คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : Cryptozoology ว่าด้วย สัตว์ลึกลับวิทยา
สัตว์ลึกแปลว่าอะไรหว่า ...... ผมเลยเอาเรื่อง “สัตว์ลึกลับวิทยา” มาเล่ากล่าวเสียหน่อย
ครับ คำว่าสัตว์เร้นลับวิทยานี้ถอดมาจาก Cryptozoology ในภาษาอังกฤษมาจาก Crypto แปลว่าคุยหะ หลบซ่อน หรือไม่เปิดเผย กับคำว่า zoology คือสัตว์วิทยา และเมื่อเราเอาสองคำมารวมกันก็หมายถึง การศึกษาค้นคว้าสัตว์ที่หลบซ่อนอยู่ ที่ยังไม่ได้เผยตัวออกมาให้วงการวิทยาศาสตร์รู้จัก
ความจริงแล้วคำว่า Cryptozoologyยังเป็นคำค่อนข้างใหม่ ที่เพิ่งบัญญัติกันไม่นานมานี้เอง ซึ่งเราอาจไม่พบคำศัพท์นี้จากดิกชันนารีอังกฤษบางเล่มนะครับ ไม่เชื่อก็หาดูก็ได้
สัตว์ลึกลับหมายถึง?
สัตว์ลึกลับในที่นี้ไม่ได้หมายถึงสัตว์ในตำนานนะครับ อยากให้เข้าใจกันใหม่ พวกไฮดรา กรีฟฟิน มังกร คิไมร่า ฯลฯ นี้ตัดไปเลย เพราะคำว่าสัตว์ลึกลับคือสัตว์ที่วงการวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้จัก หมายถึงเป็นสัตว์พื้นเมืองที่คนในท้องถิ่นรู้จักกันดี และพูดถึง แต่นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้จักตัวตนจริงๆ เข้าใจกันว่ามันอาจเป็นแค่ตำนานในท้องถิ่น ทั้งๆ ที่มีหลักฐาน เช่น รอยเท้า เหยื่อที่มันฆ่า เส้นขน เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึง สัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่กลับปรากฏตัวอีกครั้ง หรือพบเห็นสัตว์ที่ไม่น่าเชื่อว่าในท้องถิ่นจะมีการพบเห็นสัตว์ชนิดนั้น เป็นต้น
นอกจากนี้การวิเคราะห์สัตว์ในตำนานว่า สัตว์ตัวไหนมีอยู่จริง หรือพัฒนามาจากสัตว์ที่มีตัวตนจริง แต่ถูกเปลี่ยนรูปร่างไปเพราะถูกเล่าปากต่อปากมาจนแทบไม่เหลือเค้าเดิม เช่น กรีฟฟิน ก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์สายนี้เช่นกันครับ
ขอบอกอีกทีนะครับว่าสัตว์ลึกลับไม่ใช้หมายถึง ยังไม่พบแล้วไม่มีใครรู้จัก(อันนี้สัตว์ในตำนาน) พบแล้วจึงรู้จัก(อันนี้สัตว์วิทยา)
ใครบัญญัติ?
วิชานี้ไม่ได้มั่วนะ ความจริงแล้วเรื่องของสัตว์เร้นลับนี้มีผู้สนใจศึกษามานานแล้ว แต่เพิ่มมาใช้เป็นระบบโดย ดร.แบร์นาร์ด อูเวลมงส์ (Dr. Bernard Hernard Heuvelmans) นักวิทยาศาสตร์ชาวเบลเยี่ยม และได้เขียนหนังสือไว้สองเล่มคือ
In the Wake of Seaserpents
On the track of Unknown Animals
โดยหนังสือสองเล่มนี้ถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ และถือว่าเป็นหนังสือคลาสสิก ส่งผลให้ดร. อูเวลมงส์ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาสัตว์ลึกลับวิทยาเลยที่เดียว
โลกกับสัตว์ลึกลับวิทยา
ปัจจุบันมีหลายประเทศมีผู้สนใจเรื่องสัตว์เร้นลับจำนวนมาก และได้มีการจัดตั้งสมาคมเพื่อศึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสัตว์เร้นลับขึ้น อย่างเช่น สมาคมสัตว์ลึกลับวิทยานานาชาติ (International society of Cryptozoology เรียกย่อว่า ISC) มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองทัคซัน อริซ่า สหรัฐอเมริกา จัดตั้งในปี 1982 โดยทุกปีสมาคมจัดการประชุมใหญ่เพื่อให้สมาชิกแลกเปลี่ยนความรู้และยังมีการจัดส่งคณะออกสำรวจค้นหาสัตว์เร้นลับจากทั่วโลกเป็นประจำ
แต่ปัญหาในการค้นพบสัตว์ลึกลับก็คือในขณะที่คนธรรมดาเห็นสัตว์เร้นลับชนิดนั้นเป็นประจำ แต่ทว่านักสัตว์เร้นลับวิทยากลับไม่พบตัวมันเป็นๆ สักครั้ง ซึ่งเรื่องนี้ กรีนเวลล์ เลขาธิการของไอเอสซีเคยกล่าวไว้ว่า
“ตราบใดที่ยังมีความเป็นไปได้ที่จะมีสัตว์เร้นลับอยู่โดยวงการวิทยาศาสตร์ไม่รู้ มันจึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะประเมินหลักฐานพวกนั้นอย่างใจเย็น อย่างมีเป้าหมายแน่ชัด ไม่ใช้กวาดมันเข้าใต้พรมไป แม้ผลที่ออกมาจะไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ก็ตาม”
ไร้สาระหรือเปล่ากับสัตว์ลึกลับวิทยา
อย่าพึ่งดูถูกกับศาสตร์สาขานี้นะครับ หลายคนคงคิดว่ามันหลอกเด็ก เพราะศาสตร์สาขานี้มีผลงานของสัตว์วิทยาที่ตามล่าสัตว์ลึกลับจนตามตัวให้เห็นเป็นรูปธรรมจนโลกได้รับรู้ก็มีให้เห็นเหมือนกัน เช่น
จระเข้พันธุ์สยามที่คาดว่าสูญพันธุ์แต่ค้นพบในชนบทห่างไกลของกัมพูชา(แต่พี่ไทยจับทำกระเป๋าหมด) รวมตัวเสาลา เก้งยักษ์พันธุ์ใหม่ ที่พบที่เวียดนาม ที่คนพื้นบ้านเล่าว่าเป็นสัตว์ในตำนานท้องถิ่น
และที่น่าทึ่งที่สุด
ปลาซีลาคานน์ ปลาดึกดำบรรพ์ที่พบเป็นฟอสซิลที่คาดว่าสูญพันธุ์เมื่อ 70 ล้านปีก่อน แต่ค้นพบ ตามรอยว่ามันยังอยู่สุขสบายดีแถวมาดากาสก้าเมื่อปี พ.ศ. 2481 และประเทศอินโดนีเซียเร็วๆ นี้ และผลจากการค้นหาปลาซีลาคานน์ก็ทำให้มีการค้นพบสัตว์พันธุ์ใหม่ที่หมู่เกาะอินโดนีเซียที่ไม่มีใครไปถึงอีกตามมาอีกมากมาย
+ +
ความคิดเห็น