ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โครงงานสุขศึกษา ม. 4

    ลำดับตอนที่ #1 : ตอนท่ี 1 ความหมาย ประเภท ปรธโยชน์ ของโครงงาน

    • อัปเดตล่าสุด 28 มิ.ย. 55


     
     
     
     
     

     
     
    บัตรเนื้อหาที่ ๑.๑
    เรื่อง  ความหมาย
    ของโครงงาน
     
     
     
     
     
     
     
     
     

    บัตรเนื้อหาที่ ๑.๑ 
    เรื่อง  ความหมายของโครงงาน
     
                                    โครงงาน (Project Approach) คือ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่น ๆ ไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดำเนินงานตามแผน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการนำเสนอผลงาน ซึ่งอาจทำเป็นบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
                       โครงงาน คือ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้งหรือเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอนมีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้น ๆ
                       ลักษณะผลงานของโครงงานโดยพื้นฐาน ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร เนื่องจากโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ นอกจากนี้โครงงานยังต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มุ่งส่งเสริมศักยภาพด้านการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ได้มีโอกาสฝึกทักษะการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียน รวมถึงการมีโอกาสได้เลือกที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ผู้เรียนชอบหรือถนัด ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และเกิดความพยายามที่จะทำโครงงานให้มีคุณค่ามากที่สุด ตามลักษณะของโครงงานที่ดี  ดังแสดงในรูปผังมโนทัศน์ (Mind Mapping) ต่อไปนี้
     

    เลือกทำตามความสนใจ

         สามารถนำไปใช้ได้จริง                                                                  เป็นการศึกษาเชิงลึก
    ลักษณะของ
    โครงงานที่ดี

     
     
     


          ความคิดสร้างสรรค์                                                                         สอดคล้องกับหลักสูตร

     

    เป็นเรื่องที่สำคัญและน่าสนใจ
     
     
     
     
     

    ความหมายของโครงงานสุขศึกษาและพลศึกษา

     

     
                   
    โครงงานสุขศึกษาและพลศึกษา เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสนใจ และระดับความรู้ ความสามารถ ภายใต้วิธีการสุขศึกษาและพลศึกษา เพื่อตอบปัญหาที่สงสัย  และได้ผลงานที่มีความสมบูรณ์ในตนเอง
              การทำโครงงานสุขศึกษาและพลศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเสริมด้านสุขศึกษาและพลศึกษา โดยนักเรียนเป็นผู้วางแผนการศึกษาค้นคว้า ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล สรุปผล และเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และมีเจตคติทางสุขศึกษาและพลศึกษา รวมทั้งได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางสุขศึกษาและพลศึกษา โดยมีครู อาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นเพียงผู้คอยให้คำปรึกษา
    ลักษณะสำคัญของโครงงานไว้  ดังนี้
                       ๑.  เป็นเรื่องที่นักเรียนสนใจ  สงสัย  ต้องการหาคำตอบ
                       ๒.  เป็นการเรียนรู้ที่มีกระบวนการ  มีระบบ  ครบกระบวนการ
                       ๓.  เป็นการบูรณาการการเรียนรู้
                        ๔.  นักเรียนใช้ความสามารถหลายด้าน
                       ๕.  มีความสอดคล้องกับชีวิตจริง
                       ๖.  มีการศึกษาอย่างลุ่มลึก  ด้วยวิธีการ  และแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
                       ๗.  เป็นการแสวงหาความรู้  และสรุปความรู้ด้วยตนเอง
                       ๘.  มีการนำเสนอโครงงาน  ด้วยวิธีการที่เหมาะสม  ในด้านกระบวนการและผลงานที่ค้นพบ
                       ๙.  ข้อค้นพบ  สิ่งที่ค้นพบ  สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

    ลักษณะที่สำคัญของโครงงานสุขศึกษาและพลศึกษา

     
     
     

