ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ทำไงถึงจะใช้ภาษาอังกฤษได้ดี หรือสื่อสารกับฝรั่งได้ (การอ่าน)
มีหลายคนชอบถามเช่น เพื่อน ๆ น้อง ๆ หรือ พี ๆ ที่อยู่ที่ไทยว่าทำยังไงถึงจะเก่งภาษาอังกฤษ เราก็แอบคิดในใจนะว่า ตายแล้วนี่ถามผิดคนหรือเปล่านี่ เพราะว่าภาษาอังกฤษเราห่วยนะ ไม่ได้ดีเลย ถึงแม้ว่าจะได้ทุนมาเรียนที่อเมริกา แต่ไม่ได้แปลว่าภาษาอังกฤษเราเลิศหรูนะคะ เพราะสมัครมาเรียนวิชาด้านวิทย์ค่ะ ไม่ใช่ด้านภาษา แต่แน่นอนว่าสอบทุนมันต้องมีสอบภาคภาษาอังกฤษด้วย ก็มันไม่ยากนี่นา แค่วัดความรู้พื้นฐานภาษาเท่านั้นเอง ถ้าผ่านห้าสิบเปอร์เซนต์ คุณมีสิทธิ์เข้ารอบต่อไปค่ะ เหอๆ
ขอเล่าประวัติตัวเองนิดนึง เพื่อให้รู้ว่าภาษาอังกฤษเรามีพื้นฐานยังไง จำได้ว่าเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ป.หนึ่ง ถึง ม.หก เกรดดีมาก ข้อสอบมีแต่กากบาท ง่ายเลย ไม่ต้องเขียนอะไรทั้งสิ้น สงสัยครูขี้เกียจอ่านมั้ง มันเลยเข้าทางเราค่ะ ก็จำ ๆ ๆ ๆ เอา แกรมม่าก็ท่องเอา ก็เลยได้เกรดดี แต่พอถึงช่วงม.ปลาย ต้องเรียนกับครูฝรั่ง หงายหลังเลยค่ะ ฟังไม่รู้เรื่องสักแอะเลย พูดอะไรก็ไม่รู้ สรุปว่าไอเกรดสูง ๆ ที่ได้มานี่ไม่ได้ช่วยอะไรเลยค่ะ เป็นแค่ผักชีโรยหน้าหลอกเด็กไทยว่ามีมารตฐานด้านภาษาดี ทั้งที่ความจริงแล้วห่วยสิ้นดี
บอกตรง ๆ นะว่าเวลาเรียนกับอาจารย์ฝรั่งทีไรนี่ทรมาน ฟังออกแต่คำง่าย ๆ ขนาดเขาพูดช้าแล้วฉันก็ยังไม่เข้าใจ แล้วด้วยความที่เราขี้อายก็ไม่ค่อยกล้าพูดค่ะ นิสัยคนไทยไง กลัวเพื่อนล้อ อายสำเนียงตัวเอง กลัวโดนจับผิด กว่าจะพูดแต่ละทีนี่นั่งคิดแกรมม่าในหัว คิดแล้วคิดอีก โอ๊ยย จะบ้าตายกว่าจะออกมาแต่ละประโยค ยิ่งกว่ากลัวดอกพิกุลจะร่วงนะคะ ฮ่า ๆ ๆ ๆ
แต่บอกตรง ๆ ว่าวิชาภาษาอังกฤษถือว่าเป็นวิชาโปรดเลยก็ว่าได้นะคะ เพราะรู้สึกว่าเรียนแล้วสนุกมาก ไม่เครียดเลย ต้องขอบคุณอาจารย์ที่โรงเรียนที่สอนมาอย่างสนุกสนานค่ะ แต่ด้วยความที่รู้ว่าตัวเองอ่อนวิชานี้ คือรู้เลยว่าพูดอังกฤษไม่ได้ ฟังก็ไม่ได้ เลยไปเรียนพิเศษเอาค่ะ ซึ่งไอที่เรียนก็ไม่ได้เกี่ยวกับการพูด การฟัง เลย ฮ่า ๆ ก็เรียนเพื่อสอบอ่ะค่ะ แต่บอกตรง ๆ ว่าอาจารย์คนนี้สอนดีมากค่ะ แล้วเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่าทำกันยังไง
