ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปยุโรป

    ลำดับตอนที่ #12 : สาธารณรัฐเช็ก

    • อัปเดตล่าสุด 20 ม.ค. 50




     
    สาธารณรัฐเช็ก
    Czech Republic


     
    ข้อมูลทั่วไป
    ที่ตั้ง อยู่ตอนกลางของทวีปยุโรป ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล มีพรมแดน ด้านเหนือติดกับโปแลนด์ ด้านใต้ติดกับออสเตรีย ทิศตะวันออกติดกับสโลวักและทิศตะวันตกติดกับเยอรมนี

    พื้นที่ 78,866 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 2 แคว้น คือ แคว้นโบฮีเมีย และแคว้นโมราเวีย

    เมืองหลวง กรุงปราก (Prague) มีประชากร 1.21 ล้านคน

    เมืองสำคัญ Brno - เมืองศูนย์กลางทางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมของแคว้นโมราเวีย มีประชากรประมาณ 3.3 แสนคน
    Ostrava - เมืองอุตสาหกรรม โดยเฉพาะทางด้านการถลุงเหล็ก อยู่ทางตะวันออกของประเทศ มีประชากรประมาณ 3.24 แสนคน
    Plzen - เมืองอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล และเป็นเมืองที่กำเนิดของเบียร์สูตรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อยู่ทางเหนือของประเทศ มีประชากร 1.7 แสนคน

    ประชากร 10.28 ล้านคน ประกอบด้วยชาวเช็ก (94.4%) ชาวสโลวัก (3%) ชาวโปล (0.6%) ชาวฮังกาเรียน (0.2%)

    อัตราการเพิ่มประชากร - 0.05 % (ปี 2548)

    ภาษาราชการ ภาษาเช็ก ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาเยอรมันได้และมีบ้างที่พูดภาษารัสเซียได้

    ศาสนา ไม่มีศาสนา 39.8% โรมันคาธอลิก 39.2% โปรเตสแตนท์ 6% ออร์โธดอกส์ 3% และอื่นๆ 13.4%

    วันชาติ 28 ตุลาคม

    สกุลเงิน เช็กโครูน่า (Czech Koruna)

    อัตราแลกเปลี่ยน US$ 1 = 24.75 โครูน่า (28 กุมภาพันธ์ 2549)

    ภูมิอากาศ แบบยุโรป อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียสในฤดูร้อน และ -5 ถึง-15 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาว

    GDP 107 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2547), 119.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการปี 2548)

    GDP per capita 10,454 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2547), 11,723 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการปี 2548)

    อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ 4.7% (ปี 2547), 6.0% (ประมาณการปี 2548)

    อัตราเงินเฟ้อ 2.8% (ปี 2547), 2.2% (ประมาณการปี 2548)

    อัตราการว่างงาน 9.8% (ปี 2547), 9.6% (ประมาณการปี 2548)

    การเมืองการปกครอง
    ระบบการเมือง ระบอบประชาธิปไตยแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุข

    ประธานาธิบดี นาย Vaclav Klaus (เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546)

    นายกรัฐมนตรี นาย Mirek Topolanek (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2549)

    รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Alexander Vondra (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2549)

    รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งเป็นระบบสองสภา (Bicameral Parliament) คือ สภาสูง (Senate) มี 81 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้งโดย popular vote มีวาระ 6 ปี โดยจะมีการเลือก 1 ใน 3 ทุก 2 ปี เลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 เลือกตั้งครั้งต่อไปเดือนพฤศจิกายน 2549 และ สภาล่าง
    (Chamber of Deputies) มี 200 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้งโดย popular vote มีวาระ 4 4 ปี เลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 2 - 3 มิถุนายน 2549

    ประธานาธิบดี เป็นประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้งของสภาทั้งสอง โดยจะต้องได้รับเสียงข้างมากโดยเด็ดขาดจากแต่ละสภา มีวาระ 5 ปี ดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ 2 วาระ เลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจะต้องได้รับการเสนอชื่อจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกสภาสูงอย่างน้อย 10 คน มีอายุอย่างน้อยที่สุด 40 ปี

    นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจในการบริหารสูงสุด มาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี คณะรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดีโดยการเสนอชื่อจากนายกรัฐมนตรี

    ศาลและอำนาจตุลาการได้รับการแบ่งแยกโดยสิ้นเชิงจากอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร คณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลให้มีการใช้อำนาจตุลาการตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี โดยอยู่ในตำแหน่งวาระละ 10 ปี

    2. ประวัติศาสตร์เช็กโดยสังเขป
    (1) บทนำ
    ดินแดนของสาธารณรัฐเช็กในปัจจุบัน มีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปราว 2,000 ปี นับตั้งแต่เมื่อชนเผ่าสลาโวนิก (Slavonic Tribes) หรือชนเผ่าสลาฟ ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานแ
    คว้นโบฮีเมียได้พัฒนาเป็นรัฐอิสระเป็นครั้งแรกในคริสตศตวรรษที่ 9 แต่ต่อมาในคริสตศตวรรษที่ 13 ชนเผ่าเยอรมัน ได้อพยพเข้ามายึดดินแดนของเช็กในปัจจุบันเป็นอาณานิ
    คม ซึ่งเป็นปัจจัยที่สร้างวัฒนธรรมเช็กให้มีทั้งลักษณะของชนเผ่าเยอรมันและชนเผ่าสลาฟ กรุงปรากจึงเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมอันหลากหลาย อาทิ โรมันเนสก์ โกธิก เรเนซองส์ บาร็อก รวมทั้งศิลปะรูปแบบต่างๆ ทำให้กรุงปรากเป็นเมืองที่แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาของเช็กได้อย่างดี ตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมัน จนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์ Hapsburg (ราวศตวรรษที่ 15-18) และองค์การ UNESCO ได้เลือกให้เป็นมรด
    กโลกด้านวัฒนธรรม นอกจากนี้ เช็กยังมีชื่อเสียงและประวัติศาสตร์อันยาวนานด้านการผลิตเบียร์ โดยเฉพาะที่เมือง Plzen (Pilsen)

