ลำดับตอนที่ #15
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #15 : สาธารณรัฐฝรั่งเศส
|
|
French Republic |
ข้อมูลทั่วไป |
พื้นที่ 211,152 ตารางไมล์ หรือ 551,600 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตกฝรั่งเศสยังมีดินแดนในความปกครอง [The overseas departements (DOM) and the overseas territories (TOM)]
DOM : ได้แก่ Martinique, Guadeloupe, Guyana และ Reunion
TOM : ได้แก่ Saint-Pierre and Miquelon, Mayotte, French
Polynesia, Wallis and Futuna, New Caledonia และ เกาะบริเวณ Antarctic เช่น Terre Adlie และ Kerguelen
ประชากร 62.8 ล้านคน (มกราคม 2549)
ภาษาราชการ ฝรั่งเศส (มีภาษา Dialects เช่น Breton, Provençal, Alsatian, Corsican เป็นต้น)
ศาสนา คริสต์ (90% โรมันคาธอลิค) นอกจากนั้นโปรเตสแตนท์ (2%) ยิว (1%) มุสลิม (5-10%) ไม่นับถือศาสนา 4%
เมืองหลวง กรุงปารีส
สกุลเงิน ยูโร (Euro) 1 ยูโรเท่ากับประมาณ 46 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 14 ธันวาคม 2549)
วันชาติ 14 กรกฎาคม
ระบบการเมือง ประชาธิปไตย (สาธารณรัฐ)
ประมุข นายฌาคส์ ชีรัค ( Jacques Chirac) ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีตั้งแต่ 17 พฤษภาคม 2538 และได้รับเลือกตั้งซ้ำเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2545 มีวาระ 5 ปี (เปลี่ยนจากวาระ 7 ปี ในปี 2544) การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 22 เมษายน 2550 สำหรับรอบแรก และวันที่ 6 พฤษภาคม 2550 สำหรับรอบที่สอง
นายกรัฐมนตรี นาย Dominique de Viilepin ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2548
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย Philippe DOUSTE-BLAZY ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2548
สถาบันทางการเมือง ประมุข รัฐบาล รัฐสภา
สาธารณรัฐที่ 5 เริ่มตั้งแต่ 2501 จัดตั้งโดยนายพลเดอโกลล์ และ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (ปี 2501) ได้รับการแก้ไขบางส่วนในปี 2505 กำหนดให้ตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐมาจากการเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปทุก ๆ 7 ปี ต่อมา เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2543 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประธานาธิบดีอยู่ในวาระครั้งละ 5 ปี นับตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในปี 2545 เป็นต้นไป ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามการเสนอแนะของนายกรัฐมนตรี รัฐสภาฝรั่งเศส ประกอบด้วย 2 สภา คือ
1. สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั่วประเทศโดยมีอายุสมาชิกภาพครั้งละ 5 ปี มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 577 คน
2. วุฒิสภา (Sénat) ได้รับเลือกตั้งทางอ้อมโดยผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั่วไปทุก ๆ 9 ปี และทุก 3 ปี จะมีการเลือกตั้งใหม่ 1 ใน 3 มีจำนวนสมาชิกวุฒิสภา 321 คน
พรรคการเมืองที่สำคัญๆ ของฝรั่งเศส
Union Pour un Mouvement Populaire UMP พรรครัฐบาล
Socialiste- PS พรรคสังคมนิยม
Union Pour la Democratie Francaise
Communiste- PCF
Republicains
การเมืองการปกครอง |
- เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2545 ชาวฝรั่งเศส 32,307,107คน (คิดเป็นร้อยละ 80.74 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 40,013,249 คน) ได้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งเลือกประธานาธิบดีฝรั่งเศสรอบ 2 ผลปรากฏว่าประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัค (Jacques Chirac) ผู้สมัครแนวอนุรักษ์ขวา-กลาง ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสอีกสมัยหนึ่งเป็นระยะเวลาอีก 5 ปี โดยได้รับคะแนนเสียงทั้งหมด 25,540,873 คะแนน หรือเท่ากับร้อยละ 82.21 ชนะคู่แข่งขัน คือนายชอง-มารี เลอเปน (Jean-Marie Le Pen) ผู้สมัครแนวขวาจัด ซึ่งได้รับคะแนนเสียง 5,525,906 คะแนน หรือเท่ากับร้อยละ 17.79 ในการนี้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้ส่งสารแสดงความยินดีประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัคในโอกาสได้รับเลือกตั้งซ้ำให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสอีกสมัยหนึ่งด้วย
- ภายหลังทราบผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2545
นายลีโอแนล โจสแปง (Lionel Jospin) นายกรัฐมนตรีจากพรรคสังคมนิยม (PS) ซึ่งพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรก โดยได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 3 ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดังนั้นประธานาธิบดีชีรัค จึงได้แต่งตั้งนายชอง ปิแอร์ ราฟฟาแรง (Jean-Pierre Raffarin) เป็นนายกรัฐมนตรีเฉพาะกาล เพื่อทำหน้าที่ดูแลบริหารประเทศ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ (Assemblée Nationale) ของฝรั่งเศส จำนวน
577 คน (555 ที่นั่งจากเขตเลือกตั้งในประเทศและที่เหลือ 22 ที่นั่งจากดินแดนนอกประเทศ) จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2545 และรอบที่สองเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2545 ผลการลงคะแนนเสียงปรากฏว่า พรรค Union for the Presidential Majority-UMP ซึ่งเป็นพรรคขวา-กลาง โดยเป็นการรวมตัวกันของพรรค Rally for the Republic-RPR ส่วนใหญ่ของพรรค Union for the French Democracy-UDF และพรรค Liberal Democracy-DL โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้การสนับสนุนประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัค (Jacques Chirac) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น โดยได้รับที่นั่งทั้งหมด 355 ที่นั่ง ตามมาด้วย พรรคสังคมนิยม (Parti Socialiste -PS) ได้รับ 140 ที่นั่ง พรรค Union for the French Democracy-UDF ซึ่งไม่ยอมย้ายไปรวมกับพรรค UMP ได้รับ 29 ที่นั่ง พรรคคอมมิวนิสต์ (Parti Communiste -PC) ได้รับ 21 ที่นั่ง พรรคฝ่ายขวาทั่วไปได้รับ 9 ที่นั่ง พรรค Radical of Lefts PRG ได้รับ 7 ที่นั่ง พรรคฝ่ายซ้ายทั่วไปได้รับ 6 ที่นั่ง พรรค Green ได้รับ 3 ที่นั่งพรรค Rally for France-RPF ได้รับ 2 ที่นั่ง พรรค Liberal Democracy -DL ได้รับ 2 ที่นั่ง พรรค Movement Popular for France-MPF ได้รับ 1 ที่นั่ง พรรค Regionaliste-REG ได้รับ 1 ที่นั่ง และทั่วไป- DIV ได้รับ 1 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคขวาจัด พรรค National Front -FN ของนายชอง-มารี เลอเปน (Jean-Marie Le Pen) ซึ่งถึงแม้นายเลอ เปนได้รับคะแนนเสียงเป็นที่สองในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสเมื่อเดือนพฤษภาคม 2545 แต่พรรค FN กลับไม่ได้รับที่นั่งแม้แต่ที่นั่งเดียวในการเลือกตั้งสภาแห่งชาติครั้งนี้
สถานการณ์การเมืองภายใน
1. รัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งเป็นรัฐบาลฝ่ายขวา-กลาง กำลังประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจภายในประเทศ เนื่องจากการขาดดุลงบประมาณ การเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงาน ปัญหาดังกล่าวทำให้สถานะทางการเมืองของนายราฟฟาแรง นายกรัฐมนตรีอยู่ในสภาวะไม่แน่นอน ประกอบกับนายราฟฟาแรงไม่สามารถทำให้พรรครัฐบาลชนะการเลือกตั้งท้องถิ่นและการเลือกตั้งสภายุโรปได้
2. มีความขัดแย้งและแย่งชิงอำนาจภายในพรรค UMP ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของฝรั่งเศส ทำให้สภาวะการเมืองภายในฝรั่งเศสยิ่งเปราะบางขึ้นอีก โดยมีความขัดแย้งระหว่างนายนิโคลา ซาร์โกซี (Mr. Nicolas Sarkozy) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของฝรั่งเศส และเป็นนักการเมืองที่ชาวฝรั่งเศสนิยมมาก ที่หวังลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในปี 2550 กับ นายชีรัคที่ไม่สนับสนุนนายซาร์โกซี 3. เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2547 ฝรั่งเศสได้จัดการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกจำนวน 1 ใน 3 ของวุฒิสมาชิกของฝรั่งเศส ผลปรากฏว่าพรรค UMP ได้รับเลือกตั้ง 57 ที่นั่ง (ลดลง 6 ที่นั่ง) พรรค UDF ได้ 12 ที่นั่ง (เพิ่มขึ้น 12 ที่นั่ง) ในขณะที่พรรคฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรคสังคมนิยม ได้ 28 ที่นั่ง และพรรคคอมมิวนิสต์ ได้ 8 ที่นั่ง อย่างไรก็ตาม พรรค UMP กับพรรคอื่นๆ ฝ่ายขวา-กลาง ยังสามารถครองเสียงข้างมากในวุฒิสภาฝรั่งเศสได้ คือ 206 ที่นั่งจาก 321 ที่นั่ง
การเมืองระหว่างประเทศ
- ประธานาธิบดีชีรัคได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างฝรั่งเศสกับประเทศในทวีปเอเชีย โดยคำนึงถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจของเอเชียในอนาคต ถึงแม้ว่าภูมิภาคดังกล่าวจะประสบปัญหาวิกฤตการณ์ด้านเศรษฐกิจ โดยฝรั่งเศสได้เข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชียเป็นลำดับที่ 4 รองจากญี่ปุ่น สหรัฐฯ และเยอรมัน นอกจากนี้ ในระหว่างการประชุมเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำปี ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 26 - 28 สิงหาคม 2541 ประธานาธิบดีชีรัค ได้แสดงความสนใจต่อภูมิภาคเอเชียในด้านความมั่นคง โดยประธานาธิบดีชีรัค ได้เสนอจัดตั้ง “องค์กรเพื่อความมั่นคงในเอเชีย” (Organization de Sécurité à l’échelle de l'Asie tout entière) เพื่อสนับสนุนความมั่นคงให้เกิดขึ้นในภูมิภาค
