ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ท่องเที่ยวที่เกาหลี มีอะไรดีกว่าที่คิด

    ลำดับตอนที่ #1 : เรียนรู้กับเกาหลี

    • อัปเดตล่าสุด 19 ก.ค. 49


    สาธารณรัฐเกาหลี
    Republic of Korea


    ข้อมูลทั่วไป
    ที่ตั้ง ตั้งอยู่ตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี โดยมีเส้นขนานที่ 38 แบ่งกั้นระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)
    และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)

    พื้นที่ 99,392 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่คาบสมุทรเกาหลี

    ประชากร 47.7 ล้านคน (2545)

    เมืองหลวง กรุงโซล (Seoul)

    เมืองที่สำคัญ ปูซาน แตจอน แตกู อินชอน และกวางจู

    สมาชิกสหประชาชาติ 17 ก.ย. 2534

    GDP ต่อหัว รายได้ต่อหัว 18,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2544)

    หน่วยเงินตรา ประมาณ 1,200 วอน ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

    ภูมิอากาศ มี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว
    เดือน มิ.ย.- ส.ค. เป็นช่วงที่ฝนตกชุก อุณหภูมิโดยเฉลี่ย -5 C ในฤดูหนาว และ 33 C ในฤดูร้อน

    คสพ.การทูต สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อ 1 ต.ค. 2501

    ออท. ไทย นายสมบูรณ์ เสงี่ยมบุตร

    ประธานาธิบดี นาย Roh Moo-hyun รับตำแหน่งเมื่อ 25 ก.พ. 2546

    นายกรัฐมนตรี นาย Goh Kun

    รมว.กต.และการค้า นาย Yoon Young-kwam

    ศาสนา มีประชากรนับถือศาสนา 54% ของประชากรทั้งหมด
    (พุทธ 51.2%โปรเตสแตนท์ 34.4% คาธอลิค 10.6% ขงจื๊อ 1.8%)

    การศึกษา ภาคบังคับ 9 ปี

    อัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 98

    สิทธิเลือกตั้ง ประชาชนทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป

    พัฒนาการต่างๆ ในเกาหลีใต้ปี 2545

    1. การเมืองภายใน สถานการณ์การเมืองในเกาหลีใต้โดยภาพรวมยังคงมีเสถียรภาพ
    แต่มีความผันผวนทางการเมืองภายในอันเนื่องมาจากนักการเมืองระดับสูง คนสนิท
    รวมถึงญาติและบุตรชายของประธานาธิบดีเป็นผู้ต้องสงสัยมีส่วนพัวพันกรณีรับสินบน
    เป็นเหตุให้ประธานาธิบดี คิม แด จุง ต้องปรับคณะรัฐมนตรีและที่ปรึกษาครั้งใหญ่
    เมื่อ 29 มกราคม 2545 และเมื่อ 11 กรกฎาคม 2545ประธานาธิบดีคิม แด จุง
    ได้ทำการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งที่สองโดยได้เปลี่ยนนายกรัฐมนตรี
    แต่รัฐสภามีมติไม่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีที่เสนอโดย
    ประธานาธิบดีคิม แด จุง ถึงสองครั้ง

    เมื่อ 19 ธันวาคม 2545 ได้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งนาย Roh Moo-hyun
    ผู้สมัครจากพรรครัฐบาล (Millenium Democratic Party-MDP)
    ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนที่ 16ด้วยคะแนนร้อยละ 48.9
    ใกล้เคียงกับผู้แข่งขันจากพรรค Grand National Party (GNP)
    และได้เข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2546 ทั้งนี้
    การเลือกตั้งประธานาธิบดีอยู่ในช่วงที่มีกระแสการต่อต้านสหรัฐฯ ของชาวเกาหลีใต้
    ทำให้พรรครัฐบาลซึ่งมีนโยบายเน้นความเสมอภาคและต่างตอบแทนกับสหรัฐฯ ได้รับการเลือกตั้ง

    2. การต่างประเทศ เกาหลีใต้ยังคงดำเนินนโยบายตะวันทอแสง (Sunshine Policy)
    ในการดำเนินความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือมาโดยตลอด แม้ว่าจะมีเหตุการณ์ที่กระทบถึง
    ความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสอง เช่น กรณีการปะทะระหว่างเรือลาดตระเวนของทั้งสองฝ่าย
    แต่ต่อมาเกาหลีเหนือก็ได้กล่าวขอโทษและรับจะไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก
    ทำให้ประเทศในคาบสมุทรเกาหลี ทั้งสองมีความร่วมมือกันต่อไปได้ในระดับหนึ่ง

    สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่น แม้จะมีความขัดแย้งกันในการเรียกชื่อทะเล
    “Sea of Japan” ซึ่งเกาหลีใต้เห็นว่า ไม่เหมาะสมที่จะใช้ชื่อประเทศใดประเทศหนึ่งในการ เรียกชื่อทะเล
    จึงเสนอให้ใช้ชื่อ “East Sea” ควบคู่ไปกับ “Sea of Japan” ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังไม่มีข้อยุติ
    แต่ประเทศทั้งสองก็ยังคงมีความร่วมมือระหว่างกันด้วยดี เช่น
    การที่ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2002 เป็นต้น

    ส่วนความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ นั้น จากเหตุการณ์ที่ทหารสหรัฐฯ ขับรถชนเด็กนักเรียนหญิง 2 คนเสียชีวิต
    และศาลสหรัฐฯ ตัดสินให้ไม่มีความผิด ทำให้เกิดกระแสต่อต้านฐานทัพสหรัฐฯ
    ที่ตั้งอยู่ในเกาหลีใต้และประชาชนยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลแก้ไข
    สนธิสัญญาทางทหารที่อนุญาตให้ศาลทหารสหรัฐฯ เป็นผู้ตัดสินคดี

