ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : พระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
His Royal Highness Prince Mahidol of Songkla
"พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย"
"The Father of Modern Medicine in Thailand
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระราชสมภพ...
ณ ตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ในพระบรมมหาราชวัง
เมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น 3 ค่ำ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2434
(ก่อนปี 2484 วันขึ้นปีใหม่ของไทยตรงกับวันที่ 1 เม.ย. ดังนั้นเดือน ม.ค. 2534
ซึ่งเป็นเดือนพระราชสมภพยังคงนับตามปฏิทินเก่า
เมื่อเทียบกับปฏิทินสากลที่ใช้ในปัจจุบันจึงตรงกับ ม.ค.2435)
เมื่อทรงพระเยาว์....
ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2447
ทรงศึกษา ณ โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง
และทรงเสด็จไปศึกษาต่อต่างประเทศที่ "โรงเรียนแฮร์โรว์" ประเทศอังกฤษ
และวิชาการทหารเรือในประเทศเยอรมัน เมื่อจบการศึกษาได้รับพระราชอิสริยยศเป็นนายเรือตรีแห่งราชนาวีเยอรมันและนายเรือตรีแห่งราชนาวีสยาม แล้วเสด็จกลับมาทรงรับราชการในราชนาวีสยามอยู่ระยะหนึ่ง ทรงลาออกจากกองทัพเรือเมื่อ พ.ศ. 2459
แล้วเสด็จไปศึกษาวิชาการสาธารณสุขและวิชาการแพทย์
ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ทรงสอบได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุขและปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตชั้น Cum Laude
พระราชกรณียกิจ...
ทรงปรับปรุงการศึกษาแพทย์ พยาบาล และปรับปรุง ร.พ.ศิริราช
ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลสยามทำความตกลงกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์
ซึ่งมูลนิธิได้ให้ความช่วยเหลือ โดยส่งศาสตราจารย์มาจัดหลักสูตร
และปรับปรุงการสอนของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ให้ทุนอาจารย์ไทยไปศึกษาต่อในต่างประเทศ
ส่งอาจารย์พยาบาลเข้ามาช่วยปรับปรุงหลักสูตรและช่วยเรื่องการสอนในโรงเรียนพยาบาล
พระราชทานทุนการศึกษาส่วนพระองค์ให้แพทย์และพยาบาล พระราชทานทุนสร้างตึกมหิดลบำเพ็ญ ตึกอำนวยการ ซื้อโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง และพระราชทานเงินซ่อมแซม
จ้างพยาบาลต่างประเทศมาช่วยสอนและปรับปรุงโรงเรียนพยาบาล
นอกจากนั้นยังได้พระราชทานเงินเป็นทุนการสอนและค้นคว้า รวมทั้งสิ้น 994,876.08 บาท
(ไม่รวมทุนพระราชทานส่วนพระองค์แก่แพทย์และพยาบาล)
อีกทั้งยังทรงขอพระราชทานทุนจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและจากพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อสร้างตึกผู้ป่วยของ ร.พ.ศิริราช
และทรงปรับปรุงวชิรพยาบาล รพ.แมคคอร์มิค รพ.สงขลา
ด้านสาธารณสุข...
ทรงร่วมในการพิจารณา พ.ร.บ. การแพทย์ พ.ศ. 2466
โดยทรงแก้ไขข้อขัดข้องและความขัดแย้งต่าง ๆ จนลุล่วงไปด้วยดี
ทำให้กฏหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายการแพทย์ฉบับแรกที่ประกาศใช้ได้
ทรงส่งเสริมการมารดาและทารกสงเคราะห์และทรงช่วยอบรมแพทย์สาธารณสุขมณฑล
พระราชกรณียกิจทางวิชาอื่นๆ...
