล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ เซนต์ นิโคลัสนั่นเอง

    นิโคลัส เคยดำรงตำแหน่ง บิชอปแห่งไมรา (ถ้าเป็นเวลาปัจจุบันก็คือ ประเทศตุรกี) ในปีคริตส์ศักราชที่ 4 ซึ่งนักบุญท่านอื่นอ้างว่า เขามีชื่อเสียงในเรื่องการดูแลเด็กเล็ก มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมอบของขวัญให้ผู้อื่นเสมอ ๆ งานเฉลิมฉลองของเขาในวันที่ 6 พฤศจิกายน กลายมาเป็นประเพณีการมอบของขวัญในหลายประเทศเซนต์ นิโคลัส มีลักษณะการแต่งตัวอยู่ในชุดของบาทหลวง และมีผู้ติดตามเป็นผู้ช่วยเหลือ และชอบที่จะสอบถามถึงความประพฤติของเด็ก ๆ ในช่วงปีที่ผ่านมาก่อนที่จะตัดสินใจว่าเด็กคนไหนสมควรที่จะได้รับของขวัญบ้าง

    ในศตวรรษที่ 13 เซนต์ นิโคลัส เป็นที่รู้จักกันไปทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์ และต่อมาชื่อเสียงก็กระจายไปทั่วพื้นที่ในตอนกลางและตอนใต้ของประเทศยุโรป และในช่วงที่มีการปฏิรูปกันนั้น ชาวคริสต์นิกายโปรแตสแต๊นท์ ได้เปลี่ยนชื่อเรียกไปเป็น Christ Child หรือ Christkindl (ส่วนในอังกฤษนั้น เสียงเพี้ยนไปเป็นคำว่า Kris Kringle) และวันที่มอบของขวัญให้กันนั้น ได้เปลี่ยนจากวันที่ 6 ธันวาคม มาเป็น วันคริสต์มาสอีฟ
     
    ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เมืองนิวยอร์ค ภาพลักษณ์สมัยใหม่ของซานตาคลอสได้ถูกสรรค์สร้างขึ้นและเป็นที่นิยมชมชอบของผู้คนทั่วไปอย่างมาก ด้วยความร่วมมือกันของบุคคลที่มีชื่อเสียง 6 ท่าน รวมถึง วอชิงตัน เออร์วิ่ง (Washington Irving) และนักเขียนการ์ตูนชาวเยอรมัน-อเมริกัน ชื่อ โธมัส นาส Thomas Nast (1840–1902) 
     
    ซึ่งตามประวัติศาสตร์สงครามประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา ชนพื้นเมืองในเมืองนิวยอร์ค
    ประชาชนในอาณานิคมของดัตช์ (นิว อัมสเตอร์ดัม) ได้ถูกชาวดัตช์ใช้อาณาเขตที่ตนครอบครอง
    แลกเปลี่ยนกับเขตแดนอื่น ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้สร้างบิดาแห่งคริสต์มาสแบบใหม่ขึ้นมา
    นั่นก็คือ เซนต์นิโคลัสซึ่งรู้จักกันในการเป็นสัญลักษณ์ของเมืองที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในอดีต
     
    ในปี 1809 นักประวัติศาสตร์-สังคมชาวนิวยอร์คมาชุมนุมกันและนึกถึงชื่อของ
    Sancte Claus, นักบุญผู้เมตตาแห่ง Nieuw Amsterdam (ชื่อของเมืองนิวยอร์คในภาษาดัตช์)
    ในช่วงแรกที่เปิดตัวในประเทศอเมริกา ในปี 1810 นั้น ซานตาคลอสแต่งตัวในชุดเสื้อคลุมของบิชอป
    อย่างไรก็ตาม ภาพลักษณ์ใหม่ของซานตาคลอสได้ถูกสรรค์สร้างขึ้น โดยเฉพาะเรื่อง
    เครื่องแต่งกายที่เน้นไม่ให้เกี่ยวข้องใด ๆ กับศาสนา และตั้งแต่ปี 1863 นาสก็เขียนภาพลักษณ์
    ใหม่ให้กับซานตาคลอสทุกปี จนกระทั่งช่วงทศวรรษที่ 1880 ภาพซานตาตลอส ก็ออกมาใน
    รูปแบบที่พวกเราจดจำกันในปัจจุบันนี้ (สวมเสื้อคลุมขนสัตว์) ซึ่งมีการโฆษณาภาพนี้ในช่วงทศวรรษที่ 1920

