ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องของนักวิจัย นักวิทยาศาตร์

    ลำดับตอนที่ #2 : นักวิทยาศาตร์ดีเด่นของไทย

    • อัปเดตล่าสุด 2 พ.ย. 48


    ศาสตราจารย์ ดร.วิรุฬห์ สายคณิต



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2525 สาขาฟิสิกส์



    Professor Dr. Virulh Sa-yakanit - B.Sc. (Hons.)(Chula), Ph.D. (Gothenberg)



    เสนอทฤษฎีใหม่ที่อธิบายพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในสิ่งแวดล้อมที่ไร้ระเบียบ

    ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของสารจำพวกอสัณฐานกึ่งตัวนำสาร

    สารผลึกกึ่งตัวนำที่มีสิ่งเจือปนสูง ฯลฯ อันเป็นการก่อให้เกิดวิวัฒนาการในวงการอิเล็กทรอนิกส์

    เพราะสารเหล่านี้มีประโยชน์ในการใช้ผลิตแสงเลเซอร์ เซลล์แสงอาทิตย์

    อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





    ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วะสี



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 สาขาชีววิทยา (พันธุศาสตร์)



    Professor Dr.Prawase Wasi - M.D. (Siriraj.), Ph.D. (Colorado)



    ค้นพบกลไกทางพันธุศาสตร์ของโรคอัลฟ่าธาลัสซีเมีย

    โดยพบว่าเกิดขึ้นจากความผิดปกติของยีนอัลฟ่าซึ่งมีทั้งสิ้นสี่หน่วย

    จากมารดาและบิดาฝ่ายละสองหน่วย ซึ่งความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับจำนวนของยีนที่ผิดปกตินั้น  





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

      



      ศาสตราจารย์ ดร.ม.ร.ว. พุฒิพงศ์ วรวุฒิ



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2527 สาขาสรีรวิทยาการสืบพันธุ์



    Professor Dr. M.R. Puttipongse Varavudhi - B.Sc. (Chula), Ph.D. (Weizmann)



    บุกเบิกงานด้านสรีวิทยาการสืบพันธุ์และกลไกควบคุมการเจริญพันธุ์โดยใช้สัตว์ทดลองพวกฟันแทะ

    โดยเน้นหาความสัมพันธ์ในการควบคุมทั้งที่ระดับไฮโปทาลามัส

    ระดับต่อมใต้สมองและระดับรังไข่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุมการฝังตัวของบลาสโตซิส

    ที่เยื่อบุผนังมดลูกพร้อมทั้งสร้างกลุ่มวิจัยในลิงหางยาวที่หน่วยวิจัยไพรเมท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  





    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



      

       ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2527 สาขาชีวเคมี



    Professor Dr. Yongyuth Yuthavong - B.Sc. (Hons)(London), D.Phil. (Oxford)



    ค้นพบการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและคุณสมบัติหลายประการของเยื่อหุ้มเม็ดเลือดแดง

    ที่ติดเชื้อมาลาเรีย และความเกี่ยวโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้กับอาการของโรคนี้ทางโลหิตวิทยา

    ค้นพบเอนไซน์ใหม่ และวิถีปฏิบัติกิริยาของเชื้อมาลาเรีย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์และใช้สารโฟเลต

    อันเป็นแนวทางในการพัฒนายาด้านมาลาเรียใหม่ ๆ  

      



    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





       ศาสตราจารย์ ดร. สกล พันธุ์ยิ้ม



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2528 สาขาชีวเคมี (พันธุวิศวกรรม)



    Professor Dr. Sakol Panyim - B.Sc. (U.C. at Berkeley), Ph.D. (Iowa)



    ค้นพบยืนโปรตีนสารพิษฆ่าลูกน้ำยุงจากแบคทีเรียและศึกษาโครงสร้างลำดับนิวคลีโอไทด์

    จนทราบลำดับกรดอะมิโนส่วนที่ออกฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุง

    ค้นพบชิ้นดีเอ็นเอชนิดจำเพาะต่อพันธุ์ของยุงก้นปล่อง

    จนนำมาใช้จำแนกพันธุ์ของยุงก้นปล่องได้อย่างง่าย ๆ การค้นพบทั้งสองเป็นแนวทางใน

    การพัฒนาประสิทธิภาพการควบคุมยุงที่เป็นพาหะนำโรค  

      