    3. เศรษฐกิจ เศรษฐกิจเกาหลีใต้นับว่ามีความแข็งแกร่งโดยมีอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้น
    เกาหลีใต้มีดุลการค้าเกินดุลหลายปีติดต่อกันมีปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
    สูงถึง 116.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากเป็นอันดับสี่ของโลก และในช่วงปลายปี 2545
    สาธารณรัฐเกาหลีได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการค้าเสรี (FTA) กับชิลี
    หลังจากที่มีการประชุมเพื่อหาข้อยุติร่วมกันหลายครั้งเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี

    4. สังคม รัฐบาลเกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสังคมที่เป็นผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540
    โดยรัฐบาลได้กำหนดมาตรการต่างๆ อาทิ เพิ่มกองทุนรองรับผู้ตกงาน จัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคีระหว่างรัฐบาล
    นายจ้างและลูกจ้าง นอกจากนั้น ยังส่งเสริมให้ประชาชนมีทัศนคติที่เปิดกว้างมากขึ้นต่อวัฒนธรรมต่างประเทศ
    และส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้เข้าประเทศ

    สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี

    นับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2545 สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีมีความตึงเครียดขึ้นเป็นลำดับ
    เนื่องมาจากปัญหาโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ซึ่งสหรัฐฯ เห็นว่า
    เป็นการละเมิดกรอบความตกลงกับสหรัฐฯ เมื่อปี 2537 (Agreed Framework)
    ที่จะยุติโครงการพัฒนานิวเคลียร์ เพื่อแลกเปลี่ยนกับความช่วยเหลือก่อสร้างเตาปรมาณ
    Light Water ในการผลิตกระแสไฟฟ้าแทนเตาปรมาณูเดิม
    ในส่วนของเกาหลีเหนือก็กล่าวหาว่า กรอบความตกลงปี 2537 เป็นโมฆะ
    เนื่องจากสหรัฐฯ ไม่สามารถก่อสร้างเตาปรมาณู Light Water ได้ทันตามความตกลงฯ
    ทำให้ประชาคมระหว่างประเทศต่างวิตกกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดที่เกิดขึ้นบนคาบสมุทรเกาหลี
    และได้พยายามโน้มน้าว ให้เกาหลีเหนือยุติการรื้อฟื้นโครงการดังกล่าว
    แต่เกาหลีเหนือปฏิเสธข้อเสนอใดๆ นอกจากนั้น เกาหลีเหนือได้ขับเจ้าหน้าที่ IAEA
    ออกนอกประเทศและประกาศถอนตัวจากสนธิสัญญา NPT และแจ้งว่า
    ปัญหาโครงการพัฒนานิวเคลียร์เป็นปัญหาทวิภาคีระหว่างสหรัฐฯกับเกาหลีเหนือที่จะต้องแก้ไขร่วมกัน
    โดยเกาหลีเหนือจะยุติการรื้อฟื้นโครงการฯ หากสหรัฐฯ ยินยอมลงนามความตกลงไม่รุกรานกัน
    (Non-Aggression Pact) กับเกาหลีเหนือ ซึ่งในขณะนี้ สหรัฐฯ
    กำลังพิจารณาข้อเสนอของเกาหลีเหนือดังกล่าว
    แต่เป็นการพิจารณาในลักษณะที่มิได้โอนอ่อนผ่อนปรนให้เกาหลีเหนือ
    และพยายามผลักดันให้ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาพหุภาคีที่ทุกประเทศที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันแก้ไข
    โดยสหรัฐฯ ยินยอมจะหารือทวิภาคีกับเกาหลีเหนือแต่ขอให้เป็นการหารือในเวทีพหุภาคีเท่านั้น

    การเมืองการปกครอง
    สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยประมุขของประเทศคือประธานาธิบดี
    ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยมีนายกรัฐมนตรี
    ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา
    รัฐสภาเป็นองค์กรนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการทำหน้าที่ทางศาลทั้งนี้
    เกาหลีใต้มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 จังหวัด และ 6 เขตการ ปกครอง
    (โซล ปูซาน อินชอน แตกู กวางจู แตชอน)

    รัฐธรรมนูญ

    เกาหลีใต้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อ 17 ก.ค. 2491 โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดอีก 9 ครั้ง
    การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดมีขึ้นในปี 2530 เมื่อรัฐบาลประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน
    ต้องประสบกับภาวะกดดันทางการเมืองจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ซึ่งเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
    เพื่อให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง และในที่สุด ประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน
    ก็ยินยอมให้มีการลงประชามติ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง
    โดยอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว (5 ปี) และให้มีการจัดระบบการปกครองท้องถิ่นอิสระเป็นครั้งแรก
    ในรอบ 30 ปี นอกจากนี้รัฐธรรมนูญที่ได้รับการแก้ไข ยังได้ยกเลิกอำนาจการยุบสภาของประธานาธิบดี
    และให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดูแลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
    รวมทั้งระบุว่ากองทัพต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง

