ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูลประเทศต่างๆในทวีปยุโรป

    ลำดับตอนที่ #11 : สาธารณรัฐไซปรัส

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.27K
      2
      20 ม.ค. 50



     
    สาธารณรัฐไซปรัส
    REPUBLIC OF CYPRUS


     
    ข้อมูลทั่วไป
    ที่ตั้ง ทวีปยุโรปใต้ เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ห่างจากทางตอนเหนือของอียิปต์ 240 ไมล์ ห่างจากตะวันตกของซีเรีย 64 ไมล์ ห่างจากทางใต้ของตุรกี 44 ไมล์ และห่างจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรีซ (เกาะ Rhodes และเกาะ Carpathos ของกรีซ) 240 ไมล์

    ภูมิหลัง
    2503 ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร
    2517 เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกี โดยชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกมีอำนาจรัฐบาล แต่ได้รับการแทรกแซงจาก
    ประเทศตุรกี ทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็นไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกี ซึ่งต่อมาไซปรัสตุรกีได้ควบคุมพื้นที่ 36.2% ของเกาะไซปรัส
    2526 ไซปรัสตุรกีพยายามสถาปนาตนเองขึ้นเป็นรัฐ เรียกพื้นที่ในการครอบครองว่า “Turkish Republic of Northern Cyprus” (TRNC) แต่ได้รับการรับรอง
    จากรัฐบาลตุรกีแต่เพียงฝ่ายเดียว
    2545 สหประชาชาติได้ดำเนินความพยายามให้ไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกีเจรจาเพื่อการรวมประเทศ

    พื้นที่ 3,572 ตารางไมล์ หรือ 9,251 ตารางกิโลเมตร โดยอยู่ในการครอบครองของไซปรัสตุรกี 3,355 ตารางกิโลเมตร

    จำนวนประชากร 802,000 คน (2546)

    สภาพอากาศ เมดิเตอร์เรเนียน เดือนที่อากาศร้อนและแห้งแล้งที่สุด คือ เดือนกรกฎาคม เดือนที่อากาศเย็นที่สุดและมีฝนตกมากที่สุด คือ เดือนมกราคม

    ภาษาราชการ กรีก ตุรกี อังกฤษ

    ศาสนา กรีกออโทดอกซ์ ร้อยละ 77 มุสลิมร้อยละ 18 นอกจากนี้ ยังมี Maronite, Roman Catholic และ Armenian Orthodox

    เมืองหลวง นิโคเซีย (Nicosia)

    สกุลเงิน ปอนด์ไซปรัส (Cyprus Pound –CYP)
    (ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2547) - 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 0.46 ปอนด์ไซปรัส

    วันชาติ 1 ตุลาคม

    การเมืองการปกครอง
    ระบบการเมือง สาธารณรัฐ

    รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และเป็นหัวหน้ารัฐบาล

    อำนาจนิติบัญญัติ ไซปรัสมีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2503 เป็นกฏหมายสูงสุด รัฐสภาเป็นแบบสภาเดียว คือสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยตรงทุก 5 ปี โดยแบ่งออกเป็นสภาผู้แทนราษฎร ของไซปรัสกรีก หรือ Vouli Antiprosopan และสภาผู้แทนราษฎรของไซปรัสตุรกี หรือ Cumhuriyet
    Meclisi
    สภาฯ ของไซปรัสกรีก มีทั้งหมด 80 ที่นั่ง โดยแบ่งเป็นสมาชิกสภาฯ จาก
    ไซปรัสกรีก 56 ที่นั่ง และสมาชิกสภาฯ จากไซปรัสตุรกี 24 ที่นั่ง (ในขณะนี้
    มีเพียงตัวแทนจากไซปรัสกรีกในสภา ขณะที่ที่นั่งของฝ่ายไซปรัสตุรกีได้ว่าง
    เว้นไว้ เนื่องจากไซปรัสตุรกีไม่ให้การรับรอง จึงไม่มีการจัดส่งสมาชิกมา
    เข้าร่วมประชุม แต่ได้มีการจัดตั้งสภาฯ ขึ้นเป็นของตนเอง) การเลือกตั้ง
    ครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2544 และครั้งต่อไปกำหนดจะ
    มีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2549
    สภาฯ ของไซปรัสตุรกี มีทั้งหมด 50 ที่นั่ง การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้น
    เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2546 ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคฝ่ายค้านของนาย Mehmet Ali Talat ได้รับคะแนนเสียงมากกว่าพรรครัฐบาลของประธานาธิบดี Denktash แต่ต่อมาได้รับการจัดสรรที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเท่ากันพรรคละ 25 ที่นั่ง และนาย Talat ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมีนาย Serdar Denktash เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ
    อำนาจตุลาการ ศาลสูงสุด (Supreme Court) ผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี

    ประธานาธิบดี (Chief of State and Chief of Government) ไซปรัสมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และอยู่ในวาระคราวละ 5 ปี
    ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2546
    นาย Tassos PAPADOPOULOS ชนะการเลือกตั้ง และเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2546 โดยเป็นประธานาธิบดีคนที่ 9 นับตั้งแต่ไซปรัสได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อปี 2503 ตำแหน่งรองประธานาธิบดี ซึ่งตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าจะต้องเป็นตัวแทนจากไซปรัสตุรกีได้ว่างเว้นไว้
    ในส่วนของไซปรัสตุรกี มี Mr. Rauf R. Denktash เป็นประธานาธิบดี และ Mr. Dervis Eroglu เป็นนายกรัฐมนตรี
    รัฐบาลที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นรัฐบาลของสาธารณรัฐไซปรัสที่ถูกต้อง คือรัฐบาลไซปรัสกรีก

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนาย Yiorgos Lillikas
    ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 49 นาย Yiorgos เป็นนักการเมืองที่มีความโดดเด่นและน่าจับตามองคนหนึ่งของไซปรัส

    พรรคการเมือง
    ไซปรัสกรีก ได้แก่
    พรรค Democratic Party (DIKO)
    พรรค Democratic Rally (DISY)
    พรรค Fighting Democratic Movement (ADIK)
    พรรค Green Party of Cyprus
    พรรค New Horizons
    พรรค Restorative Party of the Working People (AKEL)
    พรรค Social Democrats Movement (KISOS)
    พรรค United Democrats Movement (EDE)
    ไซปรัสตุรกี ได้แก่
    พรรค Communal Liberation Party (TKP)
    พรรค Democratic Party (DP)
    พรรค National Birth Party (UDP)
    พรรค National Unity Party (UBP)
    พรรค Our Party (BP)
    พรรค Patriotic Unity Movement (YBH)
    พรรค Republican Turkish Party (TP)

    การเลือกตั้งทั่วไป ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดของไซปรัสกรีก เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2546 ผลปรากฏว่า นาย Tassos Papadopoulos หัวหน้าพรรค Democratic Party (DIKO) ซึ่งเดิมเป็นผู้นำฝ่ายค้าน ได้รับคะแนนเสียง
    213,353 เสียง หรือเท่ากับร้อยละ 51.5 ของผู้ลงคะแนนเสียง และมีชัยชนะ
    เหนือนาย Glafcos Clerides ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไซปรัสมาแล้ว 2 สมัย
    โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้มาลงคะแนนเสียงทั้งหมดประมาณ 476,000 คน
    หรือเท่ากับร้อยละ 90.10 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด (รัฐธรรมนูญ
    ไซปรัสกำหนดให้เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องไปลงคะแนนเสียง)

