ลำดับตอนที่ #2
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : การเตรียมตัวสอบสอวน.เคมีค่าย1(ศูนย์สอวน.กรุงเทพฯ) หัวข้อ : วิเคราะห์ข้อสอบ
ข้อสอบคัดเลือกเข้าสอวน.ของศูนย์กรุงเทพฯ จะเป็นข้อสอบปรนัย40ข้อ
โดยจะแบ่งเนื้อหาในการออกข้อสอบคร่าวๆได้เป็น
1) - โครงสร้างอะตอม
- พันธะเคมี
- แนวโน้มตารางธาตุ
- สารและสมบัติของสาร
2) - ปริมาณสารฯ (I+II)
- แก๊ส ของแข็ง ของเหลว
ซึ่งในข้อ 1)จะออกประมาณ20ข้อ
และในข้อ2)จะออกมาอีก20ข้อ โดยจะเน้นปริมาณสารเป็นหลัก
โดยในปีที่ผ่านๆมา2-3ปีก่อน ข้อสอบในหัวข้อของ โครงสร้างอะตอมนั้นชอบ ออกเกินหลักสูตร (เอาเนื้อหาของมหาวิทยาลัยมาออก)
อย่างเช่น ในปี51' ข้อสอบได้มีการนำแบบจำลองอะตอมของเดอบรอยมาออก
แต่ในปี53' ที่ผ่านมา ข้อสอบแทบไม่มีตรงไหนที่ออกเกินหลักสูตรเลย (ที่เกินก็เห็นจะมีแค่เรื่องสมบัติแม่เหล็ก)
แต่เราก็คงจะเดาไม่ได้ว่าของปี54'นี้ เขาจะออกยังไง....
แต่โดยปกติแล้วถ้าหากเราทำข้อสอบได้เกิน 60% ก็น่าจะติดแล้ว
ถ้าเราดูจากข้อสอบหลายๆพศ. เราจะสามารถแบ่งข้อสอบออกมาได้ดังนี้
1) ข้อสอบที่แบบว่าถ้าเคยเรียนก็ทำได้
- ปริมาณสาร I (แต่ต้องแปลโจทย์ให้ดี เพราะว่าข้อสอบชอบหลอก)
- แก๊ส (มักจะนำมาออกรวมกับปริมาณสาร)
2) ข้อสอบที่จะต้องอาศัยการฝึกฝนมา (แบบว่าแค่รู้เฉยๆ ไม่น่าจะทำได้)
- ปริมาณสาร II (บางปีก็ออกซับซ้อน+โจทย์ยาว แต่บางปีก็ออกแบบคิดธรรมดา)
- พันธะเคมี (ส่วนใหญ่จะถามว่าข้อใดเป็นไปตามกฏออกเตด หรือถามเกี่ยวกับสาร
เรโซแนนซ์ และถามเกี่ยวกับรูปร่างและมุม)
3) ข้อสอบที่แบบว่า แค่รู้ก็ทำได้ (แต่ก็ต้องจำให้ได้!!!)
- ของแข็ง ของเหลว
- แนวโน้มตารางธาตุ
- สารและสมบัติของสาร
4) ข้อสอบที่จะออกตรงหลักสูตรก็ง่าย จะออกเกินหลักสูตรก็ยาก
- โครงสร้างอะตอม
ซึ่งถ้าคุณอยากจะติด คุณต้องทำข้อ1)ให้ได้เต็ม ข้อ2) กับข้อ3) ต้องทำให้ได้เยอะที่สุด เพราะงั้นต้องอ่านส่วนพวกนี้มาให้ดี และฝึกทำโจทย์ให้เยอะๆ
ส่วนข้อ4) แนะนำว่าให้เก็บไว้อ่านเก็บรายละเอียดทีหลังสุด ถ้าเวลาเหลือ
(แต่มันเป็นบทแรกของม.ปลาย เพราะงั้นก็ควรที่จะอ่านมันคร่าวๆก่อนก็ดี)
คือตอนมันออกง่าย ก็ถามแบบธรรมดามาก...แบบว่าแค่รู้ก็ตอบได้
ปล.ข้อสอบบทที่ออกเยอะที่สุดก็เห็นจะเป็นบทปริมาณสารสัมพันธ์ นะครับ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น