การปกครองท้องถิ่นของฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสมีการปกครองท้องถิ่น 3 รูปแบบ คือ
1. เทศบาล (Commune)
- เทศบาลเป็นการปกครองที่เล็กที่สุดแต่ก็เป็นการปกครองที่เก่าแก่ที่สุด ตั้งแต่
สมัยศตวรรษที่ 12 แต่ได้มีการจัดตั้งเป็นทางการตามกฎหมาย ในปี 2332 (การปฏิวัติฝรั่งเศส) ปัจจุบันฝรั่งเศสมีเทศบาลประมาณ 36,763 แห่ง
- องค์การบริหารเทศบาลของฝรั่งเศส เรียกว่า Conseil Municipal ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง ทุก 6 ปี และคณะกรรมการเทศบาลจะเลือกสมาชิกของคณะกรรมการ 1 คนทำหน้าที่นายกเทศมนตรี (Maire)
- นายกเทศมนตรีมีอำนาจในการบริหารภายในเทศบาล รวมทั้งเป็นตัวแทนของรัฐในการจัดทำนิติกรณ์ของรัฐ จดทะเบียนต่างๆ รักษาความสงบ จัดการเลือกตั้งภายใน รวมทั้งจัดทำประกาศต่างๆ ของรัฐ นอกจากนั้น นายกเทศมนตรียังทำหน้าที่ในการบริหารงบประมาณของเทศบาล และงานในความรับผิดชอบของเทศบาลนั้นๆ อาทิ โรงเรียน รถรับ-ส่งนักเรียน การกำจัดขยะ สาธารณูปโภค ถนนหนทางภายในเทศบาล การวางผังเมือง เป็นต้น
2. จังหวัด (Departement)
- จังหวัดจัดตั้งขึ้นภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อปี 2332 โดยถือหลักว่า
การเดินทางโดยใช้ม้าเป็นพาหนะ จากจุดใดๆ ก็ตามในแต่ละจังหวัดไปยังศาลากลางจังหวัดต้องสามารถไป-กลับได้ภายในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและตก ปัจจุบันฝรั่งเศสมีจังหวัด 100 แห่ง
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดเรียกว่า Conseil Général มีการเลือกตั้งโดยตรงทุก 6 ปี และองค์การบริหารส่วนจังหวัดนี้ จะเลือกประธานเพื่อทำหน้าที่บริหาร โดยจะต้องเป็นผู้เตรียมการ และดำเนินการประชุมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด บริหารงบประมาณ และบุคลากร
- หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่สำคัญๆ ได้แก่ การดำเนินการของวิทยาลัยจังหวัด การจัดการขนส่งภายใน การจัดการท้องถิ่น เป็นต้น
- โดยที่ฝรั่งเศสจัดว่าเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางมาก ดังนั้น รัฐบาลฝรั่งเศสโดยกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงได้มีการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด (Préfet) ไปทำหน้าที่บริหารงานในส่วนความรับผิดชอบของรัฐ ในจังหวัดนั้นๆ อาทิ การรักษาความสงบภายใน การจัดการเลือกตั้ง การให้ความช่วยเหลือในกรณีเกิดภัยพิบัติ รวมทั้งทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่างรัฐบาลกลางกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด
3. ภาคหรือมณฑล (Région)
- ภาคหรือมณฑลเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกิดขึ้นล่าสุด ตามนโยบาย
กระจายอำนาจเมื่อปี 2529 เป็นการรวมหลายจังหวัดเข้าด้วยกัน โดยให้จังหวัดที่ใหญ่ที่สุดเป็นที่ตั้งของภาค และผู้ว่าราชการในจังหวัดนั้นเป็นผู้ว่าราชการการภาคด้วย ปัจจุบัน ฝรั่งเศสมี 26 ภาค
- องค์การบริหารภาคเรียกว่า Conseil Regional มีการเลือกตั้งโดยตรงทุก 6 ปี และองค์การบริหารภาคนี้ จะเลือกประธานเพื่อทำหน้าที่บริหาร โดยจะต้องเป็นผู้เตรียมการ และดำเนินการประชุมขององค์การบริหารภาค ตลอดจนบริหารงบประมาณ และบุคลากรภายในภาค
ท่าทีของฝรั่งเศสในประเด็นต่างๆ
(1) ต่อสหประชาชาติ และ UNSC
- ฝรั่งเศสเห็นว่า UNSC ควรสะท้อนภูมิภาคของโลกให้ครบและเห็นด้วยกับการที่เยอรมนีและญี่ปุ่นจะเป็นสมาชิกถาวรของ UNSC แต่ไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องที่ให้ EU มีที่นั่งใน UNSC โดยเห็นว่า จะมีได้ก็ต่อเมื่อ EU มีนโยบายต่างประเทศและทางทหารร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมเสียก่อน
- ให้คงสิทธิยับยั้ง (Veto) ของสมาชิกถาวรของ UNSC ไว้
- UNSC ต้องแก้ไขวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ให้ได้ และควรให้องค์กรระดับภูมิภาคเข้าไปแก้ไขวิกฤตการณ์ก่อนในชั้นแรก เพื่อให้มีประสิทธิภาพ โดยแบ่งภาระรับผิดชอบระหว่างองค์กรระดับภูมิภาคกับ UNSC
- โดยที่กระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้เครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติสามารถอาศัยช่องว่างทางกฎหมายในประเด็นต่าง ๆ หลบเลี่ยงการถูกดำเนินคดีได้ จึงควรสร้างความแข็งแกร่งให้ UN เพื่อต่อสู้กับเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ อาทิ จัดตั้งหน่วยงานพิเศษ ยกร่างกฎระเบียบใหม่ พัฒนาผู้เชี่ยวชาญ และการจัดทำสนธิสัญญาว่าด้วยองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
(2) ต่อเรื่องความมั่นคง
- ฝรั่งเศสเรียกร้องให้มีการลงนามและให้สัตยาบันสนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ (Comprehensive Nuclear Test Ban Treaty - CTBT)
- เห็นควรให้จัดทำพิธีสารต่อท้ายว่าด้วยการห้ามอาวุธชีวภาพ
- สำหรับโครงการระบบป้องกันขีปนาวุธ (Anti - Missile Defense System) ของสหรัฐฯ ฝรั่งเศสเห็นว่า โครงการป้องกันขีปนาวุธที่มีเพิ่มขึ้น ทำให้เป็นอันตราย เนื่องจากก่อให้เกิดการเสียดุลยภาพทางกลยุทธ์ในระดับโลก และมีผลกระทบต่อความตกลง Anti Ballistic Missile (ABM) และกระทบต่อที่ประชุมลดอาวุธที่กำลังชะงักงัน
- ไม่เห็นด้วยที่สหรัฐฯ จะติดตั้งระบบจรวดป้องกันขีปนาวุธ (Theatre Missile Defence - TMD) เนื่องจากจะผลักดันให้จีนพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เร็วขึ้น และเกิดการแข่งขันติดอาวุธ และความตึงเครียดขึ้นในเอเชียเพียงเพราะนักอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ต้องการได้รับผลประโยชน์
- ยุโรปจำเป็นต้องระบบความมั่นคงที่เป็นอิสระ มีกลไกที่สามารถรับมือกับวิกฤตการณ์ที่ส่งผลต่อความมั่นคงของยุโรป เช่น คณะกรรมการทางการเมืองและความมั่นคงในลักษณะคล้ายกับคณะมนตรีแอตแลนติกของ NATO
(3) ต่อสหภาพยุโรป
- ฝรั่งเศสเสนอให้เสริมกำลังให้กับ 3 สถาบันอันเป็นเสาหลักในการตัดสินใจของสหภาพยุโรป ได้แก่ คณะมนตรี คณะกรรมาธิการ และสภายุโรป และให้ประธานคณะมนตรีสหภาพยุโรปมาจากการเลือกตั้ง ภายหลังจากที่สหภาพยุโรปมีสมาชิกเพิ่มแล้ว
(4) ต่อ IMF
- ฝรั่งเศสเห็นควรให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้โปร่งใส สามารถควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้ และสามารถลงโทษประเทศที่เป็น tax heaven หากทำผิดระเบียบ
(5) ต่อการค้าระหว่างประเทศ และ WTO
- ฝรั่งเศสต้องการให้มีกฎระเบียบที่ชัดเจนและเป็นธรรม
- เห็นว่า การค้าต่างประเทศต้องช่วยยกระดับความเป็นอยู่ทางสังคมให้ประชาชนได้ และควรให้มี “หน้าต่างทางสังคม” ในการพิจารณานโยบายทางการค้าของ WTO
- เห็นว่า ควรให้ GSP กับประเทศที่เคารพและทำตามมาตรฐานของ ILO
- ฝรั่งเศสมีท่าทีแข็งขันเพื่อป้องกันเกษตรกรของตนในการเจรจาการค้ารอบใหม่ โดยต้องการให้เจรจาครอบคลุมทุกเรื่อง และไม่ยอมให้มีการเจรจาเฉพาะเรื่อง
- ยืนยันการปฏิบัติตาม Agenda 2000 ของ EU และให้คำมั่นว่า จะไม่ทำให้การเสียสละของเกษตรกรฝรั่งเศสในเรื่องนี้ต้องเสียเปล่า
- ฝรั่งเศสต้องการยกเรื่องความปลอดภัยของสารอาหาร การเกษตรแบบยั่งยืนคุณภาพของผลผลิต และการอนุรักษ์อาหารพื้นเมืองของแต่ละประเทศขึ้นสู่การเจรจาการของ WTO
(6) ต่อการพัฒนาและสิ่งแวดล้อม
- ฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือประเทศยากจน และเสนอให้ลบล้างหนี้สินของประเทศยากจนที่สุด
- เห็นว่า กระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้เกิดการพัฒนา แต่ก็ทำให้เกิดการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรมและปัญหาอื่น ๆ ยิ่งมีโลกาภิวัฒน์มากเท่าไร ยิ่งต้องมีกฎระเบียบมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจการเงิน และต้องมีบรรทัดฐานทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ฝรั่งเศสจึงสนับสนุน ปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิพื้นฐานของแรงงานและให้ความสำคัญกับ ILO
- ฝรั่งเศสสนับสนุนพิธีสาร Montreal
- ฝรั่งเศสและ EU ได้เสนออนุสัญญาว่าด้วยป่าไม้และจะเพิ่มความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก
(7) ต่อโรค AIDS
- ฝรั่งเศสเสนอจัดตั้งกองทุน Theraputic Solidarity Fund เพื่อรณรงค์ให้ประชาคมนานาชาติดูแลรักษาผู้ป่วยโรค AIDS
(8) ต่อเรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ
- ฝรั่งเศสได้แก้ไขรัฐธรรมนูญของตนแล้วเพื่อรองรับอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ
- ต้องการให้มีการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศขึ้นโดยเร็ว โดยเห็นว่าเป็นความก้าวหน้าทางกฎหมายที่สำคัญยิ่ง
(9)ต่อกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง
- ฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับประเทศกลุ่มอาหรับ และมีความโน้มเอียงให้ความสนับสนุน Palestine มาโดยตลอด