วิธีการฝึกภาษาอังกฤาในฉบับของเรา
การอ่าน
เราฝึกอ่านบทความภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ม.หนึ่ง ถึง ม.หกค่ะ อ่านบทความแทบทุกวัน วันละสี่ห้าบทความ จากนิตยสารค่ะ อ่านทุกประเภท ตั้งแต่ข่าว เรื่องเล่า ยัน บันเทิงค่ะ แต่ว่าข้อดีคือ ช่วงสามปีแรกอาจารย์เขาให้อ่านพวกนิทาน หรือ เรื่องสั้นง่าย ๆ ไม่เกินครึ่งเอสี่ค่ะ อ่านไปก็สนุกดีค่ะ แล้วก็ได้คำศัพท์ใหม่ทุกวัน แต่ที่สำคัญคือดิฉันขี้เกียจค่ะ ไม่เคยมานั่งท่องศัพท์เลย แต่รู้ไหมคะทำไมจำศัพท์ได้เยอะ เพราะอ่านแทบทุกวัน อ่านบ่อย ๆ ค่ะ มันเจอแต่ศัพท์เดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมาค่ะ ถ้าเป็นบทความประเภทเดียวกัน ยังไงก็เจอศัพท์เดิม มันก็เลยเข้าหัวเอง แล้วอาจารย์จะช่วยแปลไปพร้อม ๆ กับเราค่ะ มันเลยทำให้เราไม่รู้สึกทรมานค่ะ ทำให้จับสังเกตวิธีแปลของอาจารย์เอามาประยุกต์ใช้ว่าอ่อ ประโยคแนวนี้แปลว่าอย่างนี้ นี่คือข้อดีของการมีไกด์นำทางที่ดีค่ะ
หลังจากนั้นสามปีให้หลัง อาจารย์จะให้อ่านและแปลเองค่ะ แต่ว่าก็ช่วยบ้าง ขอบอกว่ามันทำให้การอ่านเราพัฒนาขึ้นมากนะ คืออ่านเป็น แปลเป็น แต่ไม่ได้เก่งนะ แต่คือสามารถเดาได้ว่ามันจะแปลว่าอะไร และที่สำคัญมันทำให้เราเรียนรู้แกรมม่าไปในตัวค่ะ อัศจรรย์มาก ได้แกรมม่าแบบไม่ต้องท่องค่ะ ตะลึง ตึง โป๊ะ ถือว่าเป็นเทคนิคที่ดีมากค่ะ
แล้วเวลาท่องศัพท์อาจารย์บอกว่าให้ท่องเป็นกลุ่ม ๆ เป็นหมวด ๆ อย่างท่องตะพรึดตะพรือหรือมั่ว ๆ มันจะจำยาก ตัวอย่างเช่น ให้ท่องศัพท์ที่มีความหมายคล้าย ๆ กันไว้กลุ่มเดียวกัน ให้ท่องศัพท์ที่มีคำขึ้นต้นเหมือนกันไว้ด้วยกัน ท่องแบบนี้มาหกปีค่ะ มันทำให้จำง่าย ทำข้อสอบได้ดีด้วย
หลังจากนั้นพออ่านบทความได้ที่แล้วให้ขยับมาอ่านหนังสือค่ะ เช่นอ่านนิยาย หรือเรื่องสั้น สำหรับนักเรียนประถมอ่านกัน เวลาซื้อหนังสือให้พลิกดูด้านหลังมันจะบอกว่าหนังสือนี้เหมาะกับประถมชั้นไหน ใช่ค่ะฟังไม่ผิด เราอยู่มัธยมแล้วแต่เราต้องอ่านนิยายเด็กประถมค่ะ คือเริ่มต้นจายง่าย ๆ ตอนนั้นอ่านเล่มเล็ก ๆ ขนาดพอกเก็ดบุ๊คค่ะ เล่มละร้อยกว่าหน้าเอง เราอ่านไปสามเรื่อง เป็นนิยายแต่ง