    (2) ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1
    กรุงปรากเป็นเมืองที่สำคัญในยุโรปตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมันและยุคกลางของยุโร
    ป กษัตริย์ชาร์ลสที่ 4 แห่งอาณาจักรโรมัน ได้ก่อตั้ง Charles University ขึ้นที่กรุงปรากซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรปตะวันออก ในช่วงยุคกลาง เช็กอยู่ภายใต้การปกครองของคริสตจักรเช่นเดียวกับดินแดนอื่นๆ ในยุโรป จนกระทั่งในปี 2069 เช็กจึงตกอยู่ภายใต้การควบคุมของราชวงศ์ Hapsburg ในศตวรรษที่ 19 เริ่มมีการฟื้นฟู national awareness ซึ่งถึงจุดสูงสุดในปี 2391 เมื่อกรุงปรากเป็นเมืองแรกในอาณาจักร Hapsburg ที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูป และต้องการแยกตัวเป็นรัฐอิสระ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

    (3) ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
    ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ฝ่ายพันธมิตรได้สนับสนุนให้ชาวเช็กและชาวสโลวักสร้างสหพันธรัฐประชาธิปไตยแห่งเช็กโกสโลวาเกียขึ้น ในปี 2461 เนื่องจากเช็กและสโลวักมีภาษาคล้ายคลึงกัน แต่แยกจากกันทางการเมือง เนื่องจากสโลวาเกียเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฮังการี ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เช็กโกสโลวาเกียเป็นประเทศที่อุตสาหกรรมมีความก้าวหน้าที่สุด จนติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากชาวสโลวักต้องการแยกตัวออกเป็นรัฐอิสระจากเช็กซึ่งมีบทบาทเหนือกว่า

    ในเดือนมีนาคม 2482 กองทัพนาซีเยอรมันได้รุกรานแคว้นโบฮีเมียและโมราเวีย ทำให้เช็กโกสโลวาเกียสูญเสียความเป็นรัฐเอกราช จนกระทั่งในปี 2488 กองทัพโซเวียตได้ปลดปล่อยดินแดนของเช็กโกสโลวาเกียจากการปกครองของนาซี ทำให้สหภาพโซเวียตมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางการเมืองของเช็กโกสโลวาเกียในเวลาต่อมา และในปี 2491 พรรคคอมมิวนิสต์ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจไว้

    (4) ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
    พรรคคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลในเช็กโกสโลวาเกียมาโดยตลอด จนกระทั่งในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 ได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูป ที่เรียกว่า ช่วง Prague Spring ภายใต้การนำของนาย Alexander Dubcek เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตและประเทศอื่นใน Warsaw Pact เกรงว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเป็นภัยคุกคามต่อระบบคอมมิวนิสต์ จึงได้ยกกองกำลังเข้าไปในเชโกสโลวาเกียเมื่อปี 2511 และจัดตั้งระบบคอมมิวนิสต์ที่เข้มงวดขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีแนวคิดต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ในเช็กโกสโลวาเกีย

    (5) ช่วงหลังการล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์
    หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง เช็กโกสโลวาเกียได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Velvet Revolution และนาย Vaclav Havel ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านระบบคอมมิว
    นิสต์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีเช็กโกสโลวาเกียในปี 2532

    รัฐบาลเช็กโกสโลวาเกียได้มีมติเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2536 ให้สลายประเทศเช็กโกสโลวาเกีย และแบ่งออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐสโลวัก (สโลวาเกีย) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า Velvet Divorce ต่อมา นาย Vaclav Havel ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐเช็กในปี 2536 และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2541 จนกระทั่งหมดวาระ (วาระละ 5 ปี) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2546 และนาย Vaclav Klaus ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสืบต่อ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546

    สถานการณ์ทางการเมือง
    รัฐบาลนาย Stanislav Gross เข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2547 มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 101 ที่นั่งจากทั้งสิ้น 200 ที่นั่ง โดยพรรคร่วมรัฐบาล ประกอบด้วย พรรค Social Democrat (CSSD) ของนาย Gross 70 ที่นั่ง พรรค Christian Democrat (KDU-CSL) ของนาย Cyril Svoboda รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 21 ที่นั่ง และพรรค Freedom Union (US-DEU) 10 ที่นั่ง พรรคฝ่ายค้าน ประกอบด้วย 3 พรรคการเมือง ได้แก่ พรรค Civic Democrats (ODS) 57 ที่นั่ง พรรค Communist (KSCM) 41 ที่นั่ง และพรรคอิสระ 1 ที่นั่ง

    เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 นาย Stanislav Gross นายกรัฐมนตรีเช็กและหัวหน้าพรรค CSSD ถูกสื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ในการซื้อห้องชุด มูลค่า 1.8 แสนดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเกินกว่ารายได้ของนาย Gross นาย Miroslav Kalousek หัวหน้าพรรค KDU-CSL ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลได้ขอให้นาย Gross ชี้แจงต่อประชาชน และเรียกร้องให้นาง Sarka Grossova ภริยานายกรัฐมนตรี ยุติการทำธุรกิจส่วนตัว

    เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2548 ประธานาธิบดี Klaus ได้เชิญนาย Gross และนาย Kalousek หัวหน้าพรรค KDU-CSL ไปพบเพื่อร่วมกันหาข้อยุติ แต่ไม่ได้ผล และภายห
    ลังการประชุมใหญ่ของพรรค CSSD เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2548 พรรค KDU-CSL ได้ขอถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล และให้รัฐมนตรีในสังกัดพรรค 3 คน (กระทรวงต่างประ
    เทศ กระทรวงสิ่งแวดล้อม และกระทรวงคมนาคม) ยื่นหนังสือลาออก ทำให้รัฐบาลอยู่ในสภาพรัฐบาลเสียงข้างน้อยในสภา

    ประธานาธิบดี Klaus ได้พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยได้ระงับหนังสือลาออกของรัฐมนตรีจากพรรค KDU-CSL ทั้ง 3 คน และขอให้นาย Gross จัดการลงมติเพื่อขอความไว้วางใจจากรัฐสภาเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2548 ผลการลงมติปรากฏว่า มีผู้ลงคะแนนเสียงไม่ไว้วางใจเพียง 79 เสียง ซึ่งไม่เกินครึ่งของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด (101 เสียงขึ้นไป) จึงไม่มีผลทำให้นายกรัฐมนตรีต้องลาออก อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2548 นาย Gross ได้ประกาศว่าพร้อมจะลงจากตำแหน่ง โดยมีเงื่อนไขว่า
    รัฐบาลชุดใหม่ยังคงต้องประกอบด้วย 3 พรรคการเมืองร่วมรัฐบาลเหมือนเดิม ต่อมา เมื่อวันที่ 25 เมษายน ประธานาธิบดี Klaus ได้ยอมรับการลาออกของนาย Gross อย่างเป็นทางการ และนาย Jiri Paroubek รองหัวหน้าพรรค CSSD และรัฐมนตรีการพัฒนาภูมิภาคในคณะรัฐมนตรีของนาย Gross ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากนาย Gross

    เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2548 สภาผู้แทนราษฎรเช็กได้ให้ความไว้วางใจรัฐบาลชุดใหม่ของนาย Jiri Paroubek ด้วยคะแนนเสียง 101 เสียงจากทั้งหมด 200 เสียง นาย Paroubek จึงได้เป็นนายกรัฐมนตรีเช็กอย่างเป็นทางการ รัฐบาลของนาย Paroubek จะบริหารประเทศโดยคงนโยบายหลักที่ต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา จนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2549 โดยมีภารกิจสำคัญคือการจัดการลงประชามติให้การรับรองรัฐธรรมนูญยุโรป

    สถานการณ์การเมืองล่าสุด
    ผลการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2 - 3 มิถุนายน 2549 ปรากฏ ดังนี้
    พรรค Civic Democrats (ODS) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ได้รับคะแนนเสียง 35.4% (มีที่นั่งในสภาฯ 81 ที่)
    พรรค Social Democrats (CSSD) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ได้รับคะแนนเสียง 32.3% (มีที่นั่งในสภาฯ 74 ที่)
    พรรคคอมมิวนิสต์ (KSCM) ได้รับคะแนนเสียง 12.8% (มีที่นั่งในสภาฯ 26 ที่)
    พรรค Christian Democrats (KDU-CSL) ได้รับคะแนนเสียง 7.2% (มีที่นั่งในสภาฯ 13 ที่)
    พรรค Green (SZ) ได้รับคะแนนเสียง 6.3% (มีที่นั่งในสภาฯ 6 ที่)

    ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ปรากฏว่า ฝ่าย centre-right (ได้แก่ พรรค ODS, KDU-CSL และ SZ) กับฝ่าย centre-left (ได้แก่ พรรค CSSD และ KSCM) ต่างมีที่นั่งในสภาฯ เท่ากัน คือ 100 ที่ จึงไม่มีฝ่ายใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้ ทั้งนี้ ขณะนี้ กำลังมีความพยายามจัดตั้งรัฐบาลผสม

    อย่างไรก็ดี ผลการเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนว่า สังคมเช็กในภาพรวมกำลังมีแนวคิดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่องและลดการแทรกแซงของภาครัฐลง กับ กลุ่มที่นิยมให้ภาครัฐเข้ามามีบทบาทแข็งขันมากขึ้นและชะลอการปฏิรูปออกไป

    รายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ (ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2549)
    1. นาย Mirek Topolanek นายกรัฐมนตรี
    2. นาย Petr Necas รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีแรงงานและการสังคม
    3. นาย Ivan Langer รัฐมนตรีมหาดไทยและสนเทศ
    4. นาย Alexander Vondra รัฐมนตรีต่างประเทศ
    5. นาย Jiri Sedivy รัฐมนตรีกลาโหม
    6. นาย Vlastimil Tlusty รัฐมนตรีคลัง
    7. นาย Jiri Pospisil รัฐมนตรียุติธรรม และประธานคณะมนตรีด้านกฎหมายของรัฐบาล
    8. นาย Ales Rebicek รัฐมนตรีขนส่ง
    9. นาย Martin Riman รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและการค้า
    10. นาง Milena Vicenova รัฐมนตรีเกษตร
    11. นาย Tomas Julinek รัฐมนตรีสาธารณสุข
    12. นาง Miroslava Kopicova รัฐมนตรีศึกษา และเยาวชน
    13. นาย Petr Kalas รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม
    14. นาย Martin Stepanek รัฐมนตรีวัฒนธรรม
    15. นาย Petr Gandalovic รัฐมนตรีพัฒนาภูมิภาค

    เศรษฐกิจการค้า
    สถานการณ์เศรษฐกิจเช็ก
    ภายหลังจาก Velvet Reform ในปี 2532 เช็กโกสโลวาเกียเริ่มดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ในขณะที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์ยังคงดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมห
    ภาคอย่างระแวดระวัง การปฏิรูปทางเศรษฐกิจดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว โดยปล่อยให้ราคาสินค้าเคลื่อนไหวอย่างเสรี การคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่เจ้าของเดิมในช่วงปี 2491 และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ต่อมา ภายหลังจาก Velvet Divorce ซึ่งแยกเช็กโกสโลวาเกียเป็นเช็กและสโลวัก ในปี 2546 สาธารณรัฐเช็กมีการพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าอย่างมาก โดยมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่รวดเร็ว มีอัตราการว่างงานต่ำ และไม่มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินไป

    รัฐบาลเช็กประสบความสำเร็จในการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ อาทิ บริษัทโตโยตามอเตอร์ และบริษัทเปอร์โยต์ ซีตรอง โดยได้ก่อตั้งหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน ชื่อว่า Czech Invest เพื่อดึงดูดการลงทุนด้านเทคโนโลยีระดับสูง ทั้งนี้ รัฐบาลคาดว่าจะสามารถดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงปี 2548-2550 ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงสูงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 3.7 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 3.8 ในปี 2547 และคาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 4.4 ในปี 2548 ทำให้ค่าจ้างแรงงานมีการปรับตัวสูงขึ้นและมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงเป็นลำดับ

    รัฐบาลเช็กยังคงให้ความสำคัญกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยได้ดำเนินการไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ และยังคงมีอีกประมาณ 167 บริษัทที่อยู่ระหว่างรอดำเนินการ ได้แก่ Czech Telecom CEZ Power Utility เป็นต้น อย่างไรก็ดี รัฐบาลยังคงมีปัญหาการขาดดุลงบประมาณซึ่งสูงถึงร้อยละ 7 ของ GDP ในปี 2546 รัฐบาลจึงตั้งเป้าที่จะลดการขาดดุลให้เหลือเพียงร้อยละ 4 ในปี 2549 ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ EU เรียกร้องเพื่อรับเช็กเข้าเป็นสมาชิก EU นอกจากนี้ รัฐบาลเช็กคงจะพยายามผลักดันเพื่อให้สามารถใช้เงินสกุลยูโรได้ภายในปี 2552-2553 นอกจากนี้ รัฐบาลเช็กจะยังคงมุ่งมั่นปฏิรูประบบกฏหมาย กฎหมายการล้มละลาย และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

    นโยบายต่างประเทศเช็ก
    สาธารณรัฐเช็กมีนโยบายส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีและพัฒนาความร่วมมือกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะยุโรปตะวันตก โดยให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนระบบการเมืองและเศรษฐกิจของตนให้สามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งของยุโรปได้ โดยได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 ร่วมกับประเทศในยุโรปอื่นๆ อีกรวม 10 ประเทศ นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับโปแลนด์ ฮังการี และสโลวาเกียภายใต้กรอบ Visegrad Group ด้วย

    ในกรอบองค์การระหว่างประเทศ สาธารณรัฐเช็กได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญ ดังนี้

    NATO สาธารณรัฐเช็กได้เข้าเป็นสมาชิก NATO เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2542 พร้อมกับโปแลนด์และฮังการี อย่างไรก็ดี ในปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของ NATO ต่อยูโกสลาเวียระหว่างเดือนมีนาคม – มิถุนายน 2542 เช็กไม่ได้สนับสนุนปฏิบัติการของ NATO อย่างจริงจัง ซึ่งต่างกับโปแลนด์และฮังการี ทำให้ NATO มีความเคลือบแคลงในพันธะสัญญาที่สาธารณรัฐเช็กมีต่อ NATO แต่ถึงกระนั้น ในปี 2545 กรุงปรากก็ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่จัดการประชุมสุดยอด NATO ระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2545 ซึ่งมีนัยยะสำคัญในทางสัญญลักษณ์ของการขยายสมาชิก NATO ให้รวมกลุ่ม Warsaw Pact และความร่วมมืออันดีระหว่าง NATO กับรัสเซีย

    OSCE สาธารณรัฐเช็กเป็นสมาชิก Organisation on Security and Cooperation in Europe (OSCE) ซึ่งมีสำนักเลขาธิการตั้งอยู่ ณ กรุงปราก

    UN ในปี 2537 สาธารณรัฐเช็กได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC จากการมีบทบาทในการเสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงของยุโรป การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมรักษาสันติภาพของ UN

    WEU สาธารณรัฐเช็กได้เข้าเป็นสมาชิกสมทบขององค์การ Western European Union (WEU) เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537 โดยสามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมฯ ตลอดจนส่งทหารเข้าร่วมในการรักษาสันติภาพได้ โดยยังไม่มีสิทธิในการออกเสียงยับยั้ง

    OECD สาธารณรัฐเช็กได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 26 ของ Organisation for Economic Cooperation and Development (OECD) โดยในด้านการเมือง จัดให้มีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบพหุสังคม เคารพสิทธิมนุษยชน ด้านเเศรษ
    ฐกิจให้มีการใช้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด การปล่อยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายโดยเสรี การใช้เงินตราที่แลกเปลี่ยนได้โดยสมบูรณ์ การใช้ระบบภาษีที่มีมาตรฐาน และมีมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อม

    CEFTA สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย ฮังการี และโปแลนด์ ได้ร่วมกันจัดตั้งเขตการค้าเสรีในกลุ่มประเทศยุโรปกลาง (CEFTA) ขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2536 โดยสโลวีเนีย โรมาเนีย และบัลแกเรียได้เข้าเป็นสมาชิกในลำดับต่อมา อันทำให้ CEFTA เป็นกลุ่มเขตการค้าเสรีที่มีประชากรประมาณ 100 ล้านคน กลุ่ม CEFTA มีเป้าหมายให้บรรลุผลภายในปี 2544 โดยเริ่มมีการลดค่าธรรมเนียมศุลกากรและอุปสรรคระหว่างกันแล้ว

    สาธารณรัฐเช็กได้สถาปนาความสัมพันธ์กับประเทศทั้งสิ้น 85 ประเทศ ในจำนวนนี้ 80 ประเทศ มีตัวแทนทางการทูตอย่างถาวร ที่กรุงปราก

    นโยบายต่างประเทศสมัยรัฐบาลนาย Jiri Paroubek

    ในภาพรวม รัฐบาลของนาย Paroubek จะสานต่อนโยบายต่างประเทศของนาย Gross และให้ความสำคัญกับประเด็นต่างๆ ดังนี้
    1. บทบาทของสาธารณรัฐเช็กใน EU และ NATO
    2. การทูตพหุภาคีและการให้ความสนับสนุนบทบาทของ UN
    3. การต่อต้านการก่อการร้าย การป้องกันการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและการต่อต้านอาชญากรรมระหว่างประเทศ
    4. การดำเนินความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
    5. บทบาทของสาธารณรัฐเช็กในกองกำลังรักษาสันติภาพในโคโซโว อิรัก และอาฟกานิสถาน
    6. การดำเนินความสัมพันธ์ต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะต่อสโลวาเกีย
    7. การดำเนินความสัมพันธ์กับรัสเซีย โดยเฉพาะในกรอบระหว่าง EU และรัสเซีย
    8. ความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเชีย ลาตินอเมริกา และแอฟริกา
    9. ประเด็นระหว่างประเทศต่างๆ ได้แก่ การต่อสู้กับความยากจน การแพร่กระจายของ
    โรคระบาด การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะที่เป็นผลจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติในเอเชียและแอฟริกา

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเช็ก
    ด้านการเมืองและการทูต

    สาธารณรัฐเช็กเป็นประเทศเกิดใหม่จากการแบ่งแยกประเทศของสหพันธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวักเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2536 (ค.ศ.1993) เป็นต้นมา ประเทศไทยมีความสัมพั
    นธ์อันดีกับสาธารณรัฐเช็กมาก่อนตั้งแต่ครั้งยังใช้ชื่อประเทศว่าเช็กโกสโลวาเกีย โดยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2517 (ค.ศ.1974) ความสัมพันธ์ดำเนินมาโดยราบรื่น รัฐบาลไทยโดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 ธันวา
    คม 2535 (ค.ศ.1992) ให้การรับรองทั้งเช็กและสโลวักในฐานะผู้สืบสิทธิของอดีตสหพัน
    ธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวัก โดยให้ถือเป็นการรับรองรัฐและสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับประเทศทั้งสองนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2536 เป็นต้นไป
    นับจนถึงปัจจุบัน ทั้งสองประเทศมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันในระดับสูงบ่อยครั้ง ได้แก่

    การเยือนของฝ่ายเช็ก

    - นาย Vaclav Havel ประธานาธิบดีเช็กและภริยาเยือนไทยในฐานะราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตส
    าหกรรมและการค้า ระหว่างวันที่ 11-14 กุมภาพันธ์ 2537

    - นาย Milan Uhde ประธานรัฐสภาแห่งสาธารณรัฐเช็กเยือนไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 27-30 มีนาคม 2537

    - นาย Alexandr Vondra รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเช็กเยือนไทย
    อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2538 ภายใต้กรอบข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทย-เช็ก

    - นาย Miroslav Somol รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเช็กเยือนไทย ระหว่างวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2538 เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-เช็ก ครั้งที่ 1 โดยมี ฯพณฯ นายมนตรี ด่านไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย

    - นาง Helena Bambasova รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเช็กเยือนไทย ระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม 2539 ภายใต้กรอบข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทย-เช็ก

    - นาย Michael Zantovsky ประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศกลาโหมและความมั่นคงสาธารณรัฐเช็กเยือนไทย ระหว่างวันที่ 23-27 ตุลาคม 2542 ตามคำเชิญของนาย
    อรุณ ภาณุพงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศของวุฒิสภาไทย

    - นาย Hynek Kmonicek รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐเช็กเยือนไทย ระหว่างวันที่ 24-26 เมษายน 2543 เพื่อเข้าร่วมประชุมเอกอัครราชทูตในภูมิภาคนี้ และเพื่อร่วมลงนามความตกลงว่าด้วยการโอนตัวนักโทษระหว่างไทย-เช็ก

    - นาย Jan Kavan รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเช็ก
    เยือนไทย ระหว่างวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ 2545

    - นาย Petr Kolar รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเช็กเยือนไทย ระหว่างวันที่ 4-9 พฤศจิกายน 2547 และร่วมประชุมปรึกษาหารือภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2547

    - นาย Cyril Svoboda รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเช็ก พร้อมคณะได้เดินทางไปเยี่ยมชมจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2548 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเยือนประเทศที่ประสบภัยคลื่นยักษ์

    - นาง Livia Klausova ภริยานาย Vaclav Klaus ประธานาธิบดีเช็ก เดินทางเยือนไทยเ
    ป็นการส่วนตัวระหว่างวันที่ 9-17 เมษายน 2548 ซึ่ง ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเป็นเกียรติแก่นาง Klausova
    เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2548 ด้วย

    การเยือนของฝ่ายไทย

    - ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เยือนสาธารณรัฐเช็กอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2537

    - ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภาเยือนสาธารณรัฐเช็กอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม - 1 กันยายน 2537

    - สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐเช็กเป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2539 โดย

    - นายโสภณ เพชรสว่าง รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง นำคณะผู้แทนสภาผู้แทนราษฎรเดินทางเยือนสาธารณรัฐเช็ก ระหว่างวันที่ 12-15 พฤศจิกายน 2542

    - สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐเช็กอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 16-21 พฤษภาคม 2543

    - นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เยือนสาธารณรัฐเช็กเพื่อร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า(JTC) ไทย-สาธารณรัฐเช็ก ระหว่างวันที่ 14-15 มิถุนายน 2543

    - นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนสาธารณรัฐเช็กอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2546

    - ผู้แทนการค้าไทย (นายกันตธีร์ ศุภมงคล) เยือนสาธารณรัฐเช็กระหว่างวันที่ 4-9 มีนาคม 2547

    - กลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-เช็ก
    เมื่อเดือนมีนาคม 2537 นาย Milan Uhde ประธานรัฐสภาแห่งเช็ก ได้เยือนไทยอย่า
    งเป็นทางการ และเมื่อเดือนสิงหาคม 2537 ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภาในขณะนั้นได้เยือนเช็กอย่างเป็นทางการ ซึ่งในระหว่างการเยือนได้มีการเสนอให้มีความร่วมมือระหว่างรัฐสภาของทั้งสองประเทศ จึงได้มีการจัดตั้งกลุ่มมิตรภาพเช็ก-ไทยขึ้นในสภาผู้แทนราษฎรเช็กในเดือนกันยายน 2537 และฝ่ายไทยได้จัดตั้งกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-เช็ก ในเดือนตุลาคม 2537 ปัจจุบันกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-เช็ก มีสมาชิก 66 คน ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 37 คน สมาชิกวุฒิสภา 14 คน และสมาชิกสมทบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5 คน และสมาชิกสมทบสมาชิกวุฒิสภา 10 คน โดยมี คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช ดำรงตำแหน่งประธาน นายกอบศักดิ์ ชุติกุล ดำรงตำแหน่งรองประธานคนที่ 1 และนายอาคม ตุลาดิลก ดำรงตำแหน่งรองประธานคนที่ 2

    การให้ความช่วยเหลือระหว่างกัน

    เหตุการณ์อุทกภัยในสาธารณรัฐเช็กเมื่อปี 2545

    รัฐบาลไทย โดยปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้บริจาคเงินเพื่อช่วยในการฟื้นฟูประเทศจากกรณีดังกล่าว จำนวน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ แก่นาย Jiri Sitler เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2545

    เหตุการณ์ธรณีพิบัติทางภาคใต้ของไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547

    มีนักท่องเที่ยวเช็กเสียชีวิต 1 รายจากเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งได้ส่งศพกลับสาธารณรัฐเช็กแล้ว และมีชาวเช็กสูญหาย 6 ราย (ณ เดือนเมษายน 2548 อยู่ระหว่างรอยืนยันการเทียบข้อมูล DNA เพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ศพ) นอกจากนี้ มีอาสาสมัครชาวเช็ก 2 คน ช่วยทำงานที่ศูนย์ DVI ที่จังหวัดภูเก็ต ในส่วนของประชาชนเช็ก ได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในหลายประเทศ รวมเป็นเงิน 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งส่วนหนึ่ง ได้บริจาคผ่านองค์กร ADRA ประจำประเทศไทย นำไปใช้ในการบูรณะโรงเรียนที่บ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต นอกจากนี้ นาง Livia Klausova ภริยานาย Vaclav Klaus ประธานาธิบดีเช็ก ได้บริจาคเงินส่วนตัว จำนวน 50,000 คอรูน่า (ประมาณ 2,140 ดอลลาร์สหรัฐ) ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในประเทศไทยด้วย