                    สำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของโครงงาน ไว้ดังนี้
    1. เป็นเรื่องที่นักเรียนสนใจ สงสัย ต้องการหาคำตอบ
    2. เป็นการเรียนรู้ที่มีกระบวนการ มีระบบ ครบกระบวนการ
    3. เป็นการบูรณาการการเรียนรู้
    4. นักเรียนได้ใช้ความรู้หลายด้าน
    5. มีความสอดคล้องกับชีวิตจริง
    6. มีการศึกษาอย่างลุ่มลึก ด้วยวิธีการและแหล่งข้อมูลอย่างหลากหลาย
    7. เป็นการแสวงหาความรู้และสรุปความรู้ด้วยตนเอง
    8. มีการนำเสนอโครงงานด้วยวิธีการที่เหมาะสม ในด้านกระบวนการและผลงานที่ค้นพบ
    9. ข้อค้นพบและสิ่งที่ค้นพบ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     

     
     
    บัตรเนื้อหาที่ ๑.๒
    เรื่อง  ประเภทของโครงงาน
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     

    บัตรเนื้อหาที่  ๑.๒ 
    เรื่อง  ประเภทของโครงงาน
     
    ประเภทของโครงงานโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
                       ๑. โครงงานประเภทการศึกษาและทดลอง  เป็นการศึกษาเรียนรู้เพื่อเปรียบเทียบและพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามทฤษฎีและหลักการทางวิชาการ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของสมมติฐานว่า ผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองจะนำไปสู่การพัฒนา เพิ่มคุณค่าและประโยชน์ให้กับสิ่งนั้นหรือเกิดประโยชน์ด้านการตัดสินใจที่ถูกต้องโดยไม่ประสบกับภาวะเสี่ยง  ตัวอย่างเช่น  โครงงานศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพน้ำผึ้งที่เกิดจากผึ้งที่เลี้ยงด้วยน้ำเชื่อมกับน้ำหวานจากเกสรดอกไม้   โครงงานศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างปริมาณการออกไข่ของไก่ไข่ในโรงเรือนที่มีเสียงเพลงจังหวะแผ่วเบากับจังหวะรุนแรง   
                       ๒. โครงงานประเภทการสำรวจ  เป็นการศึกษาเรียนรู้เพื่อการเก็บและรวบรวมข้อมูลแล้วนำผลดังกล่าวมาวิเคราะห์ จำแนกหมวดหมู่ แล้วนำเสนอผู้เกี่ยวข้องนำไปพัฒนาเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา หรือหาแนวทางการพัฒนา หรือตามจุดมุ่งหมายของผู้สำรวจ  ตัวอย่างเช่น โครงงานรวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้าน   โครงงานสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้เรียน  โครงงานสำรวจความต้องการรับการแก้ไขด้านการออกเสียงคำควบกล้ำของผู้เรียน
                       ๓. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์  เป็นการศึกษาเรียนรู้เพื่อสร้างชิ้นงานให้มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์ใน ๒ ลักษณะ ดังนี้
                                 ๓.๑.ชิ้นงานสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตัวของชิ้นงานเองโดยไม่ต้องมีผู้อธิบายแทน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ชิ้นงานประเภทนี้เป็นชิ้นงานที่เปรียบเสมือนผู้ถ่ายทอดความรู้ เพราะองค์ความรู้ที่ปรากฏในชิ้นงานมีความละเอียด ชัดเจน และมีการนำเสนอที่ดีด้วยตัวของชิ้นงานเอง ตัวอย่างเช่น โครงงานจัดทำบัตรคำสุภาพ โครงงานห้องหัวใจให้ความรู้ โครงงานบ้านคำศัพท์ โครงงานแบบจำลองเกษตรทฤษฎีใหม่ 
