ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : It's an awkward day... เมื่อทุกอย่างเดินมาถึงทางตัน
Actually, I'm not ready to begin this story.. but do you know what
all of a great revolution was happened with the same begining
that it's not ready to begin !
all of a great revolution was happened with the same begining
that it's not ready to begin !
wow ง่วงนอนจัง ฮ่าาา พรุ่งนี้คงไม่ได้เข้าคาบเช้าแน่เลย ==" เอาล่ะเรามาเริ่มกันเลยดีกว่า !
คือเราเป็นเด็กปีสาม เรียนคณะรัฐศาสตร์ มธ ซึ่งก็เป็นคณะที่ชอบ เพราะเลือกสอบตรงเข้ามาแค่ที่เดียว คือพอเรียนไปปีแรกมันสนุกมาก ส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปกับเพื่อน เที่ยว เล่น กิน เรียน เกรียน บลาๆๆ อารมณ์มันแบบว่าทุกอย่างมันช่าง Fresh ไปหมดสำหรับเรา ทำอะไรก็ดูตื่นเต้นน่าสนุก วันๆผ่านไปแบบเพลิดเพลินมาก เรียนก็แบบชิวมาก อีกประเด็นคือเราค่อนข้างโชคดีที่มีกลุ่มเพื่อนแบบดีมาก ไม่ fake ใส่กันอะไรแบบนั้น เวลาเกิดไรขึ้นก็มีพวกมันคอยอยู่ข้างๆ feel good มากๆ ณ จุดนี้
แต่แล้วโชคชะตาก็เล่นตลกเพราะมีเราคนเดียวที่เรียน IR นอกนั้นเพื่อนทั้งกลุ่มเรียน PA ซึ่งพอปีสองก็ต้องแยกกันเรียน ที่นี้ก็เลยเหลือเราคนเดียวหน่ะสิ ! TT สถานการณ์เริ่มดราม่ามากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไม่ค่อยมีเวลาได้เจอเพื่อน.. แต่ในความโชคร้ายก็ยังพอมองเห็นแสงเล็กๆ อยู่ นั่นคือ มันทำให้เรามีเวลาอยู่คนเดียวมากขึ้น ซึ่งพออยู่คนเดียวมันก็ทำให้เราเริ่มตั้งคำถาม กับตัวเองว่าว่าตอนนี้เรากำลังทำอะไรกับชีวิตอยู่ เรา ok กับสิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้ไหม และจริงๆ เราต้องการอะไรกันแน่ ? ซึ่งดูเหมือนจะเป็นคำถามง่ายๆนะ แต่พอเอาเข้าจริงมันตอบยากโคตร !
เราก็เลยมานั่งคิดว่าหรือไอ้อาการที่เราเป็นอยู่เนี่ยะมันเกิดจากการที่เราเจออะไรเดิมๆ ทำอะไรซ้ำๆ ซากๆ ทุกวัน เรียน กิน เล่น เที่ยว กลับหอ (สังเกตุดีว่าไม่มีการอ่านหนังสือ ฮ่าา).. คือท้าวความก่อนว่าจริงๆ แล้วเราเป็นพวก hi-per นะตั้งแต่สมัยอนุบาลอ่ะ ฮ่าา คือเป็นเด็กทำกิจกรรมมาตลอดทั้งในนอก รร. อนุบาลนี้เป็นทีมแอร์โรบิคชนะระดับภาค จนพอมาประถม-มัธยม เริ่มทำงานด้านภาษามากขึ้นโดยเฉพาะอังกฤษจนได้ไปถึงระดับประเทศ ซึ่งอันที่จริงก็ไม่เชิงว่าเก่งขนาดนั้น เพียงแต่สำเนียงดีเพราะติดดูหนัง sub-title มาตั้งแต่ 6 ขวบ ฉะนั้น ใครอยากได้สำเนียงฝึกไว้ เราว่ามันเป็นเทคนิคที่ใช้ได้กับการเรียนทุกภาษา อย่างการดูซีรีเกาหลีบ่อยๆ เราก็จะเริ่มเข้าใจเวลาตัวละครพูดฯ ซึ่งเราเชื่อว่ามันเป็นผลพวงให้เราได้ score speaking Ielts 7 !