เล่มแรกขอบอกว่าทรมานมากค่ะ เปิดศัพท์กระจุย หน้านึงมีศัพท์ไม่รู้เยอะมาก นี่ขนาดเราคิดว่าเราศัพท์เยอะแล้วนะ แต่พอมาอ่านนิยายเข้าจริง พบว่ามันไม่ใช่เลย สำนวนการเขียนมันแตกต่างมาก ก็ทนอ่านไปจนจบ เรื่องมันสนุกด้วยแหละเลยทนอ่านได้ ฮ่า ๆ ข้อสำคัญเลยนะ ต้องเลือกเรื่องให้ตื่นเต้น น่าติดตาม
พอเริ่มเล่มสองเริ่มสบายแล้วค่ะ คือรู้แนวการเขียนนิยายฝรั่งว่า สำนวนแบบนี้แปลว่าอย่างนี้ ศัพท์นี้ส่วนใหญ่มาหลังคำนี้ อะไรประมาณนี้ คือมันจะเดาศัพท์เป็นไปโดยปริยายค่ะ เลิกเปิดศัพท์ไปเลย อ่านสบายขึ้นเยอะ ไม่ติดขัดไม่ต้องมานั่งหาศัพท์ คือมันทำให้เรารู้เลยนะว่า ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกคำศัพท์ก็อ่านรู้เรื่องค่ะ แค่รู้โครงสร้างประโยคพื้นฐานว่าอะไรเป็นกริยา ประธาน กรรม ต้องแยกให้ได้ถึงแม้ว่าประโยคจะดูซับซ้อนแค่ไหน แล้วเราก็จะอ่านรู้เรื่องค่ะ รู้ว่าใจความสำคัญอยู่ตรงไหน ตรงไหนเป็นน้ำเอาไว้ขยายประโยค ข้ามไปได้ อะไรแบบนี้หละ
พอเล่มสามจะรู้สึกว่าการอ่านพัฒนาขึ้นค่ะ อ่านได้คล่องขึ้น ติดขัดน้อยลง หลังจากนี้ขยับไปอ่านนิยายผู้ใหญ่ได้เลยค่ะ จะสามารถอ่านได้ละ แต่ก็ขึ้นอยู่กับเรื่องและสำนวนการเขียน บางคนเขียนภาษาวิจิตรเกินก็อ่านยากค่ะ พออ่านนิยายได้ให้ขยับไปอ่าน non-fiction นะคะ หนังสือที่ไม่ใช่นิยายน่ะค่ะ มันจะยากขึ้น เพราะอาจมีศัพท์เฉพาะหลายอย่างที่ไม่รู้ เดาก็ไม่ได้ ก็ต้องทนนะคะ อ่านบ่อย ๆ แล้วมันจะชินไปในที่สุดค่ะ แต่อันนี้ขึ้นกับว่าคนเขียนใช้ศัพท์เทคนิคแค่ไหน ใช้สำนวนวิชาการขนาดไหน
นั่นแหละค่ะคือวิธีฝึกเรา
เอาเป็นว่าขอจบแค่นี้ก่อนนะค่อยมาต่อใหม่ค่ะ
ขอเล่าประวัติตัวเองนิดนึง เพื่อให้รู้ว่าภาษาอังกฤษเรามีพื้นฐานยังไง จำได้ว่าเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ป.หนึ่ง ถึง ม.หก เกรดดีมาก ข้อสอบมีแต่กากบาท ง่ายเลย ไม่ต้องเขียนอะไรทั้งสิ้น สงสัยครูขี้เกียจอ่านมั้ง มันเลยเข้าทางเราค่ะ ก็จำ ๆ ๆ ๆ เอา แกรมม่าก็ท่องเอา ก็เลยได้เกรดดี แต่พอถึงช่วงม.ปลาย ต้องเรียนกับครูฝรั่ง หงายหลังเลยค่ะ ฟังไม่รู้เรื่องสักแอะเลย พูดอะไรก็ไม่รู้ สรุปว่าไอเกรดสูง ๆ ที่ได้มานี่ไม่ได้ช่วยอะไรเลยค่ะ เป็นแค่ผักชีโรยหน้าหลอกเด็กไทยว่ามีมารตฐานด้านภาษาดี ทั้งที่ความจริงแล้วห่วยสิ้นดี
