ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    กระบวนการสังเคราะห์แสง!

    ลำดับตอนที่ #2 : กระบวนการสังเคราะห์แสง เกิดขึ้นที่ไหน????

    • อัปเดตล่าสุด 25 ก.ย. 53




     สีเขียวที่มีในพืช ที่มันทำให้สังเคราะห์แสงได้นั่นมันคืออะไร??

     มันก็คือ "Chloroplast " ไงล่ะ


    เพราะการสังเคราะห์แสงเนี่ย  มันเกิดที่ " Chloroplast "นะ  จำไว้ 


    แล้วในพืช Chloroplast มันอยู่ที่ไหนล่ะ ?
      เกือบ100%มันอยู่ที่ ใบไม้ บางส่วนก็อยู่ที่ลำต้น   แต่ส่วนใหญ่ การสังเคราะห์แสง ก็เกิดที่ใบไม้นี่แหละ

    อ่ะ  ลองตัดใบไม้มาส่องดู
     
     
    อ่ะ  แล้วสีน้ำเงินๆตรงกลางมันคืออะไร???  คุ้นๆกับคำว่า Xylem Phoem ป่ะ   นั่นล่ะ 
    พอมาพูดรวมๆกัน เค้าเรียกว่าเส้น Vein  ก็จะทำหน้าที่ลำเลียงอาหารและน้ำไปให้ส่วนต่างๆของพืชนั่นเอง



    ในใบไม้  มันก็จะมี cell รูปถั่ว แล้วมีเม็ดเขียวๆประมาณ30-40เม็ดอยู่ข้างใน
    ถามว่า cell นั้นมันคืออะไร  แล้วเม็ดเขียวๆนั่นคืออะไร

    Cellนั้น ก็คือ Mesophyll cell นั่นเอง   แล้ว30-40เม็ด สีเขียวๆนั่นคือ Chloroplast ไงล่ะ






    อ่ะ  จุดหมายของเราก็คือ  Chloroplast นี่แหละ   มันมีอะไรดี  มีอะไรเกิดขึ้นในนั้นบ้าง ฮุ่วววว...มาเข้าสู่โลกอันลี้ลับกัน

     
    ใน Chloroplast เนี่ย มันประกอบด้วยอะไรบ้าง?



    มันจะมีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น  ชั้นนอกเรียก Outer memb.   ชั้นในเรียก inner memb.

    ในChloroplast มันก็จะมี ของเหลวอยู่ข้างใน เรียกว่า Stroma นั่นเอง

    เห็นที่เป็นกลมๆแบนๆซ้อนกันไหม

    นั่นก็คือ Thylakoid   ไอ่พวกนี้มันก็จะมาซ้อนๆกันเป็นชั้น  เรียกว่า Granum

    ที่มันเป็นชั้นๆ หลายๆอันแล้วมีสะพานเชื่อม  ก็จะเรียกรวมกันว่า Grana (เป็นพหูพจน์นั่นแหละ)


    ส่วนที่สำคัญที่สุด ก็คือ Thylakiod เนี่ยแหละ  เพราะมันเป็นส่วนที่ใช้สังเคราะห์แสง  เพราะอะไร??
    ก็เพราะมันมีเยื่อหุ้มอยู่  เค้าเรียก Thylakiod memb. ในเยื่อหุ้มนี้ ก็จะมี Chlorophyll และ รงควัตถุอื่นๆมาเกาะอยู่ไงล่ะ


    ส่วน Chlorophyll เนี่ยแหละ  ทำให้เราเห็นเป็นสีเขียว  ทำไมล่ะ?
    ก็เพราะ Chlorophyll มันดูดแสงอื่นที่เรามองเห็นได้  แล้วสะท้อนแสงสีเขียวเข้าตาเราั่นั่นเอง



    Chlorophyllมันจะมี3ชนิด นั่นคือ

    Chloropyll a(Chl a)  :  มีสีเขียวเข้ม  และเป็นตัวหลักในการสังเคราะห์แสง  มันจะูดูดกลืนแสงสีม่วง สีแดง

    Chlorophyll b(Chl b) : มีสีเขียวอ่อน  เป็นตัวช่วยส่งอิเล็กตรอน ให้ Chl a มันจะดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน และเหลืองส้ม

    Carotenoid :  มีสีเขียวอ่อน  สะท้อนแสงสีเหลืองส้ม เป็นตัวช่วส่งอิเล็กครอนให้ Chl a
                             จะดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน และแสงสีเขียว



    ในที่สุดเราก็รู้แล้วว่าต้องไปดูตรงไหนของ Chloroplast  เพราะฉะนั้น  เราจะไปดูที่่Chlorophyllที่มันอยู่ที่ Thylakiod memb.กัน


     

    อ่า....

    โครงสร้างของ Chlorophyll เนี่ย  มันก็จะมี2ส่วน ใหญ่ๆ
    คือ  
    1.ส่วนหัว(ที่เป็นกลมๆสีเขียว)   :  เป็นส่วนที่มีขั้ว  เป็นวง Porhyrin ring   แล้วมี  Mg อยู่ตรงกลาง
                                                        Mgจะทำหน้าที่ดูดกลืน   แสงจากแสงอาทิตย์

      โครงสร้างมันจะคล้ายๆกับ Heme ในเม็ดเลือด ที่ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจน  
       แต่ในHeme ตรงกลางจะเป็น Fe(ทำหน้าที่จับออกซิเจน)

    ดูจากรูปนะ
     


    2.ส่วนหาง (ที่เป็นเส้นยื่นออกมา สองเส้น):เป็นโซ่ไฮโดรคาร์บอน  เป็นส่วนที่เป็นHydrophobic มันไม่ชอบน้ำ ไม่มีขั้ว

    ถ้าเราซูมออกมา  ไปดูรูปที่เป็นลูกกลมๆสีเทาๆแล้วมีสองเส้นยื่นออกมา เรียงกันเป็นตับ นั่นแหละ Chloropyllล่ะ
    โดยถ้าเราดู  มันจะหันด้านหัว  ออกข้างนอกเยื่อหุ้มไทลาคอย เพื่อดักจับแสง(ดูดกลืน) แล้วเอาหางไปเสียบเข้าไปในเยื่อหุ้มไทลาคอยเพื่อยึดไว้
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×