ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อัจฉริยะสร้างได้

    ลำดับตอนที่ #11 : เทคนิคการเขียนเร็วและได้ข้อมูลดี

    • อัปเดตล่าสุด 12 พ.ค. 51


     

    เทคนิคการเขียนเร็วและได้ข้อมูลดี

             

    เคยไหม ที่เรานั่งลง จำเป็นต้องเขียนอะไรสักอย่าง แต่เวลาผ่านไปห้านาทีก็แล้ว สิบนาทีก็แล้ว ก็ยังไม่มีข้อความอะไรไหลออกมาจากปลายปากกาของเราได้ ยิ่งนั่ง ยิ่งเครียด ในที่สุดก็เขียนอะไรไม่ได้เลย

              ในกรณีนี้ มักแนะนำว่า ก่อนการเขียนให้เตรียมกระดาษเปล่ามาหนึ่งแผ่น แล้วนั่งลงห้านาที และโดยที่ไม่ต้องกังวลกับอะไรทั้งสิ้น ไม่มีคำว่าถูกว่าผิดไม่ต้องกลัวใครมามองทั้งนั้น จากนั้นให้เขียนทุกอย่างที่คิดได้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ลงในกระดาษเปล่าให้หมด....นี่เป็นขั้นตอนที่เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ ดังนั้นเขียนไปเลยคะ

              หลังจากเขียนเสร็จแล้ว เราค่อยเอาข้อมูลตรงนี้มาค่อยๆดู จัดกลุ่มใหม่ ทำให้ดี ทำช้าๆก็ได้ แล้วลงมือเขียนอย่างบรรจงต่อไป

     

    ขั้นตอนการเขียนงานชิ้นเยี่ยม

    ?     เตรียมตัวก่อนเขียน ก็คือการระดมสมองห้านาทีบนกระดาษเปล่า

    ?     เขียนครั้งที่หนึ่ง ลองเขียนดูโดยไม่ต้องหวังให้มันสมบูรณ์แบบ

    ?     แบ่งปันขั้นตอนของการนำงานเขียนของเราไปให้คนอื่นอ่านดู

    ?     ปรับปรุงครั้งที่หนึ่ง...หลังจากฟังคำแนะนำของเพื่อนหรือพ่อแม่ก็นำกลับมาทำใหม่ใหม่ดี

    ?     ตรวจคำผิด แก้ไขไวยากรณ์ที่ผิด แก้ไขรูปแบบประโยค

    ?     เขียนซ้ำ พอแก้คำผิดแล้ว ก็มาลองดูข้อมูลโดยรวมใหม่ซ้ำอีกรอบ

    ?     ตรวจขั้นตอนสุดท้าย พอทุกอย่างสมบูรณ์แบบ ก็ส่งสู่สายตาประชาโลกได้เลยคะ

     

    ขั้นตอนเหล่านี้สำคัญทั้งหมด และคนที่ชอบลืมหรือไม่ให้ความสำคัญที่สุด ก็คือขั้นตอนของการ 'แบ่งปัน' ซึ่งแท้จริงแล้วสำคัญมาก เพราะเราเขียนเองก็รู้เอง อ่านแล้วก็วนอยู่เท่านั้น แต่เมื่อให้คนอื่นอ่านเขาจะมีแนวคิดใหม่ๆ และบางครั้งก็ยังอาจขอให้เราอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่เขาไม่เข้าใจได้อีก แต่สิ่งที่เราต้องฝึกก็คือ การเอาอัตตาของเราออกจากงานให้ได้ ทันที่งานเขียนชิ้นหนึ่งเสร็จลง ให้ถือเสมือนว่า มันไม่ใช่งานของเราอีกต่อไป สิ่งนี้ไม่ใช่ลูกน้อยของเราอีกแล้วและหากเราทำอย่างนั้นได้ เราจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมายจากคนที่ยินดีสละเวลามาอ่านงานให้เรา

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×