- ฝรั่งเศสตำหนิรัฐบาลอิรักว่า เป็นระบอบที่ท้าทายกฏเกณฑ์ระหว่างประเทศซึ่งกำหนดโดยคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ทำให้สร้างความทุกข์ยากให้ประชาชนอิรัก และข่มขู่ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งล้วนเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถยอมรับได้ ฝรั่งเศสย้ำว่า ไม่ควรมีการปฏิบัติการทางทหารใดๆ โดยปราศจากการตัดสินใจของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ
(10) ต่อกลุ่มประเทศเมดิเตอร์เรเนียน
- สนับสนุนให้มีการพัฒนาในภูมิภาคนี้ และเห็นว่ามีศักยภาพที่จะเป็นภูมิภาคแห่งสันติภาพ ความร่วมมือและการพัฒนา และจะเสนอให้มีการประชุมสุดยอดของกลุ่มประเทศนี้
(11) ต่อภูมิภาคแอฟริกา
- ฝรั่งเศสถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องเป็นปากเสียงให้ภูมิภาคนี้
(12) ต่อสหรัฐอเมริกา
- ฝรั่งเศสต้องการให้มีการถ่วงดุลอำนาจของสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดระบบพหุภาคี
ที่มีความสมดุลอย่างแท้จริงขึ้น โดยเห็นว่าบางครั้งสหรัฐฯ ดำเนินนโยบาย ต่างๆ ที่ “เกินเลย”
- ไม่พอใจที่สหรัฐฯ มีแนวโน้มว่าจะเป็นผู้ควบคุมตลาดอาหารโลก และเห็นว่าสหรัฐฯ สนับสนุนเกษตรกรของตนแบบแอบแฝงโดยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง Marrakech
การให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา
- ฝรั่งเศสจะเพิ่มงบประมาณความช่วยเหลือด้านการพัฒนาขึ้นเป็น 2 เท่า ภายใน 5 ปี (2545-2550) โดยฝรั่งเศสถือว่า ตนมีหน้าที่ในด้านการส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่ถูกลืมไปในระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปแอฟริกา ในปี 2545 ฝรั่งเศสตั้งงบประมาณเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาของฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 0.36 ของ GDP สูงที่สุดในกลุ่ม G8 (ญี่ปุ่นให้ 0.25% ของ GDP สหรัฐฯ ให้ 0.08 ของ GDP)
- เมื่อต้นปี 2542 ฝรั่งเศสปรับองค์กรและนโยบายในการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาใหม่ โดยรวมกระทรวงความร่วมมือเข้ากับกระทรวงการต่างประเทศ และจัดตั้งกรมใหม่คือ กรมรับผิดชอบความร่วมมือระหว่างประเทศและการพัฒนา (Direction - Générale Chargée de la Cooperation Internationale et du Développement - DGCID) เพื่อรวมงานความช่วยเหลือระหว่างประเทศไว้แห่งเดียว และให้ครอบคลุมการดำเนินการ ทั้งด้านวัฒนธรรม การศึกษา การพัฒนา ฯลฯ และกำหนดรายชื่อประเทศภายใต้ La Zone de Solidarité Prioritaire (ZSP) เพื่อจัดลำดับความสำคัญของประเทศที่จะได้รับความช่วยเหลือจากฝรั่งเศส ซึ่งจะปรับเปลี่ยนได้ทุกปี ZSP ประกอบด้วยประเทศทั้งที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการในแอฟริกาและอินโดจีนและประเทศที่ใช้ภาษาอื่น ๆ ฝรั่งเศสมีงบประมาณเพื่อการนี้ โดยในจำนวนนี้ให้กับประเทศแอฟริการ้อยละ 51.6 ให้ประเทศอาหรับร้อยละ 15 ประเทศเอเชียร้อยละ 5 อเมริกาใต้ร้อยละ 4 ตะวันออกกลางร้อยละ 3 และเอเชียใต้ร้อยละ 1
- กรมความร่วมมือระหว่างประเทศฯ (DGCID) จะดำเนินการตามที่ได้รับนโยบายจากคณะกรรมการระหว่างกระทรวง (Comité Interministeriel de la Cooperation Internationale et du développement) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และประกอบด้วยรัฐมนตรีจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหม กระทรวงศึกษาธิการฯ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีการประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และยังมีคณะที่ปรึกษาเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ (Un Haut Conseil de la Coopération Internationale) เป็นองค์กรให้นโยบายอีกแห่งหนึ่ง
- นอกจากนั้น ฝรั่งเศสยังให้ความสำคัญกับการเผยแพร่วัฒนธรรมฝรั่งเศสมาก และต้องการบำรุงรักษาและต่อสู้ให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร และแพร่ขยายวัฒนธรรมของฝรั่งเศส จึงได้จัดตั้งหน่วยงาน Edufrance ขึ้นเพื่อให้ทุนการศึกษาระดับสูง เพื่อ “สร้างคน” ที่จะเป็นผู้ทำให้อิทธิพลของฝรั่งเศสแพร่หลายเพิ่มขึ้นทั่วโลก
เศรษฐกิจการค้า |
ผลผลิตประชาชาติ 1,898 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2548)
รายได้เฉลี่ยต่อหัว 31,292 ดอลลาร์สหรัฐ (2548)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 1.5 (2548)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 2.0 (2548)
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ กลุ่มประชาคมยุโรป กว่าร้อยละ 58.6 ของการค้าทั้งหมดของฝรั่งเศส (เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก สหราชอาณาจักร สเปน อิตาลี) ที่เหลือ ได้แก่ สหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ แอลจีเรีย
สินค้าเข้า เครื่องจักรกล อุปกรณ์การขนส่ง เหล็ก เคมีภัณฑ์ น้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และ ยาสูบ
สินค้าออก รถยนต์ เครื่องบิน เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ พลาสติก เหล็ก โลหะ เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ อาหาร
สภาวะเศรษฐกิจ
ฝรั่งเศสเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและผลผลิตด้านอาหารอันดับที่ 2 ของโลก (โดยเฉพาะธัญพืชและผลิตภัณฑ์อาหาร) รองจากสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม อันดับที่ 4 ของโลก นอกจากนั้นยังเป็นประเทศที่ผลิตพลังงานนิวเคลียร์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ
การค้าต่างประเทศ
- ในอดีต ฝรั่งเศสขาดดุลการค้ามาโดยตลอดจนถึงปี 2525 ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างใหม่ เช่น การไม่รวมอัตรารายได้กับดัชนีเงินเฟ้อ และการปรับความสามารถในการแข่งขันส่งผลให้สภาวะการค้าของฝรั่งเศสดีขึ้น และตลอด 9 ปีที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา ฝรั่งเศสได้เปรียบดุลการค้าติดต่อกันเรื่อยมา
- ปัจจัยที่ส่งผลให้ฝรั่งเศสได้เปรียบดุลการค้า คือ (1) ราคาพลังงานที่ฝรั่งเศสต้องนำเข้าได้ลดลง (2) ฝรั่งเศสทำการค้ากับสหภาพยุโรปเป็นสำคัญโดยร้อยละ 60 ของการส่งออกของฝรั่งเศสส่งไปยังตลาดสหภาพฯ ซึ่งเดิมถือว่าเป็นจุดอ่อนของฝรั่งเศส แต่สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้กลายเป็นข้อได้เปรียบ และ (3) การส่งออกสินค้ามูลค่าสูงเช่น เครื่องแอร์บัส และอุปกรณ์การบิน ดาวเทียม อุปกรณ์ด้านการทหาร และรถไฟความเร็วสูง (TGV) ได้ขยายตัวอย่างมากโดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของการส่งออกของฝรั่งเศสทั้งหมด
อัตราการว่างงาน
ปัญหาการว่างงานเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของฝรั่งเศส ซึ่งรัฐบาล ทุกชุดให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น การออกมาตรการลดชั่วโมงการทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมายลงจากสัปดาห์ละ 39 ชั่วโมง เหลือ 35 ชั่วโมงซึ่งจะทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เป็นต้น
แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจ
คาดว่าฝรั่งเศสจะได้เปรียบดุลการค้าลดลง เนื่องจากการถดถอยของอุปสงค์โลก ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจเอเชีย ในปี 2541 และการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ และสงครามในอิรัก
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐฝรั่งเศส |
ฝรั่งเศสกับไทยมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในขณะที่ฝรั่งเศสตรงกับสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
(ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญระหว่างความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา มีดังนี้
1. วันที่เชอวาเลียเดอโชมอง ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในวันที่ 18 ตุลาคม 2228
2. วันที่ 2 ธันวาคม 2228 วันลงนามใน "สัญญาเกี่ยวด้วยการศาสนาระหว่างนายเชอวาเลียเดอโชมอง ราชทูตของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสฝ่ายหนึ่ง กับนายคอนซตันตินฟอลคอน หรือพระฤทธิ์กำแหงภักดี ศรีสุนทรเสนา แทนพระเจ้ากรุงสยามอีกฝ่ายหนึ่ง ณ เมืองละโว้"
3. วันที่ 11 ธันวาคม 2228 วันลงนามใน "สัญญาซึ่งได้ทำกันในระหว่างเชอวาเลียเดอโชมอง เอกอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กับนายคอนซตันตินฟอลคอน ผู้แทนสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชทานอนุญาตให้บริษัทฝรั่งเศสส่งพ่อค้าฝรั่งเศสมาทำการค้าขายในอินเดียตะวันออก ณ เมืองลพบุรี"
4. วันที่ออกพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) ราชทูตไทยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ ในเดือนกรกฎาคม 2229)
อาจถือได้ว่าไทยและฝรั่งเศสสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในวันที่ 15 สิงหาคม 2399 ที่มีการลงนาม Treaty of Friendship, Commerce and Navigation ต่อมา ในปี 2432 ประเทศไทยได้ตั้งสำนักงานและอัครราชทูตประจำกรุงปารีส และได้ยกฐานะขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูตในปี 2492 ไทยและฝรั่งเศสได้จัดงานเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส ครบรอบ 300 ปี เมื่อปี 2528
