ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สมุนไพรไทยจำแนกตามกลุ่ม

    ลำดับตอนที่ #1 : กลุ่มยาสมุนไพรช่วยลดอาการไข้

    • อัปเดตล่าสุด 7 มี.ค. 60


     กลุ่มยาสมุนไพรช่วยลดอาการไข้


    กรรณิการ์

          กรรณิการ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Nyctanthes arbor-tristis Linn. จัดอยู่ในวงศ์มะลิ

          สมุนไพรกรรณิการ์ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กณิการ์ กรรณิการ์ กันลิกา กรรณิกา (ภาคกลาง)สะบันงา (น่าน)ปาริชาติ (ทั่วไป) เป็นต้น

    ลักษณะของกรรณิการ์

          มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในตอนกลางของประเทศอินเดีย เข้าใจว่าเข้ามาในไทยในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือในสมัยตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ และมีการสันนิษฐานว่าชื่อ กรรณิการ์นั้นมาจากคำว่า กรรณิกาซึ่งมีความหมายว่า ช่อฟ้า กลีบบัว ดอกไม้ ตุ้มหู และเครื่องประดับหู ซึ่งหากสังเกตจากรูปทรงของดอกกรรณิการ์แล้วก็จะเห็นว่าเหมาะจะใช้เป็นเครื่องประดับหูได้ดี เพราะมีหลอดที่ใช้สอดในรูที่เจาะใส่ต้มหูได้นั่นเอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ มีเรือนยอดเป็นรูปทรงพีระมิดแคบ มีความสูงของต้นประมาณ 3-5 เมตร เปลือกของลำต้นมีลักษณะขรุขระและเป็นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมสี่เหลี่ยม และมีขนแข็งสากมือ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการปักชำกิ่งเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง แสงแดดแบบเต็มวันและครึ่งวัน หากปลูกในที่แห้งแล้งจะออกดอกน้อย โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน แต่สามารถออกดอกได้ตลอดปีหากมีฝน หรือได้รับการตัดแต่งและมีการให้น้ำอย่างเหมาะสม

           สกุลกรรณิการ์ มีสมาชิกอยู่เพียง 2 ชนิด ซึ่งมีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย สุมาตรา ชวา และในประเทศไทย โดยในไทยจะพบได้ทั้ง 2 ชนิด ซึ่งชนิดแรกก็คือ กรรณิการ์ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nyctanthes arbor–tristis L. (ชนิดนี้นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และเป็นชนิดที่กล่าวถึงในบทความนี้ครับ) ส่วนอีกชนิดคือ กรรณิการ์ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nyctanthes aculeata Craib (ในปัจจุบันชนิดนี้ได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว)

    สรรพคุณของกรรณิการร์

    1       ช่วยบำรุงเส้นผม แก้เส้นผมหงอก ด้วยการใช้ใบนำไปแช่กับน้ำมันมะพร้าวประมาณ 1-2 คืน ก็จะได้น้ำมันที่มีสีเหลืองอ่อน ๆ สำหรับนำมาใช้ทาหมักผมก่อนนอน จะช่วยป้องกันไม่ให้ผมหงอกก่อนวัยได้ (ใบ) ส่วนข้อมูลจากหนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย ระบุว่าส่วนที่นำมาใช้เป็นยาแก้ผมหงอกคือส่วนของราก (ราก)

           2      ช่วยบำรุงผิวหนังให้สดชื่น (ราก)

           3      เปลือกมีรสขมเย็น ใช้เปลือกชั้นในนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ส่วนต้นก็มีสรรพคุณแก้ปวดศีรษะเช่นกัน (ต้น, เปลือก) ดอกมีรสขม ช่วยแก้ลมวิงเวียน (ดอก)

           4      ใช้เป็นยาแก้ลมและดี (ราก)

           5      ต้นมีรสหวานเย็นฝาดใช้เป็นยาแก้ไข้ ส่วนใบและดอกก็มีสรรพคุณแก้ไข้เช่นกัน (ต้น, ใบ, ดอก)

           6     ใบช่วยแก้ไข้เพื่อดีและแก้ไข้จับสั่นชนิดจับวันเว้นวัน (ใบ)

           7      ดอกใช้เป็นยาแก้ไข้มิรู้สติ เป็นไข้บาดทะจิต แก้ไข้ผอมเหลือง (ดอก)

           8      รากช่วยแก้อาการไอ (ราก)

