ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เนื้อเพลง กับ คอร์ดกีตาร์

    ลำดับตอนที่ #228 : II* How to ::: จังหวะคือหัวใจของดนตรี

    • อัปเดตล่าสุด 27 เม.ย. 50



    เรื่องของคอร์ดเนี่ย ผมจะอธิบายเพียงเท่านี้นะครับ เพื่อน ๆ สามารถหาซื้อตำรา หรือหนังสือรวมคอร์ด เพื่อมาหัดจับ และเรียนรู้คอร์ดอื่น ๆ ต่อไปนะครับ หรือจะสอบถามเข้ามาทางเว็บบอร์ดก็ได้ครับ ก็จะทิ้งท้ายไว้สำหรับกลุ่มคอร์ด ซึ่งมีกลุ่มอื่น ๆ ที่เพื่อน ๆ ต้องฝึกอีก ดังนี้ครับ
    1.  กลุ่มคอร์ด D ประกอบด้วย D    Bm   Em   A7
    2.  กลุ่มคอร์ด E ประกอบด้วย E    C#m   F#m    B7
    3.  กลุ่มคอร์ด F ประกอบด้วย F   Dm   Gm   C7
    4.  กลุ่มคอร์ด G ประกอบด้วย  G    Em   Am   D7
    5.  กลุ่มคอร์ด A ประกอบด้วย  A   F#m   Bm   E7
    สำหรับกลุ่มคอร์ด B จะฝึกก็ได้ ไม่ฝึกก็ไม่ว่ากันครับ เพราะในทางกีตาร์แล้ว คอร์ด B จับยากครับ อีกอย่างมันก็เหมือนกับกลุ่มคอร์ด A นั่นแหละครับ เพียงแต่ เลื่อนเข้ามา 2 ช่อง ก็กลายเป็นกลุ่มคอร์ด B แล้วครับ  ส่วนเรื่องคอร์ดพลิกแพลงอื่น ๆ จะพูดต่อไปในหัวข้ออื่น ๆ ในขั้นสูงกว่านี้นะครับ 



    อย่างไรก็ตาม เรื่องจังหวะ เป็นเรื่องสำคัญมาก ก ก ก ก ของดนตรีเลยล่ะครับ ตอนนี้เราต้องมาเรียนรู้จังหวะกันสักหน่อย ผมจะแนะนำในแบบภาษาชาวบ้าน ๆ นะครับ ไม่อยากเอาทฤษฎีมาพูดมากนัก หากเพื่อน ๆ คล่องแล้ว ค่อยวิ่งไปตามเก็บทฤษฎีเอาเองก็แล้วกันนะครับ  เรื่องจังหวะเนี่ย ผมว่า สอนยากกว่า เรื่องดนตรีอีก  คนเราหากร้องเพลงเสียงเพี้ยน ก็ยังฝึกกันได้ แต่หากขัดข้องเรื่องจังหวะ ฝึกยากครับ ฉะนั้น ใครที่มีจังหวะติดตัวมาตั้งแต่เกิด ก็คือพรสวรรค์แล้วล่ะครับ แต่จริง ๆ แล้วคนส่วนมาก ก็จะมีจังหวะติดตัวกันมาอยู่แล้วครับ น้อยคนนัก ที่จะไม่เข้าใจเรื่องจังหวะเลย  จังหวะสำหรับดนตรีก็เหมือน เรานับวินาที ของนาฬิกา นั่นแหละครับ เราลองนับตามนาฬิกาแล้วจะพบว่า จาก 1 ไป 2 ไป 3 ไป 4 จะมีระยะห่างเท่า ๆ กัน เพื่อน ๆ ลองฝึกเคาะจังหวะนะครับ ฝึกได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ เป็นการฝึกที่ดีที่สุด เหมือนการฝึกมวยจีนก็ต้องเริ่มท่าม้าก่อน (ผมดูหนังจีนมากไปหน่อย) เอามือตบที่หน้าตักตัวเอง (ตบแรง ๆ ก็ได้ ถ้าเพื่อน ๆ ซาดิสม์) ลองตบตามวินาทีของนาฬิกา นะครับ ถ้าตบได้ตรงจังหวะกับวินาทีของนาฬิกาแล้วละก้อ เพื่อน ๆ ฝึกสำเร็จ พร้อมที่จะเข้าสู่ยุทธจักรแล้วล่ะครับ อันนี้ บู๊ตึ๊ง ย่อมให้การรับรอง (นอกเรื่องอีกแล้ว) พอเพื่อน ๆ ฝึกเสร็จ ก็ลองมาดู ภาพดังต่อไปนี้ครับ