กลไกดำเนินความสัมพันธ์
- คณะกรรมการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2547
คณะกรรมการร่วมดังกล่าวจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนพิเศษเป็นประธาน โดยฝ่ายไทยพยายามผลักดันให้จัดการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ขึ้นเพื่อเพื่อทบทวนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส
เอกอัครราชทูตไทยประจำฝรั่งเศส
นายธนะ ดวงรัตน์
เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย
นาย Laurent Aublin
กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองลีออง
นาย Frederique de Ganay
กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองมาร์เซยส์
นาย Francis Biget
กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองบอร์โดซ์
(อยู่ระหว่างการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่ง)
กงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศสประจำเชียงใหม่
นาย Thomas Baude
กงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศสประจำภูเก็ต
นาย Paul Chody (จะครบวาระปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 30 พฤษภาคม 2550)
กงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศสประจำเมืองพัทยา
นาย Pierre de Brugerolle de Fraissinette
ความสัมพันธ์ทางการเมือง
ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในด้านต่างๆ ดำเนินไปด้วยความราบรื่นไม่มีปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน นอกจากนั้น ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับพระราชวงศ์ บุคคลสำคัญ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ
การค้า
ไทยกับฝรั่งเศสได้ติดต่อค้าขายกันตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ปริมาณการค้าเริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็วในปลายทศวรรษ 1980 ในปัจจุบันฝรั่งเศสเป็นคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 6 ของไทย ส่วนไทยเป็นคู่ค้าสำคัญของฝรั่งเศสเป็นลำดับที่ 3 ในกลุ่มอาเซียน รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย ในช่วงปี 2541-2544
การค้ารวม
ในปี 2547 การค้าไทย-ฝรั่งเศสมีมูลค่ารวม 2,243.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แยกเป็นการส่งออก1,206.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 1,036.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 169.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 การค้าไทย-ฝรั่งเศสมีมูลค่ารวม 1,525.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แยกเป็นการส่งออก 629.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 896 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า 266.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป คอมพิวเตอร์ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผักและผลไม้สด ส่วนสินค้าเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อากาศยาน เครื่องจักรไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์
ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า
- ปัญหาด้านกฎระเบียบด้านการค้าทั้งของฝรั่งเศสและของสหภาพยุโรป ซึ่งบางครั้งไม่เอื้ออำนวยต่อการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งในทางปฏิบัติ ฝรั่งเศสมักจะเข้มงวดตรวจสอบมากกว่า ประเทศสมาชิกสหภาพฯ อื่นๆ อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่ผู้ส่งออกไทยต้องปฏิบัติตาม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยต้องให้ความสำคัญและเข้มงวดกวดขันเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าไทย
- ปัญหาสุขอนามัยเป็นปัญหาที่พบบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในสินค้าประมง อาทิ การตรวจพบ cadmium ในปลาหมึกแช่แข็ง หรือการพบเชื้อ salmonella ในปลาแช่แข็ง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สินค้านำเข้าจากบริษัทที่มีปัญหาถูกใช้มาตรการเข้มงวด/ตรวจสอบ ทั้งนี้ สินค้าประมง เป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าที่ถูกสหภาพยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) ซึ่งทำให้ความสามารถ ในการแข่งขันของสินค้าไทยลดลงอยู่แล้ว การเกิดปัญหาด้านสุขอนามัยขึ้นอีกจะยิ่งส่งผล ต่อการส่งออกสินค้าของไทย
- ปัญหาคุณภาพสินค้าไทย บางประเภทยังไม่ได้มาตรฐานตลาด ซึ่งต้องมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันต่อไป
- ตลาดฝรั่งเศสเป็นตลาดเสรี มีการแข่งขันสูงมีการกีดกันและป้องกันตนเอง อุปสรรคด้านการตลาดดังกล่าว ได้แก่ การหาแหล่งสินค้าที่ต้นทุนต่ำ ผู้นำเข้าของฝรั่งเศสเลือกซื้อสินค้าจากประเทศผู้ผลิตที่ได้รับสิทธิพิเศษทางศุลกากรเพื่อให้มีต้นทุนการนำเข้าต่ำ สินค้าของไทยบางประเภทจึง ไม่สามารถแข่งขันในตลาดนี้ได้ รสนิยมด้านการบริโภค ตลาดฝรั่งเศสเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีรสนิยมเฉพาะตัว ตามข้อมูลที่ได้รับจากผู้นำเข้ารายใหญ่พบว่า ผู้บริโภคชาวฝรั่งเศสมีรสนิยมที่แตกต่าง จากกลุ่มผู้บริโภคในประเทศอื่นๆ อาทิเช่น กรณีของสับปะรดกระป๋อง ผู้บริโภคนิยมสับปะรดกระป๋องที่มีความเข้มข้นของน้ำเชื่อมสูง (มีความหวานมาก) และคำนึงถึงสีสันของเนื้อสับปะรดด้วย นอกจากนี้ผู้บริโภคบางกลุ่มยังให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ถูกต้องบนสลากบรรจุภัณฑ์ด้วยอำนาจต่อรองของกลุ่มต่างๆ ประเทศฝรั่งเศสมีสหภาพแรงงาน สมาคมผู้ผลิต และสมาคมการค้าต่างๆ ที่เข้มแข็ง สามารถสร้างแรงกดดันรัฐบาลให้กำหนดมาตรการ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนได้ แรงกดดันจากกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวมีผลต่อสินค้านำเข้า จากต่างประเทศ
- ความเข้มงวดทางด้านกฎระเบียบเกี่ยวกับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยเหตุที่ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการออกแบบรูปแบบสินค้าต่างๆ ฝรั่งเศสจึงให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งด้านลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และทรัพย์สิน ทางปัญญาด้านอุตสาหกรรมต่างๆ โดยถือปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายสากลระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องและระเบียบปฏิบัติภายในของฝรั่งเศสอีกส่วนหนึ่งด้วย ในแง่นี้ ฝรั่งเศสจึงมี ปัญหาทางการค้ากับกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งไทยอยู่มาก โดยเฉพาะ ความผิดเรื่องการลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ซึ่งพบว่า 7 ใน 10 ของเครื่องหมายการค้า ที่พบว่ามีการลอกเลียนแบบนั้น เป็นเครื่องหมายการค้าของฝรั่งเศส นอกจากนั้นยังพบว่า สินค้าลอกเลียนแบบที่ถูกจับกุมและยึดโดยศุลกากรฝรั่งเศส มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไทยมากที่สุด
กลไกความร่วมมือด้านการค้า
- ในภาครัฐ มีคณะทำงานร่วมทางการค้าฝรั่งเศส-ไทย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับผิดชอบ มีการประชุมครั้งแรกที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2539 ครั้งที่ 2 ที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2540และครั้งที่ 3 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2542
- ในภาคเอกชน มีการจัดตั้งสภาธุรกิจฝรั่งเศส-ไทย (French-Thai Business Council - FTBC) ขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2540 โดยหอการค้าไทยเป็นตัวแทน และ Secretariat ของฝ่ายไทย (ประธานร่วมฝ่ายไทยคือนายชิงชัย หาญเจนลักษณ์) และ MEDEF (Mouvement Entrepreneurs de France หรือ The French Enterprises Association) เป็นตัวแทนของฝ่ายฝรั่งเศส (ประธานร่วมฝ่ายฝรั่งเศสคือนาย Jacques Friedmann) การประชุม FTBC ครั้งที่ 3 จัดขึ้นในวันที่ 25-26 มิถุนายน 2544 ที่กรุงปารีส ซึ่งมีการพบปะระหว่างภาคเอกชนทั้ง 2 ฝ่าย และมีการลงนาม Joint Statement of the 3rd FTBC Meeing ในวันเดียวกัน
-ในเดือนมีนาคม 2543 หอการค้าและอุตสาหกรรมฝรั่งเศส (La Chambre de Commerce et d Industries de Paris) แจ้งความประสงค์จัดทำความตกลงร่วมระหว่าง หอการค้าและอุตสาหกรรมฝรั่งเศสกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ ทางการค้าและการลงทุนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยจะมีการลงนามความตกลงฯ กันต่อไป นอกจากนี้ ไทย-ฝรั่งเศส ยังมีความร่วมมือในกรอบ ASEM อาทิ สภาธุรกิจเอเชีย- ยุโรป (Asia - Europe Business Forum) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนชั้นนำ ของประเทศสมาชิก ASEM
ความสัมพันธ์ด้านการลงทุนไทย-ฝรั่งเศส
