คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ภาวะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
หลังสิ้นสุดสงครามประเทศต่างๆ ในยุโรปล้วนแต่ได้รับความบอบช้ำทั้งทางด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ และปัญหาสังคมเกิดขึ้นตามมามากมาย ประเทศเหล่านี้จึงต้องเร่งบูรณะฟื้นฟูประเทศ ดังนี้
ประเทศในยุโรปตะวันตก
ด้านการเมือง : ประเทศในยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ก่อนสงคราม เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยมเนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก และที่เปลี่ยนแปลงเป็นระบอบประชาธิปไตยในช่วงสิ้นสงคราม เช่น เยอรมันนีตะวันตก อิตาลี
ด้านเศรษฐกิจ : ประเทศในยุโรปตะวันตกต่างก็ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ผ่านทางแผนมาร์แชลล์(Marshall Plan) โดยได้รับการสนับสนุนทั้งในด้านเงินทุน วัตถุดิบ เครื่องจักรเพื่อขยายเศรษฐกิจทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม เป็นเวลา4ปีในงบประมาณ 13,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยประเทศต่างๆจะร่วมมือกันจัดตั้งเป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ด้านสังคม : รัฐบาลของประเทศในยุโรปตะวันตกวางนโยบายการปฏิรูปสังคม โดยเน้นการกระจายรายได้อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน ใช้นโยบายรัฐสวัสดิการทั้งด้านการรักษาพยาบาล การศึกษา การเคหะ สังคมสงเคราะห์ เป็นต้น ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมลดลงด้วย อย่างไรก็ตาม สังคมยุโรปตะวันตกก็ยังคงต้องเผชิญกับปัญหาทางสังคมในรูปแบบอื่นๆที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาทางด้านอาชญากรรม ยาเสพติด เป็นต้น นั่นคือความมั่นคงของชีวิตก็สร้างผลกระทบต่อจิตใจและวิถีชีวิตของประชากรชาวยุโรปด้วยเช่นกัน
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ : หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ประเทศในยุโรปตะวันตกได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรปตะวันตกเองก็พยายามรวมกลุ่มกัน ทั้งด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจ โดยได้มีการจัดตั้งองค์กรต่างๆขึ้นมา เช่น องค์กรสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(NATO) องค์การประชาคมยุโรป(EC) ซึ่งกลายเป็นสหภาพยุโรป(EU) ในปัจจุบัน
ประเทศต่างๆในยุโรปตะวันตกซึ่งประสบความเสียหายจากสงครามได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจนกลับสู่สภาพปกติ เช่น เยอรมันนีตะวันตกได้พัฒนาประเทศจนมีความเจริญก้าวหน้าเป็นอันดับหนึ่งของยุโรป ขณะที่ฝรั่งเศส อังกฤษ และกลุ่มประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ก็ฟื้นฟูประเทศจนมีความเจริญก้าวหน้าเกือบทัดเทียมประเทศเยอรมันนีตะวันตก จนกลายเป็นภูมิภาคที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดภูมิภาคหนึ่งทั้งทางด้านการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย เศรษฐกิจมีความเจริญก้าวหน้า สังคมมีความมั่นคง และคุณภาพชีวิตของประชากรมีมาตรฐานสูง
ประเทศในยุโรปตะวันออก