    ฝ่ายนิติบัญญัติ

    รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐสภา (National Assembly) เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ
    ซึ่งรัฐสภาของเกาหลีใต้เป็นรูปแบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 273 คน
    โดยสมาชิกจำนวน 2 ใน 3 หรือ 227 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสมาชิกอีก 46 คน
    มาจากการแต่งตั้งโดยจัดสรรตามสัดส่วนของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง
    สมาชิกรัฐสภาแห่งชาติอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี (ล่าสุดเลือกตั้งเมื่อ 13 เมษายน 2543)
    สภาจะเลือกประธาน (Speaker)และรองประธาน (Vice-Speaker) จำนวน 2 คน

    อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า สามารถถอดถอนนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีได้
    หากสมาชิกรัฐสภา 1 ใน 3 เสนอขอและสมาชิกสภาข้างมากเห็นชอบตามเสนอ
    ซึ่งในกรณีการถอดถอนประธานาธิบดีนั้น ต้องเสนอโดยเสียงข้างมากและสมาชิกสภา 2 ใน 3 ให้ความเห็นชอบ

    ฝ่ายบริหาร

    - ประธานาธิบดี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากผู้มีสิทธิออกเสียง
    โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และไม่สามารถลงสมัครแข่งขันเป็นครั้งที่ 2 ได้
    เพื่อเป็นการป้องกัน การขยายอำนาจของประธานาธิบดี หัวหน้ารัฐบาล
    ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย
    รวมทั้งเป็นผู้มีอำนาจในการประกาศกฎอัยการศึก และมาตรการจำเป็น ในยามฉุกเฉิน
    นอกจากนี้ประธานาธิบดีสามารถที่จะเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้
    อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจในการยุบสภา

    - คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
    โดยประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
    ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภานายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยประธานาธิบดีในด้านบริหารประเทศ
    รวมทั้งมีอำนาจในการพิจารณานโยบายต่าง ๆ ของประเทศและการเข้าร่วมประชุมรัฐสภา
    คณะรัฐมนตรีมีจำนวน 20 คน นอกจากนี้ฝ่ายบริหารยังประกอบด้วย สภาที่ปรึกษาอาวุโส
    สภาความมั่นคงแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาการรวมประเทศ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งชาติ
    คณะกรรมการวางแผนและงบประมาณ คณะกรรมการเกี่ยวกับสิทธิสตรี
    สภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก
    คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล
    และสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ โดยประธานของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ
    ที่ได้กล่าวมาได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ทั้งนี้
    หน่วยงานเหล่านี้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำต่อคณะรัฐบาลด้วย

    อนึ่ง เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2546 ประธานาธิบดี Roh Moo-hyun
    ได้ประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีเกาหลีใต้ชุดใหม่ โดยยกเว้น
    ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
    ที่ประธานาธิบดียังไม่ตัดสินใจ และคงนาย Jeong Se-hyun
    ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีการรวมประเทศดังเดิม โดยมีรายชื่อคณะรัฐมนตรี ดังนี้

    1) นาย Goh Kun นายกรัฐมนตรี
    2) นาย Kim Jin-pyo รองนายกรัฐมนตรีด้านการคลังและเศรษฐกิจ
    3) ว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
    4) นาย Jeong Se-hyun รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการรวมประเทศ
    5) นาย Yoon Yong-kwam รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้า
    6) นาง Kim Kum-sil รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
    7) นาย Cho Young-kil รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
    8) นาย Kim Doo-kwan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
    9) นาย Park Ho-goon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    10) นาย Lee Chang-dong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
    11) นาย Kim Young-jin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้
    12) นาย Yoon Jin-shik รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรมและพลังงาน
    13) นาย Chin Dae-je รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศและสื่อสาร
    14) นาย Kim Hwa-joong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ
    15) นาง Han Myung-sook รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม
    16) นาย Kwon Ki-hong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
    17) นาง Ji Eun-hee รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความเสมอภาคทางเพศ
    18) นาย Choi Jong-chan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงก่อสร้างและขนส่ง
    19) นาย Huh Sung-kwan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นาวีและประมง
    20) นาย Park Bong-heum รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและงบประมาณ

    2.4 ฝ่ายตุลาการ
    ประกอบด้วยศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา โดยประธานาธิบดีแต่งตั้ง
    ประธานศาลฎีกาด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา
    การพิจารณาของศาลกำหนดให้เปิดเผยแก่สาธารณชนทั่วไปได้ยกเว้นใน
    กรณีที่เห็นว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาต
    ิหรือเป็นเรื่องที่จะสร้างปัญหาในด้านความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย ของประชาชนหรือเป็นภัยต่อขวัญของประชาชน
    คำพิพากษาจำเป็นต้องปิดเป็นความลับนอกจากนี้ ยังมีศาลรัฐธรรมนูญ
    ซึ่งมีหน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
    โดยให้ความ คุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และมีอำนาจ
    ในการพิจารณาว่ากฎหมายฉบับใดที่ขัดต่อ
    รัฐธรรมนูญให้ถือเป็นโมฆะ (โดยมีขั้นตอนการดำเนินการเริ่มจากศาลรัฐธรรมนูญได้รับการร้องขอ
    จากศาลชั้นต้นหรือจากกลุ่มบุคคลที่ข้อร้องเรียนได้รับการพิจารณา
    จากศาลชั้นต้น ให้พิจารณากฎหมายดังกล่าว)
    อนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญยังเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ตัดสินความถูกต้องทางกฎหมาย
    ของการดำเนินกระบวนการถอดถอนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ
    ได้แก่ ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และผู้พิพากษา
    รวมทั้งมีอำนาจในการสั่งยุบพรรคการเมืองตามข้อเสนอของฝ่ายบริหาร
    หากพบว่าพรรคการเมืองดังกล่าวดำเนินกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย

