ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เขียนๆ+อ่านๆ Fighting!!

    ลำดับตอนที่ #2 : { ; จุ๊ปปี้>O # หลักการเขียนที่ดี

    • อัปเดตล่าสุด 22 ส.ค. 53


     
    หลักของนักเขียนที่ดี

    1. อ่านหนังสือของคนเขียนดีๆ - - ก็ดูชัดเจนดี แต่ยังไงก็ต้องบอกซ้ำ เพราะนี่คือจุดแรกที่คุณควรเริ่ม ถ้าหากว่าคุณไม่อ่านผลงานดีๆ คุณก็ไม่รู้ว่าควรจะเขียนงานให้ออกมาอย่างไร ทุกคนต้องเริ่มต้นจากการมองสิ่งที่ดีที่สุด แล้วจับมันมาเป็นแรงบันดาลใจของตัวเอง อ่านให้มากเท่าที่จะมากได้ แล้วลองดูสไตล์ที่พวกคนเหล่านั้นแสดงออก เพื่อนำมาประยุกต์เป็นสไตล์ของตัวเอง 

    2. เขียนให้มาก - - พยายามเขียนให้ได้ทุกๆ วัน เพราะยิ่งเขียนมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งถนัดเท่านั้น การเขียนก็เป็นทักษะอย่างหนึ่งเหมือนกัน เหมือนกับทักษะอื่นๆ อย่างการปรุงอาหาร หรือเล่นกีฬานั่นแหละ และยิ่งฝึกฝนมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งเก่งขึ้นเท่านั้น เขียนเรื่องของตัวเองอย่างไดอารี่ก็ได้ หรือเขียนบล็อคขำๆ ก็แค่เขียน... 

    3. คิดอะไรออก ก็เขียน - - เก็บกระดาษไว้ใกล้ๆ ตัว ถ้าหากว่านึกอะไรออก ก็เขียนลงไป ไม่ว่าจะเป็นคำพูดเก๋ๆ หรืออะไรที่โดนใจ อาจจะเป็นกลอนที่ชอบ เนื้อเพลงโปรด เชื่อไหมว่าถ้ากลับมาย้อนอ่านทีหลัง คำเหล่านี้จะช่วยคุณได้มากทีเดียว 

    4. เขียนให้เป็นเวลา - - ลองฝึกฝนดู ในแต่ละวัน หาเวลาที่มีสมาธิที่สุดจับปากกาเขียน คุณควรเขียนให้เป็นนิสัยและนั่นจะทำให้คุณประสบความสำเร็จ 

    5. ก็แค่เขียน - - ถ้ามีกระดาษเปล่าตรงหน้า หรือคอมพิวเตอร์ว่างๆ ก็ลองเขียนหรือพิมพ์อะไรลงไปก็ได้ สิ่งที่คุณกำลังคิดตอนนั้น หรือเขียนอีเมล์หาเพื่อนก็ได้ ก็แค่ให้ได้เขียนได้พิมพ์ ข้อควาไม่สำคัญหรอก แค่ให้ได้ใช้สมองในการคิดคำ แล้วต่อๆ ไปมันจะง่ายขึ้นมาก 

    6. กำจัดตัวกวน - - ถ้าจะเขียนตอนที่มีเสียงรบกวน คุณจะไม่มีสมาธิเลย เลือกสถานที่เงียบๆ จะดีกว่า แม้แต่เสียงเพลงก็ทำให้การเขียนไม่เป็นระบบได้เช่นกัน ที่เหมาะที่สุดคือ ต้องมีแค่คุณกับกระดาษ หรือคอมพิวเตอร์เท่านั้น 

    7. วางแผน และเขียน - - อันนี้ดูตรงกันข้ามกับที่บอกว่า “ก็แค่เขียน” มันหมายถึงว่าก่อนที่จะนั่งลงเขียนอะไรที่จริงจัง คุณควรจะคิดมาระดับหนึ่ง เมื่อคิดเรียบร้อย พร้อมแล้ว คุณก็ลงมือได้เลย 

