ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ภูมิปัญญาท้องถิ่นและ ภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญา หมายถึง ความรู้ความสามารถ ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรมและความสามารถในการแก้ไขปัญหาของมนุษย์ ภูมิปัญญาเป็นสิ่งที่สั่งสมกันมาตั้งแต่อดีต โดยการผ่านกระบวนการทางจารีตประเพณี วิถีชีวิต การทำมาหากิน และพิธีกรรมต่างๆ เช่น
การรณรงค์แต่งกาย-อู้คำเมือง การแข่งขันว่าวชิงแชมป์ภาคใต้ การสืบสานฮ้องขวัญควาย ฯลฯ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความรู้หรือประสบการณ์ดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ หรือถ่ายทอดกันมาจากสถาบันต่างๆในชุมชน เช่น จากสถาบันครอบครัว สถาบันความเชื่อทางศาสนา สถาบันการเมืองการปกครอง และสถาบันทางสังคมอื่นๆ โดยได้สั่งสม สืบทอด และพัฒนามาเป็นเวลานับร้อยนับพันปี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความหมายเช่นเดียวกันกับภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งหมายรวมถึง ความรู้อันเกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคนโดยผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดวิเคราะห์จนเกิดปัญญา และตกผลึกออกมาเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นจากความรู้เฉพาะหลายๆเรื่อง โดยภูมิปัญญาท้องถิ่นจะเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ และเป็นองค์ความรู้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ในด้านต่างๆ ของการดำรงชีวิตของคนไทยที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์ทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ประกอบกับแนวความคิดวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆของตนเอง จนเกิดหลอมรวมเป็นแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาที่เป็นลักษณะของตน ที่สามารถพัฒนาความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกาลสมัยในการแก้ปัญหาของการ ดำรงชีวิต
ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการใช้ความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทั้ง 3 ด้าน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ โดยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่่างในวิถีชีวิต ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเีีรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม เช่น การประักอบอาชีพ
ภูมิปัญญา หมายถึง ความรู้ความสามารถ ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรมและความสามารถในการแก้ไขปัญหาของมนุษย์ ภูมิปัญญาเป็นสิ่งที่สั่งสมกันมาตั้งแต่อดีต โดยการผ่านกระบวนการทางจารีตประเพณี วิถีชีวิต การทำมาหากิน และพิธีกรรมต่างๆ เช่น
การรณรงค์แต่งกาย-อู้คำเมือง การแข่งขันว่าวชิงแชมป์ภาคใต้ การสืบสานฮ้องขวัญควาย ฯลฯ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความรู้หรือประสบการณ์ดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ หรือถ่ายทอดกันมาจากสถาบันต่างๆในชุมชน เช่น จากสถาบันครอบครัว สถาบันความเชื่อทางศาสนา สถาบันการเมืองการปกครอง และสถาบันทางสังคมอื่นๆ โดยได้สั่งสม สืบทอด และพัฒนามาเป็นเวลานับร้อยนับพันปี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความหมายเช่นเดียวกันกับภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งหมายรวมถึง ความรู้อันเกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคนโดยผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดวิเคราะห์จนเกิดปัญญา และตกผลึกออกมาเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นจากความรู้เฉพาะหลายๆเรื่อง โดยภูมิปัญญาท้องถิ่นจะเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ และเป็นองค์ความรู้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ในด้านต่างๆ ของการดำรงชีวิตของคนไทยที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์ทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ประกอบกับแนวความคิดวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆของตนเอง จนเกิดหลอมรวมเป็นแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาที่เป็นลักษณะของตน ที่สามารถพัฒนาความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกาลสมัยในการแก้ปัญหาของการ ดำรงชีวิต
ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการใช้ความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทั้ง 3 ด้าน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ โดยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่่างในวิถีชีวิต ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเีีรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม เช่น การประักอบอาชีพ
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น