    บิดาแห่งคริสต์มาสเป็นชายหนวดคลึ้ม ร่าเริงและเบิกบานเหมาะกับเทศกาลคริสต์มาส
    รูปลักษณ์แรกๆของซานตาครอสถูกบันทึกไว้ครั้งแรกในต้นศตวรรษที่ 17
    แต่กลายเป็นว่าเป็นวันหยุดเพื่อการเฉลิมฉลองและการดื่มเหล้าเมายา ในยุคอังกฤษวิคตอเรียนภาพ
    ลักษณ์ของซานตาคลอสได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับซานต้ามากขึ้น

    ในอิตาลี Babbo Natale แต่งกายเป็นซานตาคลอส ในขณะที่ La Befana เป็นผู้นำของขวัญมา
    แจกจ่ายในคืนก่อนวัน Epiphany กล่าวกันว่า La Befana ตั้งใจจะเอาของขวัญไปแจกให้กับพระเยซูวัยเยาว์
    แต่กลับหลงทาง ทุกวันนี้เธอจึงแจกของขวัญให้กับเด็กทุกคน
     
    บางวัฒนธรรมก็กล่าวว่าซานตาคลอสจะมี Knecht Ruprecht หรือ Black Peter ติดตามมาด้วย
    หรือบางทีก็บอกว่าพวกเอลส์เป็นคนผลิตของเล่น ส่วนภรรยาของเขาก็คือ คุณนายคลอส นั่นเอง 
     
    มีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับประวัติการพัฒนาการของเซนต์นิโคลัสไปเป็นซานต้า ยุคใหม่
    ซึ่งพวกเขาได้อ้างว่า เรื่องราวของเซนต์นิโคลัสนั้น ยังไม่ถูกค้นพบจนกระทั่งปี 1835 ซึ่งนับเป็นเวลา
    เกือบครึ่งศตวรรษหลังจากที่สงครามประกาศอิสรภาพสิ้นสุดลง ยิ่งไปกว่านั้น แบบเรียน "children's books,
    periodicals and journals" ของนิว อัมสเตอร์ดัมที่เขียนโดย Charles Jones ได้แสดงให้เห็นว่า
    ไม่มีเอกสารอ้างอิงใด ๆ เลยที่ระบุถึง เซนต์ นิโคลัส หรือ Sinterklaas อย่างไรก็ดี ผู้ที่ทำการศึกษา
    ไม่ได้คล้อยตามเกี่ยวกับสิ่งที่ Charles Jones ค้นพบทั้งหมด ซึ่งเขาได้นำผลงานไปกล่าวซ้ำอีกครั้ง
    ในการศึกษาความกว้างของหนังสือในปี 1978
     
    ธรรมเนียมของบางประเทศแถบละตินอเมริกา (เช่น เวเนซุเอล่า และโคลัมเบีย) เชื่อว่าซานต้าจะ
    เป็นผู้สร้างของเล่น และนำไปมอบให้แก่พระเยซูตัวน้อย แล้วพระองค์จะเป็นผู้นำไปส่งตามบ้านของเด็ก ๆ
    ซึ่งเรื่องราวนี้เป็นเสมือนความสอดคล้องของความเชื่อทางศาสนาและทางโลก ซึ่งเรื่องราวของซานต้าคลอส
    ส่วนใหญ่ที่เป็นที่จดจำนั้นได้แนวความคิดมาจากอเมริกา
     
    ในประเทศอิตาลี สาธารณรัฐเช็ค เยอรมันตอนใต้ ฮังการี่ ลิชเธ่นสไตน์ สโลวาเกีย และสวิสเซอร์แลนด์
    ก็มีตำนานของผู้ที่จะนำของขวัญมามอบให้ แต่จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ที่ประเทศเยอรมัน เซนต์นิโคลัส
    ไม่ได้เป็นคน ๆ เดียวกับซานตาคลอส (Weihnachtsman = ซานตาคลอสของชาวเยอรมัน)
    แต่เซนต์ นิโคลัสก็ใส่ชุดของบาทหลวงและมีของขวัญชิ้นเล็ก ๆ (ซึ่งส่วนใหญ่คือ ขนมหวาน ถั่วชนิดต่าง ๆ และผลไม้)
    ติดมือมาเพื่อแจกในวันที่ 6 ธันวาคม ซึ่งเขาจะมาพร้อมกับผู้ช่วยของเขาที่ชื่อ Knecht Ruprecht
     
    แม้ว่า โดยส่วนใหญ่ พ่อแม่มักจะสอนให้ลูก ๆ ให้รู้จักกับซานตาคลอส และ ผู้ที่จะนำของขวัญมามอบให้
    แต่บางครอบครัวก็ไม่สนใจ เพราะมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ

    Duck- ร้านค้าแจกธีมบทความFly
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×