    2.5 พรรคการเมือง
    เมื่อ ธ.ค. 2538 เกิดการรวมตัวของ 3 พรรคใหญ่ คือ
    1) พรรค Democratic Justice Party-DJP
    2) พรรค Reunification Democratic Party-RDP
    3) พรรค New Democratic Republican Party-NDRP
    และตั้งชื่อว่าพรรค New Korean Party-NKP
    ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อ ธ.ค. 2540 ได้เกิดพรรคใหม่คือ
    1) พรรค Grand National Party -GNP
    (ซึ่งเป็นการรวมตัวของพรรค NKP กับพรรค New Party by the People)
    2) พรรค Millennium Democratic Party-MDP ซึ่งมีนาย คิม แด จุง เป็นหัวหน้าพรรค และ
    3) พรรค United Liberal Democrats-ULD ซึ่งมีนาย คิม จอง พิล เป็นหัวหน้าพรรค
    โดยพรรค MDP กับพรรค ULD ได้ร่วมกันส่งนายคิม แด จุง
    เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและได้รับชัยชนะ โดยนาย คิม จอง พิล
    ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
    แต่ต่อมาพรรค ULD ได้ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล
    ปัจจุบันมีพรรคฝ่ายค้าน (Grand National Party-GNP)
    และพรรครัฐบาล (Millennium Democratic Party-MDP)
    และพรรคฝ่ายค้านเสียงส่วนน้อย (United Liberal Democrats-ULD)
    ทั้งนี้ พรรคฝ่ายค้าน GNP สามารถคุมเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภารวม 139 ที่นั่ง

    เศรษฐกิจการค้า
    การส่งออก ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การส่งออก
    มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 1,204.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.91 ต่อปี ในปี 2545 มีมูลค่าส่งออก 1,398.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    คิดเป็นร้อยละ 2.03 หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 13.31

    สำหรับปี 2546 (ม.ค.-เม.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 538.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2545ร้อยละ 25.08
    โดยเกาหลีใต้เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 13 ของไทย สินค้าออกของไทยที่สำคัญ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า
    ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
    น้ำมันดิบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด
    เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ
    ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และมอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

    การนำเข้า ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ยปีละ
    2,137.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.62 ต่อปี ในปี 2545
    มีมูลค่านำเข้า 2,509.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2544 ร้อยละ 26.5

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี
    ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เกาหลีใต้ดำเนินไปด้วยดีทั้งในระดับทวิภาคีและ
    พหุภาคี โดยในระดับทวิภาคีนั้น
    ไทยและเกาหลีใต้มีความร่วมมือด้านความมั่นคงและการทหารก่อนการ
    สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ
    ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางการทูตระดับอัครราชทูตเมื่อ 1 ตุลาคม 2501
    ซึ่งต่อมาได้ยกขึ้นเป็นระดับเอกอัครราชทูตเมื่อ 1 ต.ค. 2503

    ในระดับพหุภาคีนั้น แม้ไทยและเกาหลีใต้จะเป็นสมาชิกในองค์การหรือในเวที
    การเจรจาระหว่างประเทศต่างๆ เช่น APEC, ASEM, WTO ฯลฯ เช่นเดียวกัน แต่ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดเกิดขึ้นในกรอบอาเซียนซึ่งเกาหลีใต้ได้เป็นคู่เจรจามาตั้งแต่ก.ค.2538
    โดยเฉพาะเมื่อมีการจัดตั้ง ASEAN+3 ในปี 2540 เพื่อเป็นเวทีหารือ
    ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

    1.1 ความสัมพันธ์ด้านการทหารและความมั่นคง

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเกาหลีใต้เริ่มขึ้นจากความร่วมมือด้านการทหารและ
    ความมั่นคง โดยในช่วงสงครามเกาหลีระหว่างปี 2493-2496 นั้น
    ไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมกองกำลังสหประชาชาต
    ิซึ่งได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐฯ และพันธมิตรฝ่ายตะวันตก
    เพื่อป้องกันเกาหลีใต้จากการรุกรานของเกาหลีเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีนและสหภาพโซเวียต

    เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลงอันเกิดจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 2534
    ความสัมพันธ์ด้านการทหารและความมั่นคงระหว่างประเทศทั้งสองยังคงดำรงอยู่
    หากเกาหลีใต้เป็นฝ่ายกระตือรือร้นในการริเริ่มกิจกรรมความร่วมมือมากกว่า
    ฝ่ายไทยเนื่องจากเกาหลีใต้ยังคงรู้สึกไม่มั่นคงต่อสถานการณ์ต่างๆ ในคาบสมุทรเกาหลี
    รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเกาหลีใต้ได้พยายามแสวงหาความสนับสนุนจากไทย
    ทั้งที่เป็นรูปธรรมและสัญลักษณ์ในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี

    ตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่าเกาหลีใต้ยังต้องการการสนับสนุนในด้านความมั่นคง
    แม้ความสนับสนุนดังกล่าวจะมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์มากกว่าในเชิงสารัตถะ
    ได้แก่กรณีทหารประจำกองบัญชาการร่วมสหประชาชาติ
    (UNC: United Nations Command) ณ กรุงโซล ซึ่งมีทหารไทยประจำ
    เพื่อทำหน้าที่กองทหารเกียรติยศ ฝึกซ้อมรบ เชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสา
    ตลอดจนร่วมพิธีเกี่ยวกับสงครามเกาหลี

