ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    12 Month In JaPanee ตะลุยญี่ปุ่นกัน

    ลำดับตอนที่ #2 : January-------มกราคม เดือนแห่งการเริ่มต้น

    • อัปเดตล่าสุด 29 ก.ย. 52


    January

    いちがつ (อิจิกัตซึ)

    เริ่มกันที่เดือนแรกของปีเลยน่ะค่ะ >O< อยากรู้จังว่าที่ญี่ปุ่นเค้าจะมีเทศกาลอะไรกันบ้าง..

    มุทซึกิ หมายถึงเดือนที่สมาชิกจะมาชุมนุม หรือการร่วมตัวของครอบครัว

    วันที่1 กันจิทสึ วันปีใหม่ ในตอนเช้าของวันนี้สมาชิกในครอบครัวจะพร้อมกันดื่มเหล้าเรียกว่าโอโทะโซะและรับประทานอาหารพิเศษโอโซนิและโอเซจิเรียวริเป็นการฉลองปีใหม่ เด็กๆจะได้รับโอโทชิดามะเป็นของขวัญจากพ่อแม่(รายละเอียดจะอยู่ข้างล่างน่ะค่ะ(^o^)

    วันที่2-3 โชงัทสึซังงะนิจิ สถานี ธนาคารหรือสถานที่ทำงานต่างๆจะปิดเพื่อให้ไปเที่ยวในเทศกาลปีใหม่

    วันที่4 โกะโยฮาจิเมะ วันเริ่มงานเริ่มการทำงานหลังจากที่หยุดไป

    วันที่7 นานาคุซะงายุ วันข้าวต้มสมุนไพร 7 ชนิดหรือรับประทาน นานาคุสะงายุ

    วันที่ 15 วันเซจินโนะฮิ วันฉลองนิติภาวะ

    วันที่22 ไดคัน วันแห่งความหนาว เป็นวันที่หนาวที่สุดความสุข ร่าเริงจะค่อยหมดไปเหลือไว้แต้ความหนาวที่มากขึ้นเรื่อยๆ

    โอเซจิเรียวริ

         โอเซจิเรียวริแต่เดิมหมายถึง อาหารถวายพระหรือศาลเจ้าในเทศกาลพิเศษ วันปีใหม่ถือเป็นเทศกาลที่สำคัญเทศกาลหนึ่งของปีมีการจัดเตรียมอาหารหลากหลายชนิด และจัดวางไว้อย่างสวยงามในภาชนะชุดเครื่องเขิน เช่น ปลาย่าง ไข่ปลา กุ้งสาหร่าย หัวไชเท้ากับแครอทดอง หรือถั่วดำเชื่อมเป็นต้น ในปัจจุบันจะมีอาหารจีนและอาหารตะวันตกเพิ่มเข้าไปด้วย และอาหารชุดโอเซจิ(Osechi)สำเร็จรูปจะมีขายตามห้างหรือซูปเปอร์ทั่วไป โอเซจิเป็นอาหารที่เก็บไว้รับประทานได้หลายวัน ซึ่งจะเตรียมไว้รับประทานใน 3 วันในช่วงเทศกาลปีใหม่

    โอโทะโซะ

         โอโทะโซะ เป็นเหล้าสาเกใส่สมุนไพร เสิร์ฟในกาและถ้วยชุดเครื่องเขิน ดื่มเป็นการฉลองปีใหม่ และดื่มเพื่อช่วยย่อยอาหาร สมุนไพรสำหรับผสมในเหล้าสาเกนี้จะมีขายเป็นถุงสำเร็จรูปใช้แช่ในเหล้าว่ากันว่าช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้ายไปในช่วงปีใหม่

    โอโซนิ

         โอโซนิเป็นอาหารพิเศษสำหรับปีใหม่ ประกอบด้วยโอโมจิOmochi ซึ่งเป็นก้อนแป้งข้าวเหนียว(อยากกินอ่ะ>_<) ต้มกับปลาเล็กๆหรือมีเนื้อไก่และผักเช่นเห็ด หน่อไม้ และอื่นๆ