    แผนสันติภาพไซปรัสของสหประชาชาติ
    - นาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ดำเนินความพยายามอย่างหนักใน
    การผลักดันให้ไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกีเจรจาเพื่อการรวมประเทศ ในช่วงปี 2545-2546 โดยได้จัดให้มีการพบปะระหว่างผู้นำชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและเชื้อสายตุรกีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2546 ณ กรุงเฮก แต่การเจรจาดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ
    - ความพยายามครั้งล่าสุดของนาย Kofi Annan มีขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547
    โดยแบ่งการเจรจาออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ การเจรจาระหว่างผู้นำไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกี ที่กรุงนิโคเซีย เมืองหลวงของไซปรัสระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ – 22 มีนาคม 2547 หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ กรีซและตุรกีจะเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาจนถึงวันที่ 29 มีนาคม 2547 และเลขาธิการสหประชาชาติจะเข้ามาแก้ไขประเด็นที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ต่อไป ก่อนจะมีการลงประชามติแยกสำหรับชาวไซปรัสกรีกและชาวไซปรัสตุรกีในวันที่ 24 เมษายน 2547
    - ในวันที่ 21 เมษายน 2547 สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรด้วยการผลักดันของ
    นาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ได้เสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการของสหประชาชาติในไซปรัสและการห้ามขายอาวุธให้แก่ไซปรัส แต่รัสเซียได้ใช้สิทธิยับยั้งร่างข้อมติดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติควรจะพิจารณาเรื่องนี้หลังจากที่ได้รับทราบผลการลงประชามติอย่างอิสระโดยมิได้ถูกแทรกแซง หรือกดดันจากภายนอกของชาวไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกีต่อแผนสันติภาพไซปรัสตามข้อเสนอของสหประชาชาติ (Reunification Plan) ในวันเสาร์ที่ 24 เมษายน 2547
    - เมื่อวันเสาร์ที่ 24 เมษายน 2547 ชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกและชาวไซปรัสเชื้อสาย
    ตุรกี ได้มีการลงประชามติว่าจะยอมรับแผนสันติภาพไซปรัสตามข้อเสนอของเลขาธิการสหประชาชาติหรือไม่ ผลปรากฏว่าชาวไซปรัสกรีกปฏิเสธแผนสันติภาพฯ ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 75.8 และชาวไซปรัสตุรกียอมรับแผนสันติภาพฯ ร้อยละ 64.9 เป็นผลให้แผนสันติภาพฯ ล้มเหลว เกาะไซปรัสยังคงแบ่งแยกออกเป็นสองส่วนเช่นเดิมและมีเพียงไซปรัสกรีกเท่านั้นที่สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 โดยไม่ครอบคลุมถึงไซปรัสตุรกี

    การเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป
    ไซปรัสได้ลงนามความตกลงเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 16 เมษายน
    2546 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ในช่วงที่ประเทศกรีซดำรงตำแหน่งประธานสหภาพยุโรป และไซปรัสได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1พฤษภาคม 2547 โดยรัฐบาลไซปรัสได้เน้นย้ำถึงการแก้ไขปัญหาการแบ่งแยกระหว่างไซปรัสกรีกและไซปรัสตุรกี และรัฐบาลไซปรัสจะทบทวนนโยบายและกำหนดมาตรการต่อชาวไซปรัสตุรกีให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของไซปรัส อาทิ มาตรการด้านการเคลื่อนย้ายสัญจร โอกาสในการรับจ้างงาน โอกาสด้านมนุษยธรรม และวัฒนธรรมต่างๆ เป็นต้น

    คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของไซปรัส ตั้งแต่การปรับครม.เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 49 มีดังนี้
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม - นาย Phivos Klokkakis
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม - นาย Fotis Fotiou
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม - นาย Sophocles Sophocleous
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง - นาย Michalis Sarris
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว - นาย Antonis Michaelides
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและประกันสังคม - นาย Antonis Vassiliou
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม - นาย Pefkios Georgiades
    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข - นาย Charis Charalambous


    เศรษฐกิจการค้า
    ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 17.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

    รายได้เฉลี่ยต่อหัว 20,500 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)

    อัตราการเติบโตของ GDP ร้อยละ 4 (2549)

    อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 2 (2549)
    ปริมาณการส่งออก 1.054 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

    ปริมาณการนำเข้า 4.637 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

    สินค้าส่งออก เภสัชกรรม ซีเมนต์ เสื้อผ้า ยาสูบ

    ประเทศคู่ค้าที่สำคัญในการส่งออก อังกฤษ 24.4% ฝรั่งเศส (11%) เยอรมนี (7.2%) กรีซ (6.4%)

