ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วงศ์หากิน PSM และสาระดนตรีไทย

    ลำดับตอนที่ #29 : [การละครไทย] ละครใน

    • อัปเดตล่าสุด 5 พ.ค. 50



    ละครใน



              ละครในมีหลายชื่อ เช่น ละครใน ละครข้างใน ละครนางใน และละครในพระราชฐาน เป็นต้น สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ละครในแสดงมาจนถึงสมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ หลังสมัยรัชกาลที่ 6 มิได้มีละครในในเมืองหลวงอีก เนื่องจากระยะหลังมีละครสมัยใหม่เข้ามามาก จนต่อมามีผู้คิดฟื้นฟูละครในขึ้นอีก เพื่อแสดงบ้างในบางโอกาส แต่แบบแผน และลักษณะการแสดงเปลี่ยนไปมาก

             ผู้แสดง เป็นหญิงฝ่ายใน เดิมห้ามบุคคลภายนอกหัดละครใน จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเลิกข้อห้ามนั้น ต่อมาภายหลังอนุญาตให้ผู้ชายแสดงได้ด้วย ผู้แสดงละครในต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตีบทให้แตก และมีลักษณะทีท้าวทีพญา

              การแต่งกาย พิถีพิถันตามแบบแผนกษัตริย์จริงๆ เรียกว่า "ยืนเครื่อง" ทั้งตัวพระ และตัวนาง

              เรื่องที่แสดง มักนิยมแสดงเพียง 3 เรื่อง คือ อุณรุฑ อิเหนา และรามเกียรติ์

             การแสดง ละครในมีความมุ่งหมายอยู่ที่ศิลปะของการร่ายรำ ต้องให้แช่มช้อยมีลีลารักษาแบบแผน และจารีตประเพณี

              ดนตรี ใช้วงปี่พาทย์เหมือนละครนอก แต่เทียบเสียงไม่เหมือนกัน จะต้องบรรเลงให้เหมาะสมกับเสียงของผู้หญิงที่เรียกว่า "ทางใน"

              เพลงร้อง ปรับปรุงให้มีทำนอง และจังหวะนิ่มนวล สละสลวย ตัวละครไม่ร้องเอง มีต้นเสียง และลูกคู่ มักมีคำว่า "ใน" อยู่ท้ายเพลง เช่น ช้าปี่ใน โอ้โลมใน

              สถานที่แสดง แต่เดิมแสดงในพระราชฐานเท่านั้น ต่อมาไม่จำกัดสถานที่

    http://www.anurakthai.com/

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×