บอกตรง ๆ นะว่าเวลาเรียนกับอาจารย์ฝรั่งทีไรนี่ทรมาน ฟังออกแต่คำง่าย ๆ ขนาดเขาพูดช้าแล้วฉันก็ยังไม่เข้าใจ แล้วด้วยความที่เราขี้อายก็ไม่ค่อยกล้าพูดค่ะ นิสัยคนไทยไง กลัวเพื่อนล้อ อายสำเนียงตัวเอง กลัวโดนจับผิด กว่าจะพูดแต่ละทีนี่นั่งคิดแกรมม่าในหัว คิดแล้วคิดอีก โอ๊ยย จะบ้าตายกว่าจะออกมาแต่ละประโยค ยิ่งกว่ากลัวดอกพิกุลจะร่วงนะคะ ฮ่า ๆ ๆ ๆ
แต่บอกตรง ๆ ว่าวิชาภาษาอังกฤษถือว่าเป็นวิชาโปรดเลยก็ว่าได้นะคะ เพราะรู้สึกว่าเรียนแล้วสนุกมาก ไม่เครียดเลย ต้องขอบคุณอาจารย์ที่โรงเรียนที่สอนมาอย่างสนุกสนานค่ะ แต่ด้วยความที่รู้ว่าตัวเองอ่อนวิชานี้ คือรู้เลยว่าพูดอังกฤษไม่ได้ ฟังก็ไม่ได้ เลยไปเรียนพิเศษเอาค่ะ ซึ่งไอที่เรียนก็ไม่ได้เกี่ยวกับการพูด การฟัง เลย ฮ่า ๆ ก็เรียนเพื่อสอบอ่ะค่ะ แต่บอกตรง ๆ ว่าอาจารย์คนนี้สอนดีมากค่ะ แล้วเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่าทำกันยังไง
วิธีการฝึกภาษาอังกฤาในฉบับของเรา
การอ่าน
เราฝึกอ่านบทความภาษาอังกฤษมาตั้งแต่ม.หนึ่ง ถึง ม.หกค่ะ อ่านบทความแทบทุกวัน วันละสี่ห้าบทความ จากนิตยสารค่ะ อ่านทุกประเภท ตั้งแต่ข่าว เรื่องเล่า ยัน บันเทิงค่ะ แต่ว่าข้อดีคือ ช่วงสามปีแรกอาจารย์เขาให้อ่านพวกนิทาน หรือ เรื่องสั้นง่าย ๆ ไม่เกินครึ่งเอสี่ค่ะ อ่านไปก็สนุกดีค่ะ แล้วก็ได้คำศัพท์ใหม่ทุกวัน แต่ที่สำคัญคือดิฉันขี้เกียจค่ะ ไม่เคยมานั่งท่องศัพท์เลย แต่รู้ไหมคะทำไมจำศัพท์ได้เยอะ เพราะอ่านแทบทุกวัน อ่านบ่อย ๆ ค่ะ มันเจอแต่ศัพท์เดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมาค่ะ ถ้าเป็นบทความประเภทเดียวกัน ยังไงก็เจอศัพท์เดิม มันก็เลยเข้าหัวเอง แล้วอาจารย์จะช่วยแปลไปพร้อม ๆ กับเราค่ะ มันเลยทำให้เราไม่รู้สึกทรมานค่ะ ทำให้จับสังเกตวิธีแปลของอาจารย์เอามาประยุกต์ใช้ว่าอ่อ ประโยคแนวนี้แปลว่าอย่างนี้ นี่คือข้อดีของการมีไกด์นำทางที่ดีค่ะ
หลังจากนั้นสามปีให้หลัง อาจารย์จะให้อ่านและแปลเองค่ะ แต่ว่าก็ช่วยบ้าง ขอบอกว่ามันทำให้การอ่านเราพัฒนาขึ้นมากนะ คืออ่านเป็น แปลเป็น แต่ไม่ได้เก่งนะ แต่คือสามารถเดาได้ว่ามันจะแปลว่าอะไร และที่สำคัญมันทำให้เราเรียนรู้แกรมม่าไปในตัวค่ะ อัศจรรย์มาก ได้แกรมม่าแบบไม่ต้องท่องค่ะ ตะลึง ตึง โป๊ะ ถือว่าเป็นเทคนิคที่ดีมากค่ะ
แล้วเวลาท่องศัพท์อาจารย์บอกว่าให้ท่องเป็นกลุ่ม ๆ เป็นหมวด ๆ อย่างท่องตะพรึดตะพรือหรือมั่ว ๆ มันจะจำยาก ตัวอย่างเช่น ให้ท่องศัพท์ที่มีความหมายคล้าย ๆ กันไว้กลุ่มเดียวกัน ให้ท่องศัพท์ที่มีคำขึ้นต้นเหมือนกันไว้ด้วยกัน ท่องแบบนี้มาหกปีค่ะ มันทำให้จำง่าย ทำข้อสอบได้ดีด้วย