    สินค้านำเข้า สินค้าอุปโภคบริโภค ปิโครเลียม เครื่องจักร

    ประเทศคู่ค้าที่สำคัญในการนำเข้า รัสเซีย (36.3%) กรีซ (6.5%) อังกฤษ (5.3%) เยอรมนี (5.2%) อิตาลี (5.1%) ฝรั่งเศส (4.8%)

    ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ทองแดง ไพไรท์ (ธาตุใช้ในการผลิตกรดซัลฟูริค) เส้นใย ไฟเบอร์ธรรมชาติ (ใช้กันไฟ) ยิบซั่ม ไม้ เกลือ หินอ่อน

    อุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมเกี่ยวกับแร่และซิเมนต์ การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์รองเท้า อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐไซปรัส
    1. ความสัมพันธ์ทางการทูต
    ประเทศไทยเริ่มมีความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐไซปรัสทางด้านกงสุลตั้งแต่ปี 2512 โดยไทยได้แต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำอยู่ที่เมือง Farmagusta ทั้งสองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2523 และตราบถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองดำรงอยู่ในระดับปกติ โดยไม่มีปัญหาขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกันแต่อย่างใด

    2. ความสัมพันธ์ทางการเมือง
    สืบเนื่องจากปัญหาการเมืองภายในเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกกับชาวไซปรัสเชื้อสายตุรกี ซึ่งส่งผลให้ไซปรัส ถูกแบ่งเป็นสองส่วนมาตั้งแต่ปี 2517 โดยส่วนเหนือของเกาะถูกยึดครองโดยสาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ (Turkish Republic of Northern Cyprus-TRNC) ทำให้บทบาทของไซปรัสในเวทีการเมืองระหว่างประเทศมุ่งไปในการขอความสนับสนุนจากประเทศต่างๆ เพื่อหาข้อยุติต่อปัญหาไซปรัสตามมติของ UN

    ท่าทีไทยต่อปัญหาไซปรัส
    - ไทยไม่ให้การรับรองสาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ (ตุรกีเป็นประเทศเดียวที่รับรอง TRNC)
    -ไทยมีนโยบายเป็นกลาง และเห็นว่า ปัญหาไซปรัสเป็นปัญหาภายในที่ชุมชนไซปรัส
    เชื้อสายกรีกและตุรกีจะต้องเจรจาแก้ไขปัญหาระหว่างกัน โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก
    -ไทยยึดถือและปฏิบัติตามมติของ UNSC และ UNGA ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาไซปรัส
    และสนับสนุนบทบาทของ UN ในการดำเนินความพยายามเพื่อให้มีการเจรจาแก้ไขปัญหาระหว่างชุมชนไซปรัสทั้งสองกลุ่มต่อไป

    3. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
    ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับไซปรัสยังมีอยู่น้อยมาก สาเหตุส่วนหนึ่ง
    มาจากการค้าของไซปรัสผูกติดกับประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา ปริมาณการค้ารวมระหว่างไทยกับไซปรัสมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยที่ไซปรัสเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีและมั่นคง (ปี 2543 รายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณปีละ 16,000 ดอลลาร์หรัฐ) ไทยจึงได้จัดให้ไซปรัสเป็นกลุ่มตลาดใหม่ที่มีศักยภาพที่ฝ่ายไทยจะดำเนินการผลักดันเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออก

    3.1 การค้ารวม
    การค้ารวมไทย-ไซปรัสในช่วงปี 2542-2545 เฉลี่ยปีละ 46.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปี 2545 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 35.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับในปี 2546 ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – สิงหาคม การค้าระหว่างไทยกับไซปรัสมีมูลค่ารวม 16.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 34.0 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 15.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    3.2 การส่งออก ในช่วงปี 2542-2545 ไทยส่งสินค้าออกไปไซปรัสเฉลี่ยปีละ 42.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปี 2545 ไทยส่งสินค้าออกไปไซปรัส มูลค่า 32.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปี 2546 ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – สิงหาคม ไทยส่งสินค้าออกไปไซปรัส มูลค่า 15.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 29.46
    สินค้าออกสำคัญ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ กุ้งสดแช่เย็น/แช่แข็ง รองเท้าและชิ้นส่วน ผ้าผืน ปลาหมึกสดแช่เย็น/แช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น
    สินค้าส่งออกที่มีศักยภาพ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เส้นใยประดิษฐ์ ลิฟต์ บันไดเลื่อน และเครื่องจักรสำหรับลำเลียงขนย้าย หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เลนซ์ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ อาหารทะเลแปรรูป สิ่งทออื่นๆ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เป็นต้น

    3.3 การนำเข้า ในช่วงปี 2542-2545 ไทยนำสินค้าเข้าจากไซปรัสเฉลี่ยปีละ 2.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปี 2545 ไทยนำเข้าสินค้าจากไซปรัส มูลค่า 3.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปี 2546 ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – สิงหาคม ไทยนำสินค้าเข้าจากไซปรัสมูลค่า 0.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 70.37
    สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ สบู่ ผงซักฟอก และเครื่องสำอาง เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สิ่งพิมพ์ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร ไฟฟ้าและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ เป็นต้น
    สินค้านำเข้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เป็นต้น

    3.4 ดุลการค้า ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าไซปรัสมาโดยตลอด เฉลี่ยในช่วงปี 2542-2545 ปีละ 40.17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในปี 2545 ไทยได้เปรียบดุลการค้าไซปรัส มูลค่า 29.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปี 2546 ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – สิงหาคม ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับไซปรัสแล้ว 15.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    ปัญหาและอุปสรรคการค้าทวิภาคี
    - ทั้งสองฝ่ายไม่มีความกระตือรือร้นในการขยายการค้าระหว่างกัน
    - ทั้งสองฝ่ายยังขาดข้อมูลทางการค้าระหว่างกัน

    ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
    - ควรเจรจาหาลู่ทางที่จะส่งเสริมการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น
    - ควรมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับเพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ด้านต่างๆ และ
    การค้าก็จะเป็นผลสืบเนื่องตามมา

    4. การท่องเที่ยว
    นักท่องเที่ยวชาวไซปรัสเดินทางมาประเทศไทย ในปี 2544 มีจำนวน 3,731 คน ในปี 2545 มีจำนวน 3,813 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 2.20

    5. แรงงาน
    ไซปรัสเคยแสดงความสนใจเรื่องการจัดส่งคนงานไทยไปทำงานในไซปรัส (พยาบาล
    และบุคลากรด้านการโรงแรม) อย่างไรก็ดี เมื่อสภาพเศรษฐกิจไซปรัสซบเซาลง ทำให้ความต้องการแรงงานต่างชาติลดลงด้วย ปัจจุบัน มีแรงงานต่างชาติในไซปรัสเพียง 20,000 คน
    อย่างไรก็ตาม โอกาสสำหรับแรงงานไทยยังมีอยู่บ้างสำหรับงานพ่อครัว คนงาน
    ในฟาร์มเกษตรด้านการเพาะปลูก และคนเลี้ยงม้า แต่ความต้องการแรงงานในด้านต่างๆ ดังกล่าว มีจำกัดไม่เกิน 50 คน

    คนไทยในไซปรัส
    ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2546 จำนวนคนไทยที่อาศัยอยู่ในไซปรัสไม่มีสถิติตัวเลขที่แน่นอน โดยสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำไซปรัสประเมินว่ามีจำนวนราว 300 คน ซึ่งมีถิ่นพำนักอยู่ในกรุงนิโคเซียประมาณ 100 คน ส่วนใหญ่เป็นสตรีที่แต่งงานกับคนไซปรัส

    7. ความตกลงระหว่างไทย-ไซปรัส

    7.1 ความตกลงระหว่างไทย-ไซปรัสที่ลงนามแล้ว
    1) ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ
    (ลงนาม 7 มีนาคม 2537)
    2) ความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนไทย-ไซปรัส
    (Agreement on the Avoidance of Double Taxation)
    (ลงนาม 29 ตุลาคม 2541 มีผลบังคับใช้ 4 เมษายน 2543)