                                 ๓.๒. ชิ้นงานที่นำไปใช้ได้จริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เราสร้างชิ้นงานขึ้นเพื่อประโยชน์การใช้สอย อาจนำไปใช้เพื่อในชีวิตประจำวัน เพื่อการประกอบอาชีพ เพื่ออำนวยความสะดวกในบ้าน ตัวอย่างเช่น โครงงานจัดทำเครื่องดักยุงรีไซเคิล โครงงานจัดทำเตาเอนกประสงค์จากดินเหนียว โครงงานจัดทำเครื่องปั๊มลมสารพัดประโยชน์ 
                       ๔. โครงงานประเภทประเภททฤษฎีหลักการ แนวคิด หรือ พัฒนาผลงาน เป็นการศึกษาเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลงานเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประโยชน์   มีคุณค่าหรือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้
                                 ๔.๑. การพัฒนาโครงงานเดิมที่ผู้เรียนรุ่นก่อนได้ทำไว้ โดยอาจทำตามข้อเสนอแนะที่ปรากฏอยู่ในเอกสารรายงานผลการดำเนินงาน เช่น ให้ทำบัตรคำสุภาพที่ใช้ประจำ ในสถานการณ์อื่นนอกเหนือจากงานชิ้นเดิม หรือพิจารณาหาวิธีการพัฒนาให้โครงงานเดิมนั้นมีความสมบูรณ์มากขึ้นก็ได้ เช่น ชิ้นงานเดิมของโครงงานจัดทำบัตรคำสุภาพมีแต่ตัวอักษร อาจพัฒนาด้วยการนำรูปภาพมาประกอบเพื่อเสริมคำอธิบายให้มีความชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มคุณค่าทำให้บัตรคำมีความน่าสนใจมากขึ้น หรือไม่ก็อาจปรับหรือเพิ่มคำสุภาพให้สอดคล้องกับยุคสมัยก็ได้
                                 ๑.๒. การพัฒนาชิ้นงานเดิมที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นหรือชุมชน ซึ่งบังเอิญมีความสอดคล้องสาระการเรียนรู้วิชาที่ทำโครงงาน ผู้เรียนสามารถพัฒนาชิ้นงานนั้นให้มีคุณค่าหรือประโยชน์มากขึ้นจากเดิมด้วยการนำทฤษฎีและหลักการทางวิชาการของสาระการเรียนรู้วิชามาประยุกต์ใช้ เช่น โครงงานพัฒนาพจนานุกรมภาษาถิ่น โครงงานจัดทำภาพประกอบวรรณกรรมพื้นบ้าน โครงงานพัฒนาครกกระเดื่อง ซึ่งเป็นชิ้นงานที่มีผู้รวบรวมไว้อยู่ก่อนแล้วในพิพิธภัณฑ์ของหมู่บ้าน  ซึ่งสามารถพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้อีก หากผู้เรียนประสงค์จะพัฒนาชิ้นงานประเภทนี้ ผู้เรียนต้องอธิบายความแตกต่างระหว่างสภาพชิ้นงานเดิมกับชิ้นงานใหม่  ภายหลังที่ได้รับการพัฒนาด้วยวิธีการของผู้เรียนให้ชัดเจน อันเป็นการเพิ่มน้ำหนักความสำคัญของโครงงานเพื่อให้ผู้อนุมัติโครงงานเห็นด้วยกับการทำโครงงาน

    ประเภทของโครงงานสุขศึกษาและพลศึกษา

     
     
     

                    โครงงานสุขศึกษาและพลศึกษา แบ่งออกได้เป็น ๔  ประเภทใหญ่ ๆ  ดังนี้
    1. โครงงานประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล
                       โครงงานประเภทนี้ ผู้เรียนจะต้องสำรวจและรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาจำแนกเป็นหมวดหมู่และนำเสนอ เพื่อให้เห็นลักษณะหรือความสัมพันธ์ในเรื่องที่ต้องการศึกษา เช่น
    • การสำรวจอาชีพของคนในชุมชน
    • การสำรวจปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
    • การศึกษาลักษณะของอากาศในท้องถิ่น
    • การศึกษาวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น
     
