ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    BoRn To Be "หมอชนบท" :)

    ลำดับตอนที่ #2 : [ All about PI ] แพทย์ PI คืืออะไร ?? #1

    • อัปเดตล่าสุด 2 ม.ค. 56


     

              กลุ่มนักศึกษาแพทยศาสตร์พระบรมราชชนก หรือ ชื่ออย่างเป็นทางการคือ "นักศึกษาแพทย์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข (The Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor; CPIRD)" เป็นโครงการที่ริเริ่มจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2537 เพื่อตอบสนองนโยบายในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์ในส่วนภูมิภาค เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี 2540 เป็นกลุ่มสถาบันผลิตแพทย์ ลำดับที่ 13 ของประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่มศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก (Medical Education Center; MEC) ของกระทรวงสาธารณสุขและเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล แต่ไม่ได้มีสถานะเป็น คณะหรือหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยมีโรงพยาบาล 6 แห่ง ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก ปีที่ 4-6 ได้แก่ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลราชบุรี โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา และโรงพยาบาลหัวหิน

    ประวัติ

    ในช่วงปี พ.ศ. 2537 รัฐบาลในขณะนั้นมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในส่วนภูมิภาค โดยให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มและกระจาย แพทย์ลงสู่ภูมิภาคให้มากขึ้น จัดทำโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทขึ้น (The Collaborative Project to Increase Production of rural Doctor; CPIRD) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย ดำเนินการโครงการ ผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท

    จากแนวทางดังกล่าว ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ หนึ่งในคณะกรรมการอำนวยการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย; กสพท. (ชุดก่อตั้ง) ซึ่งงานส่วนหนึ่งคือ การประสานงานเรื่องโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท และในขณะนั้นท่านก็ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงเป็นผู้ผลักดันแนวคิดในความร่วมมือการผลิตแพทย์ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยมหิดล ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท นี้ด้วย

    ปี พ.ศ. 2540 เนื่องด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล มีโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ในสังกัดอยู่ 2 แห่ง ได้แก่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งในขณะนั้น โรงเรียนแพทย์ทั้งสองแห่งไม่สามารถรองรับนักศึกษาแพทย์โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทได้ ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 280 มีมติอนุมัติให้รับ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งทางมหาวิทยาลัยรับผิดชอบดำเนินการคัดเลือกนักศึกษา และจัดการเรียนการสอนนักศึกษาโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข รุ่นแรกจำนวน 16 คน โดยในระดับปรีคลินิกชั้นปีที่ 1-3 มีคณะวิทยาศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการ และฝ่ายการศึกษาเป็นผู้ประสานงาน ส่วนทางโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมารับผิดชอบจัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ในระดับคลินิก ชั้นปีที่ 4-6

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ให้โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช และโรงพยาบาลราชบุรี รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ในระดับคลินิก ชั้นปีที่ 4-6 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบอนุมัติให้ขยายโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทเพิ่มอีก 2 ปี จากปีพ.ศ. 2538-2547 เป็น พ.ศ. 2538-2549

    ภายหลัง กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้ง สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรับผิดชอบโครงการแทนสถาบันพระบรมราชชนก และได้เปลี่ยนชื่อโครงการเป็น โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข แต่ทางกลุ่มนักศึกษาแพทย์ฯ ได้ขออนุโลมใช้ชื่อเรียกกลุ่มนักศึกษาฯ ขณะที่ยังศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดลว่า แพทยศาสตร์พระบรมราชชนก (PI) ตามโครงการรุ่นก่อตั้งสมัยที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ยังสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกอยู่ ซึ่งมีรหัสประจำตัวนักศึกษาคือ XX22XXX PIMD/B และใช้ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเข็มลำดับที่ 13 ของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย (สพท.) จากทั้งหมด 19 สถาบันแพทย์

    วันที่ 15 มิถุนายน 2547 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ระหว่างปี พ.ศ. 2547-2556 เป็นเวลา 8 ปี โดยมีเป้าหมายรับนักศึกษาแพทย์ตลอดโครงการ 3,807 คนและอนุมัติงบประมาณดำเนินการประเภทอุดหนุนทั่วไป 300,000 บาทต่อคนต่อปีรวมทั้งสิ้น 6,853 ล้านบาท

    เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2552 ที่มหาวิทยาลัยมหิดล จ.นครปฐม นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการเพิ่มโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี และโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไปของกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นสถาบันสมทบจัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก ปีที่ 4-6 ในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ของกระทรวงสาธารณสุข อีก 2 แห่ง ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป ปัจจุบันมีบัณฑิตแพทย์ สำเร็จการศึกษาแล้วทั้งสิ้น 7 รุ่น จำนวน 440 คน

    ลักษณะการดำเนินการ

    1.คัดเลือกนักเรียนจากชนบทให้เรียนในภูมิภาคและให้กลับไปทำงานที่ภูมิลำเนาเดิม
    2.การเรียนการสอน การศึกษาระดับเตรียมแพทย์และปรีคลินิกชั้นปีที่ 1-3 ศึกษาที่คณะวิทยาศาสตร์ และ/หรือคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัย การศึกษาระดับคลินิก ชั้นปีที่ 4-6 ศึกษาและฝึกงานที่ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลเครือข่าย
    3.การชดใช้ทุนเมื่อสำเร็จการศึกษา


    วัตถุประสงค์โครงการ

    1.เพิ่มการผลิตแพทย์และให้กระจายแพทย์ไปสู่ชนบทมากยิ่งขึ้น
    2.เพิ่มโอกาสแก่นักเรียนในชนบทให้ได้ศึกษาวิชาแพทยศาสตร์
    3.พัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัย
    4.พัฒนาคุณภาพระบบบริการการแพทย์และสาธารณสุข ของโรงพยาบาลศูนย์และสถาบันสมทบ


    หลักสูตรการศึกษา

    - ชื่อหลักสูตร หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต; Doctor of Medicine Program
    - ชื่อปริญญา แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) มหาวิทยาลัยมหิดล; Doctor of Medicine (M.D.)

    - ระบบการศึกษา หลักสูตร 6 ปี


    ภาพลักษณ์

    “ เป็นแพทย์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่กำหนดล่าสุดโดยแพทยสภา และเน้นหนักให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ มีประสบการณ์และมีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในชนบท พร้อมที่จะให้บริการสาธารณสุขเชิงรุกแก่ประชาชนทั้งชุมชน”

    ต่อตอนต่อไป >>  :)

     

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×