ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ความรู้เกี่ยวกับมัคคุเทศก์

    ลำดับตอนที่ #2 : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับมัคคุเทศก์2

    • อัปเดตล่าสุด 14 ธ.ค. 52


    ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
     ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ (8,000 เอเคอร์) ตั้งอยู่บนถนนบางนา - ตราด กม. 15 อยู่ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานคร 25 กม. ศักยภาพ    รองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี รองรับเที่ยวบินได้ 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง รองรับการขนถ่ายสินค้าได้ 3 ล้านตันต่อปี
    อาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
          เป็นอาคารเดี่ยวขนาดใหญ่ ให้บริการผู้โดยสารทั้งใน และระหว่างประเทศในอาคารเดียวกันมีพื้นที่ใช้สอยรวมประมาณ 563,000 ตารางเมตรประกอบด้วยอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน
    อาคารผู้โดยสาร เป็นอาคารเดี่ยวขนาดใหญ่มีพื้นที่รวมประมาณ 563,000 ตารางเมตร
         มีทั้งหมด 7 ชั้น และชั้นใต้ดิน 2 ชั้น
              ชั้นที่1 Bus Lobby
              ชั้นที่2 ส่วนบริการผู้โดยสารขาเข้าทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
              ชั้นที่3 ร้านค้า ร้านอาหาร และห้องรับอรงบุคคลทั่วไป (CIP)
              ชั้นที่4 ส่วนบริการผู้โยสารขาออก ประกอบด้วย พื้นที่บริการผู้โดยสาร Premium ของสายการบินไทยจุดตรวจหนังสือเดินทาง
    จุดตรวจศุลกากร เคาน์เตอร์สายการบิน เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ท่าอากาศยาน
              ชั้นที่5 สำนักงานของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และกลุ่มสายการบินพันธมิตร Star Alliance
              ชั้นที่6 ศูนย์ให้บริการแบบครบวงจรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
              ชั้นที่7 จุดชมทัศนียภาพ
                 ส่วนชั้นใต้ดินมีการแบ่งสัดส่วนเป็นสถานีรถไฟ ชานชาลารถไฟและพื้นที่ของระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า
    อาคารเทียบเครื่องบิน
          เป็นอาคารสูง 4 ชั้น มี 7 หลังคือ  A, B, C, D, E, F, และ G อาคารเทียบเครื่องบิน A , B ใช้บริการสำหรับผู้โดยสารภายในประเทศ อาคารเทียบเครื่องบิน B ให้บริการสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ ช่วงเวลา 21.00-04.00 น. อาคารเทียบเครื่องบิน C, D, E, F, และ G ให้บริการสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ
    ทางวิ่ง
          ในระยะแรกมี 2 ทางวิ่ง คือทางวิ่งฝั่งตะวันออก ความยาว 4,000 เมตร กว้าง 60 เมตร และทางวิ่งฝั่งตะวันตก ความยาว 3,700 เมตร และกว้าง 60 เมตร มีทางขับ 52 เส้น
    หอบังคับการบิน
           มีความสูง 132.2 เมตร เป็นหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีการให้บริการจราจรทางอากาศที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง สำหรับรองรับปริมาณเที่ยวบินที่จะบินขึ้น – ลง ประมาณ 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง
    อาคารสถานีดับเพลิงและกู้ภัย
          มี 3 สถานีคือ สถานีหลัก รับผิดชอบการดับเพลิงอาคาร ส่วนอีก 2 สถานีเป็น Sub Station ตั้งอยู่ในเขต Airside บริเวณกึ่งกลางทางวิ่ง  ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก รับผิดชอบการดับเพลิงอากาศยาน ระดับการดับเพลิงและกู้ภัยตามมาตรฐานองค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ ระดับ 10
    สำนักอุตุนิยมวิทยาการบิน
          มีภารกิจในการสนับสนุนกิจกรรมการเดินอากาศที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศและองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก  โดยดำเนินการติดตั้งเครื่องมือตรวจอากาศและระบบการให้บริการข้อมูลอุตุนิยมวิทยาการบิน เพื่อประโยชน์ในการตรวจและรายงานอากาศการบิน การพยากรณ์อากาศบินที่ท่าอากาศยานและตามเส้นทางบิน  การติดตามสภาวะอากาศ เพื่อออกคำเตือนลักษณะอากาศที่เป็นอันตรายต่อการบิน
    สถานีไฟฟ้าย่อย