    8. ทดลอง - - การเขียนไม่จำเป็นต้องจริงจังเคร่งเครียด ลองสิ่งใหม่ๆ ดูก็ได้ คิดดูว่าคุณชอบอะไร ที่แปลกและใหม่ ลองเพื่อให้มันกลายมาเป็นสไตล์ของตัวเอง เป็นสิ่งที่คุณเป็น และนั่นแหละทำให้มันมีชีวิตชีวา 

    9. ตรวจทาน - - ถ้าแค่เขียน แต่ไม่ย้อนกลับมาดู คุณจะไม่ได้ประโยชน์ใดๆ เลย คุณต้องอ่านทวน หาความหมายกับสิ่งที่ตัวเองเขียนไป ที่สำคัญ ตัวสะกดทุกตัวควรถูกต้อง ถ้าไม่แน่ใจตรงไหน เปิดพจนานุกรม หรือประโยคไหนวนไปวนมา คุณก็ต้องแก้ไข 

    10. เลือก - - อันนี้อยู่ในเรื่องการตรวจทานนั่นแหละ คุณต้องเลือกว่าจะเอาประโยคไหน จะตัดประโยคไหนออก จะเลือกประโยคไหนไว้ อะไรที่สำคัญเก็บ แต่อะไรที่ไม่สำคัญ ทิ้งไปเลย งานเขียนของคุณจะได้กระชับ และชัดเจน 

    11. ใช้ประโยคที่ชัดๆ - - เน้นอะไรที่สั้น แต่ชัดเจนที่สุด อย่าเขียนอะไรยืดยาวจนน่าเบื่อ จริงอยู่ การบรรยายคือหัวใจหลักของการเขียน แต่ถ้าบรรยายมากเกินไป มันอาจจะน่าเบื่อได้

    12. ฟังผล - - คุณไม่มีวันเขียนได้ดีขึ้นถ้าไม่ฟังความเห็นของคนอื่น ต้องหาคนมาอ่านผลงานของคุณ และฟังสิ่งที่อีกฝ่ายพูด ลองหาคนที่อ่านหนังสือเป็นประจำ คนพวกนั้นแหละจะบอกคุณได้อย่างชัดเจน และถ้าเขาชอบ ก็อย่าดีใจจนเกินเลย คุณควรต้องปรับตัวเองอยู่เสมอ การหยุดนิ่งกับที่จะทำให้ผลงานของคุณขาดเสน่ห์ 

    13. ใส่ตัวเองเข้าไป - - งานเขียนที่ดีต้องเต็มไปด้วยอารมณ์ และต้องมาจากสิ่งที่คุณสัมผัสได้จริง การใส่อารมณ์ลงไป จะทำให้ตัวหนังสือดูจริงจังไม่เลื่อนลอย ถึงมีคนบอกว่า ตัวละครในเรื่องก็มาจากแง่คิดของคนเขียนนั่นเอง 

    14. ฝึกบทสนทนา - - ในการเขียนบทสนทนา คุณควรต้องนึกถึงความเป็นจริงด้วย ไม่ยากเลยที่จะเขียน แค่ลองอ่านออกมาดังๆ ว่า คำพูดในเรื่องของคุณสมจริงสมจังแล้วหรือยัง ถ้าหากว่าไม่เหมาะสม ก็ลองเปลี่ยนดู งานเขียนที่ดีต้องมีบทสนทนาที่สมจริงทั้งนั้นแหละ 

    15. เริ่มต้นและจบอย่างมีพลัง - - ความสำคัญของงานเขียนอยู่ที่ตอนเริ่มต้นนี่แหละ ถ้าเริ่มมาน่าอ่าน คนอ่านก็อยากติดตาม แต่ถ้าเริ่มน่าเบื่อ แต่กลางเรื่องสนุก ก็อาจไม่มีใครอ่านเรื่องของคุณเลย และตอนจบ คุณควรผูกใจคนอ่านของคุณไว้ให้ได้ด้วย 

    ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.lifehack.org

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×