           9       แพทย์ชนบทในสมัยก่อนจะใช้ต้นและรากกรรณิการ์ นำมาต้มหรือฝนรับประทานเป็นยาแก้อาการไอ สำหรับสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ (ต้น, ราก)

          10     ใบใช้เป็นยาระบาย (ใบ)

          11     ใช้เป็นยาแก้อุจจาระเป็นพรรดึก (ราก)



    ก้นบึ้งน้อย

    ชื่อทั่วไป: ก้นบึ้งน้อย
    ชื่อสามัญ: (ข้อมูลไม่แน่ชัด)
    ชื่อวิทยาศาสตร์: Lepede parviflora Kurz.
    วงศ์: FABACEAE
               เป็นไม้ล้มลุก อายุปีเดียว สูงประมาณ 30-60 ซม. ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับก้น ใบย่อยสามใบ รูปวงรียาวประมาณ 2 นิ้ว ปลายและโคนแหลม ขอบเรียว ดอกช่อเหมือนดอกถั่ว กลีบสีชมพู ออกที่ปลายกิ่ง ผลเป็นฝึกแบบรูปไข่ปลายและโคนแหลม เกิดอยู่ตามป่าดงดิบและป้าเบญพรรณทางภาคกลาง เหนือ และอีสาน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

    ราก: รสฝาดขม แก้ไข้ แก้ไข้ท้องเสีย แก้ธาตุไม่ปกติ แก้โรคเกี่่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
    สารสำคัญ: รากและเหง้า มีแอลคาลอยค์ มีแอลคาลอยค์ พวก dl-tetrandrine, d-tetrandrine.d-isochondodendrine & fagchinoline มีสาร steroid



    ถั่วแปบ

    ถั่วแปบ (Hyacinth Bean, Bonavista Bean, Lablab) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ถั่วมะเปกี, มะแปบ, ถั่วแล้ง หรือถั่วหนัง เป็นต้น โดยเป็นพืชสมุนไพรที่มีสายพันธุ์มากมายหลากหลาย จะเรียกว่ามากกว่าบรรดาพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ เลยก็ว่าได้ ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่ว มีแหล่งกำเนิดในแถบร้อนของทวีปเอเชีย รวมทั้งในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเราด้วย สำหรับถั่วแปบนี้มักนิยมนำมาทำเป็นขนมหวานของไทย โดยผสมกับแป้งเคี้ยวเหนียวนุ่มรับประทานอร่อย

    ลักษณะทั่วไปของถั่วแปบ
    สำหรับต้นถั่วแปบนั้นจัดเป็นพืชล้มลุกเลื้อยพันซึ่งมีอายุได้หลายปีเลยทีเดียว โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 2.3 เมตร และลักษณะของลำต้นจะอยู่เหนือดิน ซึ่งไม่สามารถตั้งลำต้นให้ตรงได้เอง แต่จะใช้ส่วนของลำต้นช่วยเกี่ยวพัน เป็นเถาทรงกลมสีเขียวแซมด้วยขนขาวขึ้นปกคลุมอยู่ประปรายตามลำต้น จะขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด เติบโตได้ดีในดินร่วนและแสงแดดจัดๆ ส่วนใบนั้นจะเป็นใบคล้ายขนนก ออกเรียกแบบสลับกันไป รูปทรงไข่ และจะมีดอกออกเป็นช่อกระจะอยู่ตามซอกใบและกิ่ง ปราศจากกลิ่น โดยในแต่ละช่อจะมีดอกย่อยๆ อยู่หลายดอก มีกลีบดอกสีขาวหรือม่วงแยกจากกันเป็นรูปไต ส่วนผลของถั่วแปบนั้นจะเป็นฝักยาวโค้งงอ ตรงปลายเป็นจะงอย สีเขียวหรือม่วง และเมล็ดด้านในจะมีสีไปตามลักษณะของแต่ละสายพันธุ์เป็นรูปทรงไข่กลมๆ

    ประโยชน์และสรรพคุณของถั่วแปบ
    ฝัก ช่วยแก้อาการไข้และอ่อนเพลีย รวมทั้งบำรุงกำลังให้แก่ร่างกาย ให้รสหวานมัน
    เมล็ด ช่วยในการบำรุงร่างกายให้แข็งแรง รวมทั้งช่วยแก้ไข้ แก้โรคตา และแก้เสมหะ ให้รสหวานมัน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×