ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Oberon : Nightmare syndrome

    ลำดับตอนที่ #1 : บทนำ

    • อัปเดตล่าสุด 29 พ.ย. 54


    เช้านี้ทุกคนในเอิร์ธต่างพูดกันถึงข้อความจาก น็อตซ่า ซูเบรี เจ้าของฉายา ประธานาธิบดีข้อมูลแห่งโลกออนไลน์ผู้รายงานข่าวด้วยความรวดเร็วและแม่นยำมากที่สุด  ผ่านทาง เปเปอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการติดต่อสื่อสารและคอมพิวเตอร์แบบพกพาซึ่งเชื่อกันว่าใช้งานได้ดีและสะดวกที่สุดเท่าที่เคยมีมาในรอบศตวรรษ เพราะสามารถดัดแปลงเปเปอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เจ้าของต้องการพกพาได้นั่นเอง

    น็อตซ่าส่งข้อมูลให้ทุกคนที่สมัครเป็นแฟนคลับของเขาในทันทีที่ขึ้นศักราชใหม่ด้วยความรวดเร็วสมกับคำกล่าวอ้าง ข้อความของน็อตซ่าระจายไปทั้งสี่เขตของเอิร์ธ อันได้แก่ ที่ราบทาราห์ แหล่งการค้าไฟเออร์บลู เมืองหลวงวินสเตอร์ และริเวอร์วอลเกาะสวรรค์ ข่าวกระจายไปอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าการแพร่ของจุลินทรีย์ในแก้วนมบูด และโด่งดังยิ่งกว่ากระแสปลาไหลในโลกออนไลน์ที่ทุกคนรู้จักดี

     มือเรียวยาวของผู้ชายคนหนึ่งกดเลื่อนอ่านข้อความจากเปเปอร์ส่วนตัว ซึ่งเขาทำให้อยู่ในรูปของสมุดโน้ตเล่มเล็ก  ข้อความที่เพื่อนคนหนึ่งส่งมาให้เขา ข้อความของน็อตซ่า

    [Night mare ฝันร้ายที่ไม่ใช่ฝันร้ายตลอดกาลอีกต่อไป”

    โดย น็อตซ่า ซูเบรี ประธานาธิบดีข้อมูลแห่งโลกออนไลน์ผู้รายงานข่าวด้วยความรวดเร็วและแม่นยำมากที่สุด!  

    ในศตวรรษนี้หากกล่าวถึง ไนท์แมร์ เชื่อว่าไม่มีใครที่ไม่รู้จัก และวันนี้น็อตซ่าก็มีข่าวดี ข่าวล่ามาเร็ว แถมยังลับเฉพาะจากวงในเช่นเคยเกี่ยวกับไนท์แมร์มาบอกทุกท่าน แต่ก่อนจะบอกข่าวดีน็อตซ่่าอยากพาแฟนคลับทุกท่านย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของฝันร้ายที่คุกคามพวกเราตลอดมาเสียก่อน เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบว่า พวกเราต้องสูญเสียอะไรไปมากเพียงใด และไนท์แมร์สอนบทเรียนอะไรให้แก่พวกเราบ้าง ตลอดระยะเวลาแปดปีที่ผ่านมา
                9 ธันวาคม  ค.ศ. 2500 ประชาคมโลกได้รับรู้ถึงโรคร้ายชนิดใหม่ซึ่งคร่าชีวิตประธานาธิบดีแอชลิน อีรีบัส ขวัญใจประชาชนไปอย่างกะทันหัน โรคที่ว่านี้มีลักษณะ คล้าย กับกลุ่มอาการ  SADS (Sudden unexplained death syndrome) หรือโรคที่รู้จักกันในนาม โรคใหลตาย เมื่อหลายพันปีก่อน  แต่เมื่อเวลาผ่านไป พวกเราก็พบว่าโรคชนิดใหม่นี้น่ากลัวกว่านั้น เพราะมันไม่มีทางรักษาและไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยนาโนชิพ (มะเร็งขั้นต้นสามารถตรวจจับได้ด้วยนาโนชิพ ทำให้รักษาได้อย่างทันท่วงที และมีอัตราการตายด้วยโรคมะเร็งลดลงอย่างต่อเนื่อง) จนกระทั่งพวกเราขนานนามมันว่า ไนท์แมร์  (Night mare) ซึ่งแปลว่า ฝันร้าย