    1. โครงงานประเภททดลอง
                       โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่มีการออกแบบการทดลอง เพื่อศึกษาผลของตัวแปรตัวหนึ่งที่มีต่อตัวแปรอีกตัวหนึ่งที่ต้องการศึกษา โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ศึกษาไว้
                       ขั้นตอนการดำเนินงานของโครงงานประกอบด้วย การกำหนดปัญหา การตั้งจุดประสงค์หรือสมมุติฐาน การออกแบบการทดลอง การดำเนินการทดลอง การรวบรวมข้อมูลและแปรผล และการสรุปผลการทดลอง เช่น
    • การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
    • การป้องกันภัยในชุมชน
     
    1. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
    โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานเกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีหรือหลักการด้านอื่น ๆ มาประดิษฐ์ของเล่น เครื่องมือ เครื่องใช้หรืออุปกรณ์ เพื่อประโยชน์ใช้สอยอาจเป็นสิ่งประดิษฐ์สิ่งใหม่หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น
    • การประดิษฐ์เครื่องยนต์รถไถนาเป็นเครื่องสูบน้ำ
    • การประดิษฐ์เครื่องยนต์รถไถนาเป็นเครื่องปั่นไฟ
    • การประดิษฐ์เครื่องบดปั่นมะพร้าว
    • การประดิษฐ์เครื่องให้อาหารปลา                       
     
     
    1. โครงงานประเภททฤษฎี
                       โครงงานประเภทนี้ เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตร สมการ หรือคำอธิบาย โดยผู้เสนอได้ตั้งกติกาหรือข้อตกลงขึ้นมาเอง แล้วเสนอทฤษฎีหลักการ แนวความคิด หรือจินตนาการของตนเอง ตามกติกาหรือข้อตกลงนั้น หรืออาจใช้กติกาหรือข้อตกลงมาอธิบายสิ่งหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ในแนวใหม่
                       ทฤษฎี หลักการ แนวความคิด หรือจินตนาการที่เสนอนี้  อาจจะใหม่ยังไม่มีใครคิดมาก่อน 
    หรืออาจขัดแย้งกับทฤษฎีเดิม หรือเป็นการขยายทฤษฎีหรือความคิดเดิมก็ได้
                       การทำโครงงานประเภทนี้ จุดสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นเป็นอย่างดี จึงจะสามารถเสนอโครงงานประเภทนี้ได้อย่างมีเหตุผลน่าเชื่อถือ โดยทั่วๆ ไป โครงงานประเภทนี้ มักเป็นโครงงานทางคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ตัวอย่างของโครงงานประเภทนี้ เช่น การอธิบายอวกาศแนวใหม่ ทฤษฎีของจำนวนเฉพาะ
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     

     
     
    บัตรเนื้อหาที่ ๑.๓
    เรื่อง ประโยชน์ของโครงงาน
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     

    บัตรเนื้อหาที่  ๑.๓ 
    เรื่อง  ประโยชน์ของโครงงาน
     
              ประโยชน์ของโครงงาน
    ๑.  ได้ทำงานตามความถนัด ความสนใจ ของตนเอง
              ๒.  ฝึกทักษะกระบวนการทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม
              ๓.  สามารถวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
              ๔.  พัฒนาความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์
              ๕.  ศึกษา ค้นคว้า และแก้ปัญหาจากการทำงาน
              ๖.  เป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในโครงงานที่ทำจริง ในกรณีที่ต้องนำไปแสดงต่อผู้เกี่ยวข้อง
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    บัตรกิจกรรมที่ ๑
    เรื่อง  ความหมาย ประเภท และประโยชน์ของโครงงาน
     

     
     
     
     
    ชื่อ-สกุล…………………………………………………………………ชั้น ม.๔/…………..ชื่อเล่น……...….เลขที่…………..…
     
    คำชี้แจง  ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้ลงในช่องว่างให้สมบูรณ์
    ๑.  โครงงาน  คือ
    …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
    …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
     
    ๒.  โครงงานมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
    …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
    …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
    …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
    …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
    …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
    …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
     
    ๓. โครงงานต่อไปนี้เป็นโครงงานประเภทใด โดยเขียนคำตอบลงในช่องว่าง
              ๓.๑. การสำรวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชน                 โครงงานประเภท...............................................
              ๓.๒. การทำขนมอบชนิดต่าง ๆ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น  โครงงานประเภท..............................................
              ๓.๓. การใช้สมุนไพรในการปราบศัตรูพืช              โครงงานประเภท...............................................
              ๓.๔. การประดิษฐ์ของชำร่วย                          โครงงานประเภท...............................................
              ๓.๕. การศึกษาสูตรเครื่องดื่มที่ผลิตจากธัญพืช        โครงงานประเภท...............................................
     