ด้านการเมือง : ประเทศต่างๆในยุโรปตะวันออกต่างปกครองด้วยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียวภายในประเทศ โครงสร้างการปกครองและรูปแบบรัฐธรรมนูญเป็นแบบสหภาพโซเวียต กล่าวคือ เป็นระบอบการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าที่พรรคคอมมิวนิสต์เพียงแห่งเดียว
ด้านเศรษฐกิจ : เนื่องจากสหภาพโซเวียตหวาดระแวงแผนการมาร์แชลล์ของสหรัฐอเมริกาว่าเป็นแผนการขยายอิทธิพลเข้ามาในภูมิภาคยุโรปตะวันออก จึงบีบให้ประเทศยุโรปตะวันออกปฏิเสธแผนการดังกล่าว และได้เสนอแผนเศรษฐกิจโมโลตอฟ(Molotov Plan)แทน
ประเทศในยุโรปตะวันออกทุกประเทศใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทุกอย่างรวมถึงเป็นผู้ควบคุมวางแผลการผลิตเองด้วย การพัฒนาเศรษฐกิจและกิจการทางเศรษฐกิจจึงถูกยึดเป็นของรัฐ มีการใช้ระบบนารัฐตามแบบสหภาะโซเวียตส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ เศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปตะวันตกก็อยู่ภายใต้การควบคุมของสหภาพโซเวียตด้วย โดยสหภาพโซเวียตจะเป็นผู้กำหนดว่าประเทศใดควรผลิตอะไร และประเทศเหล่านี้จะติดต่อการค้ากับสหภาพโซเวียต
ด้านสังคม : รัฐบาลควบคุมกิจกรรมต่างๆของประชาชนให้สอดคล้องกับหลักสังคมนิยม ศาสนาถูกลดบทบาท รัฐให้สวัสดิการสังคมและพยายามลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม แต่การแสดงความคิดเห็นต้องถูกรัฐควบคุมอย่างเข้มงวด
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ : ช่วงแรกหลังสงคราม รัฐบาลในยุโรปตะวันออกดำเนินนโยบาลผูกพันกับสหภาพโซเวียตอย่างแน่นแฟ้น แต่ต่อมาบางประเทศพยายามดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระมากขึ้น เช่น แอลเบเนียไปสร้างความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น
การพัฒนาประเทศในยุโรปตะวันออกมีข้อจำกัดของระบอบสังคมนิยมและความไม่พร้อมของสหภาพโซเวียต จึงทำให้ประเทศต่างๆในยุโรปตะวันออกพัฒนาได้อย่างล่าช้า
ความอ่อนแอของประเทศต่างๆในยุโรปช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมโลกหลายประการด้วยกัน ได้แก่
1. สหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาได้ก้าวขึ้นมาเป็นชาติมหาอำนาจ ดังนั้นสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาจึงมีบทบาทในสังคมโลกมากขึ้น
2.ความอ่อนแอของชาติมหาอำนาจเป็นเหตุให้เกิดการเรียกร้องขอเอกราชของชาติอาณานิคมในทวีปต่างๆ จนมหาอำนาจต้องยอมให้เอกราช โดยมีการมอบเอกราชโดยสันติ เช่น อังกฤษมอบเอกราชให้อินเดียและพม่า
3.ประเทศเอกราชใหม่ซึ่งเป็นชาติกำลังพัฒนา พยายามรวมกลุ่มกันเพื่อคานอำนาจกับกลุ่มประเทศมหาอำนาจตะวันตกและกลุ่มประเทศสังคมนิยมแต่ก็ไม่มีบทบาทที่ชัดเจนมากนัก จนเมื่อเริ่มเข้าสู่สภาวะสงครามเย็นชาติกำลังพัฒนาก็เกิดความแตกแยกหันไปฝักใฝ่กับชาติอภิมหาอำนาจแต่ละฝ่ายมากขึ้น
การได้รับเอกราชและการสร้างชาติของชาติอาณานิคม
ผลกระทบประการหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง คือ ชาติจักรวรรดินิยมเกิดความอ่อนแอลง ก่อให้เกิดการเรียกร้องเอกราชจะประเทศจักรวรรดิวรรษนิยมตะวันตก
หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ ชาติตะวันตกได้กลับมาฟื้นฟูอำนาจของตนในดินแดนอาณานิคม แต่ก็เป็นไปได้ยากและถูกต่อต้านจากขบวนการชาตินิยมของชาวพื้นเมือง ช่องว่างทางอำนาจดังกล่าวทำให้ขบวนการชาตินิยมเข้มแข็งขึ้น ขบวนการชาตินิยมเกิดขึ้นเกือบทุกประเทศที่เป็นดินแดนอาณานิคมในอวีปเอเชียและแอฟริกา