ตอน ม.6 เราก็เป็นประธานนักเรียน ทั้งๆ ที่ชีวิตต้อง fight กับการสอบตรงและอื่นๆ แต่มันชินมั้ง ก็ทำจนทำทุกอย่างผ่านมาได้ แต่ก็แทบกระอักเหมือนกันนะ คือเป็นคนที่ทนไม่ได้จริงๆ ถ้าจะให้ใช้ชีวิตแบบเช้ามาไป รร เย็นกลับบ้าน อีกอย่างคือเราเป็นประเภทพวกที่ชอบทำอะไรที่แตกต่างจากคนอื่นๆ ไม่รู้เหมือนกันว่าจะทำสิ่งที่เหมือนกันกับคนอื่นๆไปทำไม มันจะมีความหมายอะไร ทำไมเราไม่ลองสร้างคุณค่าหรือความหมายให้ตัวเองจากการลองทำอะไรที่แตกต่างดูบ้างหล่ะ จริงไหม ?
แต่ชีวิตในมหาวิทยาลัยมันกลับกันกับที่เราเคยเป็น กลายเป็นว่าเราไม่ทำกิจกรรมอะไรเลย แม้แต่กิจกรรมในคณะ นอกจากการไปฟังเสวนาเป็นครั้งคราว ! ทำไมหน่ะหร๋อ เหอะๆ ลองเข้ามาแล้วจะรู้เอง โดยความเห็นส่วนตัวเรารู้สึกว่าระบบเส้นสายมันเยอะมาก จนรู้สึกว่ามันมากไปไหมกับอิแค่สังคมของเด็กมหาวิทยาลัย จะอะไรกันขนาดนั้น เพลีย เลยไม่ยุ่งดีกว่า คือมีครั้งหนึ่งเคยมีคนมาพูดประมาณว่าว่าอยากเป็นตำแหน่งนั้นไหม ถ้าอยากมาเข้าชมรมพี่สิ แล้วจะดัน ? อีกอย่างอาจจะเหนื่อยกับกิจกรรมตอน ม.6 ที่ต้องรับผิดชอบเยอะมากกกก จนสัญญากับตัวเองว่าเข้ามาปีหนึ่งฉันจะอยู่เฉยๆ ใช้เวลาไปกับเพื่อนเพื่อชดเชยช่วงเวลานั้นที่ขาดไปตอน ม.ปลาย
อีกอย่างคือมันเป็นเรื่องหน้าแปลกที่พอเราเข้ามาเรียนในคณะที่ชอบ แต่กลับไม่รู้ว่าจบออกไปแล้วอยากทำอะไร ! นี่พูดด้วยความสัจจริง เพราะเรารู้สึกว่าชีวิตจริงมันคือต่อจากนี้ต่างหาก การมีที่เรียนในมหาวิทยาลัยมันยังไม่ใช่ที่สุดหรือทุกอย่างของชีวิตนะ เพราะคนที่จบ ป.ตรี หลายหมื่นก็ยังคงไม่มีงานทำ ในทางกลับกันบางคนที่ไม่จบมหาวิทยาลัยกลับกลายเป็นเศรษฐีได้ เพราะเค้าหาสิ่งที่เค้ารักเจอ และทำมันอย่างดีที่สุด ฉะนั้นปัญหาของเราก็คือเรายังไม่รู้ตัวหน่ะสิว่าชอบอะไร เพราะเรื่องอาชีพ มันเป็นอะไรที่ละเอียดอ่อนมาก ต้องคำนึงถึงหลายอย่าง รายได้ ลักษณะการทำงาน ฯ
หลายคนอาจจะคิดว่ามันไม่เร็วเกินไปหรือที่จะคิดถึงเรื่องนั้นทั้งๆ ที่ยังเรียนไม่จบเลย.. ซึ่งนั้นแหละคือประเด็น ! ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าเราอยากเป็นนักการทูต เราก็ควรรู้ว่าเค้าต้องการคนที่มีคุณลักษณะแบบไหน เกรดต้องเท่าไหร่ สอบเข้ายังไง จบ ป.ตรี ไปสอบเข้ามีคู่แข่งเยอะไหม หรือจะเรียนให้จบ ป.โท ก่อนค่อยสอบ เพราะคู่แข่งจะน้อยลง หรือจบ ป.เอกเลยดีไหม พอสอบเข้าได้ หนึ่งปีก็ได้เลื่อนตำแหน่งอัตโนมัติเลย บลาๆๆ ? ฉะนั้น ถ้าเรามีเป้าหมายแน่ๆว่าอยากเป็นนักการทูต เราก็ต้องพยายามทำตัวเราให้มีคุณสมบัติตามที่เขาต้องการ got it ?