หลังจากนั้นพออ่านบทความได้ที่แล้วให้ขยับมาอ่านหนังสือค่ะ เช่นอ่านนิยาย หรือเรื่องสั้น สำหรับนักเรียนประถมอ่านกัน เวลาซื้อหนังสือให้พลิกดูด้านหลังมันจะบอกว่าหนังสือนี้เหมาะกับประถมชั้นไหน ใช่ค่ะฟังไม่ผิด เราอยู่มัธยมแล้วแต่เราต้องอ่านนิยายเด็กประถมค่ะ คือเริ่มต้นจายง่าย ๆ ตอนนั้นอ่านเล่มเล็ก ๆ ขนาดพอกเก็ดบุ๊คค่ะ เล่มละร้อยกว่าหน้าเอง เราอ่านไปสามเรื่อง เป็นนิยายแต่ง
เล่มแรกขอบอกว่าทรมานมากค่ะ เปิดศัพท์กระจุย หน้านึงมีศัพท์ไม่รู้เยอะมาก นี่ขนาดเราคิดว่าเราศัพท์เยอะแล้วนะ แต่พอมาอ่านนิยายเข้าจริง พบว่ามันไม่ใช่เลย สำนวนการเขียนมันแตกต่างมาก ก็ทนอ่านไปจนจบ เรื่องมันสนุกด้วยแหละเลยทนอ่านได้ ฮ่า ๆ ข้อสำคัญเลยนะ ต้องเลือกเรื่องให้ตื่นเต้น น่าติดตาม
พอเริ่มเล่มสองเริ่มสบายแล้วค่ะ คือรู้แนวการเขียนนิยายฝรั่งว่า สำนวนแบบนี้แปลว่าอย่างนี้ ศัพท์นี้ส่วนใหญ่มาหลังคำนี้ อะไรประมาณนี้ คือมันจะเดาศัพท์เป็นไปโดยปริยายค่ะ เลิกเปิดศัพท์ไปเลย อ่านสบายขึ้นเยอะ ไม่ติดขัดไม่ต้องมานั่งหาศัพท์ คือมันทำให้เรารู้เลยนะว่า ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกคำศัพท์ก็อ่านรู้เรื่องค่ะ แค่รู้โครงสร้างประโยคพื้นฐานว่าอะไรเป็นกริยา ประธาน กรรม ต้องแยกให้ได้ถึงแม้ว่าประโยคจะดูซับซ้อนแค่ไหน แล้วเราก็จะอ่านรู้เรื่องค่ะ รู้ว่าใจความสำคัญอยู่ตรงไหน ตรงไหนเป็นน้ำเอาไว้ขยายประโยค ข้ามไปได้ อะไรแบบนี้หละ
พอเล่มสามจะรู้สึกว่าการอ่านพัฒนาขึ้นค่ะ อ่านได้คล่องขึ้น ติดขัดน้อยลง หลังจากนี้ขยับไปอ่านนิยายผู้ใหญ่ได้เลยค่ะ จะสามารถอ่านได้ละ แต่ก็ขึ้นอยู่กับเรื่องและสำนวนการเขียน บางคนเขียนภาษาวิจิตรเกินก็อ่านยากค่ะ พออ่านนิยายได้ให้ขยับไปอ่าน non-fiction นะคะ หนังสือที่ไม่ใช่นิยายน่ะค่ะ มันจะยากขึ้น เพราะอาจมีศัพท์เฉพาะหลายอย่างที่ไม่รู้ เดาก็ไม่ได้ ก็ต้องทนนะคะ อ่านบ่อย ๆ แล้วมันจะชินไปในที่สุดค่ะ แต่อันนี้ขึ้นกับว่าคนเขียนใช้ศัพท์เทคนิคแค่ไหน ใช้สำนวนวิชาการขนาดไหน
นั่นแหละค่ะคือวิธีฝึกเรา
เอาเป็นว่าขอจบแค่นี้ก่อนนะค่อยมาต่อใหม่ค่ะ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น