ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เหล่าอัจฉริยะ คนดังของโลก

    ลำดับตอนที่ #2 : ปีกัสโซ...จิตรกรอัจฉริยะ ผู้ชิงชังความตายและ..ผู้หญิง(2)

    • อัปเดตล่าสุด 3 พ.ย. 49




         Pablo Picasso หรือ ปีกัสโซ จิตรกรอัจฉริยะชาวสเปนผู้นี้
    มีแง่มุมชีวิตที่ค่อนข้างน่าสนใจ...เด็กชายที่ ญาติๆ เคยเห็นว่า "เขาตายตั้งแต่เกิด"...

     

                                      
                               ภาพ Guernica ของปีกัสโซที่วาดขึ้นเมื่อครั้งเกิดสงคราม Spanish Civil War 
      เป็นภาพที่โทนสีน้ำเงินหม่น เป็นสีทึมๆ บ่งบอกบรรยากาศของช่วงยุคสงครามที่เขาได้ประสบ


          เมื่อวัยเด็กของ ปีกัสโซ ได้รับความรักและความสนใจจากพ่อแม่และญาติ จากที่โลกเคยมีเขาเป็นศูนย์กลางต้องกลับกลายต้องแบ่งมันให้แก่น้องสาว  ความรักที่ทุกคนมีให้ ที่ควรจะมีให้แก่เขาคนเดียว กลับต้องแบ่งให้แก่น้องสาวที่กำลังจะเกิด...เรื่องราวดำเนินไป เมื่อเด็กชายโตขึ้นอายุได้ 13 ปี  น้องสาวของเขากลับต้อง
    ทุกข์ทรมานกับโรคคอตีบ ซึ่งในสมัยนั้น แทบไม่มีหวังในการรักษา   สิ่งเดียวที่เด็กอายุ 13 ขวบ ทำได้ก็คือ อ้อนวอนขอต่อพระเจ้า ขอแลกพรสวรรค์แห่งการเขียนซึ่งเป็นความสุขเพียงสิ่งเดียวที่เขามี แลกกับชีวิตของน้องสาว


         หากแต่..การลังเลก็เกิดขึ้นในใจเด็กน้อย  เขาจะทนมีชีวิตอยู่ได้หรือ ถ้าความสุขเพียงสิ่งเดียวที่เขามีต้องจากไปแต่ไม่ว่าจะเป็นเช่นไร  ความตายก็เข้ามาทำหน้าที่ของมัน เมื่อน้องสาวที่ทุกข์ทรมานด้วยคอตีบก็ตายจากไปจากครอบครัว..เด็กชายได้แต่โทษตัวเองที่มัวแต่ลังเลจนทำให้น้องสาวต้องตายไป ...ความชิงชังในความตายเริ่มก่อตัว แต่ไม่นานการโทษตัวเองก็ได้กลับกลายเป็น  ความคิดที่ว่า น้องสาวได้อุทิศชีวิตเพื่อคงพรสวรรค์การเขียนภาพของเขา ให้เขาได้เป็นจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ต่อไป   ด้วยความตายของน้องสาวนี่เอง อาจเป็นที่มาก้าวแรกของความเชื่อมั่นในอิทธิพลตนเองที่มีต่อโลกรอบกายความชิงชังความตาย อาจเริ่มมาจากจุดนี้


         หนังสือเกี่ยวกับประวัติ ปีกัสโซ - อัจฉริยะภาพและสัญชาตญาณมืด(Picasso- Creator and Destroger) โดย Arianna Stassinopoulos Huffington แปลและเรียบเรียงโดย อัคนี มูลเมฆ พิมพ์ เดือนกรกฎาคม 2546 ได้กล่าวถึงเรื่องราวอีกแง่มุมหนึ่งของปีกัสโซ ..รวมทั้ง คุณทราย เจริญปุระ ที่ได้เขียนในคอลัมน์ "รักคนอ่าน" เธอก็ได้เขียนถึง ปีกัสโซ ชีวิตด้านมืดของเขา แต่ความมืดมนนี้ได้เป็นแรงผลักดันการรังสรรค์ผลงานของเขาให้พวกเราได้ประจักษ์ และ ปัจจุบัน ภาพที่มีราคาแพงที่สุดในโลกที่ได้มีการตั้งราคาไว้ ก็คือ ภาพGarçon à la pipe ราคา 104 ล้านเหรียญสหรัฐ ...ตีเป็นเงินไทยก็...อืมม์!!!


