ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Biology for High School Student

    ลำดับตอนที่ #1 : Unit 1 : Introduction to Biology (Part I )

    • อัปเดตล่าสุด 4 พ.ค. 54


    Unit 1 : Introduction to Biology

    ชีววิทยา (Biology) คำว่าชีววิทยามาจากรากศัพท์ ภาษากรีก 2 คำ คือ ไบออส (Bios) หมายถึง ชีวิต และโลกอส (Logos) แปลว่า การศึกษา หรือความรู้

    ชีววิทยาจึงเป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ระหว่างประชากรสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ การศึกษาลักษณะรูปร่าง การดำรงชีวิต และการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต

                 นอกจากนี้ชีววิทยายังครอบคลุมถึง การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในระดับโมเลกุล อะตอมที่เป็น องค์ประกอบทางเคมีของเซลล์ รวมถึงการศึกษาเรื่องปฏิกิริยาเคมีและพลังงานที่เกิดขึ้น ในร่างกายสิ่งมีชีวิตอีกด้วย จะเห็นได้ว่าชีววิทยานั้นเกี่ยวข้องกับความรู้ต่างๆหลายสาขา ทั้งทางด้านเคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประยุกต์นำมาใช้อธิบายหรือจำลองความเป็นไปของสิ่งมีชีวิต ทั้งหลาย เพื่อตอบปัญหาต่างๆที่มนุษย์สงสัย เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตได้

    ความสำคัญของชีววิทยา

    1.ด้านโภชนาการ การเลือกชนิดของอาหาร การบริโภคอาหารให้ถูกสัดส่วน การเพิ่มผลผลิตอาหาร การปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ โดยอาศัยความรู้ในสาขาพันธุศาสตร์ ชีวเคมีและ โภชนาการ ฯลฯ

    2.ด้านการแพทย์และสาธารณสุข การดูแลรักษาร่างกาย การป้องกันโรคและการรักษาโรค ซึ่งชีววิทยาเป็นพื้นฐานสำคัญในทางแพทยศาสตร์และสาธารณสุข

    3.การควบคุมศัตรูพืชและสัตวโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาในสาขาอนุกรมวิธาน นิเวศวิทยา โดยเฉพาะการควบคุมศัตรูพืช และสัตว์โดยวิธีทางชีววิธี (Biological Control)

    4.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการป้องกันมลภาวะของสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากร ให้คุ้มค่าและใช้ได้นานโดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

    5.การพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ เช่น พืชผัก ธัญพืช ที่ใช้บริโภคและส่งเป็นสินค้าออก การใช้พลังงานทดแทน เช่น มูลสัตว์ ซากสัตว์ ใช้ผลิตก๊าซชีวภาพ อ้อยและมันสำปะหลังใช้ผลิตแอลกอฮอล์ สิ่งเหล่านี้ต้องใช้ความรู้พื้นฐานทาง พฤกษศาสตร์และสาขาอื่น ๆ ทางชีววิทยาร่วมกัน

    สาขาวิชาย่อยของชีววิทยา

    Acarology

    ศึกษาเกี่ยวกับเห็บและไร (วิทยาเห็บไร)

    Anatomy

    ศึกษาเกี่ยวกับกายวิภาค โครงสร้างของสิ่งมีชีวิต (กายวิภาคศาสตร์)

    Biochemistry

    ศึกษาเกี่ยวกับสารชีวโมเลกุล และกระบวนการ Metabolism (ชีวเคมี)

    Botany

    ศึกษาเกี่ยวกับพืช (พฤกษศาสตร์)

    Cytology

    ศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ (เซลล์วิทยา)

    Ecology

    ศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศน์ (นิเวศวิทยา)

    Entomology

    ศึกษาเกี่ยวกับแมง (กีฏวิทยา)

    Embryology

    ศึกษาเกี่ยวกับตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตและการพัฒนาการของตัวอ่อน (คัพภะวิทยา)

    Evolution

    ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ

    Genetics

    ศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม (พันธุศาสตร์)

    Histology

    ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อเยื่อ (มิญชวิทยา)

    Helminthology

    ศึกษาเกี่ยวกับหนอนและพยาธิ

    Ichthyology

    ศึกษาเกี่ยวกับปลา (มีนวิทยา)

    Malacology

    ศึกษาเกี่ยวกับหอย (สังขละวิทยา)