    อาการของคนที่เป็นโรคไนท์แมร์นั้นดูง่ายมาก จนกระทั่งคนธรรมดาอย่างเราๆ ซึ่งไม่ได้เป็นเป็นแพทย์ก็ดูออก เพราะคนที่เป็นโรคจะ หลับไปโดยไม่ตื่นขึ้นมาอีก ไม่ว่าคุณจะปลุกเขาด้วยวิธีใดก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่แพทย์สามารถทำกับผู้ป่วยได้จึงเป็นการให้อาหารผ่านทางเส้นเลือด เพื่อรักษาสภาพร่างกายของผู้ป่วยให้อยู่ได้นานที่สุด และภาวนาว่าพวกเขาจะตื่นขึ้นมาได้เองในวันหนึ่ง

    ในยุคแรก แพทย์ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญทางสมอง และนักจิตวิทยา ได้ข้อสรุปร่วมกัน หลังจากพยายามหาวิธีการรักษาและหยุดยั้งไนท์แมร์ว่า  โรคนี้อาจเป็นอาการเจ็บป่วยทางกายที่เกิดจากจิต ชนิดหนึ่ง วิธีเดียวที่สามารถรักษาได้ คือรอให้พวกเขาตื่นขึ้นมาและเข้ารับการบำบัด หรือพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถส่งนักบำบัดเข้าไปในจิตใจเพื่อปลุกพวกเขาจากภายใน

    สองปีหลังจากนั้นเทคโนโลยีที่เราตั้งความหวังก็พัฒนาจนสำเร็จ แต่น่าเสียดายที่มันไม่สมบูรณ์ เพราะนักบำบัดที่ถูกส่งเข้าไปนั้นกลับกลายเป็นผู้ป่วยโรคไนท์แมร์เสียเอง!

    ค.ศ. 2502 สถาบันวิจัยโอบีรอน (Oberon research institute) ในฐานะผู้นำในการศึกษา วิจัย และค้นคว้าเพื่อรักษาโรคไนท์แมร์ ออกมาแถลงถึงความล้มเหลวของการส่งนักบำบัดเข้าไปรักษาภายในจิตใจ และคาดการณ์ความน่าหวาดหวั่นของโรคไนท์แมร์ว่า ในปี ค.ศ. 2510 ทั่วโลกจะมีผู้ป่วยโรคไนท์แมร์ประมาณ 20 ล้านคน จากประชากรทั้งหมดหนึ่งพันล้าน

    เมื่อต้นปี 2507 สถาบันสถิติแห่งชาติได้เปิดเผยข้อมูลล่าสุดซึ่งสร้างความตื่นตระหนกแก่ประชาคมโลกว่า พบผู้ป่วยไนท์แมร์แล้วจำนวน  22.2 ล้านคน สูงกว่าที่คาดไว้ถึง 2.2 ล้านคนภายในระยะเวลาแค่ 5 ปี ซึ่งกลายเป็นว่าผู้ป่วยโรคไนท์แมร์มีแนวโน้มสูงขึ้นจากเดิมทั่วโลก และอาจสูงถึง 30 ล้านคนใน ค.ศ. 2510

    ในขณะที่สถาบันวิจัยโอบีรอนและประชาคมโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์จากโรคไนท์แมร์ สาวน้อยผู้หนึ่งกลับตื่นขึ้น!

    11 กันยายน ค.ศ. 2507 เด็กหญิงเอ (นามสมสติ) อายุ 12 ปี ได้ตื่นขึ้นมาจากโรคไนท์แมร์ สร้างความตื่นตะลึงให้กับแพทย์ผู้รักษา ที่รักษาโดยการให้สารอาหารทางร่างกาย และปล่อยให้เธอนอนนิ่งอย่างสงบ และจับพลิกตัวบ้างเป็นระยะโดยพยาบาล เช้าวันที่ 11 กันยายน เด็กหญิงยังคงนอนนิ่งเหมือนทุกวัน แต่แล้วเวลา 11:32 น. เธอก็  ตื่นขึ้นด้วยตัวของเธอเอง แต่สิ่งที่ทำให้การตื่นของสาวน้อยคนนี้ทรงคุณค่า มากกว่าการกระทำที่คล้ายกับการตบหน้าสถาบันวิจัยโอบีรอนกลายๆ ฉาดใหญ่  จนโลกควรจารึกชื่อเธอให้เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญก็เพราะ เธอคือ กุญแจสำคัญ ที่ใช้ไขความลับของ ฝันร้ายตลอดกาล นี้

    หลังการตื่นของสาวน้อยคนนี้เพียงสามเดือน ทีมบีท ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น!