    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





       ศาสตราจารย์ ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2529 สาขาเคมี



    Professor Dr. Yodhathai Thebtaranonth - B.Sc. (Med.Sci.), Ph.D. (Sheffield)



    ค้นพบสารในกลุ่ม Cyclohexene Epoxides ซึ่งสกัดได้จากต้นไม้ในสกุลยูวาเรีย

    ทำให้เข้าใจกลไกชีวสังเคราะห์ของสารกลุ่มดังกล่าวในต้นไม้อย่างแน่นอนจากหลายกลไกที่มีผู้เสนอขึ้นมา

    ค้นพบปฏิบัติการอันนำไปสู่การสังเคราะห์สารหลายชนิดในตระกูล Cyclopentenoid Antibiotics

    เช่น ซาร์โคมัยซิน เมทธิลิโนมัยซิน เอ และ บี

    ตลอดจนการสังเคราะห์ให้ออสไดออกไพรอลอันเป็นสายออกฤทธิ์ถ่ายพยาธิในลูกมะเกลือ  





    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



      

       ศาสตราจารย์ ดร. สุทัศน์ ยกส้าน



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2530 สาขาฟิสิกส์ทฤษฎี



    Professor Dr. Suthat Yoksan - B.Sc. (Hons)(London), Ph.D. (U.C. at Riverside)



    สร้างทฤษฎีอธิบายสมบัติพื้นฐานบางประการของสภาพตัวนำยิ่งยวด

    โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับอุณหภูมิวิกฤต ความร้อนจำเพาะ

    และฟังก์ชันคลื่นของตัวนำยิ่งยวด ขณะมีสารเจือที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กและไม่เป็นแม่เหล็กชนิดต่าง ๆ

    และได้ตั้งทฤษฎีอธิบายสมบัติบางประการของระบบที่ประกอบด้วยตัวนำยิ่งยวดประกบกับตัวนำปกติอีกด้วย





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



      

       ศาสตราจารย์ ดร. สถิตย์ สิริสิงห์



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2530 สาขาจุลชีววิทยา



    Professor Dr. Stitaya Sirisinha - B.Sc. (Hons)(Jacksonville State), Ph.D. (Rochester)



    พบว่าการขาดไวตามินเอในสารอาหารทำให้ภูมิคุ้มกันเฉพาะเสียไป

    เนื่องจากไม่สามารถแสดงออกได้ในลำไส้ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ

    และได้พัฒนาวิธีวินิจฉัยโรคเขตร้อนหลายอย่างด้วยวิธีการทางอิมมิวโนวิทยา

    โดยเฉพาะโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี

    ซึ่งเป็นโรคที่เป็นกันมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

      



       ศาสตราจารย์ ดร. ถาวร วัชราภัย



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2532 สาขาพฤกษศาสตร์



    Professor Dr. Thavorn Vajrabhaya - B.S. (Cornell), Ph.D. (Cornell)



    พบการเกิดลักษณะใหม่ของดอกกล้วยไม้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผันแปรของเซลล์ร่างกาย

    ในต้นที่ขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ โดยใช้วิธีการเลี้ยงเนี้อเยื่อ

    เป็นคนแรกที่รายงานปรากฎการณ์ดังกล่าวในพืชโตเต็มวัย

    เมื่อปี พ.ศ. 2515 และมีผู้ใช้วิธีดังกล่าวเพื่อสร้างพืชพันธุ์ใหม่ ๆ อีกมาก  





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

      



       ศาสตราจารย์ สดศรี ไทยทอง



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2533 สาขาสัตววิทยา



    Professor Sodsri Thaithong - B.Sc. (Hons)(Chula), M.Sc. (Mahidol)



    จากการแยกสายพันธุ์บริสุทธิ์ของเชื้อไข้มาลาเรียชนิด Plasmodium falciparum

    ได้พบว่าในผู้ป่วยบางรายมีเชื้อมาลาเรียอยู่หลายสายพันธุ์แต่ละสายพันธุ์จะมีระดับความไวต่อยา

    ที่ใช้รักษาและคุณลักษณะเชิงพันธุกรรมแตกต่างกัน และสามารถชักนำสายพันธุ์ที่ไวต่อยา

    ให้เกิดการดื้อต่อยาในหลอดทดลองได้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษาหาข้อมูลทางชีวเคมี

    และพันธุกรรมของเชื้อมาลาเรีย  





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



      