    นอกเหนือจากความสัมพันธ์ในเชิงสัญลักษณ์แล้ว ไทยกับเกาหลีใต้มีการสัมมนาแลกเปลี่ยนข่าวกรองประจำปี
    รวมทั้งมีความร่วมมือในการฝึกอบรมทางทหาร นอกจากนี้ ไทยและเกาหลีใต้ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ
    ว่าด้วยการส่งกองกำลังบำรุงเมื่อ 4 พ.ย. 2534 ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินความร่วมมือฝึก
    ในเรื่องของการแลกเปลี่ยนข่าวสารและข้อมูลการส่งกองกำลังบำรุง

    1.2 การแลกเปลี่ยนการเยือน

    ไทยและเกาหลีใต้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆ ค่อนข้างต่อเนื่อง โดยในระดับราชวงศ์
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์เสด็จฯ
    เยือนเกาหลีใต้เมื่อ มี.ค.2534 พ.ค.2535 และ เม.ย. 2536 ตามลำดับ

    ในระดับหัวหน้ารัฐบาล ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เดินทางเยือนเกาหลีใต้
    ระหว่าง 8-10 พ.ย. 2534 จากนั้น นายชวน หลีกภัย
    ได้เดินทางไปเยือนเกาหลีใต้สองครั้ง (23-26 มิ.ย. 2537 และ 25-27 เม.ย.2542)
    และเข้าร่วมการประชุม ASEM ครั้งที่ 3 (20-21 ต.ค. 2543) ที่เกาหลีใต้

    การเยือนเกาหลีใต้ของผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทย ในช่วงตั้งแต่ปี 2535 ที่สำคัญ
    ได้แก่ นายอุทัย พิมพ์ใจชนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เข้าร่วมประชุม
    Joint Trade Commission ครั้งที่ 10 (10-11 ส.ค. 2535)
    นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (7-9 ต.ค. 2536)
    นายสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (มิ.ย. 2539)
    นายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ส.ค. 2540)
    นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเยือนในฐานะ
    นายกสมาคมไทยเพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศ(ระหว่าง 9-11 ก.ค. 2541)
    นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ (21-23 ก.ค. 2541)
    นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หารือด้านความมั่นคง
    และต่อต้านการก่อการร้าย (20 – 23 ม.ค. 2545)
    นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เพื่อเข้าร่วมประชุม
    Joint Trade Commission ครั้งที่ 12 (31 ม.ค.–1 ก.พ. 2545)
    นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
    สังเกตการณ์การการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 14 ที่เมืองปูซาน
    (11-13 ต.ค.2545) นายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรีสังเกตการณ์การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์
    ครั้งที่ 14 ที่เมืองปูซาน (9-13 ต.ค. 2545)
    นายสุรเกียร์ติ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อเข้าร่วมประชุม
    The 2nd Ministerial Conference of the Community of Democracies ณ กรุงโซล
    (ระหว่าง 10-11 พ.ย. 2545)

    สำหรับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเกาหลีใต้ที่ได้เดินทางมาเยือนไทย ได้แก่ ประธานาธิบดี
    Chun Doo-hwan (3-5 ก.ค. 2524) นาย Lee Sang-ock รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
    (ก.ค. 2534) นาย Han Sung-joo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเยือนไทยในฐานะแขกกต.
    (24-28 ก.ค. 2537) และเข้าร่วมการประชุมรมว.กต.อาเซียน (17-19 พ.ค. 2537)
    นาย Lee Young-ho รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พ.ค. 2539)
    นาย Han Duck-soo ประชุม Joint Trade Commission (JTC) ครั้งที่ 11 (2 พ.ย. 2542)
    และเข้าร่วมประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 (12-19 ก.พ. 2543)
    นาย Chun Doo-hwan อดีตประธานาธิบดีเยือนไทยเป็นการส่วนตัว (6-8 มี.ค. 2543)
    นาย Lee Joung-binn รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าประชุมPMC/ARF (25-30 ก.ค. 2543)
    นาย Choi Sung-hong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าเพื่อเข้าร่วมประชุม
    Asia Cooperation Dialogue (ACD) ครั้งที่ 1 (18-19 มิ.ย. 2545)
    นาย Yoon Young-kwanรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าเข้าร่วมประชุม
    คณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย-เกาหลีใต้ ครั้งที่ 1 และการประชุม ACD ครั้งที่ 2 (21-22 มิ.ย. 2546)

    1.3 ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

    ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ดำเนินไปค่อนข้าง
    ราบรื่นโดยมีกรอบในการดำเนินความสัมพันธ์ได้แก่
    1) ความตกลงทางการค้าซึ่งลงนามเมื่อปี 2504
    2) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน ลงนามเมื่อปี 2532

    แม้จะมีความตกลงต่างๆ เป็นกรอบในการดำเนินความสัมพันธ์ไทยและเกาหลีใต้
    แต่ก็มีปัญหาด้านเศรษฐกิจต่อกันอยู่บ้าง ที่สำคัญ ได้แก่
    ปัญหาการกีดกันสินค้าไทยโดยเฉพาะสินค้าเกษตรของเกาหลีใต้