         ในแถบคันโต (kanto หมายถึง แถบโตเกียวและบริเวณใกล้เคียง)จะทำเป็นน้ำใสและใส่โอโมจิรูปสี่เหลี่ยม ในขณะที่แถบคันไซ (Kansai หมายถึงแถวโอซากา)จะทำเป็นซุปมิโซะ(Misoshiru เป็นซุปใส่เต้าเจี้ยวบดซึ่งคนญี่ปุ่นรับประทานกันทุกวัน)และใส่โอโมจิก้อนกลม

    การปรุงที่แตกต่างก็เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น(ไม่ว่าทำแบบไหนเราก็อยากกินนะ -O-)

    คาโดมัทซึ

         เป็นสิ่งที่นำมาประดับบ้านเป็นสัญญาลักษณ์ของปีใหม่จะใช้เพื่อแสดงการต้อนรับเทพเจ้าแห่งปีและวิญญาณของบรรพบุรุษและเป็นการขอพรให้มีอายุยืนยาวมีความเจริญรุ่งเรือง และมีความมั่นคงในชีวิต โดยจะจัดวางไว้ที่หน้าประตูบ้าน ซึ่งจะวางไว้ข้างเดียวหรือสองข้างหน้าประตูก็ได้ คาโดมัทซึประกอบด้วยไม้ไผ่และช่อดอกบ๊วย ซึ่งถือกันว่าเป็นที่สถิตของเทพเจ้าแห่งปี

    โอโทชิดามะ

         โอโทชิดามะ คือเงินที่ผู้ใหญ่ให้เด็กๆในวันปีใหม่ จำนวนที่ให้นั้นแตกต่างกันไปแล้วแต่อายุของเด็กและฐานะของแต่ละครอบครัวโดยเฉลี่ยให้เด็กปฐมและมัธยมต้นประมาณ 30,000 เยน(100เยนคือ 38 บาท)คิดเอาเองน่ะเราขี้เกียจ-*- แต่เดิม โอโทชิดามะเป็นประเพณีการแลกเปลี่ยนของขวัญในวันปีใหม่ในบรรดาชนชั้นขุนนางและนักรบในสมัยมูโรมาจิ(Moromachi ค.ศ1336-1573) และแพร่กลายอย่างมากในสมัยเมจิ(Meiji หรือราว 1 ศตวรรษก่อน 100ปีน่ะแหละคร้า...^O^)

    ชิเมคาซาริ

         ชิเมคาซาริ เป็นสิ่งซึ่งใช้ประดับในวันปีใหม่(เค้าจะประดับให้ล้นบ้านเลยหรือไงน่ะ-*-)ประกอบด้วยเชือกศักดิ์สิทธิทำด้วยเชือกศักดิ์สิทธิ์ทำด้วยฟางข้าวมีแถบกระดาษสีขาวห้อยเป็นพู่ประดับกับส้ม กุ้งมังกร และใบเฟิร์น ชาวญี่ปุ่นจะแขวนชิเมคาซาริไว้หน้าประตูบ้านเพื่อขจัดสิ่งชั่วร้ายออกไปออกจากบ้านเนื่องในโอกาสวันปีใหม่ ส้มเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าสุขภาพดี แข็งแรง ส่วนกุ้งมังกรหมายถึงอายุยืนยาว บ้านที่มีชิเมคาซาริเชื่อกันว่าบริสุทธิ์สิ่งชั่วร้ายผ่านไปไม่ได้(โทษทีน่ะเราหารูปมาประกอบไม่ได้อ่ะ -_-;;;)

    ฮัทสึโมเดะ

         ผู้คนเป็นจำนวนมากจะไปวัดชินโตหรือวันพุทธครั้งแรกของปีใหม่ ทันทีที่วัดตีระฆังส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หรือไม่ก็ไปกันในสัปดาห์แรกของปีผู้คนจะโยนเงินลงในกล่องแล้วอธิษฐานขอให้มีสุขภาพแข็งแรง หลังจากไหว้พระแล้วก็จะพากันซื้อ โอมาโมริ (Omamori) ^^สวยมากเราเคยเห็น มันเป็นเครื่องรางหรือลูกศรนำโชคซึ่งจะมีขนนกสีขาวประดับอยู่ (เราเคยเห็นเป็นเครื่องรางอ่ะ มีสีเขียวเกี่ยวกับเรื่องการเรียนน่ารักมากเลย><) มีการเสี่ยงเซียมซีดูโชคชะตาด้วยตัวอักษรคันจิว่าโชคจะเป็นอย่างไรในปีนี้