1. การลงทุนของฝรั่งเศสในประเทศไทย ไทยเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียที่ฝรั่งเศสให้ความสนใจจะเข้ามาลงทุนเนื่องจากมองเห็นศักยภาพของตลาดภายในประเทศและมีลู่ทางการส่งออกหรือจะขยายกิจการไปยังประเทศอาเซียนและกลุ่มอินโดจีน โดยอาศัยประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการค้า การลงทุนของฝรั่งเศสในไทยมี 2 รูปแบบ คือ ลงทุนเพื่อทำธุรกิจในประเทศไทย อาทิ กลุ่มบริษัท Carrefour, Casino, Thomson, Totalfina และการลงทุนเพื่อการส่งออก เช่น Michelin, Lacoste, Saint Gobain, Devanley นอกจากนี้ ฝรั่งเศสได้แสดง ความสนใจในการ ร่วมลงทุนการก่อสร้าง ท่าอากาศยาน รถไฟฟ้าและด้านพลังงาน ปัจจุบันมีวิสาหกิจฝรั่งเศสเข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทยประมาณ 350 บริษัท กิจการที่ฝรั่งเศสมาลงทุนส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก ไม่ว่าจะเป็นบริษัทสาขา หรือการร่วมทุนกับฝ่ายไทย เช่น Michelin (กับ Siam Group) หรือ Thomson Television Thailand สำหรับกิจการ ด้าน hypermarket นั้น เป็นโอกาสอันดีที่ทำให้สินค้าไทยได้แพร่ไปยังตลาดยุโรปและเอเชีย ตามที่บริษัทฝรั่งเศสมีสาขาในประเทศเหล่านั้นด้วย
ในปี ค.ศ. 1998 มีโครงการการลงทุนของฝรั่งเศสได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน 16 โครงการ มูลค่า 3,672 ล้านบาท โดยฝรั่งเศสเป็นประเทศยุโรปที่เข้ามาลงทุนในไทยมากเป็นลำดับที่ 4 รองจากเนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี สำหรับปี ค.ศ. 1999 มีโครงการการลงทุนของฝรั่งเศสได้รับอนุมัติจำนวน 11 โครงการ มูลค่า 2,829 ล้านบาท ทำให้การลงทุน ของฝรั่งเศสคิดเป็นร้อยละ 10.8 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดของไทย ส่วนในปี ค.ศ. 2000 (มกราคม-กุมภาพันธ์) มีโครงการการลงทุนของฝรั่งเศสได้รับอนุมัติ จำนวน 2 โครงการ มูลค่า 471 ล้านบาท ในช่วงปี ค.ศ. 1998-1999 มีผู้บริหารระดับสูงของบริษัทสำคัญของฝรั่งเศสเดินทางมา ศึกษาลู่ทางการลงทุนหรือขยายกิจการในประเทศไทยหลายบริษัท ตั้งแต่บริษัทใหญ่ในวงการอุตสาหกรรม อาทิ Lyonnaise Des Eaux, , Saint Gobain Group (มีโรงงานผลิตกระจกหน้าต่าง กระจกรถยนต์ที่ระยอง) Michelin ซึ่งเป็น Partner ของ Siam Cement และเห็นว่าไทยควรเป็น ศูนย์กลางการส่งออกยางรถยนต์ในตลาดเอเชีย โดยปัจจุบันมีโรงงานในไทยแล้ว 5 แห่ง และจะเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่สระบุรี Vivendi ซึ่งมีกิจการด้านโครงการน้ำ และสิ่งแวดล้อม สนใจ ประมูลโครงการการกำจัดขยะของกทม. และการบำบัดน้ำเสียในต่างจังหวัด Chemise La Coste เห็นว่าไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตของบริษัทและมีโครงการเปิดโรงงานเพิ่มในไทย Renault car group สนใจที่จะเข้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทยและสนใจในโครงการ AICO และ AFTA ส่วน Schneider Group เห็นว่าไทยจะเป็นฐานการผลิตที่สำคัญสำหรับสินค้าอุปกรณ์เครื่องใช้ ไฟฟ้าและสินค้า hi-tech และมีโครงการขยายโรงงานที่บางปู และ Electricite de France ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของฝรั่งเศสในกิจการพลังงานไฟฟ้า สนใจซื้อกิจการโรงงานไฟฟ้าราชบุรี และได้เปลี่ยน representative office ของบริษัทจากสิงคโปร์มาตั้งที่กรุงเทพฯ ไปจนถึงบริษัทค้าปลีก เช่น Carrefour Hypermarkets และ Casino Hypermarkets Group ตลอดจนภาคบริการ เช่น Bureaux Veritas ส่วนในด้านการคมนาคม และการสื่อสาร บริษัท RATP สนใจโครงการรถไฟใต้ดินกรุงเทพมหานคร บริษัท Aerospatiale Matra (สร้างดาวเทียมไทยคม 3) มีข้อเสนอในโครงการสื่อสารดาวเทียม เป็นต้น
2. แนวโน้มการลงทุนของฝรั่งเศสในไทย
แนวโน้มและขนาดการลงทุนจะเป็นโครงการขนาดเล็กและขนาดกลางมากขึ้น ทั้งนี้ นักลงทุนฝรั่งเศสส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นและมองแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยไปในทาง ที่ดีสำหรับสาขาการลงทุนที่ฝรั่งเศสมีศักยภาพ ได้แก่
(1) สาขาอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป (Agro Processing Industry) โดยเฉพาะอาหารมุสลิม โดยไทยเป็นประเทศที่มีวัตถุดิบด้านการเกษตรจำนวนมากและราคาถูก อัตราค่าจ้างแรงงานต่ำ และฝรั่งเศสสามารถนำเทคโนโลยีด้านการเกษตรแปรรูปมาใช้ได้
(2) สาขาอิเล็กทรอนิกส์และวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยไทยมีวิศวกรที่มีคุณภาพและ อัตราค่าจ้างถูกไทยและฝรั่งเศสมีความร่วมมือใกล้ชิดทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ในการส่งเสริม ให้มีการลงทุนในไทยมากขึ้น ตลอดจนเพิ่มความร่วมมือในด้านวิทยากรและเทคโนโลยีต่าง ๆ และมักมีกิจกรรมสำคัญ อาทิ
- ระหว่างวันที่ 11-12 ตุลาคม ค.ศ. 1999 สอท. ฝรั่งเศสประจำประเทศไทยและ หน่วยงานต่างๆ ของฝรั่งเศสร่วมกับ ACTIM Thailand Club ได้จัดให้มีการประชุม French-Thai Technology Forum and Industrial Meeting ที่โรงแรม Regent กรุงเทพฯ โดยเน้นในด้านอุตสาหกรรมเกษตร และ urban services เช่น การขนส่งมวลชน การบำบัดน้ำเสีย การจัดระบบ ไฟฟ้าแสงสว่าง และไฟสัญญาณ และ renewable energy
- สำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ (ด้านการลงทุน) ของสอท. ณ กรุงปารีสร่วมกับหอการค้าและอุตสาหกรรมกรุงปารีส (La Chambre Commerce et d Industrie de Paris - CCIP) ได้จัดการสัมมนาประจำปีในหัวข้อ Thailande: La Nouvelle Donne เมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 2000 ที่กรุงปารีส ซึ่งนักธุรกิจคนสำคัญของฝรั่งเศสหลายคนที่ดำเนินกิจการอยู่ในไทย ได้ให้ความร่วมมือไปร่วมงานดังกล่าว และได้รับความสนใจจากนักธุรกิจฝรั่งเศสด้วยดี
- ระหว่างวันที่ 23-24 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 ได้มีโครงการจัดสัมมนาเพื่อส่งเสริม
การลงทุนของอาเซียนขึ้นที่กรุงปารีส (Joint ASEAN Investment Promotion Seminar in Europe) สำหรับโครงการนี้ ไทยได้รับเลือกให้เป็นผู้ประสานงานในฝรั่งเศส
- France-Thailand Association ในกรุงปารีส ได้รับความร่วมมือจาก Centre Francais pour le Commerce Exterieur (CFCE) และสภาธุรกิจฝรั่งเศส-ไทย (FTBC) ในการจัดสัมมนาที่วุฒิสภาฝรั่งเศส ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2000 เพื่อให้สมาชิกรัฐสภา สมาชิกวุฒิสภา ผู้แทนหน่วยราชการ นักวิชาการ และผู้บริหารบริษัทฝรั่งเศส ได้รับทราบเกี่ยวกับ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของไทย รวมทั้งโครงสร้างของสถาบันและการบริหารของไทย เพื่อให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักและสามารถเพิ่มพูนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันได้มากขึ้น
3. ปัญหา/อุปสรรคสำหรับการลงทุนของฝรั่งเศสในไทย
ความคืบหน้าในการดำเนินมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ความโปร่งใส เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้าง ความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่เข้าไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะนอกภูมิภาคยุโรปไม่มากนัก ขั้นตอนการตัดสินใจของบริษัทจะเป็นไปด้วยความล่าช้า และปัญหาด้านภาษาที่นักธุรกิจฝรั่งเศสไม่สันทัดภาษาอังกฤษ อาจทำให้บริษัทฝรั่งเศสเลือกที่จะ เข้าไปลงทุนในประเทศที่สามารถใช้ภาษาฝรั่งเศสได้ดี เช่น กลุ่มประเทศอินโดจีน นอกจากนั้น ไทยมีปัญหาความพร้อมในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับการลงทุนจากฝรั่งเศสโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง
ความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว
1. สถานการณ์การท่องเที่ยว
- ฝรั่งเศสจัดอยู่ในกลุ่มตลาดหลักที่สำคัญของประเทศไทย ในภาพรวมมีขนาดใหญ่
เป็นอันดับที่ 11 การเติบโตโดยรวมในช่วง 13 ปี อยู่ในอัตราร้อยละ 4.74 การเคลื่อนไหวของตลาดโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี
-ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับมาตรฐานสินค้า
ท่องเที่ยว และปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่ค่อนข้างสูง นอกจากนั้นยังมีปัญหาทัวร์คุณภาพต่ำที่ตัดราคากันเพื่อขายนักท่องเที่ยวฝรั่งเศสซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องมาจากปี ค.ศ. 2000 ซึ่งปัญหานี้อาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อภาพลักษณ์ของไทยในลักษณะของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวราคาถูกและมีคุณภาพต่ำในสายตานักท่องเที่ยวฝรั่งเศส
-ฝรั่งเศสถือเป็นตลาดสำคัญในเชิงคุณภาพของนักท่องเที่ยว และเป็นตลาดสำคัญลำดับที่ 3 ในยุโรป รองจากสหราชอาณาจักร และเยอรมนี นักท่องเที่ยวฝรั่งเศสส่วนใหญ่นิยมเดินทางมาเอง เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาย โดยเป็นกลุ่มที่เคยเดินทางมาประเทศไทยแล้ว (re-visitor) และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 25-54 ปี
-ในปี 2547 มีนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสเข้ามาในไทยจำนวน 252,458 คน เพิ่มขึ้นจากเมื่อปี 2546 ซึ่งมีจำนวน 220,659 คน ร้อยละ 14.41 สำหรับในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2548 มีนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสเข้ามาในไทยจำนวน 114,237 คน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2547 ซึ่งมีจำนวน 115,409 คน ร้อยละ 1.02
2. ปัญหา/อุปสรรค