ดังนั้น ผู้ที่รู้ตัวก่อนจึงย่อมได้เปรียบเสมอ ! อย่างเรารู้ตัวตั้งแต่ ป.หก แล้วว่าจะสอบเข้ารัฐศาสตร์ มธ. สาขา IR และรู้ด้วยว่ามีการสอบตรง เราก็เลยเตรียมตัวย้ายมาเรียน ม.ปลาย สายศิลป์-ฝรั่งเศส จาก ม.ต้น ห้อง gifted วิทย์คณิต เพราะคิดแล้วว่าเรียนฟิสิกส์ไปก็คงไม่ได้ใช่สอบตรงแน่ๆ ฮ่าาา แต่เรียนภาษายังเอาไปใช้ในอนาคตได้ชัวร์ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าอาชีพนักการทูตเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เลือกเรียนคณะนี้ แต่หลังจากประสบการณ์ที่เคยเป็นประธานนักเรียนมา ทำให้เรารู้ว่า ไม่ชอบงานด้านบริหารเลย และการต้อง deal กับคนเยอะๆ มันเป็นอะไรที่น่าปวดหัวที่สุดในสามโลก ซึ่งงานลักษณะแบบนี้ก็คล้ายๆ กับที่นักการทูตต้องทำ คือไม่ใช่รู้เฉาพะเรื่องความสัมพันธ์ปแต่ต้องจัดการเรื่องความสัมพันธ์นั้นๆ ให้ดีได้ด้วย ! นี้แหละคือข้อดีของประสบการณ์ มันทำให้เรารู้ตัวตนที่แท้จริงของเรา คือบางอย่างเราอาจจะชอบ แต่พอลองทำแล้วไม่มีความสุข ก็ต้องเปลี่ยน
ฉะนั้น เมื่อเรายังไม่มั่นใจว่าจบไปแล้วอยากทำงานอะไรจริงๆ สิ่งเดียวที่สามารถทำได้ คือไปเรียนต่อ อาจจะเป็นเพราะอาการขี้เกียจด้วย เพราะการทำงานมันเป็นชีวิตอีกด้านที่เรายังไม่เคยเจอ และคิดว่ามันคงไม่สบายเท่ากับการเรียนแน่ๆ อีกอย่างไม่ว่าจะทำงานอะไร เรียนจบสูงๆ ไว้ (แบบมีคุณภาพนะ) คงจะเป็นการดีกว่า อีกทั้งพอทำงานไปแล้วก็อาจไม่มีเวลามาเรียนเลยก็ได้ แล้วพ่อแม่เองก็ค่อนข้างสนับสนุนประเด็นนี้ จึงตัดสินใจได้ว่าเรียนจบแล้วก็ไปเรียนต่อเลยดีที่สุด แต่คำถามคือ จะเรียนอะไรหล่ะ ? มาอีกล่ะคำถามปวดตับ ==" คือตอนนั้นก็ยังหาคำตอบให้ตัวเองไม่ได้ เพราะเรียน ป.โท มันต้องเป็นเฉพาะด้านไง อย่างถ้าจะเรียน IR อาจต้องเลือกเป็นภูมิภาค หรือประเด็น เช่นด้านการพัฒนา บลาๆ
เอาหล่ะ มันใกล้จะถึงจุดพีคล่ะ.. อีกอย่างคือการเรียนมหาลัยทำให้ english skill ต่ำลงอย่างฮวบฮาบ เพราะมัวเรียนแต่วิชาคณะ ซึ่งก็มีทั้งข้อดีคือ ไม่ต้องส่งการงาน เพราะวิชาอังกฤษชอบให้งานตั้งแต่อนุบาลยันมหาวิทยาลัย แต่ข้อเสียคือเราไม่ได้ใช้เลย จนบางทีโครงสร้างง่ายๆ หรือคำง่ายๆ ยังสะกดไม่ได้ ! เลยรู้สึกว่าปล่อยไว้แบบนี้ต้องตายแน่ๆ ทุกอย่างมีแต่ แย่ลงเรื่อยๆ ดังนั้น การไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนมันอาจจะเป็นหนทางในการผลิกสถานการณ์เหล่านี้ให้ดีขึ้นได้หรือไม่อย่างไร Lets get it out on the next chapter :P