       ศาสตราจารย์ ดร. วิสุทธิ์ ใบไม้



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2533 สาขาชีววิทยา (พันธุศาสตร์)



    Professor Dr. Visut Baimai - B.Sc. (Hons)(Queensland). Ph.D. (Queensland)



    ค้นพบยุงก้นปล่องพาหะชนิด Anopheles dirus เป็นกลุ่มสปีชีส์ซับซ้อน 5 ชนิด

    ที่พบในประเทศไทย ซึ่งมีแบบแผนการแพร่กระจาย ความหลากหลายทางพันธุกรรม

    แหล่งที่อยู่อาศัยและพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างชัดเจน

    แต่ละชนิดมีสมบัติเป็นพาหะนำเชื้อไข้มาลาเรียได้แตกต่างกัน

    การค้นพบนี้เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาหาแนวทางการควบคุมการระบาดของไข้มาลาเรีย

    โดยใช้วิธีการทางพันธุศาสตร์  



    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



      

       ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2534 สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์



    Professor Dr. Pairash Thajchayapong - B.Sc. (Hons)(London), Ph.D. (Cambridge)



    ค้นพบวิธีออกแบบวงจรกรอกดิจิตัลชนิดรีเคอร์ซีฟโดยการใช้โปรกแกรมเชิงเส้น

    ทำให้เกิดความหลากหลายของรูปแบบและคุณลักษณะการตอบสนองความถี่ขนาดของวงจร

    ค้นพบการออกแบบวงจรกรอกชนิดรีเคอร์ซีฟ ืให้คุณลักษณะการตอบสนองความถี่เฟสที่มีลักษณะเชิงเส้น

    ออกแบบวงจรของความถี่ชนิดนันรีเคอร์ซีฟขนาดเรียบที่สุด และกำหนดจุดตัดความถี่ได้

    ค้นพบวงจรที่สามารถวัดทิศทางและระยะทางได้ค้นพบวงจรกรอกอนาล็อกที่ประหยัดชิ้นส่วน

    ในการผลิตและมีความคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าชิ้นส่วนดังกล่าว  





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

      



       ศาสตราจารย์ ดร. อมเรศ ภูมิรัตน



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2535 สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ



    Professor Dr. Amaret Bhumiratana - B.Sc. (Hons)(U.C. at Davis), Ph.D. (Michigan State)



    ทำการวิจัยอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับกระบวนการถ่ายทอดยีนแบบ Conjugation-like

    ในแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ซึ่งรวมถึงขบวนการแยกและหาลำดับยีนของ S-layer

    โปรตีนในแบคทีเรียชนิดนี้ด้วย ผลการวิจัยดังกล่าวได้นำไปสู่แนวทางการสร้างสายพันธุ์ใหม่ ๆ

    ของ B. thuringiensis ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในการใช้แบคทีเรียชนิดนี้

    ควบคุมแมลงศัตรูพืชและพาหะของโรค นอกจากนี้ยังได้วิจัยเกี่ยวกับ

    กระบวนการเพาะเลี้ยงเซลล์แบบ \"วนกลับ\"

    จนสามารถนำไปสู่ขบวนการผลิต B. thuringiensis ซึ่งมีศักยภาพสูงขึ้นกว่าเดิมที่ใช้กันอยู่  





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



      

       ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ณัฐ ภมรประวัติ



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2536 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์



    Professor Emeritus Dr. Natth Bhamarapravati - M.D. (Siriraj), D.Sc. (Pennsylvania)



    ศึกษาพยาธิวิทยาของโรคพยาธิใบไม้ตับจนสรุปได้ว่า

    สาเหตุของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีซึ่งพบกันมากในผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับ

    อาจมาจากการที่สารก่อมะเร็งที่อยู่ในอาหารไปกระตุ้นเซลล์ของระบบท่อน้ำดี

    ซึ่งถูกรบกวนจากพยาธิใบไม้เป็นเวลานาน ๆ และได้ศึกษาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน

    ในด้านอิมมิวโนพยาธิวิทยาของโรคไข้เลือดออกในเด็ก

    เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยและการป้องกันโรคในอนาคต





    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

      



       ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิศิษฏ์ สิตปรีชา



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2537 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์



    Professor Visith Sitprija - M.D. (Medical Science), Ph.D. (Colorado)