    ในการนับจังหวะ ผมมักจะนับอย่างนี้ครับ  1 ยก 2 ยก 3 ยก 4 ยก แล้ววกกลับมาที่ 1 ใหม่อีกครั้ง เพื่อน ๆ ลองเกากีตาร์ โดยใช้จังหวะตามภาพนี้นะครับ ก็น่าจะทำให้เพื่อน ๆ เข้าใจเรื่องจังหวะมากขึ้น ในที่นี้ เพื่อน ๆ จะเห็นว่า มีแค่ 1 ถึง 4 เท่านั้น นั่นคือจังหวะง่าย ๆ ครับ ในภาษาดนตรี เรียกว่า 4/4 ครับ (อ่านว่า สี่สี่) ความหมายของมันคือ เลข 4 ตัวแรก หมายถึง บอกจำนวนตัวโน๊ต หรือจังหวะในแต่ละห้อง  ส่วนเลข 4 อีกตัวหมายถึง แทนโน๊ตตัวดำ ผมว่าคง งง ครับ ถ้าพูดทฤษฏีมากไปกว่านี้ เอาเป็นว่า จังหวะ 4/4 เป็นจังหวะ ที่เรา ๆ ท่าน ๆ คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีครับ เพราะเพลงที่เราฟังกันอยู่ส่วนมากแล้วจะเป็น จังหวะ 4/4 ซะส่วนใหญ่ครับ  เลข 4 ตัวแรก บอกให้เรารู้ว่า ใน 1 ห้อง เราต้องเคาะ 4 ที เอาเป็นว่าจำเท่านี้ก่อนก็พอ แล้วถ้าอยากรู้ลึก ๆ ก็หาตำรามาอ่านแล้วกันนะครับ


    เวลาเราเคาะจังหวะเนี่ย มันก็จะมีตอนที่มือเรา ตกลงไปกระทบกับหน้าตักเรา  และตอนที่มือเรายกขึ้นด้วย  ในทางดนตรีแล้ว ถ้าเรานับจังหวะที่ 1 ห้อง เท่ากับ 4 จังหวะ แล้วละก้อ ตอนที่ยกมือขึ้นมา ก็จะหมายถึง 1.5 ใช่ไหมครับ ตรงจุดนี้แหละครับ ที่เขาเรียกว่า เขบ็ด ครับ การเขียนโน๊ต ก็จะใส่เป็นตัวเขบ็ด 1 ชั้น 2 ตัว ครับ แต่ถ้าเขียน midi ลงบนโปรแกรม sequencer ต่าง ๆ แล้ว เราจะเขียนกันที่ตำแหน่ง 1.5 นั่นเองครับ


    เรื่องจังหวะเนี่ย จริง ๆ แล้วถ้าอธิบายเป็นภาษาเขียน ค่อนข้างอธิบายยาก ครับ เอาเป็นว่า ต่อไปนี้เพื่อน ๆ ฟังเพลง ก็ให้เคาะจังหวะตามไปด้วย แล้วสังเกตดูว่า ตรงหรือเปล่า หรือให้คนที่เขารู้จังหวะ แนะนำให้ก็ได้ครับ สำหรับบางเพลง หากเพื่อน ๆ ฝึกเคาะ เคาะยังไงก็ไม่ตรง ไม่ต้องตกใจนะครับ บางเพลงเขาทำเป็นจังหวะ 3/4 ครับ ก็ลองเคาะแค่ถึง 3 แล้วเริ่มนับหนึ่งใหม่ ถ้าตรง ก็ใช่เลยล่ะครับ  หรือบางเพลง ต้องเคาะแค่ 2  ก็คือ 2/4 นั่นเองครับ ตัวอย่างก็เช่น เพลง ห่างไกลเหลือเกิน ของบอยด์ โกสิยพงศ์ ครับ ลองเคาะแค่ 2 ให้ลงตัวดูนะครับ แต่พอเพื่อน ๆ คล่องแล้ว ลองเคาะซอย ๆ ถี่ ๆ ดู จะพบว่า มันเคาะได้ 6 จังหวะ ใน 1 ห้องครับ


    สนุกกับการเคาะจังหวะ แล้วหาอัตราส่วนของห้องดูนะครับ ที่สำคัญหากเพื่อน ๆ ได้อ่านตำราทางทฤษฎีบ้าง ในเรื่องของจังหวะ ก็จะทำให้เพื่้อน ๆ เข้าใจมากขึ้นครับ แต่อย่าอ่านอย่างเดียวนะครับ เพราะจะงง  ต้องปฏิบัติด้วยครับ......
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×