ทรงดำริจะสร้างโรงเรียนสาธารณสุข พระราชทานทุนการศึกษาแก่ทันตแพทย์
การประมง จ้างครูต่างประเทศ ทรงวางรากฐานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดยสร้างคณาจารย์วิทยาศาสตร์พื้นฐานรุ่นแรกของประเทศ
การวางหลักสูตรวิทยาศาสตร์ และแพทย์ การก่อสร้างอาคารและจัดหาวัสดุอุปกรณ์
การค้นคว้าวิจัย การจัดหอพักนักศึกษา เป็นต้น
นอกจากนี้ยังทรงสร้างรากฐานการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยพระราชทานทุนส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ณ ประเทศอังกฤษ ผลิตบัณฑิตเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย และในโรงเรียนทั่วประเทศ รวมทั้งบัณฑิตในวิทยาศาสตร์ประยุกต์ อาทิ ทันตแพทย์ เภสัชกร วิศวกร สถาปนิก บุคลากรงานสาธารณสุข ฯลฯ
สิ้นพระชนม์... วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472
รวมพระชนมายุ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน
พระราชกรณียกิจดังกล่าวมีมากล้นจะพรรณนา
จำแนกเป็นข้อใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1. ทรงส่งบุคคลไปศึกษาวิชาต่างประเทศด้วยทุนส่วนพระองค์ พระราชทานทุนการศึกษา
ให้มหาวิทยาลัยเพื่อเก็บดอกผลส่งคนไปศึกษาต่างประเทศ
เรียกว่า "ทุนวิทยาศาสตร์แห่งแพทย์"
2. พระราชทานทุนเพื่อค้นคว้า และการสอนในโรงพยาบาลศิริราชซึ่งนับว่าเป็นทุนแรกของทุนประเภทนี้ในประเทศไทย
3. ทรงเป็นผู้แทนของรัฐบาลทำการติดต่อมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ให้ช่วยเหลือปรับปรุงการ
ศึกษาแพทย์และพยาบาลให้ได้มาตรฐานสากล
4. พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราชอันรวมทั้ง
ที่ดินและอาคารเพื่อใช้เป็นสถานที่เรียน หอผู้ป่วย
และหอพักนักศึกษาแพทย์และพยาบาล
ติดต่อกันเป็นระยะเวลา ไม่ต่ำกว่า 10 ปี
ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ที่พระราชทานเพื่อประโยชน์
ของการแพทย์ด้วยประการตาง ๆ รวมทั้งที่มอบไว้เป็นมาดกอีกจำนวนหนึ่งเพื่อใช้ในการ
ให้ทุนแพทย์ไปศึกษาต่างประเทศทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงินประมาณหนึ่งล้านสี่แสนบาท
น้อนเกล้าถวายความกตัญญูกตเวท
ในปี พ.ศ. 2493, 21 ปี หลังจากที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ได้เสด็จสวรรคต คณะแพทยศาสตรืศิริราชพยาบาล บรรดาศิษย์เก่าศิริราช ตลอดจนประชาชนผู้สนใจ ทั่วไปได้ร่วมใจกันส้างพระราชานุสาวรีย์ขึ้น ณ ใจกลางโรงพยาบาลศิริราช เพื่อน้อนเกล้าถวาย ความกตัญญูกตเวทีและเฉลิมฉลองพระเกียรติคุณให้ไพศาลเป็นแบบฉบับให้อนุชนรุ่งหลังได้จำเริญตามรอยพระยุคลบาทสืบไป โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิดพระราชนุสาวรีย์เมื่อวันที 24 เมษายน พ.ศ. 2493 พระราชานุสาวรีย์นี้ได้รับการตกแต่งเพิ่มเติมครั้งแรกเมื่อปี 2517 และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยสร้างรากฐานและบริเวณโดยรอบทั้งหมดเพื่อให้ถาวร สง่างามและสมพระเกียรติยิ่งขึ้น ดังที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เป็นต้นมา ทุกวันที 24 กันยายน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้จัดงาน
"วันมหิดล" ขึ้นเป็นประจำ
อ้างอิงจาก
พระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก |
http://www.si.mahidol.ac.th/si_pr/SiNews/sipr2005/spacial/Mahidol_Day2005.htm
และ
ประวัติวันมหิดล
http://www.si.mahidol.ac.th/mahidolday/history.html
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น