    เกาหลีใต้ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจจนกลายเป็นประเทศ
    อุตสาหกรรมใหม่ในตอนกลางทศวรรษ 1980 และก้าวไปสู่การเป็น
    ประเทศอุตสาหกรรมเมื่อได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิก
    กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (OECD) ในปีพ.ศ. 2539
    ซึ่งต่อมาเกาหลีใต้ได้ประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 2540 จนต้องกู้ยืมเงินจาก IMF
    แต่ก็สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจและคืนเงินกู้ทั้งหมดให้แก่ IMF งวดสุดท้ายเมื่อเดือนก.ย. 2544
    ในขณะเดียวกัน องค์การการค้าโลก (WTO) ได้กล่าวว่า ปัจจุบัน
    เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีมูลค่าทางการค้าใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ของโลกโดยในปี 2544
    (เคยอยู่ในลำดับที่ 11 เมื่อปี 2539)และจะไต่ลำดับสูงขึ้นต่อไปในอนาคต

    ทางด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้นั้นยังคงเน้นอุตสาหกรรมหนัก
    และเทคโนโลยีระดับสูงที่กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่(Chaebol) ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ
    ทำให้สินค้าของเกาหลีใต้ เช่น เรือเดินสมุทร รถยนต์ เครื่องจักร
    สินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือสื่อสารมีจำหน่ายในท้องตลาดของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
    รวมทั้งตลาดในไทย ในทางตรงกันข้าม โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยยังคงเป็นเกษตรกรรม และเป็นสินค้าที่ส่งออกไปขายในตลาดเกาหลีใต้แม้ว่าจะมีสินค้า
    บางชนิดที่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม เช่น แผงวงจรไฟฟ้า
    แต่ก็เป็นสินค้าที่ผลิต โดยกลุ่มอุตสาหกรรมต่างชาติ ทำให้ไทยขาดดุลการค้ากับเกาหลีใต้เรื่อยมานับเป็นสิบปี ซึ่งฝ่ายไทยได้พยายามเรียกร้องให้เกาหลีใต้เพิ่มปริมาณและมูลค่าในการซื้อสินค้าไทยให้มากขึ้น แต่เกาหลีใต้ก็ได้ยกตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ที่เดินทางมาไทยราวปีละประมาณ 5-600,000 คน
    ขึ้นเป็นประเด็นต่อรองว่า เกาหลีใต้ได้ใช้จ่ายเงินไปกับการท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลให้กับไทยเป็นการทดแทนแล้ว
    ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปเกาหลีใต้เพียงปีละประมาณ 6-90,000 คน

    1.3.1 การค้า

    ก่อนปี 2532 การค้าระหว่างไทยและเกาหลีใต้มีมูลค่าไม่มากนัก แต่ได้ขยายตัวขึ้นอย่างมาก
    เกาหลีใต้เป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 8 ของไทย โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลมาโดยตลอด

    การขาดดุลที่ไทยมีกับเกาหลีใต้เพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา
    ไทยและเกาหลีใต้ได้จัดประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อความร่วมมือทางการค้า
    (JTC: Joint Trade Commission)ครั้งแรกเมื่อก.ค.พ.ศ.2518ที่กรุงโซลJTC
    มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีโอกาสเจรจาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการค้า
    และกำหนดเป้าหมายที่จะซื้อสินค้าระหว่างกันเป็นปี ๆ
    ในระดับรัฐบาล เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2518 ทั้งสองประเทศได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วม
    ทางการค้า(Joint Trade Commissionหรือ JTC) เพื่อเป็นกลไกทางการค้า
    ที่เปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันในการแสวงหาลู่ทางขยายการค้า
    รวมทั้งแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่มีอยู่ระหว่างกัน โดยได้มีการประชุมมาแล้ว 12 ครั้ง
    ทั้งนี้การประชุม JTC ครั้งที่ 12 (ล่าสุด) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ.2545 ณ กรุงโซล
    ส่วนในภาคเอกชน ทั้งสองประเทศได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-เกาหลี
    ( Korea-Thai Economic Cooperation Committee)
    ระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเกาหลีใต้
    เมื่อ 20 พฤษภาคม 2518 โดยได้มีการประชุมมาแล้ว 9 ครั้ง

    ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่สำคัญ คือในขณะที่ไทยมีนโยบายการค้าแบบ
    เสรี เกาหลีใต้ยังใช้มาตรการต่างๆ ในการปกป้องตลาด แม้ว่าการเข้าเป็นสมาชิกของ WTO
    และการเข้าเป็นสมาชิกของ OECD จะทำให้เกาหลีใต้ต้องเปิดตลาดขึ้นเรื่อยๆ แต่ในปัจจุบันเกาหลีใต้ยังคงปกป้องตลาดภายในประเทศของตนด้วยมาตรการภาษีและมิใช่ภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดมาตรฐานสุขอนามัยต่อสินค้าเกษตรกรรมของประเทศอื่นรวมทั้งของไทย
    มูลค่าการค้ารวมระหว่างกันในปี 2545 มีมูลค่ารวม 3,907.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ซึ่งไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับเกาหลีใต้ในอัตราสูงตลอดมากว่า 10 ปี
    โดยในช่วงระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545)
    ไทยขาดดุลการค้ากับเกาหลีใต้เฉลี่ยปีละ 932.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    เนื่องจากไทยนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมจากเกาหลีใต้เป็นส่วนใหญ่
    ในขณะที่สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปเกาหลีใต้เป็นสินค้าเกษตร นอกจากนี้ ไทยยังประสบกับมาตรการกีดกันทางการค้าของเกาหลีใต้ทั้งในด้านภาษีและมิใช่ภาษี

    การค้ารวม ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การค้ารวมมีมูลค่า
    เฉลี่ยปีละ 3,342.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.46 ต่อปี
    ในปี 2545 มีมูลค่าการค้ารวม 3,907.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    (คิดเป็นร้อยละ 2.93 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย) เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 16.76