    สมุนไพร 7 อย่างของฤดูใบไม้ผลิ

         สมุนไพร 7 อย่างของฤดูใบไม้ปลิ ได้แก่ เซริ(Seri),นาซูนะ(Nazuna),ซูซูชิโระ(Suzushiro)คล้ายๆหัวไชเท้า,ซูซูนะ(Suzuna)คล้ายมันฝรั่ง,โกะเงียว(GOgyo),ฮาโกเบระ(Hakobera)และ โฮโตเคโนะซะ(Hotokenoza)คล้ายใบเฟิร์น (ขอโทษน่ะที่ไม่มีรูปประกอบ

    -/\-) เป็นประเพณีนิยมที่ชาวญี่ปุ่นจะรับประทานข้าวต้มใส่สมุนไพรทั้ง 7 ชนิดในวันที่ 7 ของปีใหม่ เชื่อกันว่าจะป้องกันโรคหวัดและโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ประเพณีนี้เริ่มขึ้นในสมัยเฮอัน ในปัจจุบันสมุนไพรทั้ง 7 ชนิดมีขายตามซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไป(ง่ายเนอะ -_-;;)

     

    เซจินชิกิ

         วันฉลองบรรลุนิติภาวะ ถูกจัดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อเป็นการให้เกรียติแก่คนหนุ่มสาวที่อายุครบ 20 ปีในปีที่ผ่านมาและเป็นการต้อนรับสมาชิกใหม่ของสังคม ผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วมีสิทธิโดยสมบูรณ์ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง มีการฉลองทั่วประเทศ หญิงสาวที่เข้าร่วมพิธีจะใส่ชุดกิโมโน

    ซูโม

        ซูโมเป็นกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ นักซูโมอาชีพเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยเอโดะ ในการแข่งขันนักซูโม2คนจะประจันหน้ากันกลางเวที ซึ่งเรียกว่า โดะเฮียว(Dohyo) มีเส้นผ่านศูนย์กลางวัดได้ 4.55 เมตร ธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆบนเวที ยกตัวอย่างเช่น การหว่านเกลือเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์บนเวทีล้วนแต่สืบมาจากโบราณทั้งสิ้น ในการแข่งขันซูโมนั้นมีวิธีที่จะเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ 70 แบบด้วยกัน เช่น โอชิดาชิ(Oshidashi)คือการผลักหรือดัน,อุวาเทนาเงะ(Uwatenage)คือการจับทุ่ม,โยริทาโอชิ(ไม่พิมพ์อังกฤษแล้วน่ะT^T)ผลักให้ล้ม,โยริคิริคือผลักออก เป็นต้น นักซูโมเลื่อนตำแหน่งตามผลการแข่งขัน ตำแหน่งที่สูงสุด 3 ตำแหน่งคือ โยโกซึนะ,โอเซกิและเซกิวาเกะ การแข่งขันแต่ละครั้งกินเวลา 15 วัน ตั้งแต่ปีค.ศ 1958เป็นต้นมาจะมีการแข่งขันซูโมทุกปี ปีละ 6 ครั้งเป็นประเพณี

    ตารางการจัดการแข่ง

    เดือน ม.ค.,พ.ค.และก.ย. จัดที่โตเกียว

    เดือน มี.ค.จัดที่โอซากา

    เดือน ก.ค. จัดที่นาโงยา

    เดือน พ.ย.จัดที่ฟุกุโอกะ

     ---------------------------------------------------------------------------
    จบไว้ที่เดือนแรกก่อนนะค่ะ
    โปรดติดตามตอนต่อไป
    ถ้าไม่สนุกก็ได้ความรู้แหละT^T    
    ใช่ป่ะ.........(เงียบ -*-)
    แล้วเดี๋ยวเดือนหลังจะตามมาพร้อมทริปความรู้อีกมากมาย
         

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×