ประเทศในทวีปเอเชีย
เมื่อสงครามโลกครั้งที่2สิ้นสุดลง ชาติอาณานิคมต่างๆ ได้เรียกร้องเอกราชจากชาติตะวันตก ซึ่งชาติจักรวรรดินิยมบางชาติได้เจรจายินยอมให้เอกราชแก่ชาติเมืองขึ้นแต่โดยดี เช่น อังกฤษได้ยินยอมให้เอกราชแต่โดยดีกับพม่า เมื่อ ค.ศ. 1948 ซึ่งก่อนที่ชาติเมืองแม่จะให้เอกราชนี้ ในบางประเทศเกิดขบวนการชาตินิยมขึ้น มีการเรียกร้องเอกราช มีการต่อสู้และเจรจาต่อรองกับประเทศเมืองแม่จนปรากฏผู้นำสำคัญในการต่อสู้เพื่อเอกราช เช่น อองซาน แห่งพม่า เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หลังจากประเทศในเอเชียได้รับเอกราชแล้ว ประเทศเหล่านี้ได้พยายามสร้างชาติและพัฒนาประเทศทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ผู้นำของรัฐบาลของประเทศเกิดใหม่มันเป็นกลุ่มผู้นำของขบวนการเรียกร้องเอกราช
เช่น ซูการ์โน ได้เป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ประเทศเหล่านี้ต้องเผชิญกับปัญหาทั้งภายในและภายนอกประเทศ ปัญหาที่สำคัญได้แก่
1. ปัญหาภายในประเทศ
1.1 ปัญหาการเมืองภายในประเทศ ประเทศเกิดใหม่ได้พยายามนำเอาระบบการปกครอง แบบประชาธิปไตยและระบบสังคมนิยมมาใช้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการคอรัปชั่น การแย่งชิงอำนาจทางการเมืองได้ก่อให้เกิดการปกครองแบบเผด็จการตามมา ดังที่เกิดในพม่าและอินเดีย
1.2 ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาอย่างเร่งรีบได้สร้างปัญหาในด้านการกระจายรายได้ และการจัดสวัสดิการสังคม ปัญหาความยากจนยังคงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศเหล่านี้
1.3 ปัญหาด้านสังคม ปัญหาความแตกแยกด้านเชื้อชาติ ศาสนา และชนกลุ่มน้อย ทำให้ประเทศต่างๆเกิดขบวนการแยกตัวเป็นอิสระตั้งประเทศของตนเอง จนก่อให้เกิดสงครามความขัดแย้งภายในประเทศ
2. ปัญหาจากนอกประเทศ
ประเทศลาตินอเมริกา
แต่เดิมดินแดนประเทศลาตินอเมริกาตกเป็นอาณานิคมของสเปน ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ยกเว้นบราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ดินแดนลาตินอเมริกาตกเป็นอาณานิคมของชาวยุโรปกว่า300ปี ทำให้ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมสเปนและโปรตุเกส รวมทั้งคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกอย่างมาก หลังจากได้รับเอกราชแล้ว กลุ่มประเทศลาตินอเมริกาล้วนประสบปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม อันได้แก่
ทางด้านการเมือง แม้ว่าประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกาจะเลือกระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ทหารก็เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่มีอิทธิพลมากในการเมืองของประเทศ จนกระทั่งบางครั้งทหารได้เข้ามาจัดตั้งรัฐบาลปกครองประเทศด้วยระบอบเผด็จการทหาร ขณะเดียวกันประเทศลาตินอเมริกาก็ต้องเผชิญกับการคุกคามของพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชน จนบางประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ เช่น คิวบา เป็นต้น
ความคิดเห็น