    สำหรับปี 2546 (ม.ค.-เม.ย.) การค้ารวมมีมูลค่า 1,380.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 7.94
    (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.87 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย)

    การส่งออก ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การส่งออกมีมูลค่า
    เฉลี่ยปีละ 1,204.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.91 ต่อปี
    ในปี 2545 มีมูลค่าส่งออก 1,398.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 2.03
    หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 13.31

    สำหรับปี 2546 (ม.ค.-เม.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 538.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2545ร้อยละ 25.08
    โดยเกาหลีใต้เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 13 ของไทย สินค้าออกของไทยที่สำคัญ
    ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันดิบ
    อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอดเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ
    เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์
    ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และมอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

    การนำเข้า ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ยปีละ
    2,137.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.62 ต่อปี ในปี 2545
    มีมูลค่านำเข้า 2,509.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2544 ร้อยละ 26.5

    สำหรับปี 2546 (ม.ค.-เม.ย.) การนำเข้ามีมูลค่า 842.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 0.75 โดยเกาหลีใต้เป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 7 ของไทย
    สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์
    เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมหลอดภาพโทรทัศน์ เหล็กและเหล็กกล้า
    แผงวงจรไฟฟ้า ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์โลหะ สินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ และเครื่องใช้ไฟฟ้า

    ดุลการค้า ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าต่อเกาหลีใต้มาโดยตลอด ในระยะ 4 ปี
    ที่ผ่านมา (2542-2545) ไทยขาดดุลเฉลี่ยปีละ 932.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2545
    ไทยขาดดุลมูลค่า 1,111.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 26.5
    สำหรับปี 2546 (ม.ค.-เม.ย.) ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 304.2 ล้านดอลลาร์
    สหรัฐ ลดลงจากปี 2545 ร้อยละ 27.3

    1.3.2 การลงทุน

    ปัจจุบัน การลงทุนจากเกาหลีใต้ในไทยมีแนวโน้มดีขึ้น จากข้อมูลการลงทุน
    ของเกาหลีใต้ในปี 2544 มีการลงทุนเพิ่มขึ้นมากเกือบเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2543 อย่างไรก็ตาม ปริมาณเงินลงทุนของเกาหลีใต้ในไทยมีจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากอุตสาหกรรมที่เกาหลีใต้สนใจมาลงทุน
    ยังคงเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ใช้เงินลงทุนน้อย (ต่ำกว่า 50 ล้านบาท)
    โดยประเภทกิจการที่เกาหลีใต้สนใจมากที่สุด ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

    ปัจจุบัน เกาหลีใต้เข้ามาลงทุนในไทยเป็นอันดับที่ 7 โดยปี 2545 มีทั้งสิ้น 37 โครงการ
    (โครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจำนวน 33 โครงการ)
    เป็นเงินมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 2956.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2544 จำนวน 11 โครงการ สาขาอิเลคทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสาขาที่มีเม็ดเงินลงทุนและจำนวนโครงการ
    ที่ได้รับอนุมัติมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นสาขาผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร
    และอุปกรณ์ขนส่ง สาขาเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก

    1.3.3 แรงงานไทย

    ปัจจุบัน คนงานต่างชาติ รวมทั้งคนงานไทย สามารถเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้
    โดยถูกต้องตามกฎหมายของเกาหลีใต้ได้ 2 วิธี คือ เข้าไปทำงานในรูปของการฝึกงาน (training)
    ผ่านการจัดสรรโควต้าของสมาพันธ์ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็กของเกาหลี (KFSB) เป็นเวลา 2 ปี และเข้าไปทำงานโดยผ่านการนำเข้าของสมาคมก่อสร้างเกาหลีโดยได้รับอนุญาตให้ทำงาน 1 ปี
    และต่ออายุได้ 1 ปี โดยที่การเข้าไปทำงานในรูปของการฝึกอบรม หรือผ่านสมาคมก่อสร้าง
    คนงานจะได้ค่าจ้างต่ำกว่าราคาค่าจ้างในตลาดแรงงานทั่วไปร้อยละ 25-50
    คนงานต่างชาติที่เข้าไปทำงานโดยถูกกฎหมายร้อยละ 85
    จึงพากันผละหนีการทำงานในที่ทำงานเดิมไปหาที่ทำงานใหม่ จากข้อมูลที่ได้รับ
    คนงานประเภทฝึกงานของไทยได้ค่าจ้างเดือนละ 474,600 วอน (ประมาณ 20,000 บาท)
    แต่ถ้าไปทำงานในโรงงานโดยทำงานประเภทเดียวกันจะได้รับค่าจ้างเดือนละ 760,000 วอน
    (ประมาณ 30,000 บาท)