    ศึกษาวิจัยพยาธิสรีรวิทยาของการเปลี่ยนแปลงของไตในโรคเมืองร้อน

    ซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อพิษของพืช สัตว์และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

    งานวิจัยครอบคลุมโรคเล็ปโตสไปโรสิส มาลาเรีย ทริคิโนสิส เมลิออยโดสิส

    ดีซ่านจากพยาธิตับ และมะเร็งของท่อน้ำดี พิษจากงู ลูกเนียง

    และปัญหาด้านสาธารณสุขในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



      

       ศาสตราจารย์ นายแพทย์อารย์ วัลยะเสวี



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2537 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์



    Professor Aree Valyasevi - M.D. (Siriraj), D.Sc. (Pennsylvania)



    ศึกษาวิจัยระบาดวิทยา ภาวะโภชนาการ บริโภคนิสัยของมารดา การเลี้ยงดู

    ตลอดจนการให้อาหารของทารกตั้งแต่แรกคลอดจนถึงวัยเรียน

    พบว่าการกินพืชผักที่มีสารออกซาเลตสูงในแม่จะผ่านมาถึงลูกทางน้ำนมแม่

    และจากการป้อนอาหารดังกล่าวให้เด็กโดยตรง

    ซึ่งจะตกผลึกจับกันเป็นก้อนเท่าหัวเข็มหมุดและค่อยๆ โตขึ้น

    ถ้าไม่ได้อาหารที่มีเกลือแร่ที่สำคัญคือสารฟอสฟอรัส ในฤดูร้อนปัสสาวะจะเข้มข้นเพราะขาดน้ำ

    ผลึกออกซาเลตจะโตขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

    เมื่อให้กินอาหารที่มีสารเกลือแร่ครบ เช่น นมแม่หรือนมวัว พวกถั่วต่าง ๆ

    ไข่และปลาจะสามารถป้องกันการเกิดโรคนี้ได้  





    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

      



       ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ โสภน



    นักวิทยาศาสตร์ ปี พ.ศ. 2538 สาขาเซลล์ชีววิทยา



    Professor Dr. Prasert Sobhon - B.Sc. (Western Australia), Ph.D. (Wisconsin)



    ศึกษาทางด้านเซลล์ชีววิทยามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเกี่ยวกับโครงสร้าง

    และหน้าที่ของชั้นผิวของพยาธิใบไม้เลือดและพยาธิใบไม้ตับในคน และในโคหรือกระบือ

    และการเก็บรักษาหน่วยพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

    และสัตว์อื่น ๆ โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารโปรตีนในนิวเคลียสของเซลล์

    ซึ่งเป็นตัวกำกับการขดเรียงตัวของเส้นใยโครมาตินในเซลล์อสุจิ  





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



      

       ศาสตราจารย์ ดร. วัลลภ สุรกำพลธร



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2539 สาขาฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์



    Professor Dr. Wanlop Surakampontorn - B.Eng. (KMITL), Ph.D. (Kent at Canterbury)



    ค้นพบและเสนอหลักการใหม่ของการออกแบบวงจรรวมเชิงเส้น

    ที่ประยุกต์ใช้ในระบบประมวลผลสัญญาณอนาลอกแบบโหมดกระแสและเหมาะสม

    กับการสร้างเป็นไอซีด้วยมอสเทคโนโลยี และไบโพลาร์เทคโนโลยี

    โดยเฉพาะการคิดค้นและเสนอแนวคิดของวงจรสายพานกระแสปรับค่าขยายด้วยอิเล็กทรอนิกส์  

      





    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





       ศาสตราจารย์ ดร. ประพนธ์ วิไลรัตน์



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2540 สาขาชีวเคมี



    Professor Dr. Prapon Wilairat - B.Sc. (Hons)(ANU), Ph.D. (Oregon)



    มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องทางด้านการทำงานของวิตามินอี โรคมาลาเรียและโรคเลือดธาลัสซีเมีย

    เป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งในเชิงพื้นฐานที่สามารถนำเอาวิธีการทางชีวเคมีมาใช้เพื่อหาข้อมูล

    ที่สามารถทำให้เข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดโรคบางอย่างได้

    และในเชิงประยุกต์ในการนำเทคนิคทางชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์

    เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค ผลงานวิจัยนี้ได้มีส่วนเสริมสร้างให้นักวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย

    มีความก้าวหน้าทางวิชาการในด้านเหล่านี้  

      