คือเราเป็นเด็กปีสาม เรียนคณะรัฐศาสตร์ มธ ซึ่งก็เป็นคณะที่ชอบ เพราะเลือกสอบตรงเข้ามาแค่ที่เดียว คือพอเรียนไปปีแรกมันสนุกมาก ส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปกับเพื่อน เที่ยว เล่น กิน เรียน เกรียน บลาๆๆ อารมณ์มันแบบว่าทุกอย่างมันช่าง Fresh ไปหมดสำหรับเรา ทำอะไรก็ดูตื่นเต้นน่าสนุก วันๆผ่านไปแบบเพลิดเพลินมาก เรียนก็แบบชิวมาก อีกประเด็นคือเราค่อนข้างโชคดีที่มีกลุ่มเพื่อนแบบดีมาก ไม่ fake ใส่กันอะไรแบบนั้น เวลาเกิดไรขึ้นก็มีพวกมันคอยอยู่ข้างๆ feel good มากๆ ณ จุดนี้
แต่แล้วโชคชะตาก็เล่นตลกเพราะมีเราคนเดียวที่เรียน IR นอกนั้นเพื่อนทั้งกลุ่มเรียน PA ซึ่งพอปีสองก็ต้องแยกกันเรียน ที่นี้ก็เลยเหลือเราคนเดียวหน่ะสิ ! TT สถานการณ์เริ่มดราม่ามากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไม่ค่อยมีเวลาได้เจอเพื่อน.. แต่ในความโชคร้ายก็ยังพอมองเห็นแสงเล็กๆ อยู่ นั่นคือ มันทำให้เรามีเวลาอยู่คนเดียวมากขึ้น ซึ่งพออยู่คนเดียวมันก็ทำให้เราเริ่มตั้งคำถาม กับตัวเองว่าว่าตอนนี้เรากำลังทำอะไรกับชีวิตอยู่ เรา ok กับสิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้ไหม และจริงๆ เราต้องการอะไรกันแน่ ? ซึ่งดูเหมือนจะเป็นคำถามง่ายๆนะ แต่พอเอาเข้าจริงมันตอบยากโคตร !
เราก็เลยมานั่งคิดว่าหรือไอ้อาการที่เราเป็นอยู่เนี่ยะมันเกิดจากการที่เราเจออะไรเดิมๆ ทำอะไรซ้ำๆ ซากๆ ทุกวัน เรียน กิน เล่น เที่ยว กลับหอ (สังเกตุดีว่าไม่มีการอ่านหนังสือ ฮ่าา).. คือท้าวความก่อนว่าจริงๆ แล้วเราเป็นพวก hi-per นะตั้งแต่สมัยอนุบาลอ่ะ ฮ่าา คือเป็นเด็กทำกิจกรรมมาตลอดทั้งในนอก รร. อนุบาลนี้เป็นทีมแอร์โรบิคชนะระดับภาค จนพอมาประถม-มัธยม เริ่มทำงานด้านภาษามากขึ้นโดยเฉพาะอังกฤษจนได้ไปถึงระดับประเทศ ซึ่งอันที่จริงก็ไม่เชิงว่าเก่งขนาดนั้น เพียงแต่สำเนียงดีเพราะติดดูหนัง sub-title มาตั้งแต่ 6 ขวบ ฉะนั้น ใครอยากได้สำเนียงฝึกไว้ เราว่ามันเป็นเทคนิคที่ใช้ได้กับการเรียนทุกภาษา อย่างการดูซีรีเกาหลีบ่อยๆ เราก็จะเริ่มเข้าใจเวลาตัวละครพูดฯ ซึ่งเราเชื่อว่ามันเป็นผลพวงให้เราได้ score speaking Ielts 7 !
