ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทคโนโลยีสารสนเทศ [IT] ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)

    ลำดับตอนที่ #1 : ประวัติของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ( School of Information Technology : SIT )

    • อัปเดตล่าสุด 9 เม.ย. 53


       คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2534 และเป็นส่วนราช การตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตาม ราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 114 วันที่ 21 พฤษภาคม 2540 โดยมี ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เป็น ประธานโครงการจัดตั้งคณะฯ มีวัตถุประสงค์ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี ทาง เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสารสนเทศ ส่งเสริมการพัฒนา และการวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศและเพื่อให้บริการวิชาการคอมพิวเตอร์และ การประมวลสารสนเทศ แก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ การดำเนินงานใน ระยะแรกใช้พื้นที่บริเวณชั้น 3 อาคารเรียนรวม 2 รวม 1,582 ตร.ม

    1 สิงหาคม พ.ศ. 2538 คณะฯเปิดการเรียนการสอนครั้งแรกในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 2 ปี (ต่อเนื่อง) สาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ และ ต่อมาในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538ได้เปิดสอน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดตั้งห้องสมุดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าและพัฒนาความรู้ให้แก่นักศึกษา คณาจารย์และ พนักงาน

    มิถุนายน พ.ศ. 2539 ได้ขยายการผลิตบัณฑิตไปยังจังหวัดราชบุรีตามโครงการวิทยาเขต สารสนเทศเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาคของรัฐบาล ในหลักสูตรวิทยาศาสตร บัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้ศาลาประชาคมประจำจังหวัดราชบุรีหลังเดิมซึ่งมี พื้นที่รวม 705 ตารางเมตร เป็นพื้นที่จัดการศึกษามา จัดการเรียนการสอนจัดทำผ่านระบบการ สอนทางไกล (VDO Conference) จากกรุงเทพไปยังราชบุรี ทำให้คุณภาพการสอนได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน

    2 มิถุนายน พ.ศ. 2540 จัดตั้งศูนย์ประสานงานภาษาอังกฤษขึ้น เพื่อให้เป็นไปตาม พันธกิจของคณะฯ ในด้านการเรียนรู้โดยใช้สองภาษา มีผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษทั้งชาวต่างชาต ิและชาวไทยช่วยสนับสนุนการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ให้กับ
    นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ นับเป็นคณะเดียวใน มจธ. ที่มีหน่วยบริการ ภาษาอังกฤษภายในคณะฯ

    มิถุนายน พ.ศ.2541 คณะฯ ได้กำหนดให้มีตำแหน่งผู้ช่วยสอน และต่อมาในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2544 เปลี่ยนชื่อ เป็นตำแหน่งพนักงานส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อ สนับสนุนการเรียนรู้นักศึกษาปริญญาตรีในวิชาต่าง ๆ ส่งเสริมการทำกิจกรรมของ นักศึกษา รวมทั้งการช่วยเหลืออาจารย์ในการพัฒนานักศึกษาและให้บริการวิชาการ
    แก่สังคมและเปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็นอาจารย์ส่งเสริมการเรียนรู้ ตั่งแต่วันที่ 11 เม.ย พ.ศ. 2551 เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสกอ.และภาระงานที่ปฏิบัติจริง

    มิถุนายน พ.ศ. 2542เริ่มเปิดสอนสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เป็นครั้งแรก ตามหลักสูตรใหม่ที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2542 เริ่ม ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 ร่วมกับองค์กรเอกชนที่โดดเด่นชั้นนำด้าน ไอทีในการกำหนดหลักสูตร Workshop ในระดับปริญญาโท แผนวิชาชีพสาย สัมมนาปฏิบัติการ ( IT Professional Workshop) กับองค์กรเอกชนที่ร่วมโครงการ
    ในเบื้องต้น ได้แก่ IBM Oracle และ 3Com โดยผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับ ประกาศนียบัตรที่รับรองร่วมกันจากคณะฯ และองค์กรที่ร่วมมือ