         สถานีแผลงแรงดันไฟฟ้าจากไฟฟ้านครหลวงจาก 115 กิโลโวลต์ เป็น 24 กิโลโวลต์
    สถานีประปา
          รับน้ำจากประปานครหลวงเพื่อจ่ายให้อาคารผู้โดยสารและอาคารต่างๆผ่านเครือข่ายท่อประปาใต้ดิน ที่มีความยาวกว่า 35 กิโลเมตร สถานีประปาสามารถเก็บและรองรับน้ำได้ 40,000 ลูกบาศก์เมตรขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศและองค์กร
    โรงบำบัดน้ำเสีย
          ทำหน้าที่รับน้ำที่ใช้แล้วจากอาคารผู้โดยสารและอาคารต่างๆผ่านทางท่อใต้ดินเพื่อนำมาบำบัด  ปัจจุบันสามารถบำบัดน้ำเสีย ได้วันละ 18,000 ลูกบาศก์เมตร  น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดและจะนำกลับมาใช้ระบายความร้อนในระบบปรับอากาศและรดน้ำต้นไม้
    อาคารผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น
          ดำเนินการโดย บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของกระทรวงพลังงาน ร่วมทุนโดย ปตท. การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และการไฟฟ้านครหลวง  โดยลงทุนก่อสร้างระบบ District Cooling System and Power Plant ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยระบบพลังงานร่วมเพื่อป้อนให้กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากนั้นยังนำพลังงานเหลือใช้จากการผลิตไฟฟ้า คือพลังงานความร้อนมาผลิตน้ำเย็นและไอน้ำ เพื่อใช้ในระบบปรับอากาศในอาคารผู้โดยสาร
    อาคารเทคโนโลยีและสารสนเทศท่าอากาศยาน
          ประกอบด้วยศูนย์ควบคุมหลัก 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการท่าอากาศยาน ศูนย์ควบคุมการรักษาความปลอดภัย ศูนย์ควบคุมสภาวะฉุกเฉิน และศูนย์บริหารจัดการระบบเครือข่าย
    อาคารจอดรถยนต์
          มี 2 อาคาร ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร รองรับรถยนต์ได้ประมาณ 5,000 คัน และมีพื้นที่จอดรถ 30,000 ตร.ม. ความสามารถในการรองรับรถยนต์ 1,000 คัน
    ศูนย์การขนส่งสาธารณะ
          มีพื้นที่ประมาณ 42,000 ตารางเมตร หรือประมาณ 26 ไร่ ภายในแบ่งเป็นพื้นที่จอดรถยนต์ และพื้นที่พักคอยรถประเภทต่าง ๆ ได้แก่ รถแท็กซี่รถลีมูซีน รถเช่า นอกจากนั้นภายในศูนย์ขนส่งยังมีอาคาร Bus Terminal ซึ่งเป็นสถานีจอดรถรับ - ส่ง สาธารณะ 2 ประเภท คือ รถประจำทาง ขสมก. และ บขส. โดยภายในศุนย์ขนส่งมีสถานีบริการน้ำมันและร้านค้าให้บริการ
    เขตปลอดอากร (คลังสินค้า)
          รัฐบาลได้มีนโยบานส่งเสริมให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นศูนย์กลางในด้านการบินและการขนส่งผู้โดยสาร สินค้า และ พัสดุภัณฑ์ ดังนั้น จึงได้มีการนำรูปแบบการบริหารจัดการแบบเขตปลอดอากรมาใช้ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้า
    ขาเข้า ขาออก และสินค้าผ่านแดนได้โดยที่มีข้อปฏิบัติทางระเบียบศุลกากรน้อยที่สุด พื้นที่เขตปลอดอากรอยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีพื้นที่รวม 549,416 ตารางเมตร หรือประมาณ 345 ไร่ และมีสาธารณะอีก 111,156 ตารางเมตร กลุ่มอาคารหลักด้วย
         - อาคารขนถ่ายสินค้าของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทดับบลิวเอฟเอสพีจีคาร์โก้ จำกัด
         - อาคารคลังสินค้า 4 หลัง
         - อาคารตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศ 4 หลัง
         - อาคารสำนักงานศุลกากร และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
         - อาคารผู้บริหารจัดการ Free Zone
    (แหล่งข้อมูล http://www.suvarnabhumiairport.com)
    มัคคุเทศก์ควรมีความรู้และต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการท่าอากาศยานฯ โดยเฉพาะมัคคุเทศก์ที่ต้องนำเที่ยวไปต่างประเทศหรือมัคคุเทศก์ที่ต้องรับนักท่องเที่ยว เพื่อนำเที่ยวภายในประเทศ มัคคุเทศก์ควรทราบรูปแบบการทำงานในการรับเข้าส่งออก หรือการไปนำเที่ยวยังต่างประเทศการติดต่อเรื่องตั๋วเดินทางที่เคาน์เตอร์เช็คอิน การซื้อภาษีสนามบิน การอ่านตางเที่ยวบินขึ้นลงจากจอเทอร์มินัล กระบวนการเช็คอินตั๋วเดินทาง กระบวนการชั่งน้ำหนักการตรวจ X-Ray สิ่งของสัมภาระ การจัดการเรื่องสัมภาระ การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ภายในท่าอากาศยานเพื่อประโยชน์ในการทำงาน