ตอน ม.6 เราก็เป็นประธานนักเรียน ทั้งๆ ที่ชีวิตต้อง fight กับการสอบตรงและอื่นๆ แต่มันชินมั้ง ก็ทำจนทำทุกอย่างผ่านมาได้ แต่ก็แทบกระอักเหมือนกันนะ คือเป็นคนที่ทนไม่ได้จริงๆ ถ้าจะให้ใช้ชีวิตแบบเช้ามาไป รร เย็นกลับบ้าน อีกอย่างคือเราเป็นประเภทพวกที่ชอบทำอะไรที่แตกต่างจากคนอื่นๆ ไม่รู้เหมือนกันว่าจะทำสิ่งที่เหมือนกันกับคนอื่นๆไปทำไม มันจะมีความหมายอะไร ทำไมเราไม่ลองสร้างคุณค่าหรือความหมายให้ตัวเองจากการลองทำอะไรที่แตกต่างดูบ้างหล่ะ จริงไหม ?
แต่ชีวิตในมหาวิทยาลัยมันกลับกันกับที่เราเคยเป็น กลายเป็นว่าเราไม่ทำกิจกรรมอะไรเลย แม้แต่กิจกรรมในคณะ นอกจากการไปฟังเสวนาเป็นครั้งคราว ! ทำไมหน่ะหร๋อ เหอะๆ ลองเข้ามาแล้วจะรู้เอง โดยความเห็นส่วนตัวเรารู้สึกว่าระบบเส้นสายมันเยอะมาก จนรู้สึกว่ามันมากไปไหมกับอิแค่สังคมของเด็กมหาวิทยาลัย จะอะไรกันขนาดนั้น เพลีย เลยไม่ยุ่งดีกว่า คือมีครั้งหนึ่งเคยมีคนมาพูดประมาณว่าว่าอยากเป็นตำแหน่งนั้นไหม ถ้าอยากมาเข้าชมรมพี่สิ แล้วจะดัน ? อีกอย่างอาจจะเหนื่อยกับกิจกรรมตอน ม.6 ที่ต้องรับผิดชอบเยอะมากกกก จนสัญญากับตัวเองว่าเข้ามาปีหนึ่งฉันจะอยู่เฉยๆ ใช้เวลาไปกับเพื่อนเพื่อชดเชยช่วงเวลานั้นที่ขาดไปตอน ม.ปลาย
อีกอย่างคือมันเป็นเรื่องหน้าแปลกที่พอเราเข้ามาเรียนในคณะที่ชอบ แต่กลับไม่รู้ว่าจบออกไปแล้วอยากทำอะไร ! นี่พูดด้วยความสัจจริง เพราะเรารู้สึกว่าชีวิตจริงมันคือต่อจากนี้ต่างหาก การมีที่เรียนในมหาวิทยาลัยมันยังไม่ใช่ที่สุดหรือทุกอย่างของชีวิตนะ เพราะคนที่จบ ป.ตรี หลายหมื่นก็ยังคงไม่มีงานทำ ในทางกลับกันบางคนที่ไม่จบมหาวิทยาลัยกลับกลายเป็นเศรษฐีได้ เพราะเค้าหาสิ่งที่เค้ารักเจอ และทำมันอย่างดีที่สุด ฉะนั้นปัญหาของเราก็คือเรายังไม่รู้ตัวหน่ะสิว่าชอบอะไร เพราะเรื่องอาชีพ มันเป็นอะไรที่ละเอียดอ่อนมาก ต้องคำนึงถึงหลายอย่าง รายได้ ลักษณะการทำงาน ฯ
หลายคนอาจจะคิดว่ามันไม่เร็วเกินไปหรือที่จะคิดถึงเรื่องนั้นทั้งๆ ที่ยังเรียนไม่จบเลย.. ซึ่งนั้นแหละคือประเด็น ! ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าเราอยากเป็นนักการทูต เราก็ควรรู้ว่าเค้าต้องการคนที่มีคุณลักษณะแบบไหน เกรดต้องเท่าไหร่ สอบเข้ายังไง จบ ป.ตรี ไปสอบเข้ามีคู่แข่งเยอะไหม หรือจะเรียนให้จบ ป.โท ก่อนค่อยสอบ เพราะคู่แข่งจะน้อยลง หรือจบ ป.เอกเลยดีไหม พอสอบเข้าได้ หนึ่งปีก็ได้เลื่อนตำแหน่งอัตโนมัติเลย บลาๆๆ ? ฉะนั้น ถ้าเรามีเป้าหมายแน่ๆว่าอยากเป็นนักการทูต เราก็ต้องพยายามทำตัวเราให้มีคุณสมบัติตามที่เขาต้องการ got it ?