    Mammalogy

    ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

    Microbiology

    ศึกษาเกี่ยวกับจุลชีพ แบคทีเรีย ไวรัส (จุลชีววิทยา)

    Morphology

    ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและสัณฐานของสิ่งมีชีวิต

    Ornithology

    ศึกษาเกี่ยวกับนก (ปักษีวิทยา)

    Paleontology

    ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ (บรรพชีวินวิทยา)

    Parasitology

    ศึกษาเกี่ยวกับพยาธิ ปรสิต (ปรสิตวิทยา)

    Physiology

    ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของโครงสร้างร่างกาย (สรีรวิทยา)

    Taxonomy

    ศึกษาเกี่ยวกับการจัดจำพวกของสิ่งมีชีวิต (อนุกรมวิธาน)

    Zoology

    ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ (สัตววิทยา)

    คุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต

            1.มีโครงสร้างและการทำหน้าที่อย่างเป็นระบบ (Organization) โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตชั้นสูงจะมีการทำงานประสานกันตั้งแต่ระดับหน่วยย่อยภายในเซลล์ (organelle) กลุ่มเซลล์ (tissue) และอวัยวะ (organ) ต่างๆ อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

    2. มีการรักษาสมดุลภายในร่างกาย (homeostasis) การรักษาสมดุลภายในร่างกาย เช่น ระดับอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-เบส (pH) และความเข้มข้นของสารต่างๆให้อยู่ ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์

    3. มีการปรับตัว (adaptation) สิ่งมีชีวิตพยายามปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ เช่น การเปลี่ยนสีของผิวหนังในสัตว์เลื้อยคลานเพื่ออำพรางศัตรู การที่ปลามีรูปร่างเพรียวไม่ต้านกระแสน้ำ การลดรูปของใบจนมีลักษณะคล้ายเข็มในต้นตะบองเพชรเพื่อลดการสูญเสียน้ำ การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเป็นไปก็เพื่อเพื่อให้สามารถอยู่รอดในสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่และสามารถสืบทอดลูกหลานต่อไปได้นั่นเอง

    4. มีการสืบพันธุ์และถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม (reproduction and heredity)
    สิ่งมีชีวิตต้องสามารถสืบพันธุ์ได้เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ไม่ให้สูญสิ้นไป โดยอาจอาศัยวิธีสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ (sexual reproduction) หรือไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองวิธีก็ได้ เมื่อมีการสืบพันธุ์สิ่งมีชีวิตจะถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปยังลูกหลานโดยอาศัยสารพันธุกรรมซึ่งได้แก่ DNA และ RNA ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นตัวเก็บรหัสทางพันธุกรรมของรุ่นพ่อ-แม่ไว้นั่นเอง

    5. มีการเจริญเติบโตและพัฒนารูปร่าง (growth and development) ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หลังจากมีการสืบพันธุ์ให้ลูกหลานแล้ว เซลล์ลูกเริ่มแรกจะมีขนาดเล็กหลังจากได้รับสารอาหารจะมีการ เจริญเติบโตขยายขนาดใหญ่ขึ้นและพัฒนาจนเป็นเซลล์ที่พร้อมจะสืบพันธุ์ได้ (mature cell) ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จะมีกระบวนการเจริญเติบโตและพัฒนาที่ซับซ้อนมากขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์ (cell differentiation) เพื่อให้เหมาะกับการทำหน้าที่แต่ละอย่า

    6. ต้องการพลังงาน (energy) และสร้างพลังงาน สิ่งมีชีวิตต้องการพลังงานเพื่อนำมาสร้างสาร ATP (Adenosine Triphosphate) โดยผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึม (metabolism) ATP เป็นสารที่ใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆภายในร่างกายสิ่งมีชีวิต เช่น การสืบพันธุ์ การเจริญเติบโต การเคลื่อนไหว ฯลฯ พลังงานที่สิ่งมีชีวิตต้องการดังกล่าวอาจได้มาจากแหล่งต่างๆ เช่น พืชได้พลังงานจากแสงอาทิตย์ สัตว์ได้พลังงานจากปฏิกิริยาเคมีของสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ไวรัสได้พลังงานจากสิ่งมีชีวิตอื่น

    ::: อ่านต่อใน Unit 1 : Introduction to Biology (Part II) :::

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×