    ล่าสุด เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2548 นาย Cyril Svoboda รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเช็ก พร้อมคณะได้เดินทางไปเยี่ยมชมจังหวัดภูเก็ต โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเยือนประเทศที่ประสบภัยคลื่นยักษ์ ภายหลังการเยือน นาย Svoboda ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่ติดตามมาว่าภาคใต้ของไทยปลอดภัยและพร้อมที่จะให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวเช็กแล้ว

    ด้านเศรษฐกิจ

    การค้าระหว่างไทย-สาธารณรัฐเช็ก

    สาธารณรัฐเช็กเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทยในยุโรปกลางและตะวันออก รองจากฮังการีและโปแลนด์ โดยในปี 2547 มีมูลค่าการค้ารวม 199.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยส่งออก 147.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นำเข้า 51.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยได้ดุล 95.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

    สินค้าที่ไทยส่งออก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องวีดิโอและเครื่องเสียง ยางพารา อาหารทะเลกระป๋อง แก้วและกระจก รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป

    สินค้าที่ไทยนำเข้า ได้แก่ แก้วและผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ผลิตภัณฑ์ยาง ยุทธปัจจัย เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เครื่องรับ-ส่งวิทยุโทรศัพท์ โทรเลข แทรกเตอร์ ผลิตภัณฑ์ไม้ แร่ดิบ ผลิตภัณฑ์โลหะ ใบยาสูบ

    สินค้าส่งออกที่มีศักยภาพ ได้แก่ แก้วและกระจก เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องวิดีโอ เครื่องเสียงอุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว และเครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว

    สินค้านำเข้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ รวมทั้งโครงรถและตัวถัง แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผ้าผืน กระดาษ กระดาษแข็ง และผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องใช้เบ็ดเตล็ด

    ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า

    1. ภาคเอกชนของไทยยังขาดความมั่นใจในการบุกเบิกตลาดสินค้าในประเทศเช็ก เนื่องจากความเสี่ยงด้านการชำระเงิน ประกอบกับตลาดประเทศเช็กมีขนาดเล็ก มีประชากรเพียง 10.3 ล้านคน ดังนั้น ความสนใจตลาดเช็กของภาคเอกชนไทยจึงยังต้องได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมจากภาครัฐในรูปของการเผยแพร่ข้อมูลและการประชาสัมพันธ์สินค้าไทยให้เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยให้มากยิ่งขึ้น

    2. ระบบช่องทางธุรกิจด้านห้างสรรพสินค้าในเช็กนั้น ได้รับอิทธิพลสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ การนำเข้าสินค้าจะให้ความสำคัญกับประเทศหุ้นส่วน เช่น เยอรมัน ออสเตรีย สหรัฐฯ เป็นต้น ดังนั้นการขยายตลาดสินค้าของไทยในรูปการสั่งซื้อรายใหญ่จึงทำให้ลำบาก

    3. สาธารณรัฐเช็กห้ามนำเข้าไก่สดแช่เย็นและแช่เข็งจากไทยเป็นการชั่วคราวตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2541 เนื่องจากตรวจพบว่ามีสารหนูตกค้าง ในปริมาณที่สูงกว่ามาตรฐานที่ทางการเช็กกำหนด แต่ภายหลังจากที่ฝ่ายไทยได้เชิญเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของเช็กเดินทางมาตรวจรับรองกระบวนการผลิตและการควบคุมการผลิตในประเทศไทยแล้ว ทางการเช็กได้ยกเลิกคำสั่งห้ามนำเข้าไก่สดแช่แข็ง เมื่อเดือนกันยายน 2542

    ด้านการลงทุน

    สาธารณรัฐเช็กมีบรรยากาศทั่วไปที่เอื้อต่อการลงทุนโดยมีที่ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป ซึ่งเอื้อต่อการส่งสินค้าไปขายยังประเทศรอบด้าน และมีแรงงานที่มีคุณภาพแต่ค่าแรงต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศยุโรปอื่น สาธารณรัฐเช็กยังต้องการการลงทุนจากต่างประเทศในสาขาการผลิตต่าง ๆ เช่น การผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง เคมี โลหะ วิศวกรรม การขนส่ง เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิคส์ เครื่องมือการแพทย์ อาหารและเครื่องดื่ม กระดาษและเยื่อกระดาษ หนังสือและสิ่งตีพิมพ์ สิ่งทอ เครื่องหนังและรองเท้า ปัจจุบันได้มีโครงการร่วมลงทุนไทย-เช็ก 1 โครงการคือ บริษัท Enholco Industries Co.ltd ซึ่งได้รับการส่งเสริมผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา เช่น เขียง โต๊ะ เก้าอี้ Salad Bowl ส่งออกร้อยละ 80 โดยส่งไปยังสหรัฐฯ สวีเดน เยอรมัน และญี่ปุ่น มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 19.15 ล้านบาท ทันจดทะเบียน 13 ล้านบาท โดยมีหุ้นไทยมูลค่า 7.5 ล้านบาท หุ้นเช็ก 5.5 ล้านบาท โครงการนี้เปิดดำเนินการแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2542 โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปาง

    โอกาสทางการค้าการลงทุนของไทยในสาธารณรัฐเช็ก

    แม้ว่าเศรษฐกิจของเช็กขณะนี้อยู่ในระหว่างชะลอตัว แต่รัฐบาลได้พยายามแก้ปัญหา จากการที่ทำเลตั้งอยู่ใจกลางยุโรปซึ่งมีลักษณะเป็นสะพานเชื่อมยุโรปตะวันตก กับยุโรปตะวันออก เช็กจึงเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าไทยสู่ประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก นอกจากนั้น โดยที่สาธารณรัฐเช็กเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่สำคัญในภูมิภาคยุโรป โดยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในเช็กประมาณปีละกว่า 100 ล้านคน การบริการรองรับนักท่องเที่ยวยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในฤดูท่องเที่ยว รวมทั้งการบริการที่ยังมีคุณภาพด้อยกว่าไทย และอัตราค่าห้องพักโรงแรมยังอยู่ในระดับสูงกว่าที่ควร กิจการโรงแรมและร้านอาหารไทยจึงน่าจะมีโอกาสค่อนข้างมากในเช็กในขณะนี้ นอกจากนั้น นักลงทุนไทยอาจร่วมมือกับผู้ประกอบการฝ่ายเช็กในการผลิตเครื่องแก้วในประเทศไทย โดยใช้ความชำนาญและเทคโนโลยีของฝ่ายเช็กในด้านของวัตถุดิบ สาธารณรัฐเช็กยังเป็นแหล่งของเครื่องเหล็กและเคมีภัณฑ์ ตลอดจนอุปกรณ์โรงงานต่าง ๆ ซึ่งมีราคาต่ำอีกด้วย รัฐบาลเช็กมีนโยบายสนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติมาลงทุนในเช็กโดยมีสิ่งจูงใจหลายประการซึ่งหน่วยงาน Czechinvest ซึ่งรับผิดชอบด้านส่งเสริมการลงทุน สามารถให้ข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ได้ ไทยน่าจะพิจารณามาลงทุนในเช็กในขณะนี้ เพราะค่าแรงและค่าใช้จ่ายต่างๆ ยังถูกอยู่ เมื่อเทียบกับประ
    เทศใกล้เคียง แต่เมื่อใดที่เช็กได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว เป็นที่คาดว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ จะสูงขึ้น รวมทั้งสิ่งจูงใจต่างๆ จะต้องลดลงเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของ EU

    ด้านการท่องเที่ยว
    สถิตินักท่องเที่ยวชาวเช็กเดินทางมาประเทศไทยมี ดังนี้
    ปี 2538 : 4,376 คน
    ปี 2539 : 6,737 คน
    ปี 2540 : 7,400 คน
    ปี 2541 : 8,892 คน
    ปี 2542 : 9,583 คน
    ปี 2544 : 8,848 คน
    ปี 2545 : 13,020 คน
    ปี 2546 : 12,382 คน
    ช่วง ม.ค.-ก.ย.2547: 9,089 คน

    ความตกลงทวิภาคีระหว่างไทย-สาธารณรัฐเช็ก

    เนื่องจากสาธารณรัฐเช็กได้สืบสิทธิมาจากสหพันธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวัก (เชโกสโลวาเกียเดิม) ซึ่งเป็นประเทศที่ไทยมีความสัมพันธ์มาตั้งแต่ปี 2517 (ค.ศ.1974) สาธารณรัฐเช็กจึงสืบสิทธิความตกลงต่าง ๆ ที่มีอยู่ระหว่างกันมาแต่เดิม นอกจากฝ่ายเช็กจะเสนอขอจัดทำใหม่ ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีของไทยได้มีมติรับรองให้ทั้งสาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐสโลวักเป็นผู้สืบสิทธิความตกลงที่ไทยมีอยู่ด้วยแล้ว (มติ ครม.เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2535)

    ความตกลงที่ได้ลงนามแล้ว ได้แก่

     ความตกลงทางการค้า (Trade Agreement) ลงนามเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2537 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2538 แต่ได้ยกเลิกไปหลังจากสาธารณรัฐเช็กเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และจะต้องใช้ Common Trade Policy ของ EU

     ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (Agreement for the Promotion and Protection of Investments) ลงนามเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2537 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2538

     อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน (Convention for the Avoidance of Double Taxation and Prevention of Fiscal Evasion with respect to Taxes on Income) ลงนามเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2537 ที่กรุงเทพฯ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2538

     ข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและสาธารณรัฐเช็ก (Arrangement on Cooperation between the Ministry of Foreign Affairs of Thailand and the Ministry of Foreign Affairs of the Czech Republic) ลงนามและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2537

     ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศจัดทำเมื่อปี ค.ศ.1988 (Air Services Agreement) เป็นความตกลงที่สาธารณรัฐเช็กสืบสิทธิจากเชโกสโลวาเกีย

     ความตกลงเพื่อยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ (Mutual Abolishing of Visa Requirements for Holders of Diplomatic and Official/Service Passports) จัดทำเมื่อปี 2534 โดยเป็นความตกลงที่สาธารณรัฐเช็กสืบสิทธิจากเชโกสโลวาเกีย

     ความตกลงว่าด้วยการโอนตัวผู้กระทำผิดและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญาระหว่างไทย-เช็ก (Agreement on the Transfer of Offenders and Cooperation in the Enforcement of Penal Sentences) ลงนามเมื่อ 26 เมษายน 2543 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2545

    การตรวจลงตรา
    ไทยและสาธารณรัฐเช็กได้ทำความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ และหนังสือเดินทางพิเศษ โดยสามารถพำนักได้เป็นระยะเวลา 90 วัน

    20 มิถุนายน 2549

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×