ดังนั้น ผู้ที่รู้ตัวก่อนจึงย่อมได้เปรียบเสมอ ! อย่างเรารู้ตัวตั้งแต่ ป.หก แล้วว่าจะสอบเข้ารัฐศาสตร์ มธ. สาขา IR และรู้ด้วยว่ามีการสอบตรง เราก็เลยเตรียมตัวย้ายมาเรียน ม.ปลาย สายศิลป์-ฝรั่งเศส จาก ม.ต้น ห้อง gifted วิทย์คณิต เพราะคิดแล้วว่าเรียนฟิสิกส์ไปก็คงไม่ได้ใช่สอบตรงแน่ๆ ฮ่าาา แต่เรียนภาษายังเอาไปใช้ในอนาคตได้ชัวร์ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าอาชีพนักการทูตเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เลือกเรียนคณะนี้ แต่หลังจากประสบการณ์ที่เคยเป็นประธานนักเรียนมา ทำให้เรารู้ว่า ไม่ชอบงานด้านบริหารเลย และการต้อง deal กับคนเยอะๆ มันเป็นอะไรที่น่าปวดหัวที่สุดในสามโลก ซึ่งงานลักษณะแบบนี้ก็คล้ายๆ กับที่นักการทูตต้องทำ คือไม่ใช่รู้เฉาพะเรื่องความสัมพันธ์ปแต่ต้องจัดการเรื่องความสัมพันธ์นั้นๆ ให้ดีได้ด้วย ! นี้แหละคือข้อดีของประสบการณ์ มันทำให้เรารู้ตัวตนที่แท้จริงของเรา คือบางอย่างเราอาจจะชอบ แต่พอลองทำแล้วไม่มีความสุข ก็ต้องเปลี่ยน
ฉะนั้น เมื่อเรายังไม่มั่นใจว่าจบไปแล้วอยากทำงานอะไรจริงๆ สิ่งเดียวที่สามารถทำได้ คือไปเรียนต่อ อาจจะเป็นเพราะอาการขี้เกียจด้วย เพราะการทำงานมันเป็นชีวิตอีกด้านที่เรายังไม่เคยเจอ และคิดว่ามันคงไม่สบายเท่ากับการเรียนแน่ๆ อีกอย่างไม่ว่าจะทำงานอะไร เรียนจบสูงๆ ไว้ (แบบมีคุณภาพนะ) คงจะเป็นการดีกว่า อีกทั้งพอทำงานไปแล้วก็อาจไม่มีเวลามาเรียนเลยก็ได้ แล้วพ่อแม่เองก็ค่อนข้างสนับสนุนประเด็นนี้ จึงตัดสินใจได้ว่าเรียนจบแล้วก็ไปเรียนต่อเลยดีที่สุด แต่คำถามคือ จะเรียนอะไรหล่ะ ? มาอีกล่ะคำถามปวดตับ ==" คือตอนนั้นก็ยังหาคำตอบให้ตัวเองไม่ได้ เพราะเรียน ป.โท มันต้องเป็นเฉพาะด้านไง อย่างถ้าจะเรียน IR อาจต้องเลือกเป็นภูมิภาค หรือประเด็น เช่นด้านการพัฒนา บลาๆ
เอาหล่ะ มันใกล้จะถึงจุดพีคล่ะ.. อีกอย่างคือการเรียนมหาลัยทำให้ english skill ต่ำลงอย่างฮวบฮาบ เพราะมัวเรียนแต่วิชาคณะ ซึ่งก็มีทั้งข้อดีคือ ไม่ต้องส่งการงาน เพราะวิชาอังกฤษชอบให้งานตั้งแต่อนุบาลยันมหาวิทยาลัย แต่ข้อเสียคือเราไม่ได้ใช้เลย จนบางทีโครงสร้างง่ายๆ หรือคำง่ายๆ ยังสะกดไม่ได้ ! เลยรู้สึกว่าปล่อยไว้แบบนี้ต้องตายแน่ๆ ทุกอย่างมีแต่ แย่ลงเรื่อยๆ ดังนั้น การไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนมันอาจจะเป็นหนทางในการผลิกสถานการณ์เหล่านี้ให้ดีขึ้นได้หรือไม่อย่างไร Lets get it out on the next chapter :P
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น