ภาพพจน์ในทางลบของไทย เช่น ปัญหาโสเภณีเด็ก การหลอกลวงนักท่องเที่ยวในการซื้ออัญมณี การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหามลพิษในกรุงเทพฯ ปัญหาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ตลอดจนการบริโภคเนื้อสุนัขและส่งออกหนังสุนัข ซึ่งรวมอยู่ภายใต้หัวข้อการทารุณกรรมสัตว์ รวมทั้งสัตว์ป่า (ชะนีและช้าง) เป็นอุปสรรคสำคัญ นอกจากนั้น ไทยมีคู่แข่งที่สำคัญ คือ ประเทศแถบอินโดจีนซึ่งเคยเป็นอาณานิคม ของฝรั่งเศสและสันทัดภาษาฝรั่งเศส ตลอดจนเสียค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่ำกว่า
ฝรั่งเศสกับการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาและทางวิชาการ
ความช่วยเหลือของฝรั่งเศสส่วนใหญ่เป็นลักษณะให้ทุนการศึกษา ทั้งในการฝึกอบรม ดูงานและในการศึกษาระดับปริญญา ตลอดจนจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษา แลกเปลี่ยนความรู้ และเทคโนโลยี โดยให้ความช่วยเหลือในรูปอุปกรณ์ อย่างไรก็ตาม ความช่วยเหลือของรัฐบาล ฝรั่งเศสต่อประเทศไทยทางด้านวิทยาศาสตร์ วิชาการ และวัฒนธรรม มีลักษณะการให้แบบปลีกย่อย และกระจัดกระจาย ความร่วมมือหลักๆ จะผ่านทางสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และวิชาการระหว่างไทยและฝรั่งเศส เริ่มมีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1956 โดยรัฐบาลฝรั่งเศสได้ให้ความร่วมมือแก่ประเทศไทยในรูปทุนสาขาต่างๆ ได้แก่ วิศวกรรม เกษตรกรรม วิทยุโทรทัศน์ การไปรษณีย์ และเน้นหนักด้านการสอนภาษาและวรรณคดี ฝรั่งเศส และได้มีการลงนามระหว่างรัฐบาลทั้งสองในความตกลง 2 ฉบับเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1977 คือ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อให้การดำเนินการความร่วมมือ และการบริหารความร่วมมือระหว่างไทยและฝรั่งเศส ดำเนินไปอย่างราบรื่นและสอดคล้องกับนโยบายของทั้งสองประเทศ จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ ร่วมไทย-ฝรั่งเศส ขึ้นชุดหนึ่ง โดยกำหนดให้มีการประชุมคณะผู้แทนของรัฐบาลทั้งสองเป็นประจำทุก 3 ปี โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ การประชุมครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1975 เป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินงานของความร่วมมือระหว่างกัน เช่น แนวทางความช่วยเหลือว่าจะมุ่งเน้นไปในทิศทางใด รวมทั้งพิจารณาโครงการใหม่ โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ และโครงการที่เห็นควรให้ สิ้นสุด จนถึงปัจจุบันมีการประชุมไปแล้ว 5 ครั้ง ครั้งสุดท้ายคือปี ค.ศ. 1987 ที่ประเทศไทย และไม่มีการประชุมอีกจนบัดนี้ ในทางปฏิบัติ ฝรั่งเศสจะแจ้งความร่วมมือให้ฝ่ายไทยทราบในลักษณะปีต่อปี และจำกัดอยู่ในสาขาที่ทางฝรั่งเศสสนใจเท่านั้น นอกจากนี้โครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลฝรั่งเศส จะไม่มีการจัดทำข้อตกลงโครงการ แต่จะบริหารงานโครงการให้อยู่ในกรอบความร่วมมือทั้งสองตามแต่ลักษณะของความร่วมมือ ในปีงบประมาณ ค.ศ. 1998 ไทยได้รับความช่วยเหลือจากฝรั่งเศสในรูปแบบผู้เชี่ยวชาญอาสาสมัครและวัสดุอุปกรณ์ รวมกว่า 250 ล้านบาท หรือ 6.96 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 6.6 ของความช่วยเหลือทั้งหมดที่ไทยได้รับจากต่างประเทศ ทำให้ฝรั่งเศส เป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และวิทยาการ แก่ไทยสูงเป็นลำดับที่ 4 ต่อจากญี่ปุ่น เยอรมนี และเดนมาร์ก สำหรับการให้ความช่วยเหลือในปี ค.ศ. 1999 มีมูลค่าประมาณ 11 ล้านฟรังก์ฝรั่งเศส โดยเป็นทุนการศึกษาในด้านกฎหมาย การเกษตร urban development และภาษา แต่กว่า 1 ใน 3 ของเงินช่วยเหลือจะให้กับโครงการการเผยแพร่ภาษาฝรั่งเศส เช่น การส่งเสริมการสอน และการใช้ภาษาฝรั่งเศส การให้ทุนฝึกอบรม ครูสอนภาษาฝรั่งเศส การแปลหนังสือ ฯลฯ
1. ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ
รัฐบาลฝรั่งเศสให้ความร่วมมือภายใต้ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการในรูปโครงการ ผู้เชี่ยวชาญ ทุนการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และเงินสนับสนุนกิจการต่างๆ ในระยะหลัง ความร่วมมือจะเน้นหนักไปที่ความร่วมมือด้านทุน โดยการให้ทุนการศึกษาจะเป็น สัดส่วน ประมาณร้อยละ 45 ของงบประมาณด้านนี้ และให้ความสำคัญกับการกระชับความร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งสอท. ฝรั่งเศสได้ทำความตกลงกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ของไทยหลายแห่ง รวมประมาณ 70 ความตกลงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และได้มีการลงนามความตกลงระหว่าง Thailand Research Fund (TRF) กับ French Agency for Research (Centre Nationale de la Recherche Scientifique- CNRS) และความตกลงความร่วมมือว่าด้วยการอุดมศึกษาและการวิจัยไทย-ฝรั่งเศส เมื่อ 23 เมษายน ค.ศ. 1999
2. ความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม
ความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมนี้ ปกติอยู่ในความดูแลของกระทรวงการต่างประเทศแต่ในการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ครั้งที่ 3 กระทรวงการต่างประเทศได้ขอให้กรมวิเทศ สหการช่วยดำเนินการในส่วนของทุนไปก่อน
3. ความร่วมมือทางพาณิชย์
ความร่วมมือด้านพาณิชย์นี้ ปกติจะดำเนินการโดยตรงกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง แต่อาจมีบางโครงการที่ดำเนินการผ่านกรมวิเทศสหการ เช่น โครงการการศึกษาความเหมาะสมของการขยายท่าอากาศยาน เป็นต้น ปัจจุบันมีโครงการเดียวคือ โครงการศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มูลค่า 23.58 ล้านฟรังค์ ที่ให้แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
4. แนวโน้มความร่วมมือ
ความร่วมมือจากรัฐบาลฝรั่งเศสในอนาคต คงไม่เปลี่ยนแปลงจากรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากนัก กล่าวคือ ความร่วมมือในอนาคตจะเน้นหนักที่ความร่วมมือด้านทุน โดยสาขาความร่วมมือเป็นไปตามที่รัฐบาลฝรั่งเศสมีความเชี่ยวชาญและสนใจ โดยทางฝ่ายฝรั่งเศสจะแจ้งความร่วมมือ ให้ฝ่ายไทยทราบในลักษณะปีต่อปี ส่วนความร่วมมือในรูปแบบอื่น ๆ เช่น โครงการ ผู้เชี่ยวชาญเงินสนับสนุน กิจกรรม ฯลฯ ขึ้นอยู่กับคำขอที่หน่วยงานฝ่ายไทยจะเสนอให้ฝรั่งเศสพิจารณา
ฝรั่งเศสกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน
ฝรั่งเศสมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนไทยและประเทศเอเชียนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์
ด้านการเงิน และการคลังในปี ค.ศ. 1997 โดยผ่าน IMF ซึ่งประชาคมยุโรปมีสัดส่วนเงินทุนอยู่ร้อยละ 30 ของเงินทุนทั้งหมด ส่วนธนาคารฝรั่งเศสก็มีส่วนในการปรับโครงสร้างภาคการเงิน อาทิ ธนาคาร Societe Generale กับบริษัท Asiacredit และยืดอายุหนี้ให้กับภาคเอกชนไทยเป็นรายกรณี ตลอดจนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องโดยให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนไทย อาทิ ธนาคาร Banque Nationale de Paris (BNP) และธนาคาร NATEXIS ให้เงินกู้จำนวน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายใต้การดูแลของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank - ADB) นอกจากนี้ ธนาคาร Indosuez ได้ร่วมมือกับธนาคารเพื่อการนำเข้าและการส่งออกแห่งประเทศไทย (Eximbank) ให้การสนับสนุนด้านการเงินในโครงการร่วมลงทุนต่าง ๆ ในประเทศเพื่อนบ้าน ในปี ค.ศ. 1999 รัฐบาลฝรั่งเศสให้ความสนับสนุนด้านการเงินแก่ไทยต่อไป โดยจัดให้ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีสิทธิกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำจากฝรั่งเศส (ซึ่งฝรั่งเศสให้ไม่กี่ประเทศ) และให้ open credit และเงินกู้ในโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการด้านการรถไฟ
ความร่วมมือทางทหารและความมั่นคง
ความร่วมมือในด้านนี้ ปัจจุบันมีดังนี้
1. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางทหารในด้านการศึกษาพัฒนาระหว่างสาธารณรัฐ ฝรั่งเศสกับราชอาณาจักรไทย ซึ่งครม. มีมติเห็นชอบเมื่อ 23 มกราคม ค.ศ. 1996
2. ร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งกำลังบำรุงทหาร
3. ฝรั่งเศสสนใจที่จะเข้าเป็นสมาชิก ARF
4. ในการประชุมเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำปีที่ 6 ระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม ค.ศ. 1998 ประธานาธิบดี Chirac ได้แสดงความสนใจต่อภูมิภาคเอเชียในด้านความมั่นคง โดยประธานาธิบดี Chirac ได้เสนอจัดตั้ง “องค์กรเพื่อความมั่นคงในเอเชีย”
(Organization de sécurité à l'échelle de l'Asie tout entière) เพื่อสนับสนุนความมั่นคงให้เกิดขึ้นในภูมิภาค
5. ในระหว่างการเยือนของนาย Alain Richard รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของฝรั่งเศส เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 นาย Richard ได้เสนอแนวคิดและประเด็นความสัมพันธ์ด้านความมั่นคง ระหว่างเอเชีย-ยุโรปในมุมมองทวิภาคีไทย-ฝรั่งเศส (Asia-Europe Security Relations in the Franco-Thai Perspective)
ดังมีสาระโดยสรุป คือ