    7.2.ความตกลงระหว่างไทย-ไซปรัสที่กำลังอยู่ระหว่างการเจรจา/การดำเนินการ
    1) ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางทะเลไทย-ไซปรัส
    (Agreement on Merchant Shipping)
    2) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการไทย-ไซปรัส
    (Agreement on the Exemption of Visas for Holders of Diplomatic and Official Passport)
    3) ข้อตกลงว่าด้วยการหารือและความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยและกระทรวงการต่างประเทศไซปรัส
    (Arrangement on Consultation and Co-operation between the Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Foreign Affairs of the Republic of Cyprus)

    8. การแลกเปลี่ยนการเยือน

    ฝ่ายไซปรัส
    25-29 พฤษภาคม 2517 พระสังฆราชมาการิออส อดีตประธานาธิบดีไซปรัสเยือนไทยโดยเป็นแขกของรัฐบาล
    1 - 3 กรกฎาคม 2527 ประธานาธิบดี Spyros Kyprianou แห่งสาธารณรัฐไซปรัส
    พร้อมด้วยนาย George Iacovou รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนไทยเป็นการส่วนตัว (private visit)
    18-20 มีนาคม 2533 นาย Andreas Jacovides ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
    ไซปรัสเยือนไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ
    14 พฤษภาคม 2534 นาย Tassos Panayides ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไซปรัสเดินทางแวะผ่านเยือนไทย

    ฝ่ายไทย
    ยังไม่เคยมีบุคคลในภาครัฐเยือนไซปรัสอย่างเป็นทางการในทุกระดับ
    หน่วยงานของไทยในไซปรัส
    สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโรม มีเขตอาณาดูแลไซปรัส
    Royal Thai Embassy
    Via Nomentana 132t 00162, Rome, Republic of Italy
    Tel. (3906) 8620-4381,8620-4382
    Fax (3906) 8620-8399
    E-mail : thai.em.rome@pn.itnet.it

    เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโรม (Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary)
    นายวรพจน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
    (H.E. Mr. Vara-poj Snidvongs) ดูแลคนไทยในไซปรัส

    สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำสาธารณรัฐไซปรัส (Royal Thai Consulate)
    Royal Thai Consulate
    40 Evagoras Ave,
    1st Floor Flat 3, 1097, Nicosia, Cyprus
    Tel (357) 2267-4900
    Fax (357) 2267-5544
    เวลาทำการ จันทร์ถึงศุกร์ 08.00-13.00 น. และ 15.00 - 17.00 น.

    กงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำประเทศไซปรัส (Honorary Consul)
    Mr. Elias Panayides รับตำแหน่งกงสุลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2535
    รองกงสุลคือนาย Chrysanthos Panayides เข้ารับตำแหน่งรองกงสุลตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2540


    หน่วยงานของไซปรัสในไทย
    สถานเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี
    The Embassy of the Republic of Cyprus
    106 Jor Bagh New Delhi – 110003 India
    Tel. 91-11-4697503, 4697508
    Fax 91-11-4628828
    Email: cyprus@del3.vsl.net.in

    เอกอัครราชทูตไซปรัสประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี
    (Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary)

    (เข้ารับหน้าที่ เมื่อวันที่ )

    สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไซปรัสประจำประเทศไทย (Cyprus)
    The Consulate of the Republic of Cyprus
    75/59 Richmond Building 17th Floor, Sukhumvit 26 Klongtoey, Prakhanong
    Tel. 0-2661-2319-22
    Fax 0-2261-8410

    กงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consul)
    นายจิรายุทธ์ วสุรัตน์
    (Mr. Chirayudh Vasuratana)

    สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลของไซปรัสในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

    สถานเอกอัครราชทูตไซปรัสประจำกรุงวอชิงตัน ดีซี
    24 ตุลาคม 2549

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×