    และข่าวดีของน็อตซ่าก็คือ ในวันนี้ วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2508 โลกควรจารึกวันนี้ไว้ให้เป็นอีกหนึ่งในวันสำคัญ เมื่อผู้ป่วยโรคไนท์แมร์ได้ตื่นขึ้นเป็น คนที่  ด้วยฝีมือของ ทีมบีท  ซึ่งนำทีมโดย สาวน้อย ผู้เป็นกุญแจสำคัญคนนั้น นับแต่นี้ต่อไป พวกเราก็ควรจดจำชื่อเหล่านี้ไว้ ชื่อของ ทีมบีท ซึ่งประกอบไปด้วย รีลีส ผู้ปลดปล่อย ซีเอล ผู้จู่โจม และ แบรงโก้ ผู้ปกปักษ์ ชื่อของ กลุ่มคน ที่จะปลุกทุกท่านให้ ตื่นจากฝันร้าย

    นับจากวันนี้เป็นต้นไป...ไนท์แมร์ จะไม่ใช่ฝันร้ายตลอดกาลของประชาคมโลกนามว่า เอิร์ธ อีกต่อไปแล้ว...

    ขอพระเป็นเจ้าโปรดคุ้มครองให้ทุกท่านโชคดี และมีความสุขกับ ข่าวดี รับศักราชใหม่ของพวกเรา ชาวเอิร์ธ! ]

                    ทันทีที่เขาอ่านข้อความจบก็ได้แต่ส่ายหัวอย่างเอือมระอากับข้อความของเพื่อน พลางคิดในใจว่า หากคนที่อ่านข้อความนี้คิดต่ออีกสักนิดว่าทำไมข่าวที่ทั้ง ลับ และ วงใน กระทั่งยังไม่มีสื่ออื่นใดออกข่าว แล้วทำไมน็อตซ่าถึงรู้ได้ก็คงจะดี เผื่อ ตัวจริง ของน็อตซ่าเพื่อนเขาจะถูกเปิดเผยบ้าง

                    ชายเจ้าของเปเปอร์ใช้ปลายนิ้วแตะไปยังไอคอนรูปการส่งจดหมาย ก่อนที่จะพูดออกมาว่า

                    “ขอบคุณขอรับ ท่านประธานาธิบดี..น็อตซ่า ที่รายงานข่าวลูกสาวของกระผมทำภารกิจสำเร็จให้ทราบตั้งแต่เช้า หวังว่าท่านจะโชคดี และมีความสุขรับศักราชใหม่เช่นกัน ลงชื่อ วานด์”

                    แล้วคำพูดที่ วานด์ เอ่ยออกมา ก็กลายเป็นข้อความในช่องพิมพ์จดหมาย พร้อมกับมีไฟล์เสียงแนบเรียบร้อย วานด์ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งก่อนจะแตะนิ้วที่ปุ่ม “ส่ง” เพื่อส่งข้อความกลับไป ก่อนจะเงยหน้าขึ้นดูนาฬิกาตั้งโต๊ะที่บอกเวลา 9:11 01/01/2508 แล้วพูดกับตัวเองว่า

                    “ได้เวลาอัญน้อยตื่นแล้ว...” วานด์พับเปเปอร์สมุดโน้ตเข้าหากันแล้วเสียบลงในกระเป๋าด้านข้างของเสื้อกาวน์สีขาวตัวยาวถึงหัวเข่า ก่อนจะลุกเดินออกไปจากห้อง ไปหาลูกสาวของเขาที่เพิ่งตื่นคนนั้น คนที่น็อตซ่าพูดถึง 

    ลูกสาวที่เขารักและภาคภูมิใจ...

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×