    1มิถุนายน พ.ศ. 2543 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการ คอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) โดยเน้นการผลิตบัณฑิตที่เน้นปฏิบัติงานโดย ใช้ภาษาอังกฤษได้ดี

    24 เมษายน พ.ศ. 2543 เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ภาษาอังกฤษ) นับเป็นคณะ เทคโนโลยีสารสนเทศ แห่งแรกในประเทศไทย ต่อมาได้ เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาษาอังกฤษ) เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2548 เพื่อสร้างนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถทางวิทยาการ คอมพิวเตอร์ในระดับมาตรฐานสากล

    1ตุลาคม พ.ศ. 2544 เปิดศูนย์วิจัยบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service Research Centerหรือ ESRC) เพื่อวัตถุประสงค์ให้การบริการด้านการศึกษา วิจัย และ วิเคราะห์การใช้ประโยชน์และสมรรถนะของบริการอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์(e-Business) และรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e Government) การติดตามประเมินผลโครงสร้างพื้นฐานด้านบริการ อิเล็กทรอนิกส์ การเพิ่มขีดความสามารถในการถ่ายทอด ดัดแปลง สร้าง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี สนับสนุนการทำวิจัยเพื่องานวิทยานิพนธ์
    ตลอดทั้งการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสารสนเทศ รวมทั้งการดัดแปลงเทคโนโลยี สารสนเทศจากต่างประเทศให้เหมาะสมกับประเทศไทย การปฎิบัติงานในศูนย์ แห่งนี้ทำให้คณาจารย์คณะฯ ได้มีส่วนร่วมช่วยแก้ไขปัญหาด้านไอทีของ ประเทศและได้นำประสบการณ์นั้นมาถ่ายทอดให้กับนักศึกษาอีกด้วย

    พฤษภาคม พ.ศ.2545 เปิดบริการ e-Learning ผ่านเว็บ เพื่อให้นักศึกษาใช้ทบทวนบทเรียนโดยให้บริการในหลากหลาย รูปแบบ อาทิเช่น DVD CDการสอนแต่ละรายวิชา รวมทั้งการนำเสนอบันทึกการสอนบนเว็บคณะ (SIT Classroom on Demand) ในหลักสูตรปริญญาตรี และปริญญาโท นอกจากนั้น นักศึกษาสามารถยืมวิซีดี และ ดีวีดี การสอนจากห้องสมุด คณะฯ ได้

    23 มิถุนายน พ.ศ.2545 จัดทำประติมากรรมสัญลักษณ์ประจำคณะชื่อ “Information Evolution” เป็นประติมากรรมที่ทำด้วยทองหล่อสัมฤทธิ์ (BRONZE) ออกแบบและสรรค์สร้างโดย อาจารย์ชำเรือง วิเชียรเขตต์ ศิลปิน แห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) โดยมีความหมายว่า “ตราบใดที่โลกยัง มีสิ่งมีชีวิต การสื่อสารที่ฉับไวของมวลมนุษย์ชาติจะครอบคลุมไปทั่วโลก”

    28 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยทางด้าน ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนารูปแบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดการค้า ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

    6 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ย้ายที่ทำการของคณะมาที่อาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มีพื้นที่ทั้งหมด 3,540.92 ตร.ม.

    21เมษายน พ.ศ. 2546 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ชีวสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) ร่วมกับคณะทรัพยากรชีวภาพและ เทคโนโลยี เป็นหลักสูตรที่มีความสมดุลระหว่างชีววิทยาศาสตร์ทางด้านจีโนม
    และเทคโนโลยีสารสนเทศ

    3 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา วิศวกรรมซอฟต์แวร์ เพื่อให้เสริมสร้างและพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ รวมทั้งเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ของประเทศให้ก้าวหน้าไปได้ด้วยดี

    18 พฤษภาคม พ.ศ.2549 รับมอบเครื่องMainframe Computer IBM z Series รุ่น z890 จากบริษัท ชายน์นิ่ง โอเปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เพื่อใช้ในการศึกษา วิจัยและการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

    19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ขยายใช้พื้นที่ชั้น 4 ของอาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมกิจกรรมพัฒนานักศึกษา

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×