    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





       ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2540 สาขาวิทยาการระบาด



    Professor Yong Poovorawan - M.D. (Chula), Ph.D. (London)



    ได้ทำการศึกษาทั้งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิจัยทางคลินิกของไวรัสตับอักเสบอย่างต่อเนื่อง

    และครบวงจร รวมทั้งสาเหตุ ลักษณะไวรัส ระบาดวิทยา อาการทางคลินิก การตรวจวินิจฉัย

    รวมทั้งการป้องกันและรักษา เพื่อนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในระดับประเทศ  





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

      



       รองศาสตราจารย์ ดร. อภิชาต สุขสำราญ



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2541 สาขาเคมีอินทรีย์



    Associate Professor Dr. Apichart Suksamrarn - B.Sc. (Hons., Mahidol), Ph.D. (Cambridge)



    ผลการวิจัยทางด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของเอคไดสเตียรอยด์ ทั้งทางด้านการสกัดแยก

    การหาสูตรโครงสร้างและการสังเคราะห์ ได้นำความรู้ใหม่มาสู่วงการเคมีเป็นอันมาก

    และเป็นผลงานที่จะนำไปสู่การพัฒนาเป็นสารควบคุมแมลงศัตรูพืชที่ไม่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อมต่อไปในอนาคต  





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

      



       รองศาสตราจารย์ ดร. ศกรณ์ มงคลสุข



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2541 สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ



    Associate Professor Dr. Skorn Mongkolsuk - B.Sc. (Hons)(London), Ph.D. (Maryland)



    พัฒนาวิธีตรวจพยาธิใบไม้ในตับโดยใช้เทคนิคดีเอ็นเอ

    และศึกษากลไกพื้นฐานของการก่อให้เกิดโรคพืชโดยแบคทีเรีย Xanthomonas

    เพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาการป้องกันการระบาดของโรคพืช  

      



    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





       ศาสตราจารย์ ดร. วันเพ็ญ ชัยคำภา



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2542 สาขาวิทยาภูมิคุ้มกัน



    Professor Dr. Wanpen Chaicumpa - D.V.M. (Hons)(Kasetsart), Ph.D. (Adelaide)



    ผลงานการวิจัยเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อ เช่น โรคพยาธิ โรคอุจจาระร่วงอย่างแรง

    โรคบิด ไทฟอยด์ ซึ่งทำให้ทราบกลไกการเกิดโรคและวิธีป้องกัน การพัฒนาวัคซีน

    และการวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว แม่นยำและนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้อง

    อีกทั้งยังมีผลงานการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคสำเร็จรูป

    ซึ่งสามารถทราบผลได้รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



      

       ศาสตราจารย์ ดร.จงรักษ์ ผลประเสริฐ



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปีพ.ศ. 2543 สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม



    Professor Dr.Chongrak Polprasert - B.Sc. (Chula), Ph.D.(Weshington)



    ศ.ดร.จงรักษ์ ผลประเสริฐ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง คณบดี คณะสิ่งแวดล้อมทรัพยากรและการพัฒนา

    และศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการชุมชนสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

    ผลงานวิจัยเรื่อง ระบบบำบัดแบบธรรมชาติสำหรับการควบคุมมลพิษและการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่  





    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



      

       ศาสตราจารย์ ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปีพ.ศ. 2543 สาขาเทคโนโลยีพลังงาน



    Professor Dr.Somchart Soponronnarit - B.Eng (Hons.), Dr.Ing.(ENSAT)



    ศ.ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ 11

    คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลงานวิจัยเรื่อง

    เทคนิคที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งข้าวเปลือก  

      



    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





       รองศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์



    นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปีพ.ศ. 2544 สาขาวิชาเคมีวิเ คราะห์



    Associate Professor Dr. Kate Grudpan B.S.(Chiang Mai), Ph.D.(Liverpool)



    รศ.ดร.เกตุ กรุดพันธ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ภาควิชาเคมี

    คณะวิทยาศาสตร์ และ พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    ผลงานวิจัยเรื่อง ระบบวิเคราะห์อัตโนมัติแบบโฟลอินเจคชันอะนาลิซิส (Flow Injection Analysis, FIA)

    และเทคนิคที่เกี่ยวข้อง





    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++





    ***ข้อมูลข้างต้นอ้างอิงมาจาก ****



    http://www.scisoc.or.th/scientist.html







    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×