         อย่างที่ได้เขียนในตอน 1 ครับว่า ภาพของปีกัสโซ เริ่มแรกค่อนข้างเป็นสีหม่น สีน้ำเงินทึมๆ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามในสเปนและเป็นช่วงที่เขาต้องสูญเสียบิดาไปอย่างกะทันหัน ภาพที่เราเห็นส่วนใหญ่จะเป็นภาพสะท้อนความโกลาหลของประชาชนที่หนีตาย(ภาพตัวอย่างในตอน 1) ...แต่แล้ว ภาพของเขาก็เปลี่ยนไป ใช้โทนสีชมพู หรือ ส้มอมชมพู....สาเหตุที่ชายหนุ่ม ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 23 ปี ได้เปลี่ยนโทนสีของภาพหม่นเศร้าเป็นภาพชมพูมีชีวิตชีวา ไปก็ไม่ได้มีอะไรอื่น ....
         เธอได้ปรากฏตัวในบ่ายวันฝนตกวันหนึ่ง ด้วยสภาพที่เปียกไปทั้งตัว..ผมสีดำยาวที่เปียกลู่และเสื้อผ้าที่แนบเนื้อด้วยผลงานของเม็ดฝน ..."เฟอร์นันด์ โอลิวิเยอร์" เธอมีอิทธิพลเปลี่ยนโทนสีภาพน้ำเงินหม่นเป็นสีชมพูแห่งความสุขสม ..แต่ทรงอิทธิพลไม่นานพอ เมื่อเขาหมดความสนใจในตัวเธอ

         หากแต่ภาพของเขาก็ยังคงชมพูแห่งความสุขสม เมื่อ ปีกัสโซ ได้พบกับสาวอีกคน "มาร์แชล" เธอแตกต่างจากเฟอร์นันด์ตรงที่เป็นสาวสุขภาพอ่อนแอแถมมีสามีแล้ว...แล้วกัน!

                Nude on a black armchair ผลงานอีกภาพของปีกัสโซราคา 45.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
                                                           ได้ขายให้ Les Wexner เมื่อปี 1999


         ปีกัสโซเลือกพาเธอหนีไปกับเขา บวกกับความเบื่อหน่ายในตัวเฟอร์นันด์แล้ว ...เขาพามาร์แชลหนีสามีของเธอและเปลี่ยนชื่อเธอใหม่เป็น "อีวา" ...ซึ่งเธอก็เต็มใจ...นี่อาจเป็น จุดเริ่มของเขาที่ได้เรียนรู้ในการมีอิทธิพลควบคุมเพศตรงข้าม...

         " There are only 2 types of Women- Goddesses and Doormats" นี่เป็นประโยคหนึ่งจากปากของปีกัสโซ ..เทพธิดากับพรมเช็ดเท้า   เขาเริ่มมีความสุขกับการเปลี่ยนเทพธิดาเป็นพรมเช็ดเท้าได้ เมื่อเธอได้หลงรักเขาในขณะที่เขาเริ่มเบื่อหน่ายเธอ...


         กาลเวลาดำเนินไป และความตายก็ได้เข้ามาทำหน้าที่ของมันอีกครั้ง...ในที่สุด "อีวา" ผู้อ่อนแอก็จากเขาไป   ความตายที่เขาหวาดกลัวและเกลียดชังได้นำพาความเศร้าและความหนักอึ้งมาสู่ชีวิตเขา แต่ทรงอานุภาพได้เพียง 2 สัปดาห์ ..เมื่อปีกัสโซได้พานพบกับหญิงอีกคน "โอลก้า"......


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×