    ทางด้านตลาดแรงงานไทยในเกาหลีใต้ มีรายงานข่าวจากทางการเกาหลีใต้
    ว่า นโยบายด้านแรงงานของเกาหลีใต้กำลังเปลี่ยนแปลงไปโดยทางการเกาหลีใต้ กำลังพิจารณาเปิดตลาดแรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทแก่แรงงานต่างชาติบางส่วน
    โดยได้เริ่มมีผลตั้งแต่เดือนมิ.ย.2545 นโยบายการเปิดตลาดแรงงานบางส่วนได้รับการสนับสนุน
    จาก กระทรวงแรงงาน และทำเนียบประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ขณะที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง
    และ KFSB (สมาพันธ์ธุรกิจขนาดกลางและย่อมของเกาหลีใต้)
    ไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิมที่ใช้อยู่มากนัก
    โดยเฉพาะด่านตรวจคนเข้าเมืองของเกาหลีใต้เกรงจะเกิดปัญหาอาชญากรรม
    ปัญหาสังคม และปัญหาความไม่พอใจของแรงงานในเกาหลีใต้
    ที่อาจมีตามมาจากผลของการเปิดตลาดแรงงานให้ต่างชาติ จากการตรวจสอบ
    กับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล ทราบว่ารายงานข่าวดังกล่าวเป็นเพียงแค่แนวคิด แต่มีความเป็นไปได้ที่ทางการเกาหลีใต้จะแก้ไขระบบเข้าไปทำงานผ่านการฝึกงาน
    โดยให้คนงานสามารถทำงานในเกาหลีใต้ได้ต่อ 2 ปี หลังจากผ่านการฝึกงานมาแล้ว 1 ปี
    ซึ่งล่าสุด ยังไม่พบว่าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเรื่องระยะเวลาการฝึกงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแต่อย่างใด
    (ฝึกงาน 2 ปี ทำงานต่อ 1 ปี) และรัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศรับผู้ฝึกงานต่างชาติอีกจำนวน 20,000 คน
    โดยได้เริ่มรับในเดือน พ.ย. 2545ผู้ฝึกงานเหล่านี้จะทำงานในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง
    เกษตรกรรม ปศุสัตว์ และประมง

    เนื่องจากคนไทยสามารถเดินทางเข้าเกาหลีใต้ได้โดยไม่ต้องมีวีซ่าเพราะมี
    ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างประเทศทั้งสอง
    ทำให้แรงงานไทยอาศัยเป็นช่องทางเพื่อหลบเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ทางการเกาหลีใต้จึงเพิ่มความเข้มงวดในการอนุญาตให้คนไทยเข้าประเทศ
    ตามรายงานของกองตรวจคนเข้าเมือง ของเกาหลีใต้อ้างใน Migration News ปี 2544
    พบว่าในปี 2543 ชาวต่างชาติจำนวนประมาณ 1,500 คน ถูกตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
    ปฎิเสธการเข้าเมืองเนื่องจากเกรงว่าจะลักลอบเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้
    ซึ่งเพิ่มจากจำนวน 1,000 คนในปี 2542 ตามรายงานดังกล่าว
    ยังแจ้งด้วยว่าคนไทยเป็นคนต่างชาติที่ถูกปฎิเสธการเข้าเมืองมากที่สุด คือ
    ประมาณครึ่งหนึ่งของคนต่างชาติทั้งหมด ตามมาด้วยคนชาติปากีสถานและบังคลาเทศ
    ในปี 2544 คนไทยถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าเมืองถึง 5,000 คน

    นอกจากนี้ ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2545 ที่เกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพร่วมกับญี่ปุ่น ได้มีนายหน้าและคนงานไทยพยายามลักลอบเข้าเกาหลีใต้โดยผ่านการซื้อตั๋วฟุตบอล
    โดยอ้างว่าเป็นแฟนกีฬาเพื่อลักลอบหลบหนีเข้าเมืองเกาหลีใต้ แต่หลายคนถูกจับได้ที่สนามบินและส่งกลับ การปฏิเสธมิให้คนไทยเข้าเมืองของทางการเกาหลีใต้มีแนวโน้มสูงขึ้น

    ทางการไทยได้ทราบปัญหาเรื่องนักท่องเที่ยวไทยถูกปฏิเสธการเข้าเมืองเกาหลีใต้ดังกล่าวและ
    พยายามสกัดกั้นมิให้คนงานไทยลักลอบเดินทางไปเกาหลีใต้เพื่อหางานทำ
    โดยมีการตรวจตราที่ด่านแรงงานที่ท่าอากาศยานดอนเมือง แต่นายหน้าและ
    คนงานก็เปลี่ยนเส้นทางบินโดยเดินทางเข้าทางหาดใหญ่-มาเลเซียเพื่อเดินทางจากมาเลเซียไปเกาหลีใต้

    1.3.4 การท่องเที่ยว

    ประเทศไทยจัดเป็นอันดับที่ 4 ที่ชาวเกาหลีใต้นิยมเดินทางมาท่องเที่ยว
    โดยนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ได้เดินทางมาไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
    แม้ว่าจะซบเซาลงไปบ้างในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในเกาหลีใต้
    ระหว่างปี 2540-2541 แต่กลับฟื้นตัวขึ้นตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา
    เหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อ 11 ก.ย.2544
    ก็ไม่กระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ที่เดินทางมาไทย
    โดยแหล่งท่องเที่ยวของไทยที่นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้นิยมได้แก่ กรุงเทพฯ พัทยา และภูเก็ต
    ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้มาไทยในปี 2545 มีจำนวนประมาณ 700,000 คน
    สำหรับนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปเกาหลีใต้มีจำนวนประมาณ 50,000 คน
    การเดินทางไปเกาหลีใต้ได้รับความนิยมจากคนไทยเป็นอันดับที่ 9
    นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้นิยมใช้มัคคุเทศก์ที่มีความรู้ภาษาเกาหลี
    ซึ่งไทยมีจำนวนมัคคุเทศก์ดังกล่าวประมาณ 500 คน อย่างไรก็ตาม
    เนื่องจากนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้มาไทยเป็นจำนวนมากและปัจจุบัน
    รัฐบาลไทยกำลังแสวงหาหนทางในการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้
    โดยการพิจารณาให้ใช้ล่ามชาวเกาหลีใต้แปลควบคู่กับมัคคุเทศก์ชาวไทย

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×