ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คลังสมบัติ!! สรุปวิทย์-คณิต (บลาๆ) ม.4 a little bit จ้า ^O^

    ลำดับตอนที่ #1 : การรักษาดุลยภาพของน้ำ [ชีววิทยา]

    • อัปเดตล่าสุด 7 ก.ย. 53


    การรักษาดุลยภาพของน้ำ

                ในร่างกายคนประกอบด้วยน้ำประมาณ 65-70 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งร่างกายจำเป็นต้องรักษาดุลยภาพนี้ไว้ การรักษาดุลยภาพของน้ำในร่างกายทำได้โดยการควบคุมปริมาตรน้ำที่รับเข้าและขับออกจากร่างกาย ซึ่งมีช่องทางและผ่านกระบวนการต่างๆ

                เมื่อร่างกายของคนเราสูญเสียน้ำออกมามากกว่าปริมาณที่ได้รับเข้าไป จะทำให้ปริมาณน้ำในเลือดน้อยลงไปด้วย จึงส่งผลให้แรงดันออกโมติกในเลือดมีค่าสูงขึ้น ซึ่งจะไปกระตุ้นสมองส่วนไฮโปทาลามัสส่งกระแสประสาทไปที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ให้หลั่งฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (ADH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างจากไฮโปทาลามัส แต่ถูกส่งมาเก็บที่ต่อมใต้สมองส่วนหลังนี้  ADH จะถูกส่งไปยังท่อหน่วยไตที่ทำหน้าที่ในการขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายให้ดูดน้ำกลับมากขึ้น จึงทำให้ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นตามไปด้วย

                นอกจากนี้เมื่อปริมาณน้ำในเลือดของคนเราน้อย สมองส่วนไฮโปทาลามัสจะกระตุ้นให้เกิดการกระหายน้ำ เมื่อเราดื่มน้ำ จะทำให้ปริมาณน้ำในเลือดเพิ่มขึ้น แรงดันออสโมติกลดลงสู่ภาวะปกติ ร่างกายจึงคืนกลับสู่สมดุล

     

    ตรงกันข้าม หากปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับมากกว่าปริมาณน้ำที่ขับออกไป จะทำให้ปริมาณน้ำในเลือดมาก ค่าแรงดันออสโมติกในเลือดต่ำ จึงไม่กระตุ้นสมองส่วนไฮโปทาลามัส ทำให้ไม่ส่งกระแสประสาทไปกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหลังให้หลั่งฮอร์โมน การดูดน้ำกลับที่ท่อหน่วยไตจึงไม่เกิดขึ้น ไตจึงขับปัสสาวะมากและเจือจาง

     

    จึงสรุปได้ว่า เมื่อปริมาณน้ำในร่างกายมีมากหรือน้อยเกินไป ร่างกายจะรักษาสมดุลของน้ำเพื่อให้เหมาะสมต่อการทำงานของเซลล์ โดยถ้าปริมาณน้ำในร่างกายมีน้อย สมองจะหลั่งฮอร์โมนมาที่ท่อหน่วยไต ท่อหน่วยไตตอนปลายจะดูดน้ำกลับมากขึ้น น้ำปัสสาวะจึงมีปริมาณน้อยและเข้มข้น แต่ถ้าปริมาณน้ำในร่างกายมาก ปัสสาวะจะมากและเจืองจาง เนื่องจากไม่มีการดูดน้ำกลับของท่อหน่วยไต

    ---------


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×