ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องเล็กๆ

    ลำดับตอนที่ #1 : เขาพระวิหาร วุ่นวายหรือเข้าใจง่าย?

    • อัปเดตล่าสุด 15 ก.ค. 51


    เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมาองค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก เลยกลายมาเป็นประเด็นทางการเมือง ณ ขณะนี้ดังนั้นมารู้กันหน่อยว่าสรุปแล้วมันอะไรกัน
    ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 7 นั้นอาณาจักรขอมหรือกัมโพช กัพูชาในอดีตมีอิทธิพลอำนาจและการทหารที่เกรียงไกรเข้ามาตั้งรกรากในขณะที่คนไทยยังไม้เป็นกลุ่มเป็นก้อน อาณาจักรเขมรโบราณได้สร้างศาสนสถานตามความเชื่อมากมายในอาณาเขตของตนจนไทยก่อตั้งอาณาจักรและกลืนเขมรที่เริ่มอ่อนแอลงหลังจากการสร้างนครวัดนครธมในสมัยอยุธยา
    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดกรณีจักรวรรดินิยม ฝรั่งเศสไปครองจันทบุรีเพื่อบีบบังคับให้ไทยส่งมอยอาณานิคมของไทยในกัมพูชาคือ พระตะบอง เสียบเรียบ ศรีโสภณแก่ฝรั่งเศส ไทยส่งมอบของพวกนี้ให้โดยหนึ่งในอาณาเขตที่ตกเป็นของฝรั่งเศสคือปราสาทพระวิหาร จะพูดให้ชัดก็คือผามออีแดงทั้งผานั้นแหละ

    ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยร่วมมือกับญี่ปุ่นสามารถเอาส่วนที่เสียไปคืนมาได้แต่พอสงครามยุติสนธิสัญญาในฐานะผู้แผ้สงครามเราเลยต้องส่งคืออาณาบริเวณทั้งหมดคืน แต่ฝ่ายไทยไม่ยอมออกจากเขาพระวิหารเพราะเป็นจุดยุธศาสตร์ที่มองเห็นกัมพูชาได้ ในขณะนั้นกัมพูชาก็เกิดสงครามประกาศเอกราชและสงครามกลางเมือง กลุ่มเขมรแดงด้วยภาวะไม่สงบจึงไม่ได้สนใจ คนไทยในช่วงนั้นเลยฝังความคิดกันมาต่อถึงลูกหลานว่าเขาพระวิหารเป็นของเรา แต่พอรัฐบาลของเจ้านโรดมสีหนุขึ้นมามีอำนาจได้ทำการทวงคืนปราสาทและเขาพระวิหารจนทำให้เราต้องขึ้นศาลโลกถึงแม้เรามีหลักฐานทางภูมิศาสตร์ชัดเจนก็จริงแต่หลักฐานจำนวนมากในกรณีนี้คือประวัติศาสตร์และกัมพูชาก็มาแบบพรั่งพร้อมและโดยที่ว่าเขาพระวิหารเป็ของกัมพูชาตามสนธิสัญญาแบ่งดินแดนระหว่างสยามกับฝรั่งเศสจึงทำให้ไม่ว่าใครเป็นทนายก็มีอันแพ้คดี
    แค่ทางศาลโลกมีอาร์เจนติน่า ฝรั่งเศสและญี่ปุ่นลงมติให้ไทยได้ครอบครองจึงเป็นที่มาของการปักปันเขตแดนตามสนธิสัญญาในขณะนั้นแต่พื้นที่ปักปันสุดท้ายยังไม่ทำให้เรียบร้อย นายกรัฐมนตรีฮุน เซนแหงกัมพูชาก็เสนอให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกทำให้เกิดข้อพิพาททางดินแดนอีกครั้งหนึ่ง แต่กรณีตัวปราสาทก็เป็นสิทธิ์ของกัมพูชาที่จะขึ้นหรือไม่เราไม่เกี่ยวแต่ที่เราเกี่ยวคือดินแดนบริเวณรั้วเหล็กซึ่งเป็นบริเวณที่ยังปักปันไม่สมบูรณ์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×