    4.  สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
      เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมายว่าด้วยการลงทะเบียนคนต่างด้าว กฎหมายว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหญิง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับความผิดทางอาญา อำนวยการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาติดต่อราชการเกี่ยวกับงานตรวจ คนเข้าเมืองและการทะเบียนคนต่างด้าว ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย ลักษณะงานในส่วนของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จะมีลักษณะคล้ายกับกองตรวจคนเข้าเมืองเดิมคือ เป็นส่วนบังคับบัญชาหน่วยต่าง ๆ ซึ่งจากเดิมประกอบด้วย 5 กองกำกับการ 3 ฝ่าย 13 แผนก 21 งาน และราชการ บริหารส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย ด่านตรวจคนเข้าเมือง 54 ด่าน ปรับมาเป็นหน่วย งานระดับกองบัญชาการ มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ทั้งหมด ประกอบด้วย 4 กองบังคับการ และ 1 กลุ่มตำแหน่งผู้บริหารปรับจากระดับ ผู้บังคับการเป็นผู้บัญชาการ
      มัคคุเทศก์ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับกองตรวจคนเข้าเมือง โดยเฉพาะ ณ จุดสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในท่าอากาศยาน ในเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง เพื่อประโยชน์และความรวดเร็ว ในการนำนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในต่างประเทศหรือกลับเข้ามาในประเทศ และสามารถอ่านและเขียนแบบฟอร์มการเข้าเมืองได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว หารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.imm.police.go.th 
    5.  กรมศุลกากร
      เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการโดยภาครัฐบาล อยู่ในสังกัดกระทรวงการคลัง มีหน้าที่ควบคุมการนำเข้า และการนำออกสินค้าของประเทศ ทำหน้าที่จัดเก็บรายได้ในรูปของอากรขาเข้าและขาออกระหว่างประเทศให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบข้อบัวคับของศุลกากร และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ควบคุมป้องกันปราบปรามการลักลอบและหลีกเลี่ยงภาษีทั้งขาเข้าและขาออก รวมทั้งกำหนดมาตรการทางภาษี อากรขึ้นเพื่อส่งเสริมการส่งออก ตลอดจนการจัดเก็บภาษีแทนหน่วยงานราชการอื่น ๆ ด้วย เช่นกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกระทรวงมหาดไทย โดยมีศุลการักษ์ประจำตามจุดเข้าออกประเทศ โดยหน้าที่ของกรมศุลการกรมีดังนี้
    1) จัดเก็บอากรขาเข้าและจาออก
    2) ป้องกันและปราบปรามการลักลอบหนีศุลกากร และหลีกเลี่ยงข้อห้ามและข้อจำกัด
    3) ควบคุมของที่นำเข้าและส่งออก
    4) เสนอนโยบายจัดเก็บภาษีอากรตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ
    5) รวบรวมและเผยแพร่สถิติของนำเข้าและส่งออกของประเทศ สถิติรายได้ ภาษีอากรและสถิติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    6) ติดต่อและประสานงานกับศุลกากรต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข่าวสารวิชาการ และความร่วมมือในด้านการป้องกันและปราบปราม
    ความเกี่ยวข้องของมัคคุเทศก์ที่มีต่อกรมศุลกากร ได้แก่มัคคุเทศก์ต้องสามารถให้ราย     ละเอียดเกี่ยวกับสิ่งของต้องห้าม และสิ่งของต้องจำกัดตามระเบียบที่ศุลกากรระบุว่าไม่ให้นำเข้าและนำออกแก่นักท่องเที่ยว เพื่อไม่ให้นักท่องเที่ยวทำข้อผิดพลาดขึ้น สามารถเขียนแบบฟอร์มการสำแดงสิ่งของเพื่อยื่นต่อเจ้าหน้าที่ของศุลกากร รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ www.customs.go.th
    6.  กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว
     เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับแจ้งเหตุหรือคดีความที่เกิดกับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศภายใต้กฎหมายไทย ให้ความช่วยเหลืออำนวยความสะดวก ให้ความปลอดภัยและคุ้มครองผลประโยชน์ให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ สืบสวนป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ดูแลความสงบเรียบร้อยแก่นักท่องเที่ยวทั่วราชอาณาจักร ในแต่ละวันจะมีเจ้าหน้าที่สายตรวจไปตามแหล่งท่องเที่ยว สถานที่พัก แหล่งธุรกิจบันเทิง ซึ่งมีนักท่องเที่ยวอยู่เป็นจำนวนมาก มีการจัดรถขบวนท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะที่ได้รับอนุมัติหรือร้องขอมา โดยมีหนังสือถึงผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยวกรุงเทพฯ นอกจากนั้นตำรวจท่องเที่ยวยังมีเจ้าหน้าที่พลเรือนที่ทำหน้าที่ประสานงานด้านบริการข่าวสารข้อมูล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยวเรียกว่า “เจ้าหน้าที่ท่องเที่ยว” หรือ “Tourist Office” ตำรวจท่องเที่ยวยังมีหน้าที่ดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยวให้บริการด้วยไมตรีจิต รักษาความปลอดภัยอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน พร้อมขจัดแก๊งค์หลอกลวงที่เอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว เพื่อรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงของชาวไทย
     มัคคุเทศก์ หรือแผนกปฏิบัติการของบริษัทนำเที่ยวมีหน้าที่แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับกำหนดการเดินทางท่องเที่ยวให้ตำรวจท่องเที่ยวทราบล่วงหน้า เพื่อที่จะได้ประสานงานให้หน่วยตำรวจในพื้นที่ดำเนินการให้ความปลอดภัย ในกรณีที่เกิดปัญหากับนักท่องเที่ยวเช่น คนหรือสิ่งของหายหรือไม่ปลอดภัย เกิดความไม่สะดวกในการเดินทางท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ต้องประสานงานติดต่อกับตำรวจท่องเที่ยวในพื้นที่ที่ใกล้เคียงทันที เพื่อขอคำแนะนำหรือขอความช่วยเหลือ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tourist.police.go.th หรือสายด่วน 1155
    7.  สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (Association of Thailand Travel Agents: ATTA)
     เป็นหน่วยงานภาคเอกชนที่มีความสำคัญต่อมัคคุเทศก์และธุรกิจนำเที่ยวที่เน้นทำเที่ยวหรือทำธุรกิจแบบ Inbound มีหน้าที่รณรงค์ให้ชาวไทยเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จัดกิจกรรมให้ความรู้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสมาคมดังนี้
    1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการประกอบวิสาหกิจการท่องเที่ยว
    2. ทำการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิสาหกิจแลกเปลี่ยน และเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการตลอดจนข่าวสารอันเกี่ยวกับวิสาหกิจการท่องเที่ยว
    3. เพื่อคุ้มครองและส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมของสมาชิก ตลอดจนประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างสมาชิกกับบุคคลภายนอก
    4. เพื่อสนับสนุนและร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และรัฐบาลในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อประโยชน์ของประเทศไทย
    5. เพื่อสนับสนุนการส่งเสริมให้ประชาชนมีความปรารถนาที่จะท่องเที่ยว
    6. ทำความตกลงหรือระเบียบให้สมาชิกปฏิบัติ หรืองดเว้นการปฏิบัติ เพื่อการประกอบวิสาหกิจการท่องเที่ยว ได้ดำเนินไปโดยมีประสิทธิภาพ เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน
    7. เพื่อส่งเสริมการแข่งขันมนการประกอบวิสาหกิจการท่องเที่ยว โดยไม่ผิดกฎหมายความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชน และมารยาททางการค้า
    8. เพื่อแก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องต่าง ๆ รวมทั้งการเจรจาทำความตกลงกับบุคคลภายนอก เพื่อประโยชน์ร่วมกันในการประกอบวิสาหกิจการท่องเที่ยว
    9. ส่งเสริมการบริการท่องเที่ยวของสมาชิกให้เข้ามาตรฐาน และปรับปรุงการท่องเที่ยวให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
    มัคคุเทศก์จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสมาคม ATTA ในกรณีที่บริษัทผู้ว่าจ้างเป็นสมาชิกของสมาคม ATTA และมัคคุเทศก์ต้องทำหน้าที่นำเที่ยวแบบ Inbound ซึ่งมัคคุเทศก์มีหน้าที่เพียงประสานงานกับ ATTA ก่อนกำหนดเวลาเครื่องบินลงจอดล่วงหน้า 1 ชั่วโมง จุดสำคัญในการทำงานของมัคคุเทศก์กับหน่วยงานนี้คือการตรวจเช็คเที่ยวบินล่วงหน้ากับท่าอาการสยาย ทุก ๆ 15 นาทีก่อนเครื่องบินลง เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงเวลากะทันหัน รวมทั้งตรวจเช็ครายชื่อผู้โดยสารที่ขึ้นเครื่องในบัญชีรายชื่อที่ทาง ATTA จัดเตรียมไว้ ณ ที่เคาน์เตอร์ล่วงหน้า เพื่อป้องกันปัญหานักท่องเที่ยวพลัดหลงหรือยกเลิกการเดินทาง สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ www.atta.or.th