    ๔. ประโยชน์ของการทำโครงงานมีอะไรบ้าง
    …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
    …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
    …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
    …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
    …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
    …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
    …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


     
                    
    ทะเบียนคุมบันทึก
    การสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้..................................................................... (อินเตอร์เนต/หนังสือ)
     
    ที่ วัน เดือน ปี เรื่อง แหล่งข้อมูล ผลการตรวจ
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
             
    แบบบันทึกการอ่าน
     
    ชื่อเว็ปไซต์                                                                                                       
    สืบค้น วันที่                                    เดือน                       พ.ศ.               เวลา            
            
    . สาระสำคัญของเรื่อง
                                                                                                                         
                                                                                                                         
                                                                                                                 
                                                                                                                         
                                                                                                               
                                                                                                                                                  
    . วิเคราะห์ข้อคิด/ประโยชน์ที่ได้จากเรื่องที่อ่าน
                                                                                                                         
                                                                                                                         
                                                                                                               
            ๓. สิ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน                                               
                                                                                                                         
                                                                                                                         
                                                                                                                 
            ๔. ข้อเสนอแนะของครู                                                                            
                                                                                                                         
                                                                                                                         
           
            ลงชื่อ                                     นักเรียน ลงชื่อ                                      ผู้ปกครอง
                  (                                    )             (                                      )
     
    ลงชื่อ                                         ครูผู้สอน
                                            (                                      )
     
     
    เกณฑ์การให้คะแนน
            ผลงานมีความสมบูรณ์ชัดเจน                                         ให้     ๔      คะแนน
            ผลงานมีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อย                                    ให้     ๓      คะแนน
            ผลงานมีข้อบกพร่องเป็นส่วนใหญ่                                    ให้     ๒      คะแนน
            ผลงานมีข้อบกพร่องมาก                                             ให้     ๑      คะแนน  
     
    แบบบันทึกการอ่าน
     
    ชื่อหนังสือ                                              ชื่อผู้แต่ง                                                
    นามปากกา                                   สำนักพิมพ์                               สถานที่พิมพ์          
    ปีที่พิมพ์                                       จำนวนหน้า                  ราคา           บาท
    อ่านวันที่                                       เดือน                       พ.ศ.               เวลา            
            
              . สาระสำคัญของเรื่อง
                                                                                                                         
                                                                                                                         
                                                                                                                 
                                                                                                                         
            ๒. วิเคราะห์ข้อคิด/ประโยชน์ที่ได้จากเรื่องที่อ่าน
                                                                                                                         
                                                                                                                         
            ๓. สิ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน                                               
                                                                                                                         
                                                                                                                         
                                                                                                                 
            ๔. ข้อเสนอแนะของครู                                                                            
                                                                                                                         
                                                                                                                         
           
            ลงชื่อ                                     นักเรียน ลงชื่อ                                      ผู้ปกครอง
                  (                                    )             (                                      )
     
    ลงชื่อ                                         ครูผู้สอน
                                            (                                      )
     
     
     
     
    เกณฑ์การให้คะแนน
            ผลงานมีความสมบูรณ์ชัดเจน                                         ให้     ๔      คะแนน
            ผลงานมีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อย                                    ให้     ๓      คะแนน
            ผลงานมีข้อบกพร่องเป็นส่วนใหญ่                                    ให้     ๒      คะแนน
            ผลงานมีข้อบกพร่องมาก                                             ให้     ๑      คะแนน   
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×