5.1 ฝรั่งเศสต้องการให้มี European-Asia Security dialogue หรือ Strategic dialogue ในระดับสูง ทั้งในแบบทวิภาคีและพหุภาคี โดยที่ไม่ควรปล่อยให้สหรัฐฯ มีบทบาทสำคัญในการ รักษาสันติภาพในภูมิภาคเพียงประเทศเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุค globalization ที่ทำให้ทุกอย่าง แคบลง (ปัจจุบันฝรั่งเศสมีกรอบความร่วมมือดังกล่าวกับ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี อินเดีย และสิงคโปร์)
5.2 ยุโรปมีผลประโยชน์ในเอเชียมากพอที่จะต้องการให้เอเชียมีความมั่นคงและการ เติบโต คือ 1 ใน 4 ของการค้าต่างประเทศของฝรั่งเศสทำกับประเทศในเอเชียตะวันออก การลงทุนของ ยุโรปในเอเชีย ซึ่งมีประมาณ 80 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นั้นมีมากพอกับการลงทุนของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น งาน (job) ต่างๆ ในยุโรปประมาณ 3 ล้านตำแหน่งเกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างยุโรปกับเอเชีย ในขณะที่ 1 ใน 3 ของสินค้าออกของประเทศอาเซียนส่งไปยัง EU
5.3 ฝรั่งเศส (และอังกฤษ) ต้องการเป็นสมาชิก ARF และเห็นว่า ARF ควรขยาย สมาชิกภาพ ซึ่งจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับยุโรป
5.4 ฝรั่งเศสพร้อมจะมีบทบาทในเอเชีย เพราะมีกองเรืออยู่แล้วทั้งในมหาสมุทร อินเดียและแปซิฟิก และเป็นศูนย์ในด้านเทคโนโลยียุทโธปกรณ์ และได้ทำสัญญาทางทหารกับ 8 ใน 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนในโครงการทางทหารต่างๆ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนา และการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และเทคโนโลยี
5.5 ฝรั่งเศสเสนอให้การฝึกอบรม Thai Mine Action Centre
ความตกลงทวิภาคี
ความตกลงที่ลงนามแล้ว
1) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม การศึกษาและวิทยาศาสตร์ และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน ลงนามเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ.1977
2) หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยบริการเดินอากาศ ลงนามเมื่อวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1975 และมีการทบทวนเป็นระยะ
3) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน ลงนามเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1974
4) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ ลงนามเมื่อ 16 กันยายน ค.ศ. 1977
5) อนุสัญญาความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลในคดีอาญา (โอนตัวนักโทษ) ลงนามเมื่อ 26 มีนาคม ค.ศ. 1983
6) อนุสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องการอาญาไทย-ฝรั่งเศสลงนามเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1997
7) คณะทำงานร่วมทางการค้าไทย-ฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995
8) บันทึกความเข้าใจในการก่อตั้ง French-Thai Business Council ลงนามเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997
9) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคม ลงนามเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 เป็นความตกลงฉบับใหม่ ซึ่งฝรั่งเศสขอทำขึ้นใหม่แทนฉบับเดิม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน่วยงานที่ดูแล และได้กำหนดให้มีคณะกรรมการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ว่าด้วยความตกลงความร่วมมือด้านการไปรษณีย์และโทรคมนาคม
10) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติลงนามเมื่อ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1998
11) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือว่าด้วยอุดมศึกษาและวิจัยไทย-ฝรั่งเศสลงนามเมื่อ 23 เมษายน ค.ศ. 1999
12) ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส เกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ (The Agreement between the Government of the French Republic and the Government of the Kingdom of Thailand Relating to Cooperation in the Field of Space Technologies and Applications) ลงนามเมื่อ 27 มกราคม ค.ศ. 2000
13) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งกำลังบำรุงทางทหารระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Agreement on Military Logistics Cooperation Between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the French Repubic) ลงนามเมื่อ 26 เมษายน ค.ศ. 2000
14) บันทึกความเข้าใจระหว่าง BOI กับหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของฝรั่งเศส (UBIFRANCE) ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
15) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไทย -ฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
16) ความตกลงจัดตั้งสำนักงานเพื่อการพัฒนา (Agence Française de Développement- AFD) ในประเทศไทย ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
17) หนังสือแลกเปลี่ยน (Terms of Reference: ToR) เพื่อจัดตั้งคณะทำงานร่วมภายใต้ความร่วมมือไตรภาคีไทย-ฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
18) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่าย เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
19) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ด้านความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศระหว่างกระทรวงกลาโหมของไทยกับฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
20) ประกาศเจตนารมณ์ (Declaration of Intent) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
21) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านส่งเสริมการค้าปลีกระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กับบริษัท Carrefour Group ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
22) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแฟชั่นระหว่างสมาพันธ์ Prêt-à-Porter Féminin (เสื้อผ้าสำเร็จรูปของผู้หญิง) และสหภาพเครื่องนุ่งห่มฝรั่งเศส กับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม/สมาคมเครื่องนุ่งห่มไทย/สมาคมเครื่องหนังไทย ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
23) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างหอการค้าเชียงใหม่และหอการค้าเมืองลียง ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
24) Agreement on Khanom Marine Biodiversity Initiative ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
25) สัญญาทางธุรกิจระหว่างบริษัท Fives-Lille (DMS) กับ บริษัท Thainox ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
ความตกลงที่รอการลงนาม
ร่างอนุสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางการศาลในคดีแพ่ง และพาณิชย์ กับทางด้านอนุญาโตตุลาการครม. อนุมัติเมื่อ 27 มกราคม ค.ศ. 1998 ให้ลงนาม และให้สัตยาบันได้
ความตกลงที่ยังคั่งค้าง
1) ความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทย-ฝรั่งเศส (Agreement between the Government of Thailand and the Government of the Republic of France on the Reciprocal Promotion and Protection of Investment) มีการเจรจาครั้งแรกสำหรับร่างฯ ฉบับปัจจุบันเมื่อ 25-26 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 22-25 มีนาคม ค.ศ. 2003 ณ กรุงปารีส
2) ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต และราชการ (Agreement on the Exemption of Visa Requirement for Holder of Thai Diplomatic and Official Passport) กระทรวงการต่างประเทศทาบทามขอทำคตลฯ แต่ยังไม่ได้รับคำตอบ จากฝรั่งเศส โดยฝ่ายฝรั่งเศสเคยยกประเด็นการลักลอบเข้ามาทำงานผิดกฎหมายของคนไทย ในฝรั่งเศส
3) ร่างอนุสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนไทย-ฝรั่งเศส (Projet de Convention d Entraide Judiciaire en Matiere Penale) มีการเจรจาครั้งหลังสุดเมื่อ 14-15 มกราคม ค.ศ. 1999 แต่ยังไม่มีความคืบหน้า ในบางประเด็นที่ยังตกลงกันไม่ได้ ฝรั่งเศสเคยยกประเด็นเรื่องการที่ไทยยังใช้โทษประหารชีวิต เป็นข้อปฏิเสธในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
การแลกเปลี่ยนการเยือน
ฝ่ายไทย
พระราชวงศ์
- ค.ศ. 1960 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ
- พฤศจิกายน ค.ศ. 1991 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- 31 สิงหาคม - 9 กันยายน ค.ศ.1994 สมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการตามคำกราบทูลเชิญของรัฐบาลฝรั่งเศส
- 31 พฤษภาคม - 6 มิถุนายน ค.ศ. 1995 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯเยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- 29 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม ค.ศ.1995 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- 8-26 มิถุนายน ค.ศ. 1997 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของ Mme. Bernadette Chirac ภริยาประธานาธิบดี