    8.  สมาคมโรงแรมไทย (Thai Hotels Association: THA)
     สมาคมโรงแรมไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2506 โดยคณะผู้บริหารโรงแรมและ เจ้าของโรงแรมได้ร่วมกันขออนุญาตจัดตั้งขึ้นโดยในขณะนั้นเรียกว่า “สมาคมโรงแรมเพื่อนักทัศนาจรแห่งประเทศไทย” มีสำนักงาน ณ โรงแรมโอเรียนเต็ล ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 ได้ขอเปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมโรงแรมไทย” จนกระทั่งทุกวันนี้ปัจจุบันสมาคมโรงแรมไทย ตั้งอยู่เลขที่ 203-209/3 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200ตามข้อบังคับของสมาคมฯ กำหนดวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ ดังต่อไปนี้
    1. ส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจประเภทที่เกี่ยวกับธุรกิจโรงแรมและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
    2. ส่งเสริมและสร้างความร่วมมืออันดีระหว่างสมาชิกทั้งหลายของสมาคมฯ
    3. สนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิก แก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆ รวมทั้งเจรจาทำความตกลงกับบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์ร่วมกันในการประกอบวิสาหกิจของสมาชิก
    4. ประสานความสามัคคี และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันในทางวิชาการตลอดจนข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจโรงแรมและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
    5. คุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน
    6. ร่วมมือและประสานงานกับภาครัฐและเอกชน เช่นองค์การ สมาคม บริษัท คณะบุคคล หรือบุคคลใด เมื่อสมาคมฯ เห็นว่าการร่วมมือดัง
    7. เผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสมาคมฯ ตลอดจนข่าวสารอันเกี่ยวกับธุรกิจโรงแรมและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
    8. ดำเนินการส่งเสริมการจัดให้มีการอบรมสัมมนาในงานด้านกิจการโรงแรมและธุรกิจประเภทอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรมและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
    9. ดำเนินการทางธุรกิจเพื่อเสริมสร้าง หรือเพิ่มพูนผลประโยชน์ให้แก่สมาชิก
    10. ชี้แจงและเสนอแนะให้รัฐบาลได้เข้าใจ และช่วยแก้ไขปัญหาตลอดจนอุปสรรคต่างๆ อันมีต่อธุรกิจโรงแรมและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
    11. ร่วมมือกับรัฐบาลในการส่งเสริมการทำธุรกิจโรงแรมให้อยู่ในมาตรฐานที่ดี และสอดคล้องกับนโยบายของทางราชการ
    12. ทำความตกลงหรือวางระเบียบให้สมาชิกปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติเพื่อให้การประกอบวิสาหกิจของสมาชิก ได้ดำเนินการไปด้วยความเรียบร้อย
    13. ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างสมาชิกหรือระหว่างสมาชิกกับบุคคลภายนอกใน การประกอบวิสาหกิจ
    14. จัดให้มีการส่งเสริมการขายทั้งในและนอกประเทศ
    15. ร่วมกระทำกิจการหรือบริจาคเพื่อการกุศล เพื่อสาธารณะประโยชน์หรือเพื่อความมั่นคงของชาติ
    มัคคุเทศก์ควรประสานงานกับโรงแรมที่เป็นสมาชิกของสมาคมโดย ยืนยันวัน เวลา เดินทางเข้าพักกับทางโรงแรมหรือรีสอร์ทล่วงหน้า ประสานสมาคมกรณีมีเรื่องร้องเรียนโรงแรมที่เป็นสมาชิก หากโรงแรมนั้นไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง สมคมโรงแรมไทยมีเคาน์เตอร์รับจองห้องพักโรงแรมที่เป็นสมาชิก ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ทั้งอาคารผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ และอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ โทร 02-281-9496 โทรสาร 02-281-4188 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaihotel.org  

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×