- 27-31 พฤษภาคม ค.ศ.1998 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- 14-16 ธันวาคม ค.ศ. 1998 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- 12-22 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- 31 ธันวาคม 2542 - 5 มกราคม ค.ศ. 2000 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศส เป็นการส่วนพระองค์
- 1-5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัย
ลักษณอัครราชกุมารีเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเพื่อร่วมการลงนาม Charter of Paris ในการประชุม World Summit Against Cancer
- 27 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม ค.ศ. 2000 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศส เพื่อทรงร่วมพิธีเปิดนิทรรศการเกษตรกรรมนานาชาติ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของทางการฝรั่งเศส
- 7-9 มีนาคม และ 31 มีนาคม - 2 เมษายน ค.ศ. 2000 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ อัครราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศส (ก่อนและหลังเสด็จฯ เยือนอเมริกาใต้)
- 21-28 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเพื่อทรงร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี
- 16-27 เมษายน ค.ศ. 2001 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงรับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ด้านภาษาศาสตร์ จากสถาบันแห่งชาติทางภาษาและอารยธรรมตะวันออก (Institut Nationale des Langues et Civilisations Orientales INALCO)
- 4-5 เมษายน ค.ศ. 2002 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- 17-23 ตุลาคม ค.ศ. 2002 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถฯ เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- 1-6 กันยายน ค.ศ. 2003 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- กันยายน ค.ศ. 2006 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเพื่อร่วมงานเปิดเทศกาลวัฒนธรรมไทยในฝรั่งเศส
ภาครัฐบาล
- 2-4 ตุลาคม ค.ศ.1989 ฯพณฯ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ
- 13-15 พฤษภาคม ค.ศ.1996 ม.ร.ว.เทพ เทวกุล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เยือนฝรั่งเศส
- 26-27 มิถุนายน ค.ศ.1996 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เยือนฝรั่งเศส
- 12-18 เมษายน ค.ศ. 1997 ฯพณฯ นายประจวบ ไชยสาส์น รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศเยือนฝรั่งเศส
- 11-12 กันยายน ค.ศ. 1997 ฯพณฯ นายประจวบ ไชยสาส์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนฝรั่งเศส เพื่อลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือกันและกันทางอาญา
- 20-25 เมษายน ค.ศ. 1998 ฯพณฯ นาย พิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี
- 20-25 เมษยายน ค.ศ. 1998 ฯพณฯ นาย ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เยือนฝรั่งเศส
- 6-8 กันยายน ค.ศ. 1998 ฯพณฯ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนฝรั่งเศส
- 12-13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1999 ฯพณฯ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนฝรั่งเศส
- 30 พฤษภาคม ค.ศ.1999 ฯพณฯ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รมว. คมนาคม เยือนฝรั่งเศส
- 1 มิถุนายน ค.ศ.1999 ฯพณฯ นายจองชัย เที่ยงธรรม รมช.กระทรวงแรงงานดูงาน ที่ฝรั่งเศส
- 7-9 มิถุนายน ค.ศ.1999 ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เยือนฝรั่งเศสตามคำเชิญของประธานาธิบดี Chirac
- 2-4 ตุลาคม ค.ศ.1999 นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเยือนฝรั่งเศส ตามโครงการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับปลัดกต.
- 22-24 ตุลาคม ค.ศ.1999 ฯพณฯ นายพิชัย รัตตกุล เยือนฝรั่งเศส เพื่อดูงาน ระบบขนส่งมวลชน
- 15-18 เมษายน ค.ศ. 2001 ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนฝรั่งเศส
- 12-13 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของ นาย Jean-Pierre Raffarin นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส
- 21-23 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (นายเตช บุนนาค) เยือนฝรั่งเศส
- 1-3 ตุลาคม ค.ศ. 2003 นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเยือนฝรั่งเศส
- 12-19 กันยายน ค.ศ. 2006 นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนฝรั่งเศส เพื่อร่วมพิธีเปิดงานเทศกาลวัฒนธรรมไทยในฝรั่งเศส
ฝ่ายฝรั่งเศส
- 19-21 มกราคม ค.ศ. 1990 นาย Michel Rocard อดีตนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส มาเยือนไทย
- 17-21 มกราคม ค.ศ.1994 นาย Francois Missoffe เดินทางมาเยือนไทยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหากัมพูชา
- 26-27 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 นาย Alain Lamassoure อดีตรัฐมนตรีรับผิดชอบด้านกิจการยุโรปได้เดินทางมาร่วมประชุม PMC ณ กรุงเทพฯ
- 16-19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 นาย Jose Rossi อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการไปรษณีย์ โทรคมนาคม และการค้าต่างประเทศฝรั่งเศส โดยเป็นแขกของกระทรวงพาณิชย์ เพื่อมาร่วมในพิธีเปิดศาลาฝรั่งเศส ในงาน BOI FAIR S 95
- 6-8 มีนาคม ค.ศ.1995 นาย Bertand Dufourcq ปลัดกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสเดินทางมาเยือนไทย
- 16 มกราคม ค.ศ.1996 นาง Margic Sudre รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การต่างประเทศ (รับผิดชอบด้านกิจการเกี่ยวกับกลุ่มประเทศผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส) เยือนไทย
- 27-28 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1996 นาย Jacques Toubon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมฝรั่งเศสเยือนไทย
- 1-2 มีนาคม ค.ศ.1996 นาย Jacques Chirac ประธานาธิบดี เดินทางมาร่วมประชุมผู้นำ ASEM ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ
- 12-15 ธันวาคม ค.ศ.1996 นาย Yves Galland รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง เยือนไทย
- 16-17 ธันวาคม ค.ศ.1996 นาย Bruno Durieux ผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสเดินทางมาเยือนไทย
- 18 ธันวาคม ค.ศ.1996 นาย Pierre Joxe ประธานศาลตรวจเงินแผ่นดินฝรั่งเศส
เยือนไทย
- 17-18 มีนาคม ค.ศ.1997 นาย Bertrand Dufourcq ปลัดกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสเยือนไทย
- พฤศจิกายน ค.ศ.1997 นาย Dominique Strauss-Kahn รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เศรษฐกิจและการคลังเยือนไทย
- 20-21 ตุลาคม ค.ศ.1998 นาย Charles Josselin รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส รับผิดชอบด้านความร่วมมือกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเยือนไทย
- 22-24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1999 นาย Jacques Dondoux รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การคลังและอุตสาหกรรมเยือนไทย
- 25-26 มีนาคม ค.ศ.1999 นาย Alain Richard รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสเยือนไทย
- 20 กันยายน ค.ศ.1999 นาย Francois Ortoli อดีตประธานคณะกรรมาธิการยุโรป และประธาน MEDEF International (Mouvement Entrepreneur de France) เยือนไทย
- 17-19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 นาย Charles Josselin รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส รับผิดชอบด้านความร่วมมือระหว่างประเทศและความสัมพันธ์กับประเทศที่ใช้ภาษา ฝรั่งเศส เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝรั่งเศสมาร่วมการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10
- 8-10 มีนาคม ค.ศ. 2000 นาย Francois Huwart รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการคลังและอุตสาหกรรม รับผิดชอบด้านการค้าระหว่างประเทศเยือนไทย
- 29-31 มีนาคม ค.ศ. 2000 นาย Jacques Friedmann ประธานร่วมสภาธุรกิจไทยฝรั่งเศส มาร่วมประชุมสภาธุรกิจไทย-ฝรั่งเศสครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ
- กรกฎาคม ค.ศ.2000 นาย Charles Josselin รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสเดินทางเยือนไทยเพื่อร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ที่กรุงเทพฯ
- 21-22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 นาย Renaud Muselier รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงต่างประเทศ เยือนไทย
- 24-25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 นาย Francois Loos รัฐมนตรีการค้าต่างประเทศฝรั่งเศสเยือนไทย
- 19-21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 นาย Pierre-Andre Wiltzer รัฐมนตรีกิจการความร่วมมือและกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส
---------------------------------------------------------